กรมสุขภาพจิต แนะ 10 วิธีดูแลจิตใจ รุก จัดทีมดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วม

แสดงความคิดเห็น

นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ ส่งผลให้ผู้ประสบภัยเกิดความเครียดกันมากขึ้น ซึ่งจากการประเมินสุขภาพจิตผู้ประสบภัยล่าสุด จำนวน 3,838 ราย พบ มีความเครียดสูง 208 ราย เครียดปานกลาง 397 ราย ซึมเศร้า 8 ราย และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 1 ราย ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้จัดทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย หรือทีม MCATT (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team) ทีมีครอบคลุมอยู่ทุกอำเภอ ทำงานเชิงรุกร่วมกับทีมช่วยเหลือทางกาย เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือและฟื้นฟูจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วมในกลุ่มเป้าหมาย หลัก ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติการรักษาโรคทางจิตเวช / ใช้สารเสพติด ผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก/ทรัพย์สินอย่างมาก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้พิการ ผู้สูงอายุและเด็ก กลุ่มผู้ที่ต้องการบริการด้านสุขภาพจิต ตลอดจนช่วยเหลือเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิต และผู้สูญหายทุกราย โดยการปฐมพยาบาลด้านจิตใจเบื้องต้น ให้การปรึกษาเพื่อลดภาวะความเครียด การฝึกผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเอง การให้กำลังใจ สร้างแรงใจ ให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ และหากพบผู้ประสบภัยมีความเครียดสูง มีภาวะซึมเศร้า เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ซึ่งสังเกตได้จากเดิมที่เคยเป็นคนร่าเริง กลายเป็นซึมมาก ๆ และบ่นท้อแท้ หดหู่ใจ หรือบ่นถึงความตายบ่อย ๆ จะรีบเข้าไปช่วยเหลือ พูดคุย ให้กำลังใจ ช่วยลดความเครียดลง สำหรับรายที่มีอาการนอนไม่หลับอย่างรุนแรง ท้อแท้ หรือเครียดมาก ๆ จนถึงขั้นกระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิ อาจต้องให้ยาคลายความเศร้า หรือยาคลายความเครียดที่จะทำให้การนอนหลับดีขึ้นร่วมด้วย โดยจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องต่อไปเป็นระยะเวลา 3 เดือน

อธิบดี กรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า ปฏิกิริยาทางด้านจิตใจของผู้ประสบภัยจะมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไป ตามระยะของการเกิดภัย ดังนี้ ระยะวิกฤตและฉุกเฉิน (2 สัปดาห์แรกหลังเกิดเหตุการณ์ ) ปฏิกิริยาทางด้านจิตใจที่จะเกิดขึ้นได้ คือ ผู้ประสบภัยอาจจะเกิดภาวะความเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง ซึ่งอาการเหล่านี้ถือว่าเป็นปฏิกิริยาปกติในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ (Normal Reaction in Abnormal Situation ) อาการต่างๆ เหล่านี้จะค่อยๆ หายไปภายใน 1 เดือน ซึ่งในระยะนี้ผู้ประสบภัยจะมีความต้องการด้านปัจจัย 4 เป็นอันดับแรก ในขณะเดียวกันการดูแลด้านจิตใจก็จำเป็นที่ผู้ประสบภัยจะต้องได้รับการช่วย เหลือด้านจิตใจเบื้องต้น เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงในระยะยาว และเกิดโรคที่ทางจิตเวช เช่น โรคภาวะเครียดหลังเหตุการณ์รุนแรง (Post Traumatic Stress Disorder) ระยะหลังได้รับผลกระทบ (2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน) ผู้ประสบภัยจะมีการแสดงปฏิกิริยาทางด้านจิตใจที่เด่นชัดมากขึ้น เนื่องจากการให้การช่วยเหลือต่างๆ เริ่มลดลง หรือผู้ประสบภัยจะต้องเผชิญกับความเป็นจริงของชีวิต เช่น ต้องเผชิญกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นภายหลังจากน้ำท่วม ส่งผลให้บางรายอาจจะมีอาการเครียดมาก มีภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสีย หรือบุคคลที่สูญเสียบุคคลในครอบครัวอาจจะมีอาการเศร้าโศกเสียใจอย่างมากจาก การจากไปอย่างกะทันหัน การสูญเสียทรัพย์สิน ไร่นาเป็นจำนวนมาก ซึ่งบุคคลต่างๆเหล่านี้หากมีภาวะซึมเศร้าอย่างมาก อาจมีแนวโน้มไปสู่การฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตนเอง

ระยะฟื้นฟู (3 เดือนขึ้นไปหลังเกิดเหตุการณ์) ปฏิกิริยาด้านจิตใจของผู้ประสบภัยเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะสมดุล เป็นระยะของการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้ และมีความเข้มแข็งทางจิตใจ

ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิตได้เตรียมแผนรับมือและการเตรียมความพร้อมด้านการดูแลสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ได้แก่ แผนระยะสั้น ได้แก่ 1. การเตรียมความพร้อมทีม MCATT ให้สามารถช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม 2.การเตรียมพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ ให้เพียงพอต่อการให้การช่วยเหลือ 3. เน้นการบูรณาการด้านการดำเนินงานด้านวิกฤตสุขภาพจิตร่วมกับทีมให้การช่วย เหลือทางกาย และหน่วยงานให้การช่วยเหลืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน 4. จัดให้มีการดำเนินการซ้อมแผนเตรียมความพร้อมในการดูแลด้านสุขภาพจิตใน สถานการณ์วิกฤตเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ส่วนแผนระยะยาว ได้แก่ 1. สร้างเครือข่ายในการให้การดูแลด้านสุขภาพจิตในชุมชนให้เข้มแข็ง 2. สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสามารถมีความรู้ด้านสุขภาพจิตในสถานการณ์วิกฤตและสามารถ เข้าถึงบริการได้อย่างทันท่วงที 3. การเตรียมความพร้อมด้านดูแลสุขภาพจิตตั้งแต่วัยเด็ก โดยการบูรณาการร่วมกับสถานศึกษา 4. การพัฒนาศักยภาพทีม MCATT อย่างต่อเนื่อง 5. การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

อธิบดีกรมสุขภาพจิตได้แนะแนวทางในการดูแลจิตใจช่วงน้ำท่วม 10 ข้อ ดังนี้ 1. หายใจเข้าออกช้าๆ 2-3 นาที เพื่อทำให้ออกซิเจนเข้าสู่สมองแล้วความเครียดจะลดลง 2. การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ จะช่วยทำให้เกิดการตัดสินใจที่ดีขึ้น หากต้องติดตามข้อมูลข่าวสารให้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน 3. การยืดเหยียดในท่าที่ผ่อนคลายจะช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้น 4. ความเครียด ทำให้เรารับฟังกันน้อยลงจึงต้องดูแลตัวเองด้วย 5. แปลงความกังวลเป็นการลงมือทำ รวมพลังครอบครัวและชุมชนรับกับสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น 6. ไม่ด่า ไม่ว่า ไม่ทับถม อย่าให้ความหวังดีเป็นความขัดแย้งและทำร้ายกัน 7. ความกังวลใจจะลดลงได้ หากได้ช่วยเหลือผู้อื่น 8. อย่าลืมเวลาเล่น เล่านิทานกับลูก เพราะว่าเด็กก็เครียดเป็น 9. การใส่ใจคนรอบข้างทำให้เราทุกข์น้อยลงและ 10. แบ่งเวลาทำสมาธิ สวดมนต์ไหว้พระ สร้างความสงบให้จิตใจ

ทั้งนี้ หากไม่ดีขึ้น เช่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ใจสั่น ควรปรึกษาแพทย์ที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ หรือสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือโทรสายด่วน 1323 และหมายเลขอัตโนมัติ 1667 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบคุณ... http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=202854:--10--&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

(thannews.th.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ต.ค.56)

ที่มา: thannews.th.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 15/10/2556 เวลา 04:13:27

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ ส่งผลให้ผู้ประสบภัยเกิดความเครียดกันมากขึ้น ซึ่งจากการประเมินสุขภาพจิตผู้ประสบภัยล่าสุด จำนวน 3,838 ราย พบ มีความเครียดสูง 208 ราย เครียดปานกลาง 397 ราย ซึมเศร้า 8 ราย และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 1 ราย ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้จัดทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย หรือทีม MCATT (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team) ทีมีครอบคลุมอยู่ทุกอำเภอ ทำงานเชิงรุกร่วมกับทีมช่วยเหลือทางกาย เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือและฟื้นฟูจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วมในกลุ่มเป้าหมาย หลัก ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติการรักษาโรคทางจิตเวช / ใช้สารเสพติด ผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก/ทรัพย์สินอย่างมาก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้พิการ ผู้สูงอายุและเด็ก กลุ่มผู้ที่ต้องการบริการด้านสุขภาพจิต ตลอดจนช่วยเหลือเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิต และผู้สูญหายทุกราย โดยการปฐมพยาบาลด้านจิตใจเบื้องต้น ให้การปรึกษาเพื่อลดภาวะความเครียด การฝึกผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเอง การให้กำลังใจ สร้างแรงใจ ให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ และหากพบผู้ประสบภัยมีความเครียดสูง มีภาวะซึมเศร้า เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ซึ่งสังเกตได้จากเดิมที่เคยเป็นคนร่าเริง กลายเป็นซึมมาก ๆ และบ่นท้อแท้ หดหู่ใจ หรือบ่นถึงความตายบ่อย ๆ จะรีบเข้าไปช่วยเหลือ พูดคุย ให้กำลังใจ ช่วยลดความเครียดลง สำหรับรายที่มีอาการนอนไม่หลับอย่างรุนแรง ท้อแท้ หรือเครียดมาก ๆ จนถึงขั้นกระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิ อาจต้องให้ยาคลายความเศร้า หรือยาคลายความเครียดที่จะทำให้การนอนหลับดีขึ้นร่วมด้วย โดยจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องต่อไปเป็นระยะเวลา 3 เดือน อธิบดี กรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า ปฏิกิริยาทางด้านจิตใจของผู้ประสบภัยจะมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไป ตามระยะของการเกิดภัย ดังนี้ ระยะวิกฤตและฉุกเฉิน (2 สัปดาห์แรกหลังเกิดเหตุการณ์ ) ปฏิกิริยาทางด้านจิตใจที่จะเกิดขึ้นได้ คือ ผู้ประสบภัยอาจจะเกิดภาวะความเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง ซึ่งอาการเหล่านี้ถือว่าเป็นปฏิกิริยาปกติในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ (Normal Reaction in Abnormal Situation ) อาการต่างๆ เหล่านี้จะค่อยๆ หายไปภายใน 1 เดือน ซึ่งในระยะนี้ผู้ประสบภัยจะมีความต้องการด้านปัจจัย 4 เป็นอันดับแรก ในขณะเดียวกันการดูแลด้านจิตใจก็จำเป็นที่ผู้ประสบภัยจะต้องได้รับการช่วย เหลือด้านจิตใจเบื้องต้น เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงในระยะยาว และเกิดโรคที่ทางจิตเวช เช่น โรคภาวะเครียดหลังเหตุการณ์รุนแรง (Post Traumatic Stress Disorder) ระยะหลังได้รับผลกระทบ (2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน) ผู้ประสบภัยจะมีการแสดงปฏิกิริยาทางด้านจิตใจที่เด่นชัดมากขึ้น เนื่องจากการให้การช่วยเหลือต่างๆ เริ่มลดลง หรือผู้ประสบภัยจะต้องเผชิญกับความเป็นจริงของชีวิต เช่น ต้องเผชิญกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นภายหลังจากน้ำท่วม ส่งผลให้บางรายอาจจะมีอาการเครียดมาก มีภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสีย หรือบุคคลที่สูญเสียบุคคลในครอบครัวอาจจะมีอาการเศร้าโศกเสียใจอย่างมากจาก การจากไปอย่างกะทันหัน การสูญเสียทรัพย์สิน ไร่นาเป็นจำนวนมาก ซึ่งบุคคลต่างๆเหล่านี้หากมีภาวะซึมเศร้าอย่างมาก อาจมีแนวโน้มไปสู่การฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตนเอง ระยะฟื้นฟู (3 เดือนขึ้นไปหลังเกิดเหตุการณ์) ปฏิกิริยาด้านจิตใจของผู้ประสบภัยเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะสมดุล เป็นระยะของการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้ และมีความเข้มแข็งทางจิตใจ ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิตได้เตรียมแผนรับมือและการเตรียมความพร้อมด้านการดูแลสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ได้แก่ แผนระยะสั้น ได้แก่ 1. การเตรียมความพร้อมทีม MCATT ให้สามารถช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม 2.การเตรียมพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ ให้เพียงพอต่อการให้การช่วยเหลือ 3. เน้นการบูรณาการด้านการดำเนินงานด้านวิกฤตสุขภาพจิตร่วมกับทีมให้การช่วย เหลือทางกาย และหน่วยงานให้การช่วยเหลืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน 4. จัดให้มีการดำเนินการซ้อมแผนเตรียมความพร้อมในการดูแลด้านสุขภาพจิตใน สถานการณ์วิกฤตเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ส่วนแผนระยะยาว ได้แก่ 1. สร้างเครือข่ายในการให้การดูแลด้านสุขภาพจิตในชุมชนให้เข้มแข็ง 2. สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสามารถมีความรู้ด้านสุขภาพจิตในสถานการณ์วิกฤตและสามารถ เข้าถึงบริการได้อย่างทันท่วงที 3. การเตรียมความพร้อมด้านดูแลสุขภาพจิตตั้งแต่วัยเด็ก โดยการบูรณาการร่วมกับสถานศึกษา 4. การพัฒนาศักยภาพทีม MCATT อย่างต่อเนื่อง 5. การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ อธิบดีกรมสุขภาพจิตได้แนะแนวทางในการดูแลจิตใจช่วงน้ำท่วม 10 ข้อ ดังนี้ 1. หายใจเข้าออกช้าๆ 2-3 นาที เพื่อทำให้ออกซิเจนเข้าสู่สมองแล้วความเครียดจะลดลง 2. การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ จะช่วยทำให้เกิดการตัดสินใจที่ดีขึ้น หากต้องติดตามข้อมูลข่าวสารให้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน 3. การยืดเหยียดในท่าที่ผ่อนคลายจะช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้น 4. ความเครียด ทำให้เรารับฟังกันน้อยลงจึงต้องดูแลตัวเองด้วย 5. แปลงความกังวลเป็นการลงมือทำ รวมพลังครอบครัวและชุมชนรับกับสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น 6. ไม่ด่า ไม่ว่า ไม่ทับถม อย่าให้ความหวังดีเป็นความขัดแย้งและทำร้ายกัน 7. ความกังวลใจจะลดลงได้ หากได้ช่วยเหลือผู้อื่น 8. อย่าลืมเวลาเล่น เล่านิทานกับลูก เพราะว่าเด็กก็เครียดเป็น 9. การใส่ใจคนรอบข้างทำให้เราทุกข์น้อยลงและ 10. แบ่งเวลาทำสมาธิ สวดมนต์ไหว้พระ สร้างความสงบให้จิตใจ ทั้งนี้ หากไม่ดีขึ้น เช่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ใจสั่น ควรปรึกษาแพทย์ที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ หรือสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือโทรสายด่วน 1323 และหมายเลขอัตโนมัติ 1667 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง ขอบคุณ... http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=202854:--10--&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524 (thannews.th.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ต.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...