พิมพ์ "เซลล์ดวงตา" ด้วยอิงค์เจ็ท ความหวังรักษาตาบอด

แสดงความคิดเห็น

นักวิทยาศาสตร์พัฒนาเทคนิคการพิมพ์เซลล์ดวงตา เพื่อนำไปสู่การรักษาคนไข้ที่สูญเสียการมองเห็น

นับเป็นความหวังสำหรับผู้ที่ตาบอดหรือสูญ เสียการมองเห็น เมื่อทีมนักวิจัยเมืองผู้ดีพบวิธีพิมพ์เซลล์ประสาทของดวงตาขึ้นมาใหม่ได้ ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ได้เซลล์มีชีวิตและยังคงประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ไว้ได้ งานวิจัยดังกล่าวเป็นผลงานของทีมจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) สหราชอาณาจักร ที่ได้ทำการทดลองในเซลล์สัตว์ และตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยลงในวารสาร ไบโอเฟบริเคชัน (Biofabriccation) ซึ่งบีบีซีนิวส์รายงานว่า เทคนิคที่พวกเขาพัฒนาขึ้นนี้จะนำไปสู่การรักษาคนไข้ที่สูญเสียการมองเห็น อันเนื่องจากจอประสาทตา หรือ "เรตินา" (retina) เสียหาย

ผลการวิจัยในเบื้องต้น นักวิจัยพบว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทสามารถใช้พิมพ์เซลล์ 2 ชนิดที่มาจากเนื้อเยื่อจอประสาทตาของหนูทดลองที่โตเต็มวัย ได้แก่ เซลล์แกงเกลียน (ganglion cells) และเซลล์เกลียล (glial cells) ซึ่งเซลล์ 2 ชนิดนี้ทำหน้าที่ส่งสัญญาณข้อมูลจากดวงตาไปยังสมอง รวมถึงทำหน้าที่ค้ำจุนและปกป้องเซลล์ประสาทตาด้วย ทั้งนี้ เซลล์ที่พิมพ์ออกมาได้นั้นมีความสมบูรณ์และยังคงความสามารถอยู่รอดและเจริญ เติบโตในห้องทดลองได้

ศ.คีธ มาร์ติน (Prof Keith Martin) และ ดร.บาร์บารา ลอร์เบอร์ (Dr Barbara Lorber) จากศูนย์ฟื้นฟูสมอง จอห์น แวน กีสท์ (John van Geest Centre for Brain Repair) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งร่วมในทีมวิจัย กล่าวว่า ความเสียหายของเซลล์ประสาทในจอประสาทตาเป็นหนึ่งในหลายรูปแบบของภาวะการสูญเสียการมองเห็นของดวงตา จอประสาทตาเป็นโครงสร้างอวัยวะที่ยอดเยี่ยม มีการจัดเรียงตัวของเซลล์อย่างพิถีพิถันและสัมพันธ์กันกับเซลล์อีกชนิดเพื่อ ทำหน้าที่ในการมองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาพ แสดงส่วนประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องในการมองเห็นของดวงตา โดยมีจอประสาทตา หรือ เรตินา เป็นส่วนรับภาพอยู่ด้านหลังของดวงตา (บีบีซีนิวส์) "การศึกษาของพวกเรานั้นแสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกว่า เซลล์ที่ได้มาจากระบบประสาทส่วนกลางที่เจริญเต็มที่ ซึ่งในที่นี้คือดวงตา นั้นสามารถพิมพ์ออกมาได้ด้วยเครื่องพิมพ์เพียโซอิเล็กทริกอิงค์เจ็ท (piezoelectric inkjet printer) แม้ว่าผลที่ได้นั้นจะเป็นเพียงแค่ความสำเร็จในชั้นต้น และยังจำเป็นต้องศึกษาต่ออีกมาก ซึ่งวัตถุประสงค์ในงานของเรานั้นก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีนี้เพื่อช่วยในการ ซ่อมแซมจอประสาทตาให้แก่คนไข้ในอนาคตข้างหน้า" ทีมวิจัยเผยรายละเอียดงานวิจัย ทีมวิจัยได้วางแผนต่อไปว่าจะพยายามพิมพ์เซลล์ชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในจอประสาทตาให้ออกมาได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเซลล์รูปแท่ง (rod cells)และเซลล์รูปกรวย (cone cells) ซึ่งเป็นเซลล์รับแสงในจอประสาทตานั่นเอง

ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำให้หนูที่ตาบอดกลับมามองเห็นได้ ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์มาแล้ว และยังพบสัญญาณที่ดีในการปลูกฝังเรตินาไฟฟ้า (electronic retina implants) ในคนไข้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีทั้งสองดังกล่าวนั้นเพิ่งสัมฤทธิ์ผลในเบื้องต้น และยังต้องได้รับการศึกษาวิจัยและพัฒนาอีกหลายขั้นเพื่อให้สามารถนำมาใช้ รักษาในคนไข้อย่างปลอดภัยและได้ผล

ศ.จิม เบนบริดจ์ (Prof Jim Bainbridge) แห่งโรงพยาบาลจักษุมัวร์ฟิลด์ (Moorfields Eye Hospital) ในกรุงลอนดอน อังกฤษ ให้สัมภาษณ์แก่บีบีซีนิวส์ว่า การที่นักวิจัยพบว่าเซลล์ดวงตานั้นสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในกระบวนการพิมพ์ แสดงถึงความเป็นไปได้ว่าเทคนิคนี้จะสามารถใช้สร้างเนื้อเยื่อที่มี ประสิทธิภาพสำหรับสร้างดวงตาขึ้นมาใหม่และฟื้นคืนการมองเห็นของคนไข้ได้ในอนาคต

ขอบคุณ http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000156048 (ขนาดไฟล์: 185)

(manager.co.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ธ.ค.56)

ที่มา: manager.co.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 20/12/2556 เวลา 03:11:02 ดูภาพสไลด์โชว์ พิมพ์ "เซลล์ดวงตา" ด้วยอิงค์เจ็ท ความหวังรักษาตาบอด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักวิทยาศาสตร์พัฒนาเทคนิคการพิมพ์เซลล์ดวงตา เพื่อนำไปสู่การรักษาคนไข้ที่สูญเสียการมองเห็น นับเป็นความหวังสำหรับผู้ที่ตาบอดหรือสูญ เสียการมองเห็น เมื่อทีมนักวิจัยเมืองผู้ดีพบวิธีพิมพ์เซลล์ประสาทของดวงตาขึ้นมาใหม่ได้ ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ได้เซลล์มีชีวิตและยังคงประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ไว้ได้ งานวิจัยดังกล่าวเป็นผลงานของทีมจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) สหราชอาณาจักร ที่ได้ทำการทดลองในเซลล์สัตว์ และตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยลงในวารสาร ไบโอเฟบริเคชัน (Biofabriccation) ซึ่งบีบีซีนิวส์รายงานว่า เทคนิคที่พวกเขาพัฒนาขึ้นนี้จะนำไปสู่การรักษาคนไข้ที่สูญเสียการมองเห็น อันเนื่องจากจอประสาทตา หรือ "เรตินา" (retina) เสียหาย ผลการวิจัยในเบื้องต้น นักวิจัยพบว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทสามารถใช้พิมพ์เซลล์ 2 ชนิดที่มาจากเนื้อเยื่อจอประสาทตาของหนูทดลองที่โตเต็มวัย ได้แก่ เซลล์แกงเกลียน (ganglion cells) และเซลล์เกลียล (glial cells) ซึ่งเซลล์ 2 ชนิดนี้ทำหน้าที่ส่งสัญญาณข้อมูลจากดวงตาไปยังสมอง รวมถึงทำหน้าที่ค้ำจุนและปกป้องเซลล์ประสาทตาด้วย ทั้งนี้ เซลล์ที่พิมพ์ออกมาได้นั้นมีความสมบูรณ์และยังคงความสามารถอยู่รอดและเจริญ เติบโตในห้องทดลองได้ ศ.คีธ มาร์ติน (Prof Keith Martin) และ ดร.บาร์บารา ลอร์เบอร์ (Dr Barbara Lorber) จากศูนย์ฟื้นฟูสมอง จอห์น แวน กีสท์ (John van Geest Centre for Brain Repair) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งร่วมในทีมวิจัย กล่าวว่า ความเสียหายของเซลล์ประสาทในจอประสาทตาเป็นหนึ่งในหลายรูปแบบของภาวะการสูญเสียการมองเห็นของดวงตา จอประสาทตาเป็นโครงสร้างอวัยวะที่ยอดเยี่ยม มีการจัดเรียงตัวของเซลล์อย่างพิถีพิถันและสัมพันธ์กันกับเซลล์อีกชนิดเพื่อ ทำหน้าที่ในการมองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาพ แสดงส่วนประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องในการมองเห็นของดวงตา โดยมีจอประสาทตา หรือ เรตินา เป็นส่วนรับภาพอยู่ด้านหลังของดวงตา (บีบีซีนิวส์)"การศึกษาของพวกเรานั้นแสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกว่า เซลล์ที่ได้มาจากระบบประสาทส่วนกลางที่เจริญเต็มที่ ซึ่งในที่นี้คือดวงตา นั้นสามารถพิมพ์ออกมาได้ด้วยเครื่องพิมพ์เพียโซอิเล็กทริกอิงค์เจ็ท (piezoelectric inkjet printer) แม้ว่าผลที่ได้นั้นจะเป็นเพียงแค่ความสำเร็จในชั้นต้น และยังจำเป็นต้องศึกษาต่ออีกมาก ซึ่งวัตถุประสงค์ในงานของเรานั้นก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีนี้เพื่อช่วยในการ ซ่อมแซมจอประสาทตาให้แก่คนไข้ในอนาคตข้างหน้า" ทีมวิจัยเผยรายละเอียดงานวิจัย ทีมวิจัยได้วางแผนต่อไปว่าจะพยายามพิมพ์เซลล์ชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในจอประสาทตาให้ออกมาได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเซลล์รูปแท่ง (rod cells)และเซลล์รูปกรวย (cone cells) ซึ่งเป็นเซลล์รับแสงในจอประสาทตานั่นเอง ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำให้หนูที่ตาบอดกลับมามองเห็นได้ ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์มาแล้ว และยังพบสัญญาณที่ดีในการปลูกฝังเรตินาไฟฟ้า (electronic retina implants) ในคนไข้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีทั้งสองดังกล่าวนั้นเพิ่งสัมฤทธิ์ผลในเบื้องต้น และยังต้องได้รับการศึกษาวิจัยและพัฒนาอีกหลายขั้นเพื่อให้สามารถนำมาใช้ รักษาในคนไข้อย่างปลอดภัยและได้ผล ศ.จิม เบนบริดจ์ (Prof Jim Bainbridge) แห่งโรงพยาบาลจักษุมัวร์ฟิลด์ (Moorfields Eye Hospital) ในกรุงลอนดอน อังกฤษ ให้สัมภาษณ์แก่บีบีซีนิวส์ว่า การที่นักวิจัยพบว่าเซลล์ดวงตานั้นสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในกระบวนการพิมพ์ แสดงถึงความเป็นไปได้ว่าเทคนิคนี้จะสามารถใช้สร้างเนื้อเยื่อที่มี ประสิทธิภาพสำหรับสร้างดวงตาขึ้นมาใหม่และฟื้นคืนการมองเห็นของคนไข้ได้ในอนาคต ขอบคุณ … http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000156048 (manager.co.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ธ.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...