พยากรณ์โรคปี 2557

แสดงความคิดเห็น

การประชุมเชิงปฏิบัติการ DDC Forum เรื่อง การพยากรณ์และภัยสุขภาพ ปี 2557

การพยากรณ์โรคเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ของโรคภัยที่อาจเกิดกับประชาชน เพื่อเตรียมการรับมือหรือปรับเปลี่ยนมาตรการให้เหมาะสม รวมทั้งสื่อสารความเสี่ยงเตือนภัยการระบาดของโรคแก่ประชาชนและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง มาดูกันว่า โรคที่มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในปี 2557 มีอะไรบ้าง นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า โรคที่น่าจับตามอง 6 โรคที่มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2557 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2556 มีดังนี้

โรคสุกใส คาดว่าจะมีผู้ป่วยในปี 2557 ประมาณ 58,000–71,000 ราย น่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยสูงสุดอยู่ในช่วงเดือน ม.ค. หรือ ก.พ. หรือ มี.ค.และเกิดในกลุ่มคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งสาเหตุของการไม่มีภูมิคุ้มกัน มีดังนี้ 1.ประชากรไม่คงที่ มีการเกิด การตาย การย้ายถิ่น เมื่อเวลาผ่านไปทำให้มีการสะสมของคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน 2.กลุ่มคนไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อนทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกัน 3.การที่คนไม่ได้รับวัคซีนสุกใส เพราะไม่ได้อยู่ในตารางเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของกระทรวงสาธารณสุข และ 4.ฤดูกาลทำให้ระยะการถ่ายทอดโรคยาวนานขึ้น เช่น ฤดูหนาว ทำให้ไวรัสมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้น จึงมีโอกาสถ่ายทอดโรคได้มากขึ้น

โรคไข้สมองอักเสบ คาดว่าจะมีผู้ป่วยในปี 2557 ประมาณ 680–830 ราย โดยน่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2556 เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าปี 2547-2549 มีอัตราป่วยคงที่ แต่ในช่วงปี 2550-2555 อัตราป่วยกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น ปีที่พบผู้ป่วยมากกว่าค่าปกติที่คาดการณ์ไว้ คือปี 2555 ในเดือน มิ.ย. และในปี 2556 เดือน ม.ค.

โรคไข้กาฬหลังแอ่น คาดว่าจะมีผู้ป่วยในปี 2557 ประมาณ 14-17 ราย น่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยโรคไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์ค่อนข้างตํ่า พบผู้ป่วยตลอดทั้งปีและทุกภาคทั่วประเทศ จำนวนผู้ป่วยจะกระจายเดือนละประมาณ 1-3 ราย ปีที่พบผู้ป่วยมากกว่าค่าปกติที่คาดการณ์ไว้ คือปี 2547 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 50 ราย และ ปี 2549 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 35 ราย

โรคอหิวาตกโรค คาดว่าในปี 2557 ถ้าไม่มีการเฝ้าระวังและควบคุมโรคที่ดี น่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 3.8 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2556 โดยจะมีผู้ป่วยประมาณ 280-340 ราย ในปี 2557 เมื่อดูข้อมูลย้อนหลังพบว่ามีการระบาดใหญ่ใน จ.ภูเก็ตและสงขลา ปี 2550 ในเดือน ต.ค. มีการระบาดในศูนย์อพยพ จ.ตาก ปี 2553 ในเดือนมิ.ย. และมีการระบาดใหญ่ใน จ.ตากและปัตตานี โดยสถานการณ์ของอหิวาตกโรค ตั้งแต่ปี 2547 มีลักษณะการระบาดปีเว้นสองปี

โรคไทฟอยด์ คาดว่าจำนวนผู้ป่วยในปี 2557 น่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยคาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 2,700-3,300 รายในปี 2557 ปีที่พบผู้ป่วยมากกว่าค่าปกติที่คาดการณ์ไว้ คือ ปี 2547 ในเดือนก.พ.และก.ค. ปี 2553 ในเดือน ม.ค. และ ส.ค. ปี 2554 ในเดือนม.ค.

โรคไวรัสตับอักเสบเอ คาดว่าจำนวนผู้ป่วยในปี 2557 น่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยจะมีผู้ป่วยประมาณ 430-520 รายในปี 2557 ปีที่พบผู้ป่วยมากกว่าค่าปกติที่คาดการณ์ไว้ คือ ปี 2548 เมื่อดูข้อมูลย้อนหลังพบว่าในเดือนพ.ค. มีการระบาดมากที่สุด 1,447 ราย และในเดือนมิ.ย. 299 รายปี 2555 มีการระบาดเกิดในโรงงานอุตสาห กรรมและในสถานประกอบการหลายแห่ง ส่วนสาเหตุมาจากกลุ่มผู้ป่วยมักดื่มสุรา รับประทานอาหารเย็นและใช้แก้ว นํ้าร่วมกัน ส่วนอีกเหตุการณ์คือ การระบาดในทุกอำเภอ จ.บึงกาฬ โดยเกิดจาก การบริโภคนํ้าแข็งจากบริษัทแห่งหนึ่งใน อ.บึงกาฬ

คำแนะนำสำหรับโรคติดต่อทางอาหารและนํ้า ได้แก่ โรคอหิวาตกโรค โรคไทฟอยด์ และโรคไวรัสตับอักเสบเอ ให้ยึดหลักป้องกันการป่วยด้วยมาตรการ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” รับประทานอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อนทั่วถึง ใช้ช้อนกลางตักเมื่อรับประทานอาหารร่วมกัน ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังใช้ห้องนํ้า ห้องส้วม นอกจากนี้ ต้องยึดหลักความสะอาด โดยทำความสะอาดครัวปรุงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ การกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล ดื่มนํ้าที่สะอาดหรือนํ้าต้มสุก ส่วนโรคสุกใส ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการร่วมกิจกรรมคลุกคลีกับผู้ป่วย เช่น อยู่ด้วยกัน กินดื่มด้วยกัน หรือเล่นด้วยกัน เมื่อมีอาการป่วย ให้รีบไปหาแพทย์ทันที ในบางรายแพทย์อาจให้ยาต้านไวรัสเพื่อลดความรุนแรง ถัดไปโรคไข้สมองอักเสบ ควรได้รับวัคซีนตามกำหนด โดยเริ่มตั้งแต่อายุหนึ่งขวบครึ่ง 2 เข็ม และกระตุ้นเมื่อสองขวบครึ่ง ถ้าอยู่ในชนบทให้ป้องกันยุงท้องนากัด โดยนอนในมุ้ง สุดท้ายโรคไข้กาฬหลังแอ่น แนะนำให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด เมื่อมีอาการป่วย ให้รีบไปหาแพทย์ทันที. นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/221221/พยากรณ์โรคปี+2557+-+คุณหมอขอบอก (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 มี.ค.57

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 11/03/2557 เวลา 04:17:01 ดูภาพสไลด์โชว์ พยากรณ์โรคปี 2557

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การประชุมเชิงปฏิบัติการ DDC Forum เรื่อง การพยากรณ์และภัยสุขภาพ ปี 2557 การพยากรณ์โรคเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ของโรคภัยที่อาจเกิดกับประชาชน เพื่อเตรียมการรับมือหรือปรับเปลี่ยนมาตรการให้เหมาะสม รวมทั้งสื่อสารความเสี่ยงเตือนภัยการระบาดของโรคแก่ประชาชนและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง มาดูกันว่า โรคที่มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในปี 2557 มีอะไรบ้าง นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า โรคที่น่าจับตามอง 6 โรคที่มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2557 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2556 มีดังนี้ โรคสุกใส คาดว่าจะมีผู้ป่วยในปี 2557 ประมาณ 58,000–71,000 ราย น่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยสูงสุดอยู่ในช่วงเดือน ม.ค. หรือ ก.พ. หรือ มี.ค.และเกิดในกลุ่มคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งสาเหตุของการไม่มีภูมิคุ้มกัน มีดังนี้ 1.ประชากรไม่คงที่ มีการเกิด การตาย การย้ายถิ่น เมื่อเวลาผ่านไปทำให้มีการสะสมของคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน 2.กลุ่มคนไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อนทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกัน 3.การที่คนไม่ได้รับวัคซีนสุกใส เพราะไม่ได้อยู่ในตารางเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของกระทรวงสาธารณสุข และ 4.ฤดูกาลทำให้ระยะการถ่ายทอดโรคยาวนานขึ้น เช่น ฤดูหนาว ทำให้ไวรัสมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้น จึงมีโอกาสถ่ายทอดโรคได้มากขึ้น โรคไข้สมองอักเสบ คาดว่าจะมีผู้ป่วยในปี 2557 ประมาณ 680–830 ราย โดยน่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2556 เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าปี 2547-2549 มีอัตราป่วยคงที่ แต่ในช่วงปี 2550-2555 อัตราป่วยกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น ปีที่พบผู้ป่วยมากกว่าค่าปกติที่คาดการณ์ไว้ คือปี 2555 ในเดือน มิ.ย. และในปี 2556 เดือน ม.ค. โรคไข้กาฬหลังแอ่น คาดว่าจะมีผู้ป่วยในปี 2557 ประมาณ 14-17 ราย น่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยโรคไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์ค่อนข้างตํ่า พบผู้ป่วยตลอดทั้งปีและทุกภาคทั่วประเทศ จำนวนผู้ป่วยจะกระจายเดือนละประมาณ 1-3 ราย ปีที่พบผู้ป่วยมากกว่าค่าปกติที่คาดการณ์ไว้ คือปี 2547 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 50 ราย และ ปี 2549 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 35 ราย โรคอหิวาตกโรค คาดว่าในปี 2557 ถ้าไม่มีการเฝ้าระวังและควบคุมโรคที่ดี น่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 3.8 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2556 โดยจะมีผู้ป่วยประมาณ 280-340 ราย ในปี 2557 เมื่อดูข้อมูลย้อนหลังพบว่ามีการระบาดใหญ่ใน จ.ภูเก็ตและสงขลา ปี 2550 ในเดือน ต.ค. มีการระบาดในศูนย์อพยพ จ.ตาก ปี 2553 ในเดือนมิ.ย. และมีการระบาดใหญ่ใน จ.ตากและปัตตานี โดยสถานการณ์ของอหิวาตกโรค ตั้งแต่ปี 2547 มีลักษณะการระบาดปีเว้นสองปี โรคไทฟอยด์ คาดว่าจำนวนผู้ป่วยในปี 2557 น่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยคาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 2,700-3,300 รายในปี 2557 ปีที่พบผู้ป่วยมากกว่าค่าปกติที่คาดการณ์ไว้ คือ ปี 2547 ในเดือนก.พ.และก.ค. ปี 2553 ในเดือน ม.ค. และ ส.ค. ปี 2554 ในเดือนม.ค. โรคไวรัสตับอักเสบเอ คาดว่าจำนวนผู้ป่วยในปี 2557 น่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยจะมีผู้ป่วยประมาณ 430-520 รายในปี 2557 ปีที่พบผู้ป่วยมากกว่าค่าปกติที่คาดการณ์ไว้ คือ ปี 2548 เมื่อดูข้อมูลย้อนหลังพบว่าในเดือนพ.ค. มีการระบาดมากที่สุด 1,447 ราย และในเดือนมิ.ย. 299 รายปี 2555 มีการระบาดเกิดในโรงงานอุตสาห กรรมและในสถานประกอบการหลายแห่ง ส่วนสาเหตุมาจากกลุ่มผู้ป่วยมักดื่มสุรา รับประทานอาหารเย็นและใช้แก้ว นํ้าร่วมกัน ส่วนอีกเหตุการณ์คือ การระบาดในทุกอำเภอ จ.บึงกาฬ โดยเกิดจาก การบริโภคนํ้าแข็งจากบริษัทแห่งหนึ่งใน อ.บึงกาฬ คำแนะนำสำหรับโรคติดต่อทางอาหารและนํ้า ได้แก่ โรคอหิวาตกโรค โรคไทฟอยด์ และโรคไวรัสตับอักเสบเอ ให้ยึดหลักป้องกันการป่วยด้วยมาตรการ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” รับประทานอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อนทั่วถึง ใช้ช้อนกลางตักเมื่อรับประทานอาหารร่วมกัน ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังใช้ห้องนํ้า ห้องส้วม นอกจากนี้ ต้องยึดหลักความสะอาด โดยทำความสะอาดครัวปรุงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ การกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล ดื่มนํ้าที่สะอาดหรือนํ้าต้มสุก ส่วนโรคสุกใส ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการร่วมกิจกรรมคลุกคลีกับผู้ป่วย เช่น อยู่ด้วยกัน กินดื่มด้วยกัน หรือเล่นด้วยกัน เมื่อมีอาการป่วย ให้รีบไปหาแพทย์ทันที ในบางรายแพทย์อาจให้ยาต้านไวรัสเพื่อลดความรุนแรง ถัดไปโรคไข้สมองอักเสบ ควรได้รับวัคซีนตามกำหนด โดยเริ่มตั้งแต่อายุหนึ่งขวบครึ่ง 2 เข็ม และกระตุ้นเมื่อสองขวบครึ่ง ถ้าอยู่ในชนบทให้ป้องกันยุงท้องนากัด โดยนอนในมุ้ง สุดท้ายโรคไข้กาฬหลังแอ่น แนะนำให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด เมื่อมีอาการป่วย ให้รีบไปหาแพทย์ทันที. นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/221221/พยากรณ์โรคปี+2557+-+คุณหมอขอบอก เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...