การฝึกทักษะการสื่อสารด้วยABA

แสดงความคิดเห็น

การฝึกทักษะการสื่อสารด้วยABA

สำหรับเด็กออทิสติกแล้ว อีกทักษะหนึ่งที่เป็นปัญหาและต้องได้รับการรักษารวมทั้งดูแล คือเรื่องพัฒนา การด้านการสื่อสาร

พฤติกรรมที่ถือว่าเป็นความบกพร่องในสังคมของเด็กออทิสติกก็คือเรื่องการสื่อสาร เด็กออทิสติกส่วนใหญ่จะมีความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นการพูด ไม่พูด พูดช้า พูดไม่เป็นคำ พูดไม่มีความหมาย พูดเรื่อยเปื่อย พูดถามคำ-ตอบคำ พูดซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งจะเห็นได้ว่า พฤติกรรมการพูดมีในทุกรูปแบบ ถึงแม้ว่าเด็กแอสเปอร์เกอร์จะดีกว่าเด็กในกลุ่มอื่น ๆ บ้างก็ตรงกับที่เด็กเหล่านี้สามารถสื่อสารได้ มีรูปประโยคชัดเจน แต่ภาษาที่ใช้ก็อาจจะเข้าใจยาก ดังนั้น เด็กออทิสซึมจึงจำเป็นต้องมีการฝึกทักษะทางด้านนี้ และโดยเฉลี่ยแล้วควรใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

คำถามคือ เราจะสามารถปรับใช้ ABA ในการฝึกทักษะการสื่อสารได้อย่างไร ตัวอย่างหนึ่งจากคุณณัฐศาสตร์ อุณาศรี ซึ่งเป็นนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายทางด้านแก้ไขการพูด หรือที่เรียกว่า “นักแก้ไขการพูด” หรือ “นักฝึกพูด” ได้แบ่งปันประสบการณ์ว่า มีผู้ป่วยเด็กชายไทยคนหนึ่งอายุราว 4 ขวบ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีพัฒนาการช้ารอบด้าน จึงได้ส่งไปปรึกษาต่อที่คลินิกฝึกพูด ช่วงแรกที่รับคนไข้เข้ามา วันแรกคนไข้เอาแต่ร้องไห้ สลับกับกอดผู้ปกครองเป็นระยะ ๆ ไม่มองหน้าสบตากับผู้ฝึก มีแต่มองหน้าสบตากับแม่และมองทางออกประตูห้องฝึกตลอด ผู้ฝึกนั้นพยายามที่จะหาทางเข้าปฏิสัมพันธ์กับเด็ก แต่เมื่อจะเข้าใกล้ทีไร เด็กก็จะร้องไห้และกอดแม่แน่นทุกที ทำให้ผู้ปกครองนั้นค่อนข้างท้อและหมดกำลังใจ เนื่องจากเคยพาไปฝึกมาหลายที่แล้ว ซึ่งผู้ฝึกในตอนนั้นก็คิดหาหนทางว่าจะช่วยเด็กและผู้ปกครองอย่างไรดี เพื่อทำให้เด็กนั้นมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เมื่อสอบถามจากผู้ปกครองเพิ่มเติมก็พบอีกว่า เด็กค่อนข้างมีพฤติกรรมก้าวร้าว ขว้างปาสิ่งของ และทำร้ายผู้ดูแลเป็นประจำ จะเป็นเฉพาะช่วงกลางวันเท่านั้น กลางคืนหรือถ้าอยู่ในห้องสลัว ๆ เด็กจะไม่อาละวาดหรือโวยวาย ผู้ฝึกจึงได้ลองค้นหาเทคนิคและวิธีการฝึกต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคในการกระตุ้นภาษา กระตุ้นการพูดของเด็กและลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเมื่อผ่านไป 4 เดือน พัฒนาการของเด็กไม่ก้าวหน้ามากนัก เด็กเริ่มอาละวาดหนักขึ้น มีการขว้างปาสิ่งของกระจัดกระจายไปตามพื้นห้อง

ผู้ฝึก : หยุด!! ห้ามขว้าง (ผู้ฝึกหันไปทางเด็กและส่งแววตาชัดเจนให้เด็กหยุดพฤติกรรม)

เด็ก : มองหน้ามาทางผู้ฝึก วางของลง แต่คราวนี้ไปดึงผมแม่แทน

ผู้ฝึกเห็นดังนั้น ไม่ได้ล่ะ จะหยุดพฤติกรรมที่ทำร้ายผู้อื่นอย่างไร โดยความคิดฉับพลัน

ผู้ฝึก : หยุด! ถ้าไม่หยุด จะไปปิดไฟเดี๋ยวนี้ และผู้ฝึกจึงเดินไปเพื่อเตรียมปิดที่สวิตช์ไฟ

เด็ก : หันหน้ามาทางผู้ฝึก เอามือออกจากผมแม่ และพูดออกมาว่า “มะ” พร้อมกับส่ายหน้า

แม่ประหลาดใจที่เด็กออกเสียงตอบสนองต่อผู้ฝึก จากนั้นผู้ฝึกจึงเดินมาหาเด็ก

ผู้ฝึก : ถ้าไม่อยากให้ครูปิดไฟนั้นเก็บของใส่กล่องครับ

เด็ก : เริ่มเก็บของทีละชิ้นลงไปในกล่องตามคำสั่ง

ในแต่ละครั้ง ก่อนที่เด็กจะนำของเก็บใส่กล่อง ผู้ฝึกจะพยายามกระตุ้นให้เด็กออกเสียงทุกครั้งและชมเด็กเมื่อเด็กทำได้ถูกต้อง ซึ่งเด็กตอบสนองได้ทุกครั้ง แต่มีบางจังหวะที่เด็กจะเตรียมปาสิ่งของหรือจะไปดึงผมแม่ ผู้ฝึกจะมองไปที่สวิตช์ไฟหรือเดินไปบริเวณสวิตช์ไฟ และพบว่าเด็กก็สามารถหยุดพฤติกรรมได้ด้วยตนเอง

เมื่อจบชั่วโมงฝึกและเด็กเก็บของเสร็จ ณ เวลานั้นเด็กนิ่งและมองหน้าผู้ฝึกเป็นระยะๆ ว่ามีท่าทีอย่างไร จากนั้นผู้ฝึกจึงได้ให้เทคนิคนี้เป็นการบ้านกับผู้ปกครองเพื่อนำไปกระตุ้นภาษาและการพูดต่อที่บ้าน หลังจากนั้นอีก 1 เดือนเมื่อผู้ปกครองกลับมาและมาเล่าให้ผู้ฝึกฟังว่า ผู้ปกครองพึงพอใจกับเทคนิคการฝึกนี้มาก เนื่องจากเด็กพฤติกรรมก้าวร้าวลดลงและเด็กสามารถพูดออกได้เป็นคำ ๆ เพื่อสื่อความหมายผู้ปกครองได้ ซึ่งในห้องฝึกวันที่เจอกันก็เป็นไปตามที่ผู้ปกครองเล่า เด็กเริ่มทำกิจกรรมกับผม พูดเป็นคำ ๆ เพื่อสื่อความหมายกับผู้ฝึกได้ มองหน้าสบตาเป็นระยะ อีกทั้งเริ่มแสดงอารมณ์สนุกร่วมกับผู้ฝึกและ ผู้ปกครองได้

จะเห็นได้ว่า ABA หรือ การวิเคราะห์พฤติกรรมแบบประยุกต์นั้น มีหลักการคือการให้รางวัลและการตอบสนองในแง่บวก ไม่เพียงแต่ใช้ได้ผลดีในเด็กออทิสติกเท่านั้น ที่ได้รับผลดีจากการฝึกแต่เด็กที่มีความบกพร่องด้านการสื่อสารกลุ่มอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเด็กดาวน์ซินโดรม เด็กที่มีพัฒนาการช้า ก็ได้รับประโยชน์จากการฝึกด้านการสื่อสารเช่นเดียวกัน และเพราะการสื่อสารมีความจำเป็นและสำคัญมากต่อทักษะทางสังคม ยิ่งเด็กได้รับการฝึกหรือพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารได้เร็วเท่าไหร่ เด็กก็จะยิ่งมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้เร็วมากขึ้นเท่านั้น.

อาจารย์ ดร.ปรียาสิริ วิฑูรชาติ ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล“

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/332404 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.ค.58
วันที่โพสต์: 6/07/2558 เวลา 11:29:23 ดูภาพสไลด์โชว์ การฝึกทักษะการสื่อสารด้วยABA

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การฝึกทักษะการสื่อสารด้วยABA สำหรับเด็กออทิสติกแล้ว อีกทักษะหนึ่งที่เป็นปัญหาและต้องได้รับการรักษารวมทั้งดูแล คือเรื่องพัฒนา การด้านการสื่อสาร พฤติกรรมที่ถือว่าเป็นความบกพร่องในสังคมของเด็กออทิสติกก็คือเรื่องการสื่อสาร เด็กออทิสติกส่วนใหญ่จะมีความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นการพูด ไม่พูด พูดช้า พูดไม่เป็นคำ พูดไม่มีความหมาย พูดเรื่อยเปื่อย พูดถามคำ-ตอบคำ พูดซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งจะเห็นได้ว่า พฤติกรรมการพูดมีในทุกรูปแบบ ถึงแม้ว่าเด็กแอสเปอร์เกอร์จะดีกว่าเด็กในกลุ่มอื่น ๆ บ้างก็ตรงกับที่เด็กเหล่านี้สามารถสื่อสารได้ มีรูปประโยคชัดเจน แต่ภาษาที่ใช้ก็อาจจะเข้าใจยาก ดังนั้น เด็กออทิสซึมจึงจำเป็นต้องมีการฝึกทักษะทางด้านนี้ และโดยเฉลี่ยแล้วควรใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คำถามคือ เราจะสามารถปรับใช้ ABA ในการฝึกทักษะการสื่อสารได้อย่างไร ตัวอย่างหนึ่งจากคุณณัฐศาสตร์ อุณาศรี ซึ่งเป็นนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายทางด้านแก้ไขการพูด หรือที่เรียกว่า “นักแก้ไขการพูด” หรือ “นักฝึกพูด” ได้แบ่งปันประสบการณ์ว่า มีผู้ป่วยเด็กชายไทยคนหนึ่งอายุราว 4 ขวบ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีพัฒนาการช้ารอบด้าน จึงได้ส่งไปปรึกษาต่อที่คลินิกฝึกพูด ช่วงแรกที่รับคนไข้เข้ามา วันแรกคนไข้เอาแต่ร้องไห้ สลับกับกอดผู้ปกครองเป็นระยะ ๆ ไม่มองหน้าสบตากับผู้ฝึก มีแต่มองหน้าสบตากับแม่และมองทางออกประตูห้องฝึกตลอด ผู้ฝึกนั้นพยายามที่จะหาทางเข้าปฏิสัมพันธ์กับเด็ก แต่เมื่อจะเข้าใกล้ทีไร เด็กก็จะร้องไห้และกอดแม่แน่นทุกที ทำให้ผู้ปกครองนั้นค่อนข้างท้อและหมดกำลังใจ เนื่องจากเคยพาไปฝึกมาหลายที่แล้ว ซึ่งผู้ฝึกในตอนนั้นก็คิดหาหนทางว่าจะช่วยเด็กและผู้ปกครองอย่างไรดี เพื่อทำให้เด็กนั้นมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เมื่อสอบถามจากผู้ปกครองเพิ่มเติมก็พบอีกว่า เด็กค่อนข้างมีพฤติกรรมก้าวร้าว ขว้างปาสิ่งของ และทำร้ายผู้ดูแลเป็นประจำ จะเป็นเฉพาะช่วงกลางวันเท่านั้น กลางคืนหรือถ้าอยู่ในห้องสลัว ๆ เด็กจะไม่อาละวาดหรือโวยวาย ผู้ฝึกจึงได้ลองค้นหาเทคนิคและวิธีการฝึกต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคในการกระตุ้นภาษา กระตุ้นการพูดของเด็กและลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเมื่อผ่านไป 4 เดือน พัฒนาการของเด็กไม่ก้าวหน้ามากนัก เด็กเริ่มอาละวาดหนักขึ้น มีการขว้างปาสิ่งของกระจัดกระจายไปตามพื้นห้อง ผู้ฝึก : หยุด!! ห้ามขว้าง (ผู้ฝึกหันไปทางเด็กและส่งแววตาชัดเจนให้เด็กหยุดพฤติกรรม) เด็ก : มองหน้ามาทางผู้ฝึก วางของลง แต่คราวนี้ไปดึงผมแม่แทน ผู้ฝึกเห็นดังนั้น ไม่ได้ล่ะ จะหยุดพฤติกรรมที่ทำร้ายผู้อื่นอย่างไร โดยความคิดฉับพลัน ผู้ฝึก : หยุด! ถ้าไม่หยุด จะไปปิดไฟเดี๋ยวนี้ และผู้ฝึกจึงเดินไปเพื่อเตรียมปิดที่สวิตช์ไฟ เด็ก : หันหน้ามาทางผู้ฝึก เอามือออกจากผมแม่ และพูดออกมาว่า “มะ” พร้อมกับส่ายหน้า แม่ประหลาดใจที่เด็กออกเสียงตอบสนองต่อผู้ฝึก จากนั้นผู้ฝึกจึงเดินมาหาเด็ก ผู้ฝึก : ถ้าไม่อยากให้ครูปิดไฟนั้นเก็บของใส่กล่องครับ เด็ก : เริ่มเก็บของทีละชิ้นลงไปในกล่องตามคำสั่ง ในแต่ละครั้ง ก่อนที่เด็กจะนำของเก็บใส่กล่อง ผู้ฝึกจะพยายามกระตุ้นให้เด็กออกเสียงทุกครั้งและชมเด็กเมื่อเด็กทำได้ถูกต้อง ซึ่งเด็กตอบสนองได้ทุกครั้ง แต่มีบางจังหวะที่เด็กจะเตรียมปาสิ่งของหรือจะไปดึงผมแม่ ผู้ฝึกจะมองไปที่สวิตช์ไฟหรือเดินไปบริเวณสวิตช์ไฟ และพบว่าเด็กก็สามารถหยุดพฤติกรรมได้ด้วยตนเอง เมื่อจบชั่วโมงฝึกและเด็กเก็บของเสร็จ ณ เวลานั้นเด็กนิ่งและมองหน้าผู้ฝึกเป็นระยะๆ ว่ามีท่าทีอย่างไร จากนั้นผู้ฝึกจึงได้ให้เทคนิคนี้เป็นการบ้านกับผู้ปกครองเพื่อนำไปกระตุ้นภาษาและการพูดต่อที่บ้าน หลังจากนั้นอีก 1 เดือนเมื่อผู้ปกครองกลับมาและมาเล่าให้ผู้ฝึกฟังว่า ผู้ปกครองพึงพอใจกับเทคนิคการฝึกนี้มาก เนื่องจากเด็กพฤติกรรมก้าวร้าวลดลงและเด็กสามารถพูดออกได้เป็นคำ ๆ เพื่อสื่อความหมายผู้ปกครองได้ ซึ่งในห้องฝึกวันที่เจอกันก็เป็นไปตามที่ผู้ปกครองเล่า เด็กเริ่มทำกิจกรรมกับผม พูดเป็นคำ ๆ เพื่อสื่อความหมายกับผู้ฝึกได้ มองหน้าสบตาเป็นระยะ อีกทั้งเริ่มแสดงอารมณ์สนุกร่วมกับผู้ฝึกและ ผู้ปกครองได้ จะเห็นได้ว่า ABA หรือ การวิเคราะห์พฤติกรรมแบบประยุกต์นั้น มีหลักการคือการให้รางวัลและการตอบสนองในแง่บวก ไม่เพียงแต่ใช้ได้ผลดีในเด็กออทิสติกเท่านั้น ที่ได้รับผลดีจากการฝึกแต่เด็กที่มีความบกพร่องด้านการสื่อสารกลุ่มอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเด็กดาวน์ซินโดรม เด็กที่มีพัฒนาการช้า ก็ได้รับประโยชน์จากการฝึกด้านการสื่อสารเช่นเดียวกัน และเพราะการสื่อสารมีความจำเป็นและสำคัญมากต่อทักษะทางสังคม ยิ่งเด็กได้รับการฝึกหรือพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารได้เร็วเท่าไหร่ เด็กก็จะยิ่งมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้เร็วมากขึ้นเท่านั้น. อาจารย์ ดร.ปรียาสิริ วิฑูรชาติ ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล“ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/332404

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...