เด็กป่วยออทิสติกพุ่ง 1.5 หมื่นราย

แสดงความคิดเห็น

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในปี 2553 พบผู้ป่วยนอกออทิสติก 6,753 คน มารับบริการ 28,005 ครั้ง ปี 2554 จำนวน 12,531 คน มารับบริการ 75,817 ครั้ง และในปี 2555 จำนวน 15,234 คน มารับบริการ 108,298 ครั้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เนื่องจากข้อจำกัดหน่วยบริการสาธารณสุขและบุคลากรไม่เพียงพอ ปัจจุบันมีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นประมาณ 100 คนทั่วประเทศ ขณะที่พยาบาลกระตุ้นพัฒนาการมีน้อยมาก สถาบันที่ให้การอบรมสามารถอบรมได้ปีละ 30 คน ในอนาคตจึงดำเนินการให้เด็กกลุ่มเด็กพิเศษเข้าถึงบริการมากขึ้น

นพ.วินัยกล่าวว่า แม้ว่าการดูแลเด็กพิเศษอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช. ส่วนตัวเห็นว่าสิ่งสำคัญคือต้องสร้างกลไกของระบบที่ใกล้บ้านมากที่สุด รวมถึงพ่อและแม่ถือเป็นคนใกล้ชิดเด็กมากที่สุด เพราะสามารถช่วยให้พบว่าลูกของตนนั้นป่วยเป็นออทิสติกหรือไม่ในระยะเวลาที่ รวดเร็ว ถือเป็นส่วนสำคัญมากในกระบวนการรักษา ซึ่งในวันที่ 11-12 ก.ค.นี้ สปสช.จะมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างเครือข่ายการดูแล พัฒนาการเด็กในระดับชุมชนและระดับหน่วยบริการ เพื่อระดมความเห็นเกี่ยวกับจัดระบบการดูแลพัฒนาการ ตั้งแต่การดูแลโดยพ่อแม่ ชุมชน หน่วยบริการและการดูแลต่อเนื่องในชุมชน สปสช.สนับสนุนโรงพยาบาลที่มีการจัดบริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีพัฒนาการ ล่าช้า มีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 42 โรงพยาบาลทั่วประเทศ

"จากการดำเนินการในเขต กทม.ร่วมกับสถาบันราชานุกูล และสำนักอนามัย กทม. ที่ได้ร่วมกันจัดทำโครงการจัดบริการแก่เด็กบกพร่องทางพัฒนาการ วัยแรกเกิด-5 ปี ในระยะเริ่มต้น ปี 2552 พบว่าเด็กได้รับการคัดกรองพัฒนาการ 52,778 คน หรือ 25% ของประชากรเด็กในพื้นที่ จากจำนวน 211,477 คน พบมีความเสี่ยงการบกพร่องทางพัฒนาการ 5,658 คน ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ" นพ.วินัยกล่าว

นพ.ทินกร พงศ์วิวัฒน์ ผอ.รพ.ระนอง กล่าวว่า หลังพบข้อมูลจากการสำรวจว่ามีเด็ก 11% ที่มีปัญหาพัฒนาการช้า รพ.ระนองให้ความสำคัญกับพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ โดยตั้งคลินิกพัฒนาการเด็กตั้งแต่ปี 2546 ดูแลแบบครบวงจรตั้งแต่การรักษา การส่งเสริมพัฒนาการ และความร่วมมือกับผู้ปกครองและโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันให้การดูแลเด็กพิเศษประมาณ 150 คน

“เด็กพิเศษหรือเด็กออทิสติกส่วนใหญ่จะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนในระยะ 3 ขวบ ซึ่งอุบัติการณ์พบได้ 1:2,000 ของประชากรเด็ก และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-5 เท่า แต่ในเด็กหญิงมักมีความรุนแรงมากกว่าเด็กชาย นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดโรคในพี่น้องของเด็กออทิสติก 1:50” นพ.ทินกรกล่าว และว่า การดูแลรักษาหากเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 2-3 ปี จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมาก.

ขอบคุณ http://www.thaipost.net/news/090713/76119

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 9/07/2556 เวลา 02:53:10

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในปี 2553 พบผู้ป่วยนอกออทิสติก 6,753 คน มารับบริการ 28,005 ครั้ง ปี 2554 จำนวน 12,531 คน มารับบริการ 75,817 ครั้ง และในปี 2555 จำนวน 15,234 คน มารับบริการ 108,298 ครั้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เนื่องจากข้อจำกัดหน่วยบริการสาธารณสุขและบุคลากรไม่เพียงพอ ปัจจุบันมีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นประมาณ 100 คนทั่วประเทศ ขณะที่พยาบาลกระตุ้นพัฒนาการมีน้อยมาก สถาบันที่ให้การอบรมสามารถอบรมได้ปีละ 30 คน ในอนาคตจึงดำเนินการให้เด็กกลุ่มเด็กพิเศษเข้าถึงบริการมากขึ้น นพ.วินัยกล่าวว่า แม้ว่าการดูแลเด็กพิเศษอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช. ส่วนตัวเห็นว่าสิ่งสำคัญคือต้องสร้างกลไกของระบบที่ใกล้บ้านมากที่สุด รวมถึงพ่อและแม่ถือเป็นคนใกล้ชิดเด็กมากที่สุด เพราะสามารถช่วยให้พบว่าลูกของตนนั้นป่วยเป็นออทิสติกหรือไม่ในระยะเวลาที่ รวดเร็ว ถือเป็นส่วนสำคัญมากในกระบวนการรักษา ซึ่งในวันที่ 11-12 ก.ค.นี้ สปสช.จะมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างเครือข่ายการดูแล พัฒนาการเด็กในระดับชุมชนและระดับหน่วยบริการ เพื่อระดมความเห็นเกี่ยวกับจัดระบบการดูแลพัฒนาการ ตั้งแต่การดูแลโดยพ่อแม่ ชุมชน หน่วยบริการและการดูแลต่อเนื่องในชุมชน สปสช.สนับสนุนโรงพยาบาลที่มีการจัดบริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีพัฒนาการ ล่าช้า มีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 42 โรงพยาบาลทั่วประเทศ "จากการดำเนินการในเขต กทม.ร่วมกับสถาบันราชานุกูล และสำนักอนามัย กทม. ที่ได้ร่วมกันจัดทำโครงการจัดบริการแก่เด็กบกพร่องทางพัฒนาการ วัยแรกเกิด-5 ปี ในระยะเริ่มต้น ปี 2552 พบว่าเด็กได้รับการคัดกรองพัฒนาการ 52,778 คน หรือ 25% ของประชากรเด็กในพื้นที่ จากจำนวน 211,477 คน พบมีความเสี่ยงการบกพร่องทางพัฒนาการ 5,658 คน ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ" นพ.วินัยกล่าว นพ.ทินกร พงศ์วิวัฒน์ ผอ.รพ.ระนอง กล่าวว่า หลังพบข้อมูลจากการสำรวจว่ามีเด็ก 11% ที่มีปัญหาพัฒนาการช้า รพ.ระนองให้ความสำคัญกับพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ โดยตั้งคลินิกพัฒนาการเด็กตั้งแต่ปี 2546 ดูแลแบบครบวงจรตั้งแต่การรักษา การส่งเสริมพัฒนาการ และความร่วมมือกับผู้ปกครองและโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันให้การดูแลเด็กพิเศษประมาณ 150 คน “เด็กพิเศษหรือเด็กออทิสติกส่วนใหญ่จะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนในระยะ 3 ขวบ ซึ่งอุบัติการณ์พบได้ 1:2,000 ของประชากรเด็ก และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-5 เท่า แต่ในเด็กหญิงมักมีความรุนแรงมากกว่าเด็กชาย นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดโรคในพี่น้องของเด็กออทิสติก 1:50” นพ.ทินกรกล่าว และว่า การดูแลรักษาหากเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 2-3 ปี จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมาก. ขอบคุณ… http://www.thaipost.net/news/090713/76119

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...