แนะ 'ปฏิรูประบบสุขภาพ' เริ่มแก้ที่การเมือง

แสดงความคิดเห็น

ภาพ นพ.บรรลุ ศิริพานิช ผู้ทรงคุณวุฒิอาวุโส อดีตกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.)

เครือข่ายสังคมสุขภาพจัดเสวนา 'จากปฏิรูประบบสุขภาพ สู่ปฏิรูปประเทศไทย' หาสรุปปฏิรูประบบสุขภาพ ตัวแทนวิชาชีพเสนอต้องเริ่มแก้ที่ระบบการเมือง เป้าหมายชัด กระจายอำนาจสู่ชุมนุม พร้อมดังทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม เผยยังห่วงเหตุขัดแย้งการเมืองไทย...

เมื่อวันที่ 24 ก.พ.57 ที่ห้องประชุมแซฟไฟซ์ อิมแพค เมืองทองธานี สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ (สปพส.) และองค์กรภาคเครือข่าย จัดเวทีสาธารณะ "จากปฏิรูประบบสุขภาพ สู่ปฏิรูปประเทศไทย" พิจารณาข้อเสนอเพื่อการปฏิรูประบบสุขภาพสนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทย

นพ.บรรลุ ศิริพานิช ผู้ทรงคุณวุฒิอาวุโส อดีตกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.) กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมสุขภาวะระดับประเทศยังถือว่าไม่ดี ทำให้คนไม่เป็นสุขเท่าที่ควร ดังนั้น ต้องปฏิรูปให้ดีขึ้น แต่ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ เห็นว่า ควรทำเฉพาะ 2 เรื่องเท่านั้น คือ การปฏิรูปการเมืองการปกครอง และการปฏิรูปเศรษฐกิจ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกัน โดยระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นระบบทุนนิยมที่มีหลัก 3 ข้อ คือ 1.คนรวยได้เปรียบคนจน 2.คนฉลาดได้เปรียบคนโง่ และ 3.คนแข็งแรงได้เปรียบคนอ่อนแอ ซึ่งส่งผลให้สังคมยิ่งแย่

"โดยคนรวย ยิ่งรวยมากขึ้น คนจนก็ยิ่งจน หรือที่เรียกว่า รวยกระจุกจนกระจาย แต่ที่ซ้ำร้ายกว่านั้น คือ คนรวยนอกจากจะได้เปรียบแล้ว ยังเอาเปรียบคนจน เช่น หนีภาษี ดังนั้นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะส่งผลเสียอย่างมากในระยะยาว และทุนนิยมยังทำให้เกิดการใช้อำนาจเงินเป็นตัวชี้นำ และมีการใช้อำนาจเงินซื้อระบบการปกครอง ซึ่งยิ่งทำให้ส่งผลเสีย ดังนั้น หากยังไม่แก้ไขก็จะส่งผลให้ภาวะทางสังคมยิ่งแย่ลง เรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม นอกจากจะต้องปฏิรูปสังคมแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องปฏิรูปคือจิตปัญญา คือต้องรู้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ" นพ.บรรลุ กล่าว.

จากนั้นในวง เสวนา หัวข้อ “ต่อยอดปฏิรูประบบสุขภาพสู่ปฏิรูปประเทศไทย” โดยนางปรีดา คงแป้น อดีตกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) และผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท กล่าวว่า โครงสร้างของการปฏิรูประบบสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยนั้น ยังไปไม่ถึงไหน ซึ่งยุคสมัยหนึ่งของการต่อสู้เรื่องการปฏิรูป ก็มีกลุ่มเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม อย่างกลุ่มสมัชชาคนจน แต่การเรียกร้องก็ยังติดขัด เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในเชิงโครงสร้าง ต่อมารูปแบบของการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงมากขึ้น โดย นพ.ประเวศ วะสี ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น ด้วยการดึงข้าราชการและภาคองค์กรต่างๆ เข้ามา

"เมื่อบ้านเมืองเกิดวิกฤติ จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้ร่วมกันหาทางออกเพื่อให้บ้านเมืองเดินไปสู่ทางออกที่ ดีขึ้น พวกเราต้องช่วยกันผลักดันและต้องช่วยกันทำเรื่องนี้ เพราะประเด็นของการปฏิรูปประเทศไทยในตอนนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยสิ่งที่เราจะสามารถทำได้ในขณะนี้คือ ใช้เครื่องมือสมัชชาสุขภาพที่รวมเครือข่ายที่หลากหลาย ทั้งประชาชนองค์กร เอกชน ภาคธุรกิจ ภาคราชการ มาเป็นเครื่องมือในการปฏิรูป และหามาตรการที่จะทำให้การปฏิรูปชัดเจนขึ้นเพิ่มเข้าไป เพื่อช่วยในการขับเคลื่อน โดยการปฏิรูปจะต้องสนับสนุนให้มีการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นให้ เกิดขึ้น" นางปรีดา กล่าว.

ด้านนางศิริพร ปัญญาเสน อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย จังหวัดลำปาง และกรรมการสมัชชาสุขภาพ จ.ลำปาง กล่าวว่า การที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดการปฏิรูปนั้น ท้องถิ่นต้องสามารถจัดการตนเองได้ ซึ่งวันนี้ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองและปฏิรูปตนเองไกลกว่าจังหวัด เนื่องจากจังหวัดมียุทธศาสตร์ส่วนหนึ่งมาจากส่วนกลาง ที่ไปกดทับให้ยุทธศาสตร์ของท้องถิ่นอ่อนด้อยลง สิ่งที่สำคัญ คือ ส่วนกลางจะต้องปรับแนวคิดการกระจายอำนาจในท้องถิ่น และเสริมให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โดยเฉพาะกระบวนการของ สมัชชาสุขภาพ ที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและฟังเสียงของประชาชน นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเมืองคือ การเมืองที่ใช้เงินซื้อต้องเปลี่ยน เพราะระบบนี้จะทำให้ชุมชนล่มสลาย นอกจากนี้ เราต้องสร้างความตระหนักรู้ และสร้างจิตสำนึก โดยทำร่วมกับทั้งนักการเมืองและทุกภาค

ขณะที่ นพ.พรเจริญ เจียมบุญศรี ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปฏิรูประบบสุขภาพของประชาชนในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขมักมองในเชิงปฏิบัติ ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชน แต่ต้องมองการแก้ไขปัญหาให้มากกว่าคำว่าสุขภาพ และมากกว่าคำว่าปฏิบัติที่มุ่งเน้นวิชาการเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่การปฏิรูปจะเกิดขึ้นได้ คือ ต้องเข้มแข็ง และยึดมั่นในยุทธศาสตร์ รวมถึงความเชื่อที่จะสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาสังคม อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในการปฏิรูปต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน และให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน เครือข่ายองค์กรสาธารณสุขเองก็จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปให้มาก

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/content/edu/405782

( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.พ.57 )

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 25/02/2557 เวลา 03:02:41 ดูภาพสไลด์โชว์ แนะ 'ปฏิรูประบบสุขภาพ' เริ่มแก้ที่การเมือง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพ นพ.บรรลุ ศิริพานิช ผู้ทรงคุณวุฒิอาวุโส อดีตกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.) เครือข่ายสังคมสุขภาพจัดเสวนา 'จากปฏิรูประบบสุขภาพ สู่ปฏิรูปประเทศไทย' หาสรุปปฏิรูประบบสุขภาพ ตัวแทนวิชาชีพเสนอต้องเริ่มแก้ที่ระบบการเมือง เป้าหมายชัด กระจายอำนาจสู่ชุมนุม พร้อมดังทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม เผยยังห่วงเหตุขัดแย้งการเมืองไทย... เมื่อวันที่ 24 ก.พ.57 ที่ห้องประชุมแซฟไฟซ์ อิมแพค เมืองทองธานี สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ (สปพส.) และองค์กรภาคเครือข่าย จัดเวทีสาธารณะ "จากปฏิรูประบบสุขภาพ สู่ปฏิรูปประเทศไทย" พิจารณาข้อเสนอเพื่อการปฏิรูประบบสุขภาพสนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทย นพ.บรรลุ ศิริพานิช ผู้ทรงคุณวุฒิอาวุโส อดีตกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.) กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมสุขภาวะระดับประเทศยังถือว่าไม่ดี ทำให้คนไม่เป็นสุขเท่าที่ควร ดังนั้น ต้องปฏิรูปให้ดีขึ้น แต่ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ เห็นว่า ควรทำเฉพาะ 2 เรื่องเท่านั้น คือ การปฏิรูปการเมืองการปกครอง และการปฏิรูปเศรษฐกิจ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกัน โดยระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นระบบทุนนิยมที่มีหลัก 3 ข้อ คือ 1.คนรวยได้เปรียบคนจน 2.คนฉลาดได้เปรียบคนโง่ และ 3.คนแข็งแรงได้เปรียบคนอ่อนแอ ซึ่งส่งผลให้สังคมยิ่งแย่ "โดยคนรวย ยิ่งรวยมากขึ้น คนจนก็ยิ่งจน หรือที่เรียกว่า รวยกระจุกจนกระจาย แต่ที่ซ้ำร้ายกว่านั้น คือ คนรวยนอกจากจะได้เปรียบแล้ว ยังเอาเปรียบคนจน เช่น หนีภาษี ดังนั้นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะส่งผลเสียอย่างมากในระยะยาว และทุนนิยมยังทำให้เกิดการใช้อำนาจเงินเป็นตัวชี้นำ และมีการใช้อำนาจเงินซื้อระบบการปกครอง ซึ่งยิ่งทำให้ส่งผลเสีย ดังนั้น หากยังไม่แก้ไขก็จะส่งผลให้ภาวะทางสังคมยิ่งแย่ลง เรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม นอกจากจะต้องปฏิรูปสังคมแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องปฏิรูปคือจิตปัญญา คือต้องรู้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ" นพ.บรรลุ กล่าว. จากนั้นในวง เสวนา หัวข้อ “ต่อยอดปฏิรูประบบสุขภาพสู่ปฏิรูปประเทศไทย” โดยนางปรีดา คงแป้น อดีตกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) และผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท กล่าวว่า โครงสร้างของการปฏิรูประบบสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยนั้น ยังไปไม่ถึงไหน ซึ่งยุคสมัยหนึ่งของการต่อสู้เรื่องการปฏิรูป ก็มีกลุ่มเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม อย่างกลุ่มสมัชชาคนจน แต่การเรียกร้องก็ยังติดขัด เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในเชิงโครงสร้าง ต่อมารูปแบบของการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงมากขึ้น โดย นพ.ประเวศ วะสี ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น ด้วยการดึงข้าราชการและภาคองค์กรต่างๆ เข้ามา "เมื่อบ้านเมืองเกิดวิกฤติ จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้ร่วมกันหาทางออกเพื่อให้บ้านเมืองเดินไปสู่ทางออกที่ ดีขึ้น พวกเราต้องช่วยกันผลักดันและต้องช่วยกันทำเรื่องนี้ เพราะประเด็นของการปฏิรูปประเทศไทยในตอนนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยสิ่งที่เราจะสามารถทำได้ในขณะนี้คือ ใช้เครื่องมือสมัชชาสุขภาพที่รวมเครือข่ายที่หลากหลาย ทั้งประชาชนองค์กร เอกชน ภาคธุรกิจ ภาคราชการ มาเป็นเครื่องมือในการปฏิรูป และหามาตรการที่จะทำให้การปฏิรูปชัดเจนขึ้นเพิ่มเข้าไป เพื่อช่วยในการขับเคลื่อน โดยการปฏิรูปจะต้องสนับสนุนให้มีการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นให้ เกิดขึ้น" นางปรีดา กล่าว. ด้านนางศิริพร ปัญญาเสน อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย จังหวัดลำปาง และกรรมการสมัชชาสุขภาพ จ.ลำปาง กล่าวว่า การที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดการปฏิรูปนั้น ท้องถิ่นต้องสามารถจัดการตนเองได้ ซึ่งวันนี้ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองและปฏิรูปตนเองไกลกว่าจังหวัด เนื่องจากจังหวัดมียุทธศาสตร์ส่วนหนึ่งมาจากส่วนกลาง ที่ไปกดทับให้ยุทธศาสตร์ของท้องถิ่นอ่อนด้อยลง สิ่งที่สำคัญ คือ ส่วนกลางจะต้องปรับแนวคิดการกระจายอำนาจในท้องถิ่น และเสริมให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โดยเฉพาะกระบวนการของ สมัชชาสุขภาพ ที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและฟังเสียงของประชาชน นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเมืองคือ การเมืองที่ใช้เงินซื้อต้องเปลี่ยน เพราะระบบนี้จะทำให้ชุมชนล่มสลาย นอกจากนี้ เราต้องสร้างความตระหนักรู้ และสร้างจิตสำนึก โดยทำร่วมกับทั้งนักการเมืองและทุกภาค ขณะที่ นพ.พรเจริญ เจียมบุญศรี ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปฏิรูประบบสุขภาพของประชาชนในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขมักมองในเชิงปฏิบัติ ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชน แต่ต้องมองการแก้ไขปัญหาให้มากกว่าคำว่าสุขภาพ และมากกว่าคำว่าปฏิบัติที่มุ่งเน้นวิชาการเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่การปฏิรูปจะเกิดขึ้นได้ คือ ต้องเข้มแข็ง และยึดมั่นในยุทธศาสตร์ รวมถึงความเชื่อที่จะสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาสังคม อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในการปฏิรูปต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน และให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน เครือข่ายองค์กรสาธารณสุขเองก็จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปให้มาก ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/content/edu/405782 ( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.พ.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...