ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

แสดงความคิดเห็น

“โรคอัลไซเมอร์” เป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมอง จะมีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆกัน แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวรส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำและการใช้ความคิดด้านต่างๆ

ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหา หรือการควบคุมตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ พฤติการณ์ และส่งผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงการดำรงชีวิตประจำวัน ในระยะสุดท้ายของโรคสูญเสียความจำทั้งหมด และค่อยๆ แย่ลงจนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และเสียชีวิตเพราะอาการแทรกซ้อน

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม อาหาร สิ่งแวดล้อม สารพิษ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการติดเชื้อบางชนิด เป็นต้น

จากการศึกษาในประชากรผู้สูงอายุไทยพบความชุกของโรคอัลไซเมอร์ ร้อยละ 1-2 ในกลุ่มอายุ 60-69 ปี และพบความชุกเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในทุกๆช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น 5 ปี สำหรับผู้ที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป โดยพบความชุกของโรคอัลไซเมอร์สูงที่สุดในกลุ่มอายุ 70-80 ปี ร้อยละ 12 ทั้งนี้ มีการประมาณการว่าน่าจะมีจำนวนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในประเทศไทย 665,286 คน

ยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ ช่วยเพียงแค่ควบคุมอาการของโรคเท่านั้น ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้จึงต้องมีผู้ดูแล และผู้ดูแลผู้ป่วยจะต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะของผู้ป่วย เนื่องจากต้องช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะกินอาหาร ขับถ่ายอย่างถูกสุขอนามัย อาบน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า รวมถึงดูแลเมื่อผู้ป่วยออกนอกบ้านเพื่อไม่ให้เกิดการพลัดหลงกัน ช่วยให้กินยาอย่างสม่ำเสมอ สังเกตการเปลี่ยนแปลง และพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามนัด

สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ คือ อุบัติเหตุ ดังนั้น ผู้ดูแลควรระมัดระวังและดูแลสถานที่ บ้านพักอาศัยให้มีความปลอดภัย นอกจากนี้ ควรให้กำลังใจ ดูแลอาหารให้พอเพียงและถูกหลักโภชนาการให้ออกกำลังกายตามความเหมาะสม และควรหากิจกรรมฝึกความจำเพื่อช่วยชะลออาการของภาวะสมองเสื่อม ที่สำคัญ ผู้ดูแลควรดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย : ศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์

ขอบคุณ... มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ต.ค.56

ที่มา: มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 4/10/2556 เวลา 02:29:56

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

“โรคอัลไซเมอร์” เป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมอง จะมีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆกัน แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวรส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำและการใช้ความคิดด้านต่างๆ ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหา หรือการควบคุมตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ พฤติการณ์ และส่งผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงการดำรงชีวิตประจำวัน ในระยะสุดท้ายของโรคสูญเสียความจำทั้งหมด และค่อยๆ แย่ลงจนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และเสียชีวิตเพราะอาการแทรกซ้อน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม อาหาร สิ่งแวดล้อม สารพิษ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการติดเชื้อบางชนิด เป็นต้น จากการศึกษาในประชากรผู้สูงอายุไทยพบความชุกของโรคอัลไซเมอร์ ร้อยละ 1-2 ในกลุ่มอายุ 60-69 ปี และพบความชุกเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในทุกๆช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น 5 ปี สำหรับผู้ที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป โดยพบความชุกของโรคอัลไซเมอร์สูงที่สุดในกลุ่มอายุ 70-80 ปี ร้อยละ 12 ทั้งนี้ มีการประมาณการว่าน่าจะมีจำนวนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในประเทศไทย 665,286 คน ยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ ช่วยเพียงแค่ควบคุมอาการของโรคเท่านั้น ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้จึงต้องมีผู้ดูแล และผู้ดูแลผู้ป่วยจะต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะของผู้ป่วย เนื่องจากต้องช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะกินอาหาร ขับถ่ายอย่างถูกสุขอนามัย อาบน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า รวมถึงดูแลเมื่อผู้ป่วยออกนอกบ้านเพื่อไม่ให้เกิดการพลัดหลงกัน ช่วยให้กินยาอย่างสม่ำเสมอ สังเกตการเปลี่ยนแปลง และพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามนัด สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ คือ อุบัติเหตุ ดังนั้น ผู้ดูแลควรระมัดระวังและดูแลสถานที่ บ้านพักอาศัยให้มีความปลอดภัย นอกจากนี้ ควรให้กำลังใจ ดูแลอาหารให้พอเพียงและถูกหลักโภชนาการให้ออกกำลังกายตามความเหมาะสม และควรหากิจกรรมฝึกความจำเพื่อช่วยชะลออาการของภาวะสมองเสื่อม ที่สำคัญ ผู้ดูแลควรดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย : ศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ ขอบคุณ... มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...