สธ.ชี้เด็กไทยยุคนี้เสี่ยงติดเกมสูง แนะ4วิธีให้แม่สังเกต หากพบให้รีบนำเข้าบำบัดรักษา

แสดงความคิดเห็น

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์กรณีข่าวทางสื่อมวลชน มีนักศึกษาสถาบันแห่งหนึ่งเสียชีวิต โดยตำรวจสันนิษฐานว่าพักผ่อนไม่เพียงพอ หัวใจวายเฉียบพลันจากการเล่นเกม ว่า ถ้าพิจารณาจากสถานการณ์ความเป็นอยู่ของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน พบว่ามีจำนวนมากที่ต้องเข้ามาอยู่ในเมืองคนเดียว ทั้งจากการศึกษา การทำงาน ทำให้ห่างจากผู้ที่จะคอยควบคุมดูแล ทำให้เด็กสามารถหาความสนุกสนานจากด้านอื่นๆ สูงขึ้น เช่น การพนัน การคบเพื่อนต่างเพศ หรือแม้แต่การเล่นเกม

พญ.พรรณพิมลกล่าวต่อว่า สาเหตุที่เด็กเล่นเกมมากๆ มาจากปัจจัยหลายเหตุ เช่น ความก้าวหน้าของเกมในปัจจุบัน ทั้งทางด้านแอนิเมชั่น ความสวยงาม หรือวิธีการเล่นที่สนุกสนาน ตอบสนองความท้าทายของวัยรุ่นได้ นอกจากนี้ การเลี้ยงดูก็มีผลต่อการติดเกม การเลี้ยงที่ทำให้เด็กอยู่คนเดียวอย่างอิสระ ไม่มีคนควบคุมดูแลการเล่นเกม ตัวเด็กก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งในชีวิตจริงเด็กกลุ่มนี้จะมีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำอยู่แล้ว และกลุ่มเด็กสมาธิสั้น ซึ่งชอบสิ่งที่ตอบสนองไวๆ ทั้ง 2 กลุ่มพร้อมที่จะเล่นเกมได้อย่างดี เพราะเกมสามารถตอบสนองความต้องการและเห็นผลการชนะได้ทันที จึงเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง และจะพึ่งการเล่นเกมหลากหลายไปเรื่อยๆ

พญ.พรรณพิมล มีข้อแนะนำผู้ปกครองในการสังเกตว่าเด็กมีปัญหาติดเกมหรือไม่ 4 ประการดังนี้ 1.เด็กใช้เวลาในการเล่นมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน และจะเพิ่มระยะเวลาในการเล่นขึ้นเรื่อยๆ 2.สัมพันธภาพกับบุคคลรอบข้างลดลง เปลี่ยนจากเดิม โดยเด็กจะชื่นชอบคบหากับเพื่อนที่เล่นเกมด้วยกัน หรือเพื่อนที่รู้จักภายในเกม 3.เด็กจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวโมโห หงุดหงิด เมื่อถูกให้หยุดหรือให้เลิกเล่นเกม และ 4.กิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลง เช่น ไม่กินข้าว ดูแลตนเองในชีวิตประจำวันลดลง รวมทั้งผลการเรียนตกต่ำ โดดเรียน หนีเรียน ถ้าพบเด็กมีลักษณะดังกล่าว สามารถมารับบริการได้ที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชครินทร์ ในวันและเวลาราชการ และโรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่ง คลินิกสุขภาพจิต ในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ โดยมีบริการทั้งการช่วยเหลือรายบุคคลและรายกลุ่ม โดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รวมทั้งบุคลากรสหวิชาชีพ หรือสามารถสอบถามทางสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.phpnewsid=TVRNNE1EY3hOREF6Tnc9PQ==&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ต.ค.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 3/10/2556 เวลา 03:19:46

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์กรณีข่าวทางสื่อมวลชน มีนักศึกษาสถาบันแห่งหนึ่งเสียชีวิต โดยตำรวจสันนิษฐานว่าพักผ่อนไม่เพียงพอ หัวใจวายเฉียบพลันจากการเล่นเกม ว่า ถ้าพิจารณาจากสถานการณ์ความเป็นอยู่ของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน พบว่ามีจำนวนมากที่ต้องเข้ามาอยู่ในเมืองคนเดียว ทั้งจากการศึกษา การทำงาน ทำให้ห่างจากผู้ที่จะคอยควบคุมดูแล ทำให้เด็กสามารถหาความสนุกสนานจากด้านอื่นๆ สูงขึ้น เช่น การพนัน การคบเพื่อนต่างเพศ หรือแม้แต่การเล่นเกม พญ.พรรณพิมลกล่าวต่อว่า สาเหตุที่เด็กเล่นเกมมากๆ มาจากปัจจัยหลายเหตุ เช่น ความก้าวหน้าของเกมในปัจจุบัน ทั้งทางด้านแอนิเมชั่น ความสวยงาม หรือวิธีการเล่นที่สนุกสนาน ตอบสนองความท้าทายของวัยรุ่นได้ นอกจากนี้ การเลี้ยงดูก็มีผลต่อการติดเกม การเลี้ยงที่ทำให้เด็กอยู่คนเดียวอย่างอิสระ ไม่มีคนควบคุมดูแลการเล่นเกม ตัวเด็กก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งในชีวิตจริงเด็กกลุ่มนี้จะมีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำอยู่แล้ว และกลุ่มเด็กสมาธิสั้น ซึ่งชอบสิ่งที่ตอบสนองไวๆ ทั้ง 2 กลุ่มพร้อมที่จะเล่นเกมได้อย่างดี เพราะเกมสามารถตอบสนองความต้องการและเห็นผลการชนะได้ทันที จึงเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง และจะพึ่งการเล่นเกมหลากหลายไปเรื่อยๆ พญ.พรรณพิมล มีข้อแนะนำผู้ปกครองในการสังเกตว่าเด็กมีปัญหาติดเกมหรือไม่ 4 ประการดังนี้ 1.เด็กใช้เวลาในการเล่นมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน และจะเพิ่มระยะเวลาในการเล่นขึ้นเรื่อยๆ 2.สัมพันธภาพกับบุคคลรอบข้างลดลง เปลี่ยนจากเดิม โดยเด็กจะชื่นชอบคบหากับเพื่อนที่เล่นเกมด้วยกัน หรือเพื่อนที่รู้จักภายในเกม 3.เด็กจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวโมโห หงุดหงิด เมื่อถูกให้หยุดหรือให้เลิกเล่นเกม และ 4.กิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลง เช่น ไม่กินข้าว ดูแลตนเองในชีวิตประจำวันลดลง รวมทั้งผลการเรียนตกต่ำ โดดเรียน หนีเรียน ถ้าพบเด็กมีลักษณะดังกล่าว สามารถมารับบริการได้ที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชครินทร์ ในวันและเวลาราชการ และโรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่ง คลินิกสุขภาพจิต ในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ โดยมีบริการทั้งการช่วยเหลือรายบุคคลและรายกลุ่ม โดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รวมทั้งบุคลากรสหวิชาชีพ หรือสามารถสอบถามทางสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ขอบคุณ … http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.phpnewsid=TVRNNE1EY3hOREF6Tnc9PQ==&subcatid= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...