ครั้งแรกในไทย ตรวจหาสาเหตุโรคออทิสติก ด้วยวิธี "โครโมโซมอะเรย์"

แสดงความคิดเห็น

แถลงข่าวการใช้เทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยกลุ่มออทิซึ่ม พัฒนาการล่าช้า/สติปัญญาบกพร่อง และพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด ด้วยวิธีการ "โครโมโซมอะเรย์"

ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของวงการแพทย์ไทย หลังจากมีการใช้เทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยกลุ่มออทิซึ่ม พัฒนาการล่าช้า/สติปัญญาบกพร่อง และพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด ด้วยวิธีการ "โครโมโซมอะเรย์" ความละเอียดสูง สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรู้สาเหตุของโรคว่าเกิดจากพันธุกรรมของตนเอง หรือของพ่อแม่ เพื่อทำการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางเลือกในการรักษาและการป้องกันไม่ให้เกิดกับลูกคนที่สอง หากพ่อแม่ประสงค์จะมีบุตรอีกคน

การตรวจวิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงให้เด็กที่เกิดมาเป็นออทิซึ่ม พัฒนาการล่าช้า/สติปัญญาบกพร่อง และพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด โดยพ่อแม่ก็ต้องตัดสินใจเองว่า ต้องการจะมีบุตรคนที่สองหรือไม่ หากไม่พบความเสี่ยงก็มีได้ หากพบความเสี่ยงก็ควรยุติการมีบุตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ปกครอง

อย่างไรก็ตาม แม้จะตรวจละเอียดลงลึกถึงโครโมโซม ในกลุ่มเด็กออทิสติกก็ไม่สามารถที่จะหาสาเหตุการเกิดโรคที่แท้จริงได้ เพราะมีหลายอย่างประกอบกันในความผิดปกตินั้น การตรวจด้วยวิธีนี้เพียงแต่เป็นการตรวจทางพันธุกรรมที่จะช่วยให้ผู้ปกครองวางแผนในอนาคตของลูกที่เกิดมาแล้วและคนที่จะเกิดในอนาคตได้

การตรวจวินิจฉัยครั้งนี้เป็นผลงานของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถตรวจวินิจฉัยสาเหตุทางพันธุกรรมในผู้ป่วยกลุ่มออทิซึ่ม พัฒนาการล่าช้า/สติปัญญาบกพร่อง และพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด ด้วยวิธีโครโมโซมอะเรย์ ความละเอียดสูง (Chromosomal Microarray : CMA) เป็นแห่งแรกในประเทศไทย

ครั้งแรกในไทย ตรวจหาสาเหตุโรคออทิสติก ด้วยวิธี "โครโมโซมอะเรย์"

ผศ.พญ.จริยา จุฑาภิสิทธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ความชุกของการเกิดกลุ่มอาการออทิซึ่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ การศึกษาล่าสุดในต่างประเทศ พบความชุกของกลุ่มอาการออทิซึ่มในเด็กถึงประมาณ 1 รายต่อเด็ก 68 ราย ข้อมูลในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ยังไม่มีตัวเลขที่บ่งบอกถึงความชุกที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนแต่เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยกลุ่มอาการออทิซึ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการวินิจฉัยหาสาเหตุของการเกิดโรค เพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาและป้องกันการเกิดซ้ำได้ในบุตรคนต่อไป อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดกลุ่มอาการออทิซึ่มได้ ทั้งนี้ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทางการแพทย์ให้ความสนใจ และพยายามพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อค้นหาความบกพร่อง

ในอดีตที่ผ่านมาจะตรวจวินิจฉัยโครโมโซม หรือสารพันธุกรรมที่ผิดปกติ ด้วยตาผ่านกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีความละเอียดต่ำ ทำให้ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติในเด็กกลุ่มอาการออทิซึ่ม เด็กพัฒนาการล่าช้า และ/หรือสติปัญญาบกพร่องส่วนใหญ่ได้ จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการตรวจที่ละเอียดและก้าวหน้ามากขึ้นทั้งยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศคือการตรวจด้วยวิธีโครโมโซมอะเรย์ (ChromosomalMicroarray:CMA)

ประโยชน์ของการตรวจโครโมโซมอะเรย์มีดังนี้ 1) ช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุทางพันธุกรรมของโรค 2) ช่วยในการวางแผนการรักษา บอกการพยากรณ์โรคในระยะยาวเกี่ยวกับความรุนแรงของโรค และในบางกรณีอาจมีการรักษาที่จำเพาะที่ได้ผลดีอีกด้วย 3) ช่วยในการวางแผนครอบครัวเพื่อมีบุตรใหม่เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำในครอบครัว

ศ.พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบพันธุกรรมในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สาเหตุทางพันธุกรรมของกลุ่มอาการออทิซึ่ม พัฒนาการล่าช้า/สติปัญญาบกพร่อง และพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด เกิดขึ้นได้จากทั้งความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ซึ่งวิธีที่ใช้ในการตรวจหาสาเหตุของโรคในอดีต เช่น การตรวจร่างกาย การตรวจโครโมโซม ตรวจการกลายพันธุ์ของยีนสามารถช่วยวินิจฉัยสาเหตุของโรคในผู้ป่วยส่วนหนึ่งได้ก็จริงแต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ

การใช้โครโมโซมอะเรย์เป็นการตรวจแรกในผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึ่ม พัฒนาการล่าช้า/สติปัญญาบกพร่อง และพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด สามารถตรวจพบความผิดปกติทางพันธุกรรมในผู้ป่วยเหล่านี้ได้ถึงร้อยละ 15-20 เมื่อเทียบกับร้อยละ3ที่ได้จากการตรวจโครโมโซมแบบดั้งเดิม

"ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า หากผู้ปกครองที่มีบุตรคนแรกเป็นออทิสติก คนที่สองมีโอกาสจะเป็นประมาณ 3-5% ซึ่งอาจจะหมายความว่าพ่อแม่ไม่กล้ามีคนที่สอง และโอกาสจะเกิดก็น้อยกว่าคนที่มีบุตรเป็นออทิสติก 2-3 คน โอกาสจะมีลูกเป็นออทิสติกจะมีสูงมาก" อีกทั้งการส่งตรวจโครโมโซมอะเรย์ความละเอียดสูงไปต่างประเทศก็มีราคาสูงกว่า50,000 บาท ซึ่งทางคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงพัฒนาการตรวจวิธีนี้ขึ้นในประเทศไทยเพื่อช่วยให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้นในราคา35,000-40,000บาท

ดร.พญ.ณฐินี จินาวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโครโมโซมอะเรย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครโมโซมอะเรย์ที่ทางคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เลือกนำมาใช้ศึกษา เป็นชนิด "สนิปอะเรย์" (SNP array) ซึ่งมีความละเอียดสูง สามารถตรวจหาลักษณะพันธุกรรม คือการหลุดหายหรือเกินขึ้นมาของตำแหน่งต่าง ๆ บนโครโมโซมทั้งหมดของผู้ป่วยซึ่งมีขนาดเล็กได้ วิธีการตรวจนี้มีความละเอียดกว่าการตรวจโครโมโซมแบบดั้งเดิมที่ใช้ตาดูผ่านกล้องจุลทรรศน์มากกว่า 1,000 เท่า โดยกระบวนการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีโครโมโซมอะเรย์ความละเอียดสูง ประกอบไปด้วย ขั้นตอนทางห้องปฏิบัติการ และขั้นตอนการวิเคราะห์ผลโดยใช้ความรู้ทางชีวสารสนเทศ

"วิธีการตรวจคือใช้การเจาะเลือดเพื่อดูผลใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ สามารถตรวจได้กับเด็กทุกช่วงวัยรวมถึงในครรภ์ด้วย"

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1458788318 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 มี.ค.59
วันที่โพสต์: 28/03/2559 เวลา 11:28:33 ดูภาพสไลด์โชว์ ครั้งแรกในไทย ตรวจหาสาเหตุโรคออทิสติก ด้วยวิธี "โครโมโซมอะเรย์"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แถลงข่าวการใช้เทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยกลุ่มออทิซึ่ม พัฒนาการล่าช้า/สติปัญญาบกพร่อง และพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด ด้วยวิธีการ "โครโมโซมอะเรย์" ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของวงการแพทย์ไทย หลังจากมีการใช้เทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยกลุ่มออทิซึ่ม พัฒนาการล่าช้า/สติปัญญาบกพร่อง และพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด ด้วยวิธีการ "โครโมโซมอะเรย์" ความละเอียดสูง สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรู้สาเหตุของโรคว่าเกิดจากพันธุกรรมของตนเอง หรือของพ่อแม่ เพื่อทำการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางเลือกในการรักษาและการป้องกันไม่ให้เกิดกับลูกคนที่สอง หากพ่อแม่ประสงค์จะมีบุตรอีกคน การตรวจวิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงให้เด็กที่เกิดมาเป็นออทิซึ่ม พัฒนาการล่าช้า/สติปัญญาบกพร่อง และพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด โดยพ่อแม่ก็ต้องตัดสินใจเองว่า ต้องการจะมีบุตรคนที่สองหรือไม่ หากไม่พบความเสี่ยงก็มีได้ หากพบความเสี่ยงก็ควรยุติการมีบุตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ปกครอง อย่างไรก็ตาม แม้จะตรวจละเอียดลงลึกถึงโครโมโซม ในกลุ่มเด็กออทิสติกก็ไม่สามารถที่จะหาสาเหตุการเกิดโรคที่แท้จริงได้ เพราะมีหลายอย่างประกอบกันในความผิดปกตินั้น การตรวจด้วยวิธีนี้เพียงแต่เป็นการตรวจทางพันธุกรรมที่จะช่วยให้ผู้ปกครองวางแผนในอนาคตของลูกที่เกิดมาแล้วและคนที่จะเกิดในอนาคตได้ การตรวจวินิจฉัยครั้งนี้เป็นผลงานของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถตรวจวินิจฉัยสาเหตุทางพันธุกรรมในผู้ป่วยกลุ่มออทิซึ่ม พัฒนาการล่าช้า/สติปัญญาบกพร่อง และพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด ด้วยวิธีโครโมโซมอะเรย์ ความละเอียดสูง (Chromosomal Microarray : CMA) เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ครั้งแรกในไทย ตรวจหาสาเหตุโรคออทิสติก ด้วยวิธี "โครโมโซมอะเรย์" ผศ.พญ.จริยา จุฑาภิสิทธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ความชุกของการเกิดกลุ่มอาการออทิซึ่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ การศึกษาล่าสุดในต่างประเทศ พบความชุกของกลุ่มอาการออทิซึ่มในเด็กถึงประมาณ 1 รายต่อเด็ก 68 ราย ข้อมูลในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ยังไม่มีตัวเลขที่บ่งบอกถึงความชุกที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนแต่เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยกลุ่มอาการออทิซึ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการวินิจฉัยหาสาเหตุของการเกิดโรค เพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาและป้องกันการเกิดซ้ำได้ในบุตรคนต่อไป อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดกลุ่มอาการออทิซึ่มได้ ทั้งนี้ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทางการแพทย์ให้ความสนใจ และพยายามพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อค้นหาความบกพร่อง ในอดีตที่ผ่านมาจะตรวจวินิจฉัยโครโมโซม หรือสารพันธุกรรมที่ผิดปกติ ด้วยตาผ่านกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีความละเอียดต่ำ ทำให้ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติในเด็กกลุ่มอาการออทิซึ่ม เด็กพัฒนาการล่าช้า และ/หรือสติปัญญาบกพร่องส่วนใหญ่ได้ จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการตรวจที่ละเอียดและก้าวหน้ามากขึ้นทั้งยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศคือการตรวจด้วยวิธีโครโมโซมอะเรย์ (ChromosomalMicroarray:CMA) ประโยชน์ของการตรวจโครโมโซมอะเรย์มีดังนี้ 1) ช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุทางพันธุกรรมของโรค 2) ช่วยในการวางแผนการรักษา บอกการพยากรณ์โรคในระยะยาวเกี่ยวกับความรุนแรงของโรค และในบางกรณีอาจมีการรักษาที่จำเพาะที่ได้ผลดีอีกด้วย 3) ช่วยในการวางแผนครอบครัวเพื่อมีบุตรใหม่เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำในครอบครัว ศ.พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบพันธุกรรมในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สาเหตุทางพันธุกรรมของกลุ่มอาการออทิซึ่ม พัฒนาการล่าช้า/สติปัญญาบกพร่อง และพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด เกิดขึ้นได้จากทั้งความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ซึ่งวิธีที่ใช้ในการตรวจหาสาเหตุของโรคในอดีต เช่น การตรวจร่างกาย การตรวจโครโมโซม ตรวจการกลายพันธุ์ของยีนสามารถช่วยวินิจฉัยสาเหตุของโรคในผู้ป่วยส่วนหนึ่งได้ก็จริงแต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ การใช้โครโมโซมอะเรย์เป็นการตรวจแรกในผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึ่ม พัฒนาการล่าช้า/สติปัญญาบกพร่อง และพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด สามารถตรวจพบความผิดปกติทางพันธุกรรมในผู้ป่วยเหล่านี้ได้ถึงร้อยละ 15-20 เมื่อเทียบกับร้อยละ3ที่ได้จากการตรวจโครโมโซมแบบดั้งเดิม "ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า หากผู้ปกครองที่มีบุตรคนแรกเป็นออทิสติก คนที่สองมีโอกาสจะเป็นประมาณ 3-5% ซึ่งอาจจะหมายความว่าพ่อแม่ไม่กล้ามีคนที่สอง และโอกาสจะเกิดก็น้อยกว่าคนที่มีบุตรเป็นออทิสติก 2-3 คน โอกาสจะมีลูกเป็นออทิสติกจะมีสูงมาก" อีกทั้งการส่งตรวจโครโมโซมอะเรย์ความละเอียดสูงไปต่างประเทศก็มีราคาสูงกว่า50,000 บาท ซึ่งทางคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงพัฒนาการตรวจวิธีนี้ขึ้นในประเทศไทยเพื่อช่วยให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้นในราคา35,000-40,000บาท ดร.พญ.ณฐินี จินาวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโครโมโซมอะเรย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครโมโซมอะเรย์ที่ทางคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เลือกนำมาใช้ศึกษา เป็นชนิด "สนิปอะเรย์" (SNP array) ซึ่งมีความละเอียดสูง สามารถตรวจหาลักษณะพันธุกรรม คือการหลุดหายหรือเกินขึ้นมาของตำแหน่งต่าง ๆ บนโครโมโซมทั้งหมดของผู้ป่วยซึ่งมีขนาดเล็กได้ วิธีการตรวจนี้มีความละเอียดกว่าการตรวจโครโมโซมแบบดั้งเดิมที่ใช้ตาดูผ่านกล้องจุลทรรศน์มากกว่า 1,000 เท่า โดยกระบวนการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีโครโมโซมอะเรย์ความละเอียดสูง ประกอบไปด้วย ขั้นตอนทางห้องปฏิบัติการ และขั้นตอนการวิเคราะห์ผลโดยใช้ความรู้ทางชีวสารสนเทศ "วิธีการตรวจคือใช้การเจาะเลือดเพื่อดูผลใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ สามารถตรวจได้กับเด็กทุกช่วงวัยรวมถึงในครรภ์ด้วย" ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1458788318

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...