‘ออกกำลังกายในน้ำ กับ ธาราบำบัด’ - ชีวิตและสุขภาพ

แสดงความคิดเห็น

ผู้สูงอายุออกกำลังกายในน้ำ กับ ธาราบำบัด

เรื่องราวของการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ มีการกล่าวถึงมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ ซึ่งในสมัยนั้นจะใช้คุณสมบัติเรื่องอุณหภูมิของน้ำในการรักษาเป็นหลัก โดยเฉพาะน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส อีกทั้งในสมัยนั้นยังไม่มีบ่อหรือสระธาราบัด จึงใช้การอาบน้ำแร่หรือบ่อน้ำพุร้อนต่างๆในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดตามข้อหรือตามกล้ามเนื้อต่างๆ

แต่ ณ ปัจจุบัน ทางกายภาพบำบัดได้นำเอาศาสตร์นี้มาใช้รักษาผู้ป่วย โดยเริ่มต้นใช้อ่างน้ำวนหรืออ่างน้ำอุ่น รักษาผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ เพื่อจุดประสงค์ในการลดอาการปวด ต่อมาการรักษาธาราบำบัดได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยให้ผู้ป่วยลงไปอยู่ในน้ำ หรือสระธาราบำบัดทั้งตัว ประกอบกับใช้ท่าทางของการออกกำลังกายซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัด

“กภ.ยศวิน สกุลกรุณา นักกายภาพบำบัด จากคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล” ให้ข้อมูลว่า “ธาราบำบัด” คือการออกกำลังกายในน้ำซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาทางกายภาพ บำบัด โดยใช้น้ำเป็นสื่อหรือตัวกลางในการรักษา โดยอาศัยคุณสมบัติของน้ำ ช่วยพยุงรองรับทุกส่วนของร่างกาย ทำให้สามารถเคลื่อนไหวร่างกายและข้อต่อในส่วนต่าง ๆ ได้อย่างอิสระและง่ายขึ้น จึงช่วยลดแรงกระแทก และช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในขณะฝึกและออกกำลังในน้ำ ต่างจากการออกกำลังกายบนบกที่บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่สามารถยืนหรือลงน้ำหนัก ได้ หรือในบางท่วงท่าก็ไม่สามารถทำได้ เช่น การเดิน, การก้าวขาขึ้น-ลงบันได หรือก้าวขาไปข้างหน้า ด้านข้าง หรือการทรงตัว เพราะฉะนั้นเมื่อเราเปลี่ยนจากการออกกำลังกายบนบกมาทำในน้ำก็จะช่วยให้การทำ กายภาพ บำบัดมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ โดยธาราบำบัดทางกายภาพบำบัดนั้นเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาต่างๆดังนี้

1. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อเรื้อรัง ส่งผลให้กำลังกล้ามเนื้อลดลงไม่สามารถใช้งานได้อย่างปกติ การทำธาราบำบัดจะมีการออกแบบท่าออกกำลังกายให้เหมาะสมกับส่วนที่มีปัญหาและ เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่หายไปเพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้

2. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว เช่น เดินเซ ก้าวสั้น หรือเดินหลังค่อม น้ำจะเป็นตัวช่วยพยุงรอบตัวเพื่อให้ง่ายต่อการฝึกเดินหรือออกกำลังกายในท่า ต่าง ๆ โดยที่ท่าเหล่านี้อาจทำได้ลำบากถ้าทำบนบก

3. ผู้ป่วยกระดูกหักหลังผ่าตัดหรือหลังถอดเฝือก โดยเฉพาะในส่วนกระดูกสันหลังและกระดูกขา การเริ่มฝึกเคลื่อนไหวให้กลับมาเป็นปกติจะมีข้อจำกัดคือความเจ็บแผลผ่าตัด และข้อต่อที่ยึดติดทำให้ยากต่อการฝึกฝน ธาราบำบัดจะมีส่วนช่วยในการพยุงเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวและลดความเจ็บ ปวดกล้ามเนื้อ มีผลทางด้านจิตใจคือช่วยลดความกลัวที่จะลงน้ำหนักได้อย่างปกติ

4. ผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง จากโรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาต โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังต่างๆการฝึกการเคลื่อนไหวในน้ำจะช่วยให้ง่ายต่อการทรงตัว

5. นอกจากผู้ป่วยแล้วบุคคลปกติที่มีปัญหาเรื่อง น้ำหนักตัว ความเครียด กล้ามเนื้อตึงจากการใช้งานไม่ถูกวิธีและมากเกินไปการทำธาราบำบัดก็สามารถแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้

ธาราบำบัดหรือกายภาพบำบัดในน้ำ ยังใช้ได้ผลดีกับการคลอดลูก ผู้มีภาวะความเครียด ผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาสุขภาพใด ๆ ผู้ที่เพิ่งถอดเฝือก รวมถึงผู้ที่มีปัญหาหมอนรองกระดูก ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เข้าเฝือกอันเนื่องมาจากกระดูกหัก หรือเอ็นข้อเข่าขาด ต้องผ่าตัดเย็บซ่อม ก็จะมีการใช้ธาราบำบัดเข้ามาช่วย ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า เมื่อใช้ธาราบำบัดร่วมกับการฟื้นฟูบนบก จะสามารถช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงหลังการผ่าตัดเอ็นข้อเข่าให้สามารถ กลับไปใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติได้ โดยใช้การฟื้นฟูประมาณ 4 -5 เดือนต่างกับสมัยก่อนที่ใช้การฟื้นฟูบนบกอย่างเดียวที่ต้องใช้เวลา10-12เดือน

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการทำธาราบำบัดก็คือ ในผู้ป่วยที่ว่ายน้ำไม่เป็น ไม่เคยว่ายน้ำมาก่อนเลย หรือกลัวการลงน้ำ จะสามารถเข้ารับการรักษาได้หรือไม่ เรื่องนี้นักกายภาพบำบัดอธิบายว่า คนกลุ่มนี้ก็สามารถเข้ารับการรักษาด้วยธาราบำบัดได้เช่นกัน เพราะในการรักษาจะเริ่มต้นด้วยน้ำลึกเพียง 1 เมตรหรือน้ำในระดับเอวเท่านั้น ซึ่งน้ำในระดับนี้จะช่วยทอนน้ำหนักลงไปได้ถึง 50% แล้ว ผู้ป่วยสามารถที่จะลงไปแกว่งขาในน้ำได้ เดินในน้ำได้ หรือจ๊อกกิ้งในน้ำได้ เมื่อผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับน้ำในระดับนี้ได้ ก็จะเพิ่มความลึกของน้ำเป็นระดับอกหรือระดับไหล่ ซึ่งน้ำในระดับนี้จะช่วยทอนน้ำหนักลงไปได้ถึง 70–80% และผู้ป่วยจะสามารถออกกำลังกายในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้เพิ่มมากขึ้น...และในกรณีคนไข้ที่ไม่เคยว่ายน้ำมาก่อนเลย แนะนำว่าให้มาพบนักกายภาพบำบัดก่อนเพื่อที่จะให้คนไข้ได้ปรับตัวและคุ้นเคย กับน้ำก่อน คุ้นเคยกับว่าเราจะลอยตัวในน้ำอย่างไร คุ้นเคยว่าน้ำนั้นมีแรงต้านกับเรายังไงและคุ้นเคยกับการทรงตัวในน้ำ

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะได้รับการฝึกกายภาพ บำบัดในน้ำแบบเดี่ยวก่อน จนกระทั่งสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้ว มีการทรงตัวที่ค่อนข้างดี และควบคุมการเคลื่อนไหวได้ค่อนข้างดี จากนั้นจะมีจับกลุ่มกับผู้ป่วยท่านอื่น ๆ ที่มีภาวะเจ็บป่วยใกล้เคียงกัน มีการออกแบบท่วงท่าในการออกกำลังกายในน้ำที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม หรืออาจใช้อุปกรณ์ช่วยร่วมกับการฝึกการทรงตัวทั้งบนบกและในน้ำ ซึ่งจะให้ผลที่ดีกว่าการฝึกอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว สำหรับระยะเวลาในการรักษาต้องใช้อย่างน้อย 3 เดือนจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและความสม่ำเสมอในการออกกำลังกายของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

“หลายคนมีข้อสงสัยว่าการกายภาพบำบัดในน้ำนั้นจะช่วยลดอาการปวดได้ด้วยหรือไม่ ในประเด็นนี้ก่อนอื่นผู้ป่วยต้องทราบว่าอาการปวดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัดนั้น เกิดจากการคั่งค้างของของเสียในร่างกาย รวมถึงสารอักเสบและเลือดเสียที่คั่งค้าง สังเกตได้ว่าหลังการผ่าตัดนั้นขาเราจะบวม ซึ่งการที่เราลงไปในน้ำ น้ำจะมีคุณสมบัติคือมีแรงดันทุกทิศทางกับร่างกายของเรา เพราะฉะนั้นแรงดันเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่คั่งค้างให้ กระจายออกไป อาการปวดก็จะทุเลาลง เป็นการช่วยลดการอักเสบของข้อต่อและลดอาการบวมได้ดังนั้นในผู้ป่วยที่ออกกำลังกายในน้ำอยู่สม่ำเสมอก็มีส่วนทำให้ความดันโลหิตลดลงได้”

ไม่เพียงแต่ในผู้ใหญ่เท่านั้น กายภาพบำบัดในน้ำยังมีประโยชน์กับเด็กที่มีปัญหาเรื่องพัฒนาการล่าช้า เด็กที่มีความพิการทางสมอง เช่น ในเด็กปกติทั่วไปจะสามารถเดินได้เมื่ออายุประมาณ 1 ขวบ แต่เด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาเรื่องการเดินได้ล่าช้ากว่านั้น ซึ่งจะมีนักกายภาพบำบัดให้การดูแลร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว ซึ่งจะใช้ท่วงท่าของการกระตุ้นเพื่อให้เด็กเตะขาและสามารถเหยียดขาได้ ใช้ท่านอนคว่ำเพื่อช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อหลังให้เด็กสามารถเหยียดหลังและ เหยียดคอได้ รวมถึงท่าในการกระตุ้นกล้ามเนื้อตะโพกให้เด็ก เพื่อให้เด็กสามารถที่จะลุกขึ้นคลานได้ ยืนได้ และเดินได้ พอเรากระตุ้นการเคลื่อนไหวของเด็กในน้ำแล้วการเคลื่อนไหวบนบกของเด็กก็จะมีพัฒนาการได้ดีมากขึ้น

แม้การทำธาราบำบัดจะมีประโยชน์มากมายแต่ก็มีข้อควรระวังและข้อห้ามดังนี้

1. ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ควรแจ้งแก่นักกายภาพบำบัดก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักกายภาพบำบัดได้เตรียมระดับของน้ำที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย

2. จริงๆ แล้วการออกกำลังกายในน้ำร่างกายผู้ป่วยจะมีการสูญเสียเหงื่อหรือสูญเสียน้ำ เช่นเดียวกับการออกกำลังกายบนบก ดังนั้นจึงควรมีการจิบน้ำเป็นระยะ ๆ ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ

3.ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ไม่แนะนำให้ทำธาราบำบัด

4. ผู้ป่วยที่มีภาวะการติดเชื้อของผิวหนัง รวมถึงมีบาดแผลเปิด ไม่ควรทำธาราบำบัด จำเป็นต้องรักษาอาการติดเชื้อเหล่านั้นให้หายเสียก่อนจึงจะเข้ารับการธาราบำบัดได้

โดยสรุปก็คือการทำธาราบำบัดสามารถใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย เริ่มตั้งแต่วัยเด็กเรื่อยไปถึงวัยสูงอายุ ในเด็กจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่วัยคลานไปจนถึงวัยเดิน ส่วนในวัยรุ่นที่มีการบาดเจ็บทั้งจากการเล่นกีฬาหรือการทำงาน ธาราบำบัดสามารถช่วยฟื้นฟูให้กลับมาใช้ชีวิตหรือทำกิจวัตรประจำวันได้เร็ว ขึ้น...ในวัยทำงานหรือวัยกลางคนที่มักจะมีความเครียดเกิดขึ้น รวมถึงมีอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ธาราบำบัดสามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดเหล่านั้นได้ในระดับหนึ่ง สุดท้ายในวัยสูงอายุ ธาราบำบัดนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในผู้สูงอายุอาจมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ความดันโลหิต และกล้ามเนื้ออ่อนแรง ช่วยให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสนุก สนาน มีสังคม อีกทั้งยังได้ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงด้วยครับ

สำหรับผู้สนใจเรื่องกายภาพบำบัดในน้ำหรือธาราบำบัด สามารถติดต่อได้ที่คณะกายภาพ บำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา โทรศัพท์ 0-2441-5450 ต่อ 12. : นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/233045 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ก.ย.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 17/09/2556 เวลา 03:20:20 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘ออกกำลังกายในน้ำ กับ ธาราบำบัด’ - ชีวิตและสุขภาพ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้สูงอายุออกกำลังกายในน้ำ กับ ธาราบำบัด เรื่องราวของการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ มีการกล่าวถึงมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ ซึ่งในสมัยนั้นจะใช้คุณสมบัติเรื่องอุณหภูมิของน้ำในการรักษาเป็นหลัก โดยเฉพาะน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส อีกทั้งในสมัยนั้นยังไม่มีบ่อหรือสระธาราบัด จึงใช้การอาบน้ำแร่หรือบ่อน้ำพุร้อนต่างๆในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดตามข้อหรือตามกล้ามเนื้อต่างๆ แต่ ณ ปัจจุบัน ทางกายภาพบำบัดได้นำเอาศาสตร์นี้มาใช้รักษาผู้ป่วย โดยเริ่มต้นใช้อ่างน้ำวนหรืออ่างน้ำอุ่น รักษาผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ เพื่อจุดประสงค์ในการลดอาการปวด ต่อมาการรักษาธาราบำบัดได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยให้ผู้ป่วยลงไปอยู่ในน้ำ หรือสระธาราบำบัดทั้งตัว ประกอบกับใช้ท่าทางของการออกกำลังกายซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัด “กภ.ยศวิน สกุลกรุณา นักกายภาพบำบัด จากคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล” ให้ข้อมูลว่า “ธาราบำบัด” คือการออกกำลังกายในน้ำซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาทางกายภาพ บำบัด โดยใช้น้ำเป็นสื่อหรือตัวกลางในการรักษา โดยอาศัยคุณสมบัติของน้ำ ช่วยพยุงรองรับทุกส่วนของร่างกาย ทำให้สามารถเคลื่อนไหวร่างกายและข้อต่อในส่วนต่าง ๆ ได้อย่างอิสระและง่ายขึ้น จึงช่วยลดแรงกระแทก และช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในขณะฝึกและออกกำลังในน้ำ ต่างจากการออกกำลังกายบนบกที่บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่สามารถยืนหรือลงน้ำหนัก ได้ หรือในบางท่วงท่าก็ไม่สามารถทำได้ เช่น การเดิน, การก้าวขาขึ้น-ลงบันได หรือก้าวขาไปข้างหน้า ด้านข้าง หรือการทรงตัว เพราะฉะนั้นเมื่อเราเปลี่ยนจากการออกกำลังกายบนบกมาทำในน้ำก็จะช่วยให้การทำ กายภาพ บำบัดมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ โดยธาราบำบัดทางกายภาพบำบัดนั้นเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาต่างๆดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อเรื้อรัง ส่งผลให้กำลังกล้ามเนื้อลดลงไม่สามารถใช้งานได้อย่างปกติ การทำธาราบำบัดจะมีการออกแบบท่าออกกำลังกายให้เหมาะสมกับส่วนที่มีปัญหาและ เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่หายไปเพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ 2. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว เช่น เดินเซ ก้าวสั้น หรือเดินหลังค่อม น้ำจะเป็นตัวช่วยพยุงรอบตัวเพื่อให้ง่ายต่อการฝึกเดินหรือออกกำลังกายในท่า ต่าง ๆ โดยที่ท่าเหล่านี้อาจทำได้ลำบากถ้าทำบนบก 3. ผู้ป่วยกระดูกหักหลังผ่าตัดหรือหลังถอดเฝือก โดยเฉพาะในส่วนกระดูกสันหลังและกระดูกขา การเริ่มฝึกเคลื่อนไหวให้กลับมาเป็นปกติจะมีข้อจำกัดคือความเจ็บแผลผ่าตัด และข้อต่อที่ยึดติดทำให้ยากต่อการฝึกฝน ธาราบำบัดจะมีส่วนช่วยในการพยุงเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวและลดความเจ็บ ปวดกล้ามเนื้อ มีผลทางด้านจิตใจคือช่วยลดความกลัวที่จะลงน้ำหนักได้อย่างปกติ 4. ผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง จากโรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาต โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังต่างๆการฝึกการเคลื่อนไหวในน้ำจะช่วยให้ง่ายต่อการทรงตัว 5. นอกจากผู้ป่วยแล้วบุคคลปกติที่มีปัญหาเรื่อง น้ำหนักตัว ความเครียด กล้ามเนื้อตึงจากการใช้งานไม่ถูกวิธีและมากเกินไปการทำธาราบำบัดก็สามารถแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้ ธาราบำบัดหรือกายภาพบำบัดในน้ำ ยังใช้ได้ผลดีกับการคลอดลูก ผู้มีภาวะความเครียด ผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาสุขภาพใด ๆ ผู้ที่เพิ่งถอดเฝือก รวมถึงผู้ที่มีปัญหาหมอนรองกระดูก ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เข้าเฝือกอันเนื่องมาจากกระดูกหัก หรือเอ็นข้อเข่าขาด ต้องผ่าตัดเย็บซ่อม ก็จะมีการใช้ธาราบำบัดเข้ามาช่วย ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า เมื่อใช้ธาราบำบัดร่วมกับการฟื้นฟูบนบก จะสามารถช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงหลังการผ่าตัดเอ็นข้อเข่าให้สามารถ กลับไปใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติได้ โดยใช้การฟื้นฟูประมาณ 4 -5 เดือนต่างกับสมัยก่อนที่ใช้การฟื้นฟูบนบกอย่างเดียวที่ต้องใช้เวลา10-12เดือน คำถามที่พบบ่อยสำหรับการทำธาราบำบัดก็คือ ในผู้ป่วยที่ว่ายน้ำไม่เป็น ไม่เคยว่ายน้ำมาก่อนเลย หรือกลัวการลงน้ำ จะสามารถเข้ารับการรักษาได้หรือไม่ เรื่องนี้นักกายภาพบำบัดอธิบายว่า คนกลุ่มนี้ก็สามารถเข้ารับการรักษาด้วยธาราบำบัดได้เช่นกัน เพราะในการรักษาจะเริ่มต้นด้วยน้ำลึกเพียง 1 เมตรหรือน้ำในระดับเอวเท่านั้น ซึ่งน้ำในระดับนี้จะช่วยทอนน้ำหนักลงไปได้ถึง 50% แล้ว ผู้ป่วยสามารถที่จะลงไปแกว่งขาในน้ำได้ เดินในน้ำได้ หรือจ๊อกกิ้งในน้ำได้ เมื่อผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับน้ำในระดับนี้ได้ ก็จะเพิ่มความลึกของน้ำเป็นระดับอกหรือระดับไหล่ ซึ่งน้ำในระดับนี้จะช่วยทอนน้ำหนักลงไปได้ถึง 70–80% และผู้ป่วยจะสามารถออกกำลังกายในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้เพิ่มมากขึ้น...และในกรณีคนไข้ที่ไม่เคยว่ายน้ำมาก่อนเลย แนะนำว่าให้มาพบนักกายภาพบำบัดก่อนเพื่อที่จะให้คนไข้ได้ปรับตัวและคุ้นเคย กับน้ำก่อน คุ้นเคยกับว่าเราจะลอยตัวในน้ำอย่างไร คุ้นเคยว่าน้ำนั้นมีแรงต้านกับเรายังไงและคุ้นเคยกับการทรงตัวในน้ำ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะได้รับการฝึกกายภาพ บำบัดในน้ำแบบเดี่ยวก่อน จนกระทั่งสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้ว มีการทรงตัวที่ค่อนข้างดี และควบคุมการเคลื่อนไหวได้ค่อนข้างดี จากนั้นจะมีจับกลุ่มกับผู้ป่วยท่านอื่น ๆ ที่มีภาวะเจ็บป่วยใกล้เคียงกัน มีการออกแบบท่วงท่าในการออกกำลังกายในน้ำที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม หรืออาจใช้อุปกรณ์ช่วยร่วมกับการฝึกการทรงตัวทั้งบนบกและในน้ำ ซึ่งจะให้ผลที่ดีกว่าการฝึกอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว สำหรับระยะเวลาในการรักษาต้องใช้อย่างน้อย 3 เดือนจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและความสม่ำเสมอในการออกกำลังกายของผู้ป่วยเป็นสำคัญ “หลายคนมีข้อสงสัยว่าการกายภาพบำบัดในน้ำนั้นจะช่วยลดอาการปวดได้ด้วยหรือไม่ ในประเด็นนี้ก่อนอื่นผู้ป่วยต้องทราบว่าอาการปวดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัดนั้น เกิดจากการคั่งค้างของของเสียในร่างกาย รวมถึงสารอักเสบและเลือดเสียที่คั่งค้าง สังเกตได้ว่าหลังการผ่าตัดนั้นขาเราจะบวม ซึ่งการที่เราลงไปในน้ำ น้ำจะมีคุณสมบัติคือมีแรงดันทุกทิศทางกับร่างกายของเรา เพราะฉะนั้นแรงดันเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่คั่งค้างให้ กระจายออกไป อาการปวดก็จะทุเลาลง เป็นการช่วยลดการอักเสบของข้อต่อและลดอาการบวมได้ดังนั้นในผู้ป่วยที่ออกกำลังกายในน้ำอยู่สม่ำเสมอก็มีส่วนทำให้ความดันโลหิตลดลงได้” ไม่เพียงแต่ในผู้ใหญ่เท่านั้น กายภาพบำบัดในน้ำยังมีประโยชน์กับเด็กที่มีปัญหาเรื่องพัฒนาการล่าช้า เด็กที่มีความพิการทางสมอง เช่น ในเด็กปกติทั่วไปจะสามารถเดินได้เมื่ออายุประมาณ 1 ขวบ แต่เด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาเรื่องการเดินได้ล่าช้ากว่านั้น ซึ่งจะมีนักกายภาพบำบัดให้การดูแลร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว ซึ่งจะใช้ท่วงท่าของการกระตุ้นเพื่อให้เด็กเตะขาและสามารถเหยียดขาได้ ใช้ท่านอนคว่ำเพื่อช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อหลังให้เด็กสามารถเหยียดหลังและ เหยียดคอได้ รวมถึงท่าในการกระตุ้นกล้ามเนื้อตะโพกให้เด็ก เพื่อให้เด็กสามารถที่จะลุกขึ้นคลานได้ ยืนได้ และเดินได้ พอเรากระตุ้นการเคลื่อนไหวของเด็กในน้ำแล้วการเคลื่อนไหวบนบกของเด็กก็จะมีพัฒนาการได้ดีมากขึ้น แม้การทำธาราบำบัดจะมีประโยชน์มากมายแต่ก็มีข้อควรระวังและข้อห้ามดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ควรแจ้งแก่นักกายภาพบำบัดก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักกายภาพบำบัดได้เตรียมระดับของน้ำที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย 2. จริงๆ แล้วการออกกำลังกายในน้ำร่างกายผู้ป่วยจะมีการสูญเสียเหงื่อหรือสูญเสียน้ำ เช่นเดียวกับการออกกำลังกายบนบก ดังนั้นจึงควรมีการจิบน้ำเป็นระยะ ๆ ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ 3.ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ไม่แนะนำให้ทำธาราบำบัด 4. ผู้ป่วยที่มีภาวะการติดเชื้อของผิวหนัง รวมถึงมีบาดแผลเปิด ไม่ควรทำธาราบำบัด จำเป็นต้องรักษาอาการติดเชื้อเหล่านั้นให้หายเสียก่อนจึงจะเข้ารับการธาราบำบัดได้ โดยสรุปก็คือการทำธาราบำบัดสามารถใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย เริ่มตั้งแต่วัยเด็กเรื่อยไปถึงวัยสูงอายุ ในเด็กจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่วัยคลานไปจนถึงวัยเดิน ส่วนในวัยรุ่นที่มีการบาดเจ็บทั้งจากการเล่นกีฬาหรือการทำงาน ธาราบำบัดสามารถช่วยฟื้นฟูให้กลับมาใช้ชีวิตหรือทำกิจวัตรประจำวันได้เร็ว ขึ้น...ในวัยทำงานหรือวัยกลางคนที่มักจะมีความเครียดเกิดขึ้น

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...