ยุทธวิธี ‘รักษาแบบองค์รวม’ การแพทย์แนวใหม่ช่วยเด็ก ‘พิการเคลื่อนไหว’

แสดงความคิดเห็น

ครอบครัวสุขสันต์ พ่อพิการนั่งรถเข็น แม่ และลูก

ปัญหาพิการทางการเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่พบมากตั้งแต่วัยเด็ก ที่ผ่านมาการรักษาในไทยเป็นไปในรูปแบบต่างคนต่างรักษา แตกต่างจากหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ใช้แพทย์หลายทางในการช่วยกันระดมฝีมือ ระดมความคิด ทำให้คนไข้ได้รับการรักษาอย่างตรงจุดที่สุด ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) ร่วมกับมูลนิธิซายมูฟเม้นท์ จัดสัมมนาในเรื่องนี้ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการรักษาแบบ“การแพทย์สหสาขาวิชา”

นพ.วีระศักดิ์ ธรรมคุณานนท์ หัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรมกระดูกและข้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) เล่าถึงสถานการณ์คนไข้ว่า โรคพิการทางการเคลื่อนไหวสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ 1. กลุ่มเด็กที่ไม่มีแขนขาสมบูรณ์ตั้งแต่กำเนิดกลุ่มนี้มีน้อยมากประมาณสองในพันคน แต่ กลุ่มที่ 2 มีมากคือ กลุ่มเกิดมามีแขนขาแต่ควบคุมการใช้งานไม่ได้ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากแม่ที่ตั้งท้องคลอดก่อนกำหนด,รกเกาะต่ำ,ตกเลือดหรือล้มระหว่างตั้งครรภ์

อาการของเด็กกลุ่มนี้มีหลายรูปแบบ เช่น เกร็งแขนขา หรือครึ่งซีก, การเคลื่อนไหวผิดปกติ ควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้, สูญเสียการทรงตัวการประสานงานของอวัยวะไม่ดี, การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างกายมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้ , อัมพาตแบบผสม

กลุ่มเด็กเกิดมามีแขนขาแต่ควบคุมการใช้งานไม่ได้มีปริมาณมากขึ้นในปัจจุบัน นอกจากปัญหาของแม่ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์แล้ว เมื่อลูกเกิดมาก่อนอายุครบ 2 ปี เป็นช่วงที่สมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กอาจเกิดปัญหาการติดเชื้อ เช่น ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถ้าหากปล่อยโดยไม่รักษาการติดเชื้อจะทำลายเนื้อสมองจนเกิดแผลได้ โดยเฉพาะสมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อนและมักได้รับผลกระทบก่อนส่วนอื่น

ครอบครัวสามารถสังเกตพฤติกรรมเด็กได้หลังจากคลอด หากรู้ว่าเด็กมีปัญหาอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรไปหาหมอตามที่กำหนดเพื่อตรวจสอบและแก้ไข ส่วนเด็กอีกกลุ่มเป็นโดยไม่รู้สาเหตุ สามารถดูได้จากพัฒนาการของเด็กว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ หากมีพัฒนาการไม่เป็นไปตามที่กำหนดครอบครัวอย่าชะล่าใจ

การรักษาต้องเข้าใจก่อนว่าโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด เพราะเกิดจากสมองภายในที่เป็นแผล และเซลล์สมองส่วนที่ตาย สามารถรักษาได้โดยฟื้นฟูคนไข้โดยมีอุปกรณ์ช่วย และกลุ่มที่ฟื้นฟูแล้วไม่ดีขึ้น ต้องมีคนคอยดูแลเพราะดูแลตัวเองไม่ได้ ที่ผ่านมามีการรักษาแบบผิด ๆ ออกมา โดยเรียกเก็บเงินจากญาติคนไข้มาก แต่การรักษาไม่ได้ผล หลายคนกว่าจะรู้ตัวก็เสียเงินไปมาก

การรักษาเพื่อให้ได้ผลและเหมาะสมกับคนไข้ ควรเป็นไปตามแนวทาง “การแพทย์สหสาขาวิชา” ประเทศไทยยังขาดความร่วมมือในแนวทางการรักษานี้ ซึ่งประกอบด้วยการรักษาแบบ 3มิติ

มิติที่ 1 การผ่าตัดโครงสร้าง เนื่องจากกระดูกหงิกงอ ข้อหลุด ต้องทำการผ่าตัดเพื่อให้กลับมาเป็นปกติ สามารถผ่าตัดได้ตั้งแต่อายุ 4–5 ขวบ ถ้าปล่อยให้กระดูกมีปัญหาต่อไปเรื่อย ๆ จะยากต่อการรักษา

มิติที่ 2 กายภาพบำบัด ต้องมีการทำอย่างต่อเนื่องตลอด เพื่อให้คนไข้สามารถควบคุมการเคลื่อนไหว และช่วยตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระของผู้อื่น แต่ต้องใช้เวลาในการทำหลายปี

มิติที่ 3 ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือการควบคุม เพราะคนไข้บางรายผ่าตัดและกายภาพแล้วไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่อให้เกิดความสมดุลทดแทน เพื่ออุดรอยรั่วซึ่งเกิดขึ้นจากการผิดปกติ

การรักษาทั้ง 3 มิตินี้ต้องเป็นไปควบคู่กัน ที่ผ่านมาในประเทศไทยมักมุ่งไปยังมิติใดมิติหนึ่งอย่างเดียว ด้วยแพทย์ที่รักษามีความรู้แนวทางนั้น หรือขึ้นอยู่กับปัญหาด้านการเงิน แต่ยังมีคนที่กายภาพอย่างสุดโต่ง ถ้าหากแพทย์มีการร่วมมือกันในหลาย ๆ ศาสตร์ก็จะทำให้การรักษาคนไข้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับผู้ปกครองที่ลูกหลานเป็นโรคเหล่านี้ ปัจจัยในการรักษาคือต้องรู้เร็วเพื่อให้แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว หรือคุณแม่ที่ตั้งท้องควรมีการฝากครรภ์และปฏิบัติอย่างที่แพทย์สั่งเพื่อความปลอดภัยของลูก ในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงควรสังเกตความผิดปกติของเด็กเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

อนาคตโรคนี้ในทางการแพทย์อยากให้มีการร่วมมือกันรักษามากขึ้น เพื่อคุณภาพของคนไข้ ขณะเดียวกันสังคมโดยเฉพาะโรงเรียนควรให้โอกาสเด็กเหล่านี้ เพราะเคยมีบางโรงเรียนเด็กมีปัญหาเดินไม่คล่องแล้วไม่รับเข้าศึกษา ทั้งที่จริงเด็กเหล่านี้มีศักยภาพทางสมองที่ดี จึงควรให้โอกาสเพื่อไม่ให้พวกเขาเป็นภาระของสังคม.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/228286 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ส.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 26/08/2556 เวลา 06:22:55 ดูภาพสไลด์โชว์ ยุทธวิธี ‘รักษาแบบองค์รวม’ การแพทย์แนวใหม่ช่วยเด็ก ‘พิการเคลื่อนไหว’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ครอบครัวสุขสันต์ พ่อพิการนั่งรถเข็น แม่ และลูก ปัญหาพิการทางการเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่พบมากตั้งแต่วัยเด็ก ที่ผ่านมาการรักษาในไทยเป็นไปในรูปแบบต่างคนต่างรักษา แตกต่างจากหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ใช้แพทย์หลายทางในการช่วยกันระดมฝีมือ ระดมความคิด ทำให้คนไข้ได้รับการรักษาอย่างตรงจุดที่สุด ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) ร่วมกับมูลนิธิซายมูฟเม้นท์ จัดสัมมนาในเรื่องนี้ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการรักษาแบบ“การแพทย์สหสาขาวิชา” นพ.วีระศักดิ์ ธรรมคุณานนท์ หัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรมกระดูกและข้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) เล่าถึงสถานการณ์คนไข้ว่า โรคพิการทางการเคลื่อนไหวสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ 1. กลุ่มเด็กที่ไม่มีแขนขาสมบูรณ์ตั้งแต่กำเนิดกลุ่มนี้มีน้อยมากประมาณสองในพันคน แต่ กลุ่มที่ 2 มีมากคือ กลุ่มเกิดมามีแขนขาแต่ควบคุมการใช้งานไม่ได้ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากแม่ที่ตั้งท้องคลอดก่อนกำหนด,รกเกาะต่ำ,ตกเลือดหรือล้มระหว่างตั้งครรภ์ อาการของเด็กกลุ่มนี้มีหลายรูปแบบ เช่น เกร็งแขนขา หรือครึ่งซีก, การเคลื่อนไหวผิดปกติ ควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้, สูญเสียการทรงตัวการประสานงานของอวัยวะไม่ดี, การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างกายมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้ , อัมพาตแบบผสม กลุ่มเด็กเกิดมามีแขนขาแต่ควบคุมการใช้งานไม่ได้มีปริมาณมากขึ้นในปัจจุบัน นอกจากปัญหาของแม่ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์แล้ว เมื่อลูกเกิดมาก่อนอายุครบ 2 ปี เป็นช่วงที่สมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กอาจเกิดปัญหาการติดเชื้อ เช่น ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถ้าหากปล่อยโดยไม่รักษาการติดเชื้อจะทำลายเนื้อสมองจนเกิดแผลได้ โดยเฉพาะสมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อนและมักได้รับผลกระทบก่อนส่วนอื่น ครอบครัวสามารถสังเกตพฤติกรรมเด็กได้หลังจากคลอด หากรู้ว่าเด็กมีปัญหาอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรไปหาหมอตามที่กำหนดเพื่อตรวจสอบและแก้ไข ส่วนเด็กอีกกลุ่มเป็นโดยไม่รู้สาเหตุ สามารถดูได้จากพัฒนาการของเด็กว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ หากมีพัฒนาการไม่เป็นไปตามที่กำหนดครอบครัวอย่าชะล่าใจ การรักษาต้องเข้าใจก่อนว่าโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด เพราะเกิดจากสมองภายในที่เป็นแผล และเซลล์สมองส่วนที่ตาย สามารถรักษาได้โดยฟื้นฟูคนไข้โดยมีอุปกรณ์ช่วย และกลุ่มที่ฟื้นฟูแล้วไม่ดีขึ้น ต้องมีคนคอยดูแลเพราะดูแลตัวเองไม่ได้ ที่ผ่านมามีการรักษาแบบผิด ๆ ออกมา โดยเรียกเก็บเงินจากญาติคนไข้มาก แต่การรักษาไม่ได้ผล หลายคนกว่าจะรู้ตัวก็เสียเงินไปมาก การรักษาเพื่อให้ได้ผลและเหมาะสมกับคนไข้ ควรเป็นไปตามแนวทาง “การแพทย์สหสาขาวิชา” ประเทศไทยยังขาดความร่วมมือในแนวทางการรักษานี้ ซึ่งประกอบด้วยการรักษาแบบ 3มิติ มิติที่ 1 การผ่าตัดโครงสร้าง เนื่องจากกระดูกหงิกงอ ข้อหลุด ต้องทำการผ่าตัดเพื่อให้กลับมาเป็นปกติ สามารถผ่าตัดได้ตั้งแต่อายุ 4–5 ขวบ ถ้าปล่อยให้กระดูกมีปัญหาต่อไปเรื่อย ๆ จะยากต่อการรักษา มิติที่ 2 กายภาพบำบัด ต้องมีการทำอย่างต่อเนื่องตลอด เพื่อให้คนไข้สามารถควบคุมการเคลื่อนไหว และช่วยตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระของผู้อื่น แต่ต้องใช้เวลาในการทำหลายปี มิติที่ 3 ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือการควบคุม เพราะคนไข้บางรายผ่าตัดและกายภาพแล้วไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่อให้เกิดความสมดุลทดแทน เพื่ออุดรอยรั่วซึ่งเกิดขึ้นจากการผิดปกติ การรักษาทั้ง 3 มิตินี้ต้องเป็นไปควบคู่กัน ที่ผ่านมาในประเทศไทยมักมุ่งไปยังมิติใดมิติหนึ่งอย่างเดียว ด้วยแพทย์ที่รักษามีความรู้แนวทางนั้น หรือขึ้นอยู่กับปัญหาด้านการเงิน แต่ยังมีคนที่กายภาพอย่างสุดโต่ง ถ้าหากแพทย์มีการร่วมมือกันในหลาย ๆ ศาสตร์ก็จะทำให้การรักษาคนไข้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับผู้ปกครองที่ลูกหลานเป็นโรคเหล่านี้ ปัจจัยในการรักษาคือต้องรู้เร็วเพื่อให้แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว หรือคุณแม่ที่ตั้งท้องควรมีการฝากครรภ์และปฏิบัติอย่างที่แพทย์สั่งเพื่อความปลอดภัยของลูก ในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงควรสังเกตความผิดปกติของเด็กเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อนาคตโรคนี้ในทางการแพทย์อยากให้มีการร่วมมือกันรักษามากขึ้น เพื่อคุณภาพของคนไข้ ขณะเดียวกันสังคมโดยเฉพาะโรงเรียนควรให้โอกาสเด็กเหล่านี้ เพราะเคยมีบางโรงเรียนเด็กมีปัญหาเดินไม่คล่องแล้วไม่รับเข้าศึกษา ทั้งที่จริงเด็กเหล่านี้มีศักยภาพทางสมองที่ดี จึงควรให้โอกาสเพื่อไม่ให้พวกเขาเป็นภาระของสังคม. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/228286 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...