โรคอารมณ์สองขั้ว เช็กสัญญาณเข้าข่ายป่วย

แสดงความคิดเห็น

สื่อทางการแพทย์ ภาพเอ็กซเรย์สมองของมนุษย์ โรคอารมณ์ 2 ขั้ว หลายคนอาจสงสัยว่ามีอาการแบบไหน นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์ชำนาญทางโรงพยาบาลศรีธัญญาและจิตแพทย์ที่ปรึกษาโรงพยาบาลบำรุง ราษฎร์ และโรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า โรคอารมณ์ 2 ขั้ว แท้จริงแล้วโรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของโรคทางจิตเวช ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเศร้าสลับกับอาการครื้นเครงเกินเหตุ ผู้ที่เป็นจะมีอารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนเป็นช่วงๆ โดยในแต่ละระยะอาจจะมีอาการนานหลายอาทิตย์ จนอาจถึงหลายเดือน หากไม่ได้รับการรักษา

หญิงสาวแสดงอารมณ์ซึมเศร้า และแสดงอารมณ์ดีใจ ในระยะที่ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า นอกเหนือจากอาการเศร้านั่งร้องห่มร้องไห้เหมือนในละครแล้ว จริงๆ ยังมี อาการอื่นๆ ได้อีก เช่น อารมณ์อ่อนไหวง่าย รู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร กิจกรรมที่เคยชอบทำก็ไม่อยากทำเหมือนทำแล้วก็ไม่มีความสุขเหมือนเคย เช่น จากเดิมชอบดูหนัง แต่พอมีอาการกลับดูแล้วไม่สนุก ไม่อยากเจอใคร สมาธิ ความจำแย่ลง บางคนนอนน้อย กินได้น้อย ทำให้ซูบผอม หรือบางคนตรงกันข้ามจนน้ำหนักเพิ่มก้าวกระโดด ความมั่นใจลดลง เกิดอารมณ์หดหู่ จนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย

ใน ทางตรงกันข้าม ในระยะที่ครื้นเครงเกินเหตุหรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า "ระยะเมเนีย" ผู้ป่วยจะมีอาการมั่นใจตัวเองมาก รู้สึกว่าตัวเองเก่งกาจเหนือผู้อื่น บางคนอาจเลยเถิดคิดว่าตนเองมีพลังอำนาจวิเศษเหนือมนุษย์ทั่วไปเลยก็มี เป็นต้น ระยะแรกผู้ป่วยอาจจะรู้สึกดี แต่เมื่อการดำเนินโรคผ่านไปเรื่อยๆ จะกลายเป็นลักษณะของการทำอะไรจับจด

กราฟแสดงอาการของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะพูดมากขึ้น จนคนฟังสับสน มนุษย์สัมพันธ์อาจจะดีเกินเหตุ คุยกับคนแปลกหน้าได้เหมือนคุยกับคนที่สนิทสนมกันมานาน มีอาการหน้าใหญ่ใจโตใช้จ่ายเกินตัว ไม่นอนหรือนอนดึกเพราะมีเรื่องให้ทำเยอะแยะไปหมด ตื่นไว วอกแวกมาก ไม่สามารถอดทนเรื่องใดได้นานๆ ความยับยั้งชั่งใจในตนเองไม่ดี ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้นด้วยโดยเฉพาะเหล้า

โรคนี้เป็นโรคที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองที่ส่งผลออกมาให้เห็นเป็น อาการทางจิตใจและพฤติกรรม การเอกซเรย์สมองหรือการเจาะเลือดไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ วิธีหลักในการวินิจฉัยขึ้นกับประวัติ การสังเกตพฤติกรรมจากคนรอบข้างจึงสำคัญมาก เพื่อให้ผู้ป่วยได้การวินิจฉัยและได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของโรค

การรักษาโรคนี้โดยใช้ยาซึ่งมียาหลายกลุ่ม โดยจิตแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการเลือกใช้ยา ความร่วมมือจากผู้ป่วยและญาติเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการรักษาโรคนี้ต้องมีการกินยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผลการรักษาที่ดีและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdOREExTURnMU5nPT0= (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 5/08/2556 เวลา 03:53:55 ดูภาพสไลด์โชว์ โรคอารมณ์สองขั้ว เช็กสัญญาณเข้าข่ายป่วย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สื่อทางการแพทย์ ภาพเอ็กซเรย์สมองของมนุษย์โรคอารมณ์ 2 ขั้ว หลายคนอาจสงสัยว่ามีอาการแบบไหน นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์ชำนาญทางโรงพยาบาลศรีธัญญาและจิตแพทย์ที่ปรึกษาโรงพยาบาลบำรุง ราษฎร์ และโรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า โรคอารมณ์ 2 ขั้ว แท้จริงแล้วโรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของโรคทางจิตเวช ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเศร้าสลับกับอาการครื้นเครงเกินเหตุ ผู้ที่เป็นจะมีอารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนเป็นช่วงๆ โดยในแต่ละระยะอาจจะมีอาการนานหลายอาทิตย์ จนอาจถึงหลายเดือน หากไม่ได้รับการรักษา หญิงสาวแสดงอารมณ์ซึมเศร้า และแสดงอารมณ์ดีใจ ในระยะที่ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า นอกเหนือจากอาการเศร้านั่งร้องห่มร้องไห้เหมือนในละครแล้ว จริงๆ ยังมี อาการอื่นๆ ได้อีก เช่น อารมณ์อ่อนไหวง่าย รู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร กิจกรรมที่เคยชอบทำก็ไม่อยากทำเหมือนทำแล้วก็ไม่มีความสุขเหมือนเคย เช่น จากเดิมชอบดูหนัง แต่พอมีอาการกลับดูแล้วไม่สนุก ไม่อยากเจอใคร สมาธิ ความจำแย่ลง บางคนนอนน้อย กินได้น้อย ทำให้ซูบผอม หรือบางคนตรงกันข้ามจนน้ำหนักเพิ่มก้าวกระโดด ความมั่นใจลดลง เกิดอารมณ์หดหู่ จนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ใน ทางตรงกันข้าม ในระยะที่ครื้นเครงเกินเหตุหรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า "ระยะเมเนีย" ผู้ป่วยจะมีอาการมั่นใจตัวเองมาก รู้สึกว่าตัวเองเก่งกาจเหนือผู้อื่น บางคนอาจเลยเถิดคิดว่าตนเองมีพลังอำนาจวิเศษเหนือมนุษย์ทั่วไปเลยก็มี เป็นต้น ระยะแรกผู้ป่วยอาจจะรู้สึกดี แต่เมื่อการดำเนินโรคผ่านไปเรื่อยๆ จะกลายเป็นลักษณะของการทำอะไรจับจด กราฟแสดงอาการของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะพูดมากขึ้น จนคนฟังสับสน มนุษย์สัมพันธ์อาจจะดีเกินเหตุ คุยกับคนแปลกหน้าได้เหมือนคุยกับคนที่สนิทสนมกันมานาน มีอาการหน้าใหญ่ใจโตใช้จ่ายเกินตัว ไม่นอนหรือนอนดึกเพราะมีเรื่องให้ทำเยอะแยะไปหมด ตื่นไว วอกแวกมาก ไม่สามารถอดทนเรื่องใดได้นานๆ ความยับยั้งชั่งใจในตนเองไม่ดี ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้นด้วยโดยเฉพาะเหล้า โรคนี้เป็นโรคที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองที่ส่งผลออกมาให้เห็นเป็น อาการทางจิตใจและพฤติกรรม การเอกซเรย์สมองหรือการเจาะเลือดไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ วิธีหลักในการวินิจฉัยขึ้นกับประวัติ การสังเกตพฤติกรรมจากคนรอบข้างจึงสำคัญมาก เพื่อให้ผู้ป่วยได้การวินิจฉัยและได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของโรค การรักษาโรคนี้โดยใช้ยาซึ่งมียาหลายกลุ่ม โดยจิตแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการเลือกใช้ยา ความร่วมมือจากผู้ป่วยและญาติเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการรักษาโรคนี้ต้องมีการกินยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผลการรักษาที่ดีและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค ขอบคุณ… http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdOREExTURnMU5nPT0= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...