"แผนที่สมองคนเอเชีย" ช่วยแพทย์สู้โรคร้าย-อัลไซเมอร์

แสดงความคิดเห็น

"สมอง" เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในการควบคุมการทำงานของร่างกายมนุษย์ จะด้วยปัจจัยด้านอายุหรือการประสบอุบัติเหตุก็ดี มีงานวิจัยพบสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับ "โรคที่สืบเนื่องจากความผิดปกติทางสมอง" ของคนไทยในปัจจุบันว่า ไม่ว่าจะเป็นโรคพาร์กินสัน ความจำเสื่อม หรือสมองอักเสบนั้น แม้หลายครั้งที่การรักษาด้วยการสแกนสมองด้วยเครื่อง "เอ็มอาร์ไอ" จะช่วยได้ แต่ความแม่นยำในการวินิจฉัย ก็ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์เป็นหลัก

ดังนั้น หากมีการจำลองลักษณะของสมองคนปกติเพื่อใช้เปรียบเทียบกับลักษณะสมองของผู้ ป่วย นอกจากเปรียบเสมือนเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคได้ อย่างแม่นยำขึ้น ยังจะนำมาซึ่งการรักษาที่ทันท่วงทีและยังสามารถชะลออาการของโรคได้นับสิบปี อีกด้วย!

ล่าสุด ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมก) แห่งโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับ บริษัทฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยผลงานวิจัย "แผนที่สมองของคนเอเชียจากการสุ่มตัวอย่าง แผนที่สมองของประชากรที่มี จำนวนสูงสุด" นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการสาธารณสุขไทย เพื่อนำเสนอในการประชุม "1st ASEAN Advanced Imaging Leaders Conference" เมื่อ 6-8 กันยายนที่ผ่านมา ที่โรงแรมรอยัล ออคิดส์ เชอราตัน

รศ.พญ.จิร พร เหล่าธรรมทัศน์ ประธานราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทยและนายกรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศ ไทย หัวหน้าศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลระบุถึงที่มา โครงการ "แผนที่สมองของคนเอเชียจากการสุ่มตัวอย่างแผนที่สมองของประชากรที่มีจำนวน สูงสุด" ว่า ในอดีตประเทศไทยใช้ "แผนที่สมอง" ของซีกโลกตะวันตก แต่ด้วยรูปร่างและขนาดของสมองระหว่างคนตะวันตกและคนเอเชียมีลักษณะที่แตกต่างกัน นอกจากนั้น แผนที่สมองของชาว ตะวันตกส่วนใหญ่เป็นของคนหนุ่มสาว ไม่มีของผู้สูงอายุ จึงทำให้ผลที่ได้เกิดความคลาดเคลื่อนและผิดพลาดได้สูง ศูนย์ ไอแมกจึงได้พัฒนา งานวิจัยแผนที่สมองชิ้นนี้ขึ้น โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล 60 ล้านบาท และเปิดดำเนินการมาได้ 3 ปีแล้ว เป็นการนำกลุ่มตัวอย่างที่แบ่งตามระดับอายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไป มาตรวจร่างกายและตรวจด้านจิตวิทยา จากนั้นจึงจัดทำแผนที่สมองซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 10 ชุด โครงการวิจัยแผนที่สมองคนเอเชียดังกล่าวได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาล รวมถึง เครื่องมือแพทย์จากบริษัทฟิลิปส์

เป้าหมายมุ่งหวังว่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการ ทางสมอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่อาจตรวจพบได้ด้วยการฉายรังสี โดยสามารถดูรายละเอียดการทำงานของสมองได้ลึกถึงระดับโมเลกุลและน้ำในสมอง นับเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำและรักษาได้ทันท่วงที รศ.พญ.จิรพร ยกตัวอย่างกรณีเด็กออทิสติกที่มักอยู่ไม่สุข เมื่อเข้าเครื่องตรวจเอ็มอาร์ไอแล้วปรากฏว่าสมองก็ปกติดี แต่พอนำมาเทียบกับแผนที่สมองแล้ว พบว่าสมองมีเส้นใยสมองโยงใยผิดปกติ ส่วน กรณีของโรคพาร์กินสัน แผนที่สมองจะช่วยทำให้แพทย์วินิจฉัยแยกประเภทของโรคพาร์กินสันชนิดเกิดช้า ออกจากโรคพาร์กินสันชนิดเกิดเร็วเนื่องจากพันธุกรรมได้ ทั้งยังมีประโยชน์ในการรักษาคนไข้ และชะลอโรคอัลไซเมอร์ได้ตั้งแต่ต้นนอกจากการจัดทำแผนที่สมองสำหรับ ผู้ป่วย โรคสมองอักเสบ อัลไซเมอร์ และ พาร์กินสัน

อีกงานวิจัยหนึ่งซึ่งรศ.พญ.จิรพร ตระหนักถึงความสำคัญและต้องการนำเสนอต่อสาธารณชน คือ "การสร้างแผนที่สมอง นักมวยเด็กฉบับแรกของโลก" สำหรับ ความเป็นมาของการสร้างแผนที่สมองสำหรับนักมวยเด็ก รศ.พญ.จิรพรระบุว่า จากสถิติเมื่อปี 2550 มีนักมวยเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปีที่ลงทะเบียนไว้กับการกีฬาแห่งประเทศไทยเพียง 929 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 851 คน และผู้หญิงอีก 78 คน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ในปัจจุบันตัวเลขน่าจะขยับไปถึง 300,000 คนแล้ว เด็กเหล่านี้บางคนเริ่มต้นชกมวยด้วยอายุเพียง 2 ขวบ บางคนถูกชกจนต้องหามลงจากเวที ซึ่งจะมีผล กระทบทางด้านสมองเป็นอย่างมาก ดังนั้น ศูนย์ไอแมกจึงลงพื้นที่ไปทำงานวิจัยในชุมชนต่างๆ และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 6-15 ปี เป็นเด็กชายจำนวน 100 คน และเด็กผู้หญิงอีก 100 คน โดยมีนักมวยเด็ก 11 คน มาตรวจเช็กร่างกายผ่านเครื่อง เอ็มอาร์ไอ และตรวจเช็กด้านจิตวิทยาอย่างละเอียด กระทั่งพบว่า

กลุ่มนักมวยเด็กนั้น แม้จะมีการทำงานของกล้ามเนื้อดีกว่าปกติก็ตาม แต่พบความผิดปกติในสมองหลายประการ เช่น มีถุงน้ำในสมองโป่งพอง เส้นใยประสาทที่เชื่อมระหว่างสมองกับเซลล์ประสาทเสื่อมและขาดออกจากกัน มีไอคิวต่ำ มีการบาดเจ็บที่ก้านสมองเนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงเหมือน กับโดนรถชนเพราะแรงกระแทก อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมอง โรคสมองเสื่อม และไตวายอีกด้วย หากปล่อยทิ้งไว้ นักมวยเด็กเหล่านี้อาจถึงขั้นพิการได้

รศ.พญ.จิรพร แสดงความกังวลว่า หากยังไม่มีการปกป้องคุ้มครองเยาวชนนักมวยเด็กเหล่านี้ ประเทศไทยจะถูกประชาคมโลกมองอย่างไร ดัง น ผลงานวิจัยชิ้นนี้จึงเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นในการค้นหาคำตอบของโรคทางสมอง ซึ่ง ศูนย์ไอแมกพยายามที่จะช่วยเหลือและรักษาเด็กๆ กลุ่มนี้ ก่อนจะระบุว่าทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือพ่อแม่ผู้ปกครองต้องหันมาให้ความสนใจในการดูแลสมองของเด็ก เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ในอนาคตต่อไป

สุดท้าย รศ.พญ.จิรพรเน้นย้ำถึงจุดประสงค์ของงานวิจัยว่า ไม่ได้ต้องการหยุดธุรกิจกีฬาชนิดนี้ เพราะเข้าใจถึงความจำเป็นที่เด็กเหล่านี้ต้องหารายได้เข้าสู่ครอบครัว แต่สิ่งสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักคือ ความปลอดภัยและสุขภาพของนักมวยเด็ก นาย วิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และผจก.ทั่วไปกลุ่มธุรกิจเพื่อการแพทย์และการดูแลสุขภาพฟิลิปส์กล่าวว่า

ในปัจจุบันภูมิภาคเอเชียและประเทศไทยมีความท้าทายร่วมกันในเรื่องจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ฟิลิปส์มีความมุ่งมั่นในการนำเสนอนวัตกรรมและบุกเบิกงานวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน โดย ร่วมมือกับศูนย์ไอแมก ผ่านการสนับสนุนด้านเครื่องตรวจอวัยวะด้วยคลื่นแม่เหล็กกำลังสูง (เอ็มอาร์ไอ) ระบบดิจิตอลความเร็วสูง หรือ "Ingenia MR"

นายวิโรจน์ ระบุถึงคุณสมบัติที่โดดเด่นของนวัตกรรม "Ingenia MR" ว่า ได้รับการพัฒนาจากสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า dStream และเทคโนโลยี DirectDigital ซึ่งเปรียบเสมือน "หัวใจ" โดยเป็นการรับคลื่นสัญญาณวิทยุและเปลี่ยนสัญญาณให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล ที่ขดลวดโดยตรงตลอดกระบวนการสแกนเอ็มอาร์ไอ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสูงได้อย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ฟิลิปส์ยังปรับปรุงอัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนให้ดีขึ้นร้อยละ 40 ทำให้ได้ภาพที่คมชัดในเวลาที่สั้นกว่า ใน ส่วนของความคุ้มค่าและรองรับการใช้งานในอนาคต "Ingenia MR" ใช้เทคโนโลยี FlexStream ช่วยให้สามารถสร้างภาพได้โดยใช้ขดลวดรับสัญญาณน้อยลง จึงประหยัดเวลาในการตระเตรียมเครื่อง และการเปลี่ยนสัญญาณเป็น ดิจิตอลที่ขดลวดรับสัญญาณโดยตรงช่วยให้ปรับขยายการใช้งานได้ง่ายด้วย EasyExpand โดยไม่ต้องเปลี่ยน "ฮาร์ดแวร์" เพื่อรองรับระบบใหม่ในอนาคต

นอกจากนั้น ด้วยวัสดุและลักษณะทางกายภาพ "Ingenia MR" ออกแบบโดยคำนึงถึงอายุ ขนาดรูปร่าง และลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันของคนไข้ เช่น อุโมงค์ขนาด 70 ซ.ม. ซึ่งกว้างกว่าเดิมจึงช่วยลดความอึดอัด ซอฟต์แวร์อัจฉริยะซึ่งช่วยลดการสแกนซ้ำ และขดลวดแบบดิจิตอลซึ่งลดน้ำหนักของขดลวดได้มาก ผู้ป่วยจึงไม่ต้องเปลี่ยนท่าหลายครั้งระหว่างการสแกน เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีการแพทย์ ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเราให้ดีขึ้น

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09UTTJOREUyTmc9PQ==&sectionid= (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ย.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 17/09/2556 เวลา 03:25:16

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

"สมอง" เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในการควบคุมการทำงานของร่างกายมนุษย์ จะด้วยปัจจัยด้านอายุหรือการประสบอุบัติเหตุก็ดี มีงานวิจัยพบสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับ "โรคที่สืบเนื่องจากความผิดปกติทางสมอง" ของคนไทยในปัจจุบันว่า ไม่ว่าจะเป็นโรคพาร์กินสัน ความจำเสื่อม หรือสมองอักเสบนั้น แม้หลายครั้งที่การรักษาด้วยการสแกนสมองด้วยเครื่อง "เอ็มอาร์ไอ" จะช่วยได้ แต่ความแม่นยำในการวินิจฉัย ก็ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์เป็นหลัก ดังนั้น หากมีการจำลองลักษณะของสมองคนปกติเพื่อใช้เปรียบเทียบกับลักษณะสมองของผู้ ป่วย นอกจากเปรียบเสมือนเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคได้ อย่างแม่นยำขึ้น ยังจะนำมาซึ่งการรักษาที่ทันท่วงทีและยังสามารถชะลออาการของโรคได้นับสิบปี อีกด้วย! ล่าสุด ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมก) แห่งโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับ บริษัทฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยผลงานวิจัย "แผนที่สมองของคนเอเชียจากการสุ่มตัวอย่าง แผนที่สมองของประชากรที่มี จำนวนสูงสุด" นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการสาธารณสุขไทย เพื่อนำเสนอในการประชุม "1st ASEAN Advanced Imaging Leaders Conference" เมื่อ 6-8 กันยายนที่ผ่านมา ที่โรงแรมรอยัล ออคิดส์ เชอราตัน รศ.พญ.จิร พร เหล่าธรรมทัศน์ ประธานราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทยและนายกรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศ ไทย หัวหน้าศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลระบุถึงที่มา โครงการ "แผนที่สมองของคนเอเชียจากการสุ่มตัวอย่างแผนที่สมองของประชากรที่มีจำนวน สูงสุด" ว่า ในอดีตประเทศไทยใช้ "แผนที่สมอง" ของซีกโลกตะวันตก แต่ด้วยรูปร่างและขนาดของสมองระหว่างคนตะวันตกและคนเอเชียมีลักษณะที่แตกต่างกัน นอกจากนั้น แผนที่สมองของชาว ตะวันตกส่วนใหญ่เป็นของคนหนุ่มสาว ไม่มีของผู้สูงอายุ จึงทำให้ผลที่ได้เกิดความคลาดเคลื่อนและผิดพลาดได้สูง ศูนย์ ไอแมกจึงได้พัฒนา งานวิจัยแผนที่สมองชิ้นนี้ขึ้น โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล 60 ล้านบาท และเปิดดำเนินการมาได้ 3 ปีแล้ว เป็นการนำกลุ่มตัวอย่างที่แบ่งตามระดับอายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไป มาตรวจร่างกายและตรวจด้านจิตวิทยา จากนั้นจึงจัดทำแผนที่สมองซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 10 ชุด โครงการวิจัยแผนที่สมองคนเอเชียดังกล่าวได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาล รวมถึง เครื่องมือแพทย์จากบริษัทฟิลิปส์ เป้าหมายมุ่งหวังว่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการ ทางสมอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่อาจตรวจพบได้ด้วยการฉายรังสี โดยสามารถดูรายละเอียดการทำงานของสมองได้ลึกถึงระดับโมเลกุลและน้ำในสมอง นับเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำและรักษาได้ทันท่วงที รศ.พญ.จิรพร ยกตัวอย่างกรณีเด็กออทิสติกที่มักอยู่ไม่สุข เมื่อเข้าเครื่องตรวจเอ็มอาร์ไอแล้วปรากฏว่าสมองก็ปกติดี แต่พอนำมาเทียบกับแผนที่สมองแล้ว พบว่าสมองมีเส้นใยสมองโยงใยผิดปกติ ส่วน กรณีของโรคพาร์กินสัน แผนที่สมองจะช่วยทำให้แพทย์วินิจฉัยแยกประเภทของโรคพาร์กินสันชนิดเกิดช้า ออกจากโรคพาร์กินสันชนิดเกิดเร็วเนื่องจากพันธุกรรมได้ ทั้งยังมีประโยชน์ในการรักษาคนไข้ และชะลอโรคอัลไซเมอร์ได้ตั้งแต่ต้นนอกจากการจัดทำแผนที่สมองสำหรับ ผู้ป่วย โรคสมองอักเสบ อัลไซเมอร์ และ พาร์กินสัน อีกงานวิจัยหนึ่งซึ่งรศ.พญ.จิรพร ตระหนักถึงความสำคัญและต้องการนำเสนอต่อสาธารณชน คือ "การสร้างแผนที่สมอง นักมวยเด็กฉบับแรกของโลก" สำหรับ ความเป็นมาของการสร้างแผนที่สมองสำหรับนักมวยเด็ก รศ.พญ.จิรพรระบุว่า จากสถิติเมื่อปี 2550 มีนักมวยเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปีที่ลงทะเบียนไว้กับการกีฬาแห่งประเทศไทยเพียง 929 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 851 คน และผู้หญิงอีก 78 คน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ในปัจจุบันตัวเลขน่าจะขยับไปถึง 300,000 คนแล้ว เด็กเหล่านี้บางคนเริ่มต้นชกมวยด้วยอายุเพียง 2 ขวบ บางคนถูกชกจนต้องหามลงจากเวที ซึ่งจะมีผล กระทบทางด้านสมองเป็นอย่างมาก ดังนั้น ศูนย์ไอแมกจึงลงพื้นที่ไปทำงานวิจัยในชุมชนต่างๆ และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 6-15 ปี เป็นเด็กชายจำนวน 100 คน และเด็กผู้หญิงอีก 100 คน โดยมีนักมวยเด็ก 11 คน มาตรวจเช็กร่างกายผ่านเครื่อง เอ็มอาร์ไอ และตรวจเช็กด้านจิตวิทยาอย่างละเอียด กระทั่งพบว่า กลุ่มนักมวยเด็กนั้น แม้จะมีการทำงานของกล้ามเนื้อดีกว่าปกติก็ตาม แต่พบความผิดปกติในสมองหลายประการ เช่น มีถุงน้ำในสมองโป่งพอง เส้นใยประสาทที่เชื่อมระหว่างสมองกับเซลล์ประสาทเสื่อมและขาดออกจากกัน มีไอคิวต่ำ มีการบาดเจ็บที่ก้านสมองเนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงเหมือน กับโดนรถชนเพราะแรงกระแทก อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมอง โรคสมองเสื่อม และไตวายอีกด้วย หากปล่อยทิ้งไว้ นักมวยเด็กเหล่านี้อาจถึงขั้นพิการได้ รศ.พญ.จิรพร แสดงความกังวลว่า หากยังไม่มีการปกป้องคุ้มครองเยาวชนนักมวยเด็กเหล่านี้ ประเทศไทยจะถูกประชาคมโลกมองอย่างไร ดัง น ผลงานวิจัยชิ้นนี้จึงเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นในการค้นหาคำตอบของโรคทางสมอง ซึ่ง ศูนย์ไอแมกพยายามที่จะช่วยเหลือและรักษาเด็กๆ กลุ่มนี้ ก่อนจะระบุว่าทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือพ่อแม่ผู้ปกครองต้องหันมาให้ความสนใจในการดูแลสมองของเด็ก เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ในอนาคตต่อไป สุดท้าย รศ.พญ.จิรพรเน้นย้ำถึงจุดประสงค์ของงานวิจัยว่า ไม่ได้ต้องการหยุดธุรกิจกีฬาชนิดนี้ เพราะเข้าใจถึงความจำเป็นที่เด็กเหล่านี้ต้องหารายได้เข้าสู่ครอบครัว แต่สิ่งสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักคือ ความปลอดภัยและสุขภาพของนักมวยเด็ก นาย วิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และผจก.ทั่วไปกลุ่มธุรกิจเพื่อการแพทย์และการดูแลสุขภาพฟิลิปส์กล่าวว่า ในปัจจุบันภูมิภาคเอเชียและประเทศไทยมีความท้าทายร่วมกันในเรื่องจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ฟิลิปส์มีความมุ่งมั่นในการนำเสนอนวัตกรรมและบุกเบิกงานวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน โดย ร่วมมือกับศูนย์ไอแมก ผ่านการสนับสนุนด้านเครื่องตรวจอวัยวะด้วยคลื่นแม่เหล็กกำลังสูง (เอ็มอาร์ไอ) ระบบดิจิตอลความเร็วสูง หรือ "Ingenia MR" นายวิโรจน์ ระบุถึงคุณสมบัติที่โดดเด่นของนวัตกรรม "Ingenia MR" ว่า ได้รับการพัฒนาจากสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า dStream และเทคโนโลยี DirectDigital ซึ่งเปรียบเสมือน "หัวใจ" โดยเป็นการรับคลื่นสัญญาณวิทยุและเปลี่ยนสัญญาณให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล ที่ขดลวดโดยตรงตลอดกระบวนการสแกนเอ็มอาร์ไอ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสูงได้อย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ฟิลิปส์ยังปรับปรุงอัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนให้ดีขึ้นร้อยละ 40 ทำให้ได้ภาพที่คมชัดในเวลาที่สั้นกว่า ใน ส่วนของความคุ้มค่าและรองรับการใช้งานในอนาคต "Ingenia MR" ใช้เทคโนโลยี FlexStream ช่วยให้สามารถสร้างภาพได้โดยใช้ขดลวดรับสัญญาณน้อยลง จึงประหยัดเวลาในการตระเตรียมเครื่อง และการเปลี่ยนสัญญาณเป็น ดิจิตอลที่ขดลวดรับสัญญาณโดยตรงช่วยให้ปรับขยายการใช้งานได้ง่ายด้วย EasyExpand โดยไม่ต้องเปลี่ยน "ฮาร์ดแวร์" เพื่อรองรับระบบใหม่ในอนาคต นอกจากนั้น ด้วยวัสดุและลักษณะทางกายภาพ "Ingenia MR" ออกแบบโดยคำนึงถึงอายุ ขนาดรูปร่าง และลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันของคนไข้ เช่น อุโมงค์ขนาด 70 ซ.ม. ซึ่งกว้างกว่าเดิมจึงช่วยลดความอึดอัด ซอฟต์แวร์อัจฉริยะซึ่งช่วยลดการสแกนซ้ำ และขดลวดแบบดิจิตอลซึ่งลดน้ำหนักของขดลวดได้มาก ผู้ป่วยจึงไม่ต้องเปลี่ยนท่าหลายครั้งระหว่างการสแกน เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีการแพทย์ ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเราให้ดีขึ้น ขอบคุณ … http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09UTTJOREUyTmc9PQ==§ionid= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...