คาดอีก 7 ปีคนไทยป่วย สมองเสื่อม 4.5 แสนคน

แสดงความคิดเห็น

หญิง ชาย วัยชราเดินจูงมือกัน

นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นวันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) สำหรับปีนี้ได้ให้ความสำคัญต่อสุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ "Mental health and older adults" ซึ่งพบว่าทั่วโลกประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 1,963 ล้านคน หรือร้อยละ 22 ในอีก 37 ปีข้างหน้า หรือปี 2593 ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยปัจจุบันมีสูงถึง 9,517,000 คน หรือ 1 ใน 6 ของประชากรทั้งประเทศ โดยในปี 2593 คาดการณ์ว่าผู้สูงอายุจะล้นเมือง ถึงร้อยละ 27 ของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้น เรื่องของสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดีจึงมีความสำคัญยิ่งกับผู้สูงอายุ

"ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับปัญหาสุขภาพจิตหรือปัญหาทางระบบประสาท โดยเฉพาะภาวะสมองเสื่อม ทั้งนี้ ภาวะสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติในการทำงานของสมอง ที่ได้รับผลกระทบจากโรคหรือความผิดปกติบางอย่าง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการความจำเสื่อม มีความถดถอยของพฤติกรรมและบุคลิกภาพ เกิดอาการสับสนและอาการผิดปกติด้านการพูดและความเข้าใจ อาการเหล่านี้จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทบกระเทือนกับการใช้ชีวิตประจำวัน และการเข้าสังคมของผู้ป่วย มีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมประมาณ 35.6 ล้านคน ทุก 20 ปี จะมีปริมาณผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และภายในปี 2050 จะมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมรวมกว่า 115.4 ล้านคน" นพ.เจษฎากล่าว และว่า อัลไซเมอร์เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ร้อยละ 60-80 ของภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด รองลงมาคือ ภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด สำหรับในประเทศไทยมีรายงานอัตราความชุกของภาวะสมองเสื่อมที่แตกต่างกันไปในแต่ละการศึกษา ขึ้นกับกลุ่มประชากรและพื้นที่ที่สำรวจ ในปี 2005 สธ.คาดการณ์จำนวนผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมี 229,000 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้น 450,000 คน และ 1,200,000 คน ในปี 2020 และปี 2050 ในจำนวนนี้ เป็นโรคอัลไซเมอร์ร้อยละ 40-70 ของภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1381380707 (ขนาดไฟล์: 143)

มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ต.ค.56

ที่มา: มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 11/10/2556 เวลา 02:49:12 ดูภาพสไลด์โชว์ คาดอีก 7 ปีคนไทยป่วย สมองเสื่อม 4.5 แสนคน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หญิง ชาย วัยชราเดินจูงมือกัน นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นวันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) สำหรับปีนี้ได้ให้ความสำคัญต่อสุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ "Mental health and older adults" ซึ่งพบว่าทั่วโลกประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 1,963 ล้านคน หรือร้อยละ 22 ในอีก 37 ปีข้างหน้า หรือปี 2593 ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยปัจจุบันมีสูงถึง 9,517,000 คน หรือ 1 ใน 6 ของประชากรทั้งประเทศ โดยในปี 2593 คาดการณ์ว่าผู้สูงอายุจะล้นเมือง ถึงร้อยละ 27 ของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้น เรื่องของสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดีจึงมีความสำคัญยิ่งกับผู้สูงอายุ "ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับปัญหาสุขภาพจิตหรือปัญหาทางระบบประสาท โดยเฉพาะภาวะสมองเสื่อม ทั้งนี้ ภาวะสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติในการทำงานของสมอง ที่ได้รับผลกระทบจากโรคหรือความผิดปกติบางอย่าง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการความจำเสื่อม มีความถดถอยของพฤติกรรมและบุคลิกภาพ เกิดอาการสับสนและอาการผิดปกติด้านการพูดและความเข้าใจ อาการเหล่านี้จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทบกระเทือนกับการใช้ชีวิตประจำวัน และการเข้าสังคมของผู้ป่วย มีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมประมาณ 35.6 ล้านคน ทุก 20 ปี จะมีปริมาณผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และภายในปี 2050 จะมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมรวมกว่า 115.4 ล้านคน" นพ.เจษฎากล่าว และว่า อัลไซเมอร์เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ร้อยละ 60-80 ของภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด รองลงมาคือ ภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด สำหรับในประเทศไทยมีรายงานอัตราความชุกของภาวะสมองเสื่อมที่แตกต่างกันไปในแต่ละการศึกษา ขึ้นกับกลุ่มประชากรและพื้นที่ที่สำรวจ ในปี 2005 สธ.คาดการณ์จำนวนผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมี 229,000 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้น 450,000 คน และ 1,200,000 คน ในปี 2020 และปี 2050 ในจำนวนนี้ เป็นโรคอัลไซเมอร์ร้อยละ 40-70 ของภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1381380707 มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...