WHO จ่อบรรจุเสพติดสื่อออนไลน์เป็นปัญหาทางจิตเวช

แสดงความคิดเห็น

เสพติดสื่อออนไลน์หรือเสพติดโซเชียลมีเดีย

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษา กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ขณะนี้พบว่าประชากรในวัยทำงานมีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากภัยแล้ง ความเครียดจากหนี้สิน และความรัก ซึ่งอาการที่พบอันดับ 1 คือวิตกกังวล ซึมเศร้า รองลงมาคือปัญหาติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่จัดทำให้มีปัญหาทะเลาะวิวาทในสถานประกอบการ นอกจากนี้ ยังพบเทรนด์ใหม่มีการเสพติดการพนันออนไลน์ เสพติดโซเชียลมีเดีย หรือโรคเสพติดพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดในการทำงานแต่หาทาง ออกไม่ได้

นพ.ยงยุทธกล่าวต่อไปว่า วิธีการสังเกตว่ามีปัญหาเสพติดสื่อหรือไม่นั้นดูจากการใช้สื่อออนไลน์ หากใช้ติดต่อกันนาน 3 ชั่วโมง โดย ไม่หยุดพัก ถือเป็นอาการเริ่มต้น แต่ถ้าจะดูว่าเป็นโรคเสพติดหรือไม่นั้นดูจากการสูญเสียการทำหน้าที่ เช่น ไม่รับผิดชอบต่องาน ไม่ไปทำงาน หรือพ่อ แม่ ไม่ทำหน้าที่ในการดูแลบุตร

อย่างไรก็ตาม เรื่องการเสพติดสื่อออนไลน์ถือเป็นปัญหามาก โดยเฉพาะในส่วนของไทยมักใช้ไปเพื่อความบันเทิง ดังนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมที่จะบรรจุเรื่องของการเสพติดสื่อออนไลน์ให้เป็น 1 ในคำวินิจฉัยทางจิตเวช คาดว่าจะประกาศอยู่ในระบบการวินิจฉัยใหม่ที่เป็นเกณฑ์ให้แต่ละประเทศใช้ได้ภายใน 1-2 ปีนี้ และหลังองค์การอนามัยโลกประกาศใช้แล้วกรมสุขภาพจิตก็จะมีการสำรวจปัญหาสุขภาพจิตแรงงานไทยอีกครั้ง เพื่อระบุความรุนแรงโรคการเสพติดพฤติกรรมว่าอยู่ในระดับใด.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/612893

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 เม.ย.59
วันที่โพสต์: 3/05/2559 เวลา 09:49:06 ดูภาพสไลด์โชว์ WHO จ่อบรรจุเสพติดสื่อออนไลน์เป็นปัญหาทางจิตเวช

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เสพติดสื่อออนไลน์หรือเสพติดโซเชียลมีเดีย นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษา กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ขณะนี้พบว่าประชากรในวัยทำงานมีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากภัยแล้ง ความเครียดจากหนี้สิน และความรัก ซึ่งอาการที่พบอันดับ 1 คือวิตกกังวล ซึมเศร้า รองลงมาคือปัญหาติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่จัดทำให้มีปัญหาทะเลาะวิวาทในสถานประกอบการ นอกจากนี้ ยังพบเทรนด์ใหม่มีการเสพติดการพนันออนไลน์ เสพติดโซเชียลมีเดีย หรือโรคเสพติดพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดในการทำงานแต่หาทาง ออกไม่ได้ นพ.ยงยุทธกล่าวต่อไปว่า วิธีการสังเกตว่ามีปัญหาเสพติดสื่อหรือไม่นั้นดูจากการใช้สื่อออนไลน์ หากใช้ติดต่อกันนาน 3 ชั่วโมง โดย ไม่หยุดพัก ถือเป็นอาการเริ่มต้น แต่ถ้าจะดูว่าเป็นโรคเสพติดหรือไม่นั้นดูจากการสูญเสียการทำหน้าที่ เช่น ไม่รับผิดชอบต่องาน ไม่ไปทำงาน หรือพ่อ แม่ ไม่ทำหน้าที่ในการดูแลบุตร อย่างไรก็ตาม เรื่องการเสพติดสื่อออนไลน์ถือเป็นปัญหามาก โดยเฉพาะในส่วนของไทยมักใช้ไปเพื่อความบันเทิง ดังนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมที่จะบรรจุเรื่องของการเสพติดสื่อออนไลน์ให้เป็น 1 ในคำวินิจฉัยทางจิตเวช คาดว่าจะประกาศอยู่ในระบบการวินิจฉัยใหม่ที่เป็นเกณฑ์ให้แต่ละประเทศใช้ได้ภายใน 1-2 ปีนี้ และหลังองค์การอนามัยโลกประกาศใช้แล้วกรมสุขภาพจิตก็จะมีการสำรวจปัญหาสุขภาพจิตแรงงานไทยอีกครั้ง เพื่อระบุความรุนแรงโรคการเสพติดพฤติกรรมว่าอยู่ในระดับใด. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/612893

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...