ยาช่วยคนตาพิการ รู้จักเวลาเช้า-ค่ำ

แสดงความคิดเห็น

คนพิการทางสายตา

มีผู้ผลิตยาซึ่งจะช่วยให้คนพิการทางสายตาปรับตัวให้รู้จักเวลานอนกลางคืน ตื่นกลางวันได้ เช่นเดียวกับผู้ที่มีดวงตาปกติ บริษัทผลิตยาแวนด้า ฟาร์มาซี ของอเมริกา เป็นเจ้าหนึ่งที่ผลิตยานี้ขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยให้คนพิการทางสายตาที่ไม่รู้ว่า ตอนไหนกลางวันหรือกลางคืน เพราะไม่เห็นแสงที่จะปรับนาฬิกาชีวภาพของตนเองให้เข้ากับโลกภายนอกได้

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ได้อธิบายว่า ยาแบบนี้จะต้องกินทุกวันและในเวลาเดียวกันด้วย เพื่อที่จะได้ให้คนพิการสามารถปรับตัวให้เข้ากับเวลาค่ำเช้าตามธรรมชาติได้ ในการทดลองยานี้ครั้งแรกกับคนพิการซึ่งมองไม่เห็นอะไรเลยจำนวน 104 ราย ปรากฏว่าคนพิการจำนวน 8 ราย ในจำนวนทั้งหมด 40 ราย สามารถรักษาเวลานอนได้เหมือนอย่างผู้ที่มีดวงตาปกติ แต่ในหมู่คนพิการซึ่งให้กินยาหลอก เพื่อเปรียบเทียบกัน ปรากฏว่ามีอยู่รายเดียวในจำนวนทั้งหมด 38 ราย ที่รู้ตัวว่าเช้าและค่ำ

อย่างไรก็ตาม ยาขนานนี้ยังมีราคาสูงมาก ค่ายาของคนพิการคนหนึ่งอาจจะเกือบปีละ 2 แสนบาท ดังนั้น คนพิการหลายรายจึงอยากให้ใช้การรักษาด้วยการให้เมลาโทนินเสริมมากกว่า เพราะว่าเสียค่ายาเพียงปีละ 2 ถึง 3 พันบาทเท่านั้น

คนพิการที่เลือกการรักษาด้วยเมลาโทนิน จะต้องกินยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ก่อนเวลานอนสัก 3 ถึง 5 ชั่วโมง และจะต้องปฏิบัติตามนี้อย่างเคร่งครัด แพทย์กล่าวว่า อาจจะกินเวลานานหลายเดือนกว่าที่นาฬิกาชีวภาพของร่างกายจะปรับเวลาให้เข้ากับวันละ 24 ชั่วโมงได้.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/522224

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 02 ก.ย.58
วันที่โพสต์: 3/09/2558 เวลา 11:06:36 ดูภาพสไลด์โชว์ ยาช่วยคนตาพิการ รู้จักเวลาเช้า-ค่ำ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คนพิการทางสายตา มีผู้ผลิตยาซึ่งจะช่วยให้คนพิการทางสายตาปรับตัวให้รู้จักเวลานอนกลางคืน ตื่นกลางวันได้ เช่นเดียวกับผู้ที่มีดวงตาปกติ บริษัทผลิตยาแวนด้า ฟาร์มาซี ของอเมริกา เป็นเจ้าหนึ่งที่ผลิตยานี้ขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยให้คนพิการทางสายตาที่ไม่รู้ว่า ตอนไหนกลางวันหรือกลางคืน เพราะไม่เห็นแสงที่จะปรับนาฬิกาชีวภาพของตนเองให้เข้ากับโลกภายนอกได้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ได้อธิบายว่า ยาแบบนี้จะต้องกินทุกวันและในเวลาเดียวกันด้วย เพื่อที่จะได้ให้คนพิการสามารถปรับตัวให้เข้ากับเวลาค่ำเช้าตามธรรมชาติได้ ในการทดลองยานี้ครั้งแรกกับคนพิการซึ่งมองไม่เห็นอะไรเลยจำนวน 104 ราย ปรากฏว่าคนพิการจำนวน 8 ราย ในจำนวนทั้งหมด 40 ราย สามารถรักษาเวลานอนได้เหมือนอย่างผู้ที่มีดวงตาปกติ แต่ในหมู่คนพิการซึ่งให้กินยาหลอก เพื่อเปรียบเทียบกัน ปรากฏว่ามีอยู่รายเดียวในจำนวนทั้งหมด 38 ราย ที่รู้ตัวว่าเช้าและค่ำ อย่างไรก็ตาม ยาขนานนี้ยังมีราคาสูงมาก ค่ายาของคนพิการคนหนึ่งอาจจะเกือบปีละ 2 แสนบาท ดังนั้น คนพิการหลายรายจึงอยากให้ใช้การรักษาด้วยการให้เมลาโทนินเสริมมากกว่า เพราะว่าเสียค่ายาเพียงปีละ 2 ถึง 3 พันบาทเท่านั้น คนพิการที่เลือกการรักษาด้วยเมลาโทนิน จะต้องกินยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ก่อนเวลานอนสัก 3 ถึง 5 ชั่วโมง และจะต้องปฏิบัติตามนี้อย่างเคร่งครัด แพทย์กล่าวว่า อาจจะกินเวลานานหลายเดือนกว่าที่นาฬิกาชีวภาพของร่างกายจะปรับเวลาให้เข้ากับวันละ 24 ชั่วโมงได้. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/522224

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...