รุกตั้งคลินิกพิเศษฟื้นฟูกลุ่มดาวน์ซินโดรม

แสดงความคิดเห็น

กรมสุขภาพจิต เผย เด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรมขาดโอกาสรับการพัฒนาอื้อ เดินหน้าตั้งคลินิกพิเศษฟื้นฟูกลุ่มดาวน์แนะตรวจตั้งแต่แรกคลอด

เด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรม

นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต แถลงข่าวว่า เนื่องในวันที่ 21 มี.ค. ของทุกปี เป็นวันดาวน์ซินโดรมโลก จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจถึงศักยภาพและความสำเร็จของบุคคลที่มีภาวะกลุ่มอาการดาวน์หรือดาวน์ซินโดรมทั่วโลก ในประเทศไทยพบการเกิดภาวะดาวน์ซินโดรมได้ 1 ใน 800 -1,000 ประชากร ทั้งนี้ จากฐานข้อมูลประชากรไทย เมื่อปี 2558 มีประชากรที่เป็นดาวน์ซินโดรมอยู่ที่ 70,000 - 80,000 คน โดยกลุ่มอาการดาวน์ เป็นภาวะที่เกิดจากการมียีนหรือสารพันธุกรรมบนโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินเป็นสามแท่ง จนส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ เด็กกลุ่มนี้จึงมักจะมีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกัน และความเชื่อเดิม ๆ ว่า พัฒนาการเด็กกลุ่มนี้จะล่าช้าจึงมักสร้างตราบาป หรือข้อจำกัดต่อโอกาสในสังคม แต่วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่พัฒนาปัจจุบันทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายต่อการสร้างโอกาสการพัฒนาทำให้ผู้มีอาการดาวน์สามารถใช้ชีวิตในครอบครัวและสังคมอย่างมีความสุข

ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิต ให้ความสำคัญในการพัฒนาความพร้อมที่จะเดินหน้าผลักดันการป้องกัน ส่งเสริม และฟื้นฟูดูแลผู้มีอาการดาวน์ แบบครบวงจร จัดบริการและพัฒนาเป็นคลินิกพิเศษเฉพาะด้านและครอบคลุมตั้งแต่แรกคลอดถึง 18 ปี โดยจะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกด้าน ทั้ง ด้านพัฒนาการ การป้องกันโรคแทรกซ้อน ให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพ พร้อมทั้งการดูแลด้านอารมณ์และการเรียนรู้ ซึ่งการเลี้ยงเด็กกลุ่มอาการดาวน์ให้ยึดหลัก 3 H ได้แก่ การดูแลสุขภาพ (Health) การมีความหวัง (Hope) และการดูแลด้วยหัวใจของเรา (Heart)

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวว่า ในปัจจุบันนี้ กลุ่มอาการดาวน์จำนวนมากยังขาดโอกาสในการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ เห็นได้จากอัตราการเข้าถึงบริการของผู้บกพร่องทางสติปัญญาปี 2556 ที่มีการเข้าถึงร้อยละ 8.4 สะท้อนให้เห็นว่า การส่งเสริมสุขภาพและกระตุ้นพัฒนาการในเด็กกลุ่มนี้ยังขาดความครอบคลุม รวมถึงขาดโอกาสเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนการศึกษาพิเศษหรือโรงเรียนร่วม ซึ่งพบว่านักเรียนบกพร่องทางสติปัญญาที่อยู่ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษและเรียนร่วมปี 2557 มีเพียง 26,250 คน โดยการพัฒนาศักยภาพของเด็กกลุ่มอาการดาวน์เพื่อให้ดำรงชีวิตอิสระได้ต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน

อีกสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ เด็กกลุ่มนี้มีโอกาสเกิดโรคของอวัยวะต่าง ๆ อาทิ ปัญหาสายตา ปัญหาการได้ยิน ปัญหาไทรอยด์พบได้มากกว่า 1 ใน 4 จะรบกวนการเรียนรู้และจำเป็นต้องตรวจประเมินตั้งแต่วัยทารกและติดตามต่อเนื่องทุกปี นอกจากนี้ ยังมีปัญหาโรคหัวใจโดยกำเนิดพบถึง 40% ในส่วนของร่างกายและวิถีชีวิต จะเกิดโรคอ้วนและปัญหาแทรกซ้อน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ได้ง่าย

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000028028 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 มี.ค.59
วันที่โพสต์: 18/03/2559 เวลา 10:32:51 ดูภาพสไลด์โชว์ รุกตั้งคลินิกพิเศษฟื้นฟูกลุ่มดาวน์ซินโดรม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรมสุขภาพจิต เผย เด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรมขาดโอกาสรับการพัฒนาอื้อ เดินหน้าตั้งคลินิกพิเศษฟื้นฟูกลุ่มดาวน์แนะตรวจตั้งแต่แรกคลอด เด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรม นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต แถลงข่าวว่า เนื่องในวันที่ 21 มี.ค. ของทุกปี เป็นวันดาวน์ซินโดรมโลก จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจถึงศักยภาพและความสำเร็จของบุคคลที่มีภาวะกลุ่มอาการดาวน์หรือดาวน์ซินโดรมทั่วโลก ในประเทศไทยพบการเกิดภาวะดาวน์ซินโดรมได้ 1 ใน 800 -1,000 ประชากร ทั้งนี้ จากฐานข้อมูลประชากรไทย เมื่อปี 2558 มีประชากรที่เป็นดาวน์ซินโดรมอยู่ที่ 70,000 - 80,000 คน โดยกลุ่มอาการดาวน์ เป็นภาวะที่เกิดจากการมียีนหรือสารพันธุกรรมบนโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินเป็นสามแท่ง จนส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ เด็กกลุ่มนี้จึงมักจะมีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกัน และความเชื่อเดิม ๆ ว่า พัฒนาการเด็กกลุ่มนี้จะล่าช้าจึงมักสร้างตราบาป หรือข้อจำกัดต่อโอกาสในสังคม แต่วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่พัฒนาปัจจุบันทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายต่อการสร้างโอกาสการพัฒนาทำให้ผู้มีอาการดาวน์สามารถใช้ชีวิตในครอบครัวและสังคมอย่างมีความสุข ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิต ให้ความสำคัญในการพัฒนาความพร้อมที่จะเดินหน้าผลักดันการป้องกัน ส่งเสริม และฟื้นฟูดูแลผู้มีอาการดาวน์ แบบครบวงจร จัดบริการและพัฒนาเป็นคลินิกพิเศษเฉพาะด้านและครอบคลุมตั้งแต่แรกคลอดถึง 18 ปี โดยจะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกด้าน ทั้ง ด้านพัฒนาการ การป้องกันโรคแทรกซ้อน ให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพ พร้อมทั้งการดูแลด้านอารมณ์และการเรียนรู้ ซึ่งการเลี้ยงเด็กกลุ่มอาการดาวน์ให้ยึดหลัก 3 H ได้แก่ การดูแลสุขภาพ (Health) การมีความหวัง (Hope) และการดูแลด้วยหัวใจของเรา (Heart) พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวว่า ในปัจจุบันนี้ กลุ่มอาการดาวน์จำนวนมากยังขาดโอกาสในการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ เห็นได้จากอัตราการเข้าถึงบริการของผู้บกพร่องทางสติปัญญาปี 2556 ที่มีการเข้าถึงร้อยละ 8.4 สะท้อนให้เห็นว่า การส่งเสริมสุขภาพและกระตุ้นพัฒนาการในเด็กกลุ่มนี้ยังขาดความครอบคลุม รวมถึงขาดโอกาสเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนการศึกษาพิเศษหรือโรงเรียนร่วม ซึ่งพบว่านักเรียนบกพร่องทางสติปัญญาที่อยู่ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษและเรียนร่วมปี 2557 มีเพียง 26,250 คน โดยการพัฒนาศักยภาพของเด็กกลุ่มอาการดาวน์เพื่อให้ดำรงชีวิตอิสระได้ต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน อีกสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ เด็กกลุ่มนี้มีโอกาสเกิดโรคของอวัยวะต่าง ๆ อาทิ ปัญหาสายตา ปัญหาการได้ยิน ปัญหาไทรอยด์พบได้มากกว่า 1 ใน 4 จะรบกวนการเรียนรู้และจำเป็นต้องตรวจประเมินตั้งแต่วัยทารกและติดตามต่อเนื่องทุกปี นอกจากนี้ ยังมีปัญหาโรคหัวใจโดยกำเนิดพบถึง 40% ในส่วนของร่างกายและวิถีชีวิต จะเกิดโรคอ้วนและปัญหาแทรกซ้อน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ได้ง่าย ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000028028

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...