ระวัง...เยื่อบุตาลูกอักเสบ! ...ตาบอดได้

แสดงความคิดเห็น

หากลูกน้อยมีอาการตาแดง มีขี้ตาแฉะคันตา ขยี้ตาบ่อย ๆ อย่าวางใจนะคะ เพราะนี่คืออาการเริ่มแรกของโรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดงที่อาจลุกลามทำให้กระจกตาอักเสบได้ เยื่อบุตาอักเสบ เป็นได้ง่าย ๆ

เยื่อบุตาอักเสบ หรือที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อโรคตาแดง แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 1.ชนิดติดเชื้อ จากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะติดต่อจากการสัมผัส โดยเฉพาะเด็กเล็กซึ่งเริ่มหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวได้เองเชื้ออาจติดมากับมือ แล้วมาจับหน้า เอามือเข้าปากหรือเอามือขยี้ตาทำให้ได้รับเชื้อ เป็นสาเหตุที่เด็กเป็นโรคตาแดงง่ายและเป็นมากกว่าผู้ใหญ่ และ 2.ชนิดไม่ติดเชื้อ อาจ เกิดจากการที่ลูกน้อยมีโรคประจำตัวอื่น เช่น โรคภูมิแพ้ มีอาการคันตาทำให้ขยี้ตาบ่อย ๆ จนเกิดการอักเสบและติดเชื้อตามมาภายหลัง หรืออาจจะมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในเปลือกตา เกิดอุบัติเหตุ เกิดจากการแพ้ยา ทำให้มีการระคายเคือง เผลอขยี้ตา จนเปลือกตาถลอก และเกิดการอักเสบติดเชื้อได้

เบบี้เป็นแล้วรุนแรง - ใน เด็กแรกเกิดหรือวัย 1 เดือน ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้จากตอนคลอด คือแม่อาจมีเชื้ออยู่ที่ช่องคลอด ขณะลูกผ่านช่องคลอดออกมาจึงติดเชื้อ แต่โอกาสเกิดขึ้นน้อย เพราะก่อนคลอดคุณแม่ต้องทำการตรวจสุขภาพตามระยะเวลาที่แพทย์นัดตลอด หากพบว่ามีเชื้อก็ต้องรักษาให้หายก่อนคลอด

ถ้าทารกเกิดการติดเชื้อระหว่างคลอด นอกจากจะส่งผลทำให้เป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบแล้ว อาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงอื่น ๆ ได้ เพราะทารกแรกเกิดภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง เมื่อได้รับเชื้อมาแล้วอาจ แพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระจายไปสู่สมอง ทำให้เกิดเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถ้าไปสู่ปอดก็อาจจะทำให้เป็นปอดอักเสบในกรณีที่รุนแรงจริง ๆ ที่ได้รับเชื้อบางอย่างอาจจะลุกลามไปที่กระจกตา และทำให้เกิดการตาบอดตั้งแต่กำเนิดได้

เมื่อลูกเป็นเยื่อบุตาอักเสบ - คันตา ขยี้ตาบ่อย อยู่ ๆ ก็มีอาการตาแดง เปลือกตาบวมแดงมีขี้ตาแฉะ เยิ้ม ๆ ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียจะมีสีเหลืองอมเขียว ตาสู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล ตาพร่ามัว (ถ้าลูกน้อยบอกได้)

การรักษาเยื่อบุตาอักเสบ- คุณแม่ควรพาลูกไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจดูว่าเป็นเยื่อบุตาอักเสบชนิดไหน ได้รับเชื้ออะไรมา ถ้าได้รับเชื้อแบคทีเรียซึ่งพบได้บ่อย จะรักษาด้วยการใช้ยาหยอดตาเพื่อทำการฆ่าเชื้อ และคอยประคบเย็น เพื่อลดอาการบวมของเปลือกตา ให้รู้สึกสบายตามากขึ้น ประคบครั้งละ 5-10 นาที วันละ 2-3 ครั้ง ประมาณ 5-6 วันอาการจะดีขึ้น แต่ บางคนอาจจะมีอาการรุนแรง คือเป็นเรื้อรัง 3-4 สัปดาห์ก็ยังไม่หาย โดยเฉพาะถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสลุกลามเกิดการอักเสบไปที่กระจกตาดำร่วม ด้วย ซึ่งต้องใช้เวลาเกือบเดือนกว่าอาการถึงจะดีขึ้น

แม้ ไม่ใช่โรคที่รุนแรงอะไรนัก แต่ถ้าเป็นนาน ๆ จะส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อยได้เด็ก ๆ จะรู้สึกรำคาญ มองอะไรไม่ค่อยชัดเพราะตาพร่ามัว จะหยิบจับหรือเล่นอะไรก็ไม่ค่อยถนัดไม่ยอมกินข้าว ทำให้อารมณ์เสีย หงุดหงิดได้ง่าย ๆ หากเกิดจากเชื้อไวรัส ต้องรักษาตามอาการ เพราะยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรง และต้องพาลูกไปตรวจอาการอยู่เรื่อย ๆ การรักษาอาจใช้วิธีหยอดน้ำตาเทียม ควบคู่กับการประคบเย็นลดอาการบวม ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ก็ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อรักษาเสริมควบคู่กันไป ในรายที่มีอาการรุนแรง มีการติดเชื้อไปยังกระจกตาดำ ต้องใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ร่วมด้วยจนกว่าอาการจะดีขึ้นที่สำคัญต้องคอยทำความสะอาดตาอย่างถูกวิธีด้วย

วิธีทำความสะอาดตา - ถ้าลูกน้อยมีน้ำตาหรือขี้ตาควรใช้สำลีชุบน้ำหรือใช้ทิชชูเช็ดเบา ๆ เช็ดแล้วทิ้งเลย ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็จะเป็นวิธีการช่วยป้องกันการติดต่อได้ ป้องกันก่อนอาการลุกลาม - ทารกแรกเกิด วิธีการป้องกันคือ เมื่อลูกน้อยคลอดออกมาแล้วจะป้ายขี้ผึ้งที่ตาของทารกทุกคน เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ เมื่อกลับบ้านแล้วคุณแม่ต้องคอยสังเกต ถ้าหากลูกน้อยมีอาการตาแดงผิดปกติให้รีบพามาพบแพทย์ทันที ในเด็กวัยซน ให้ล้างมือบ่อย ๆ ออกกำลังกายและกินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง ที่ สำคัญ ถ้าหากคนในบ้านหรือเพื่อนที่โรงเรียนมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ ต้องแยกลูกของเราออกมาก่อน ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน และคอยสังเกตถ้าลูกมีอาการผิดปกติให้รีบพามาพบแพทย์ ให้ลูกล้างมือบ่อย ๆ ไม่ใกล้ชิดกับคนที่ติดเชื้อจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงได้ เพื่อลูกน้อยจะมีดวงตาใสปิ๊งพร้อมเรียนรู้เรื่องดี ๆ ที่อยู่รอบตัว....เรื่อง : เมธาวี

ขอบคุณ... http://baby.kapook.com/เรื่องน่ารู้คุณลูก-54011.html (ขนาดไฟล์: 175)

ที่มา: กระปุกดอทคอม/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 พ.ค.2556
วันที่โพสต์: 23/05/2556 เวลา 02:59:50

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หากลูกน้อยมีอาการตาแดง มีขี้ตาแฉะคันตา ขยี้ตาบ่อย ๆ อย่าวางใจนะคะ เพราะนี่คืออาการเริ่มแรกของโรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดงที่อาจลุกลามทำให้กระจกตาอักเสบได้ เยื่อบุตาอักเสบ เป็นได้ง่าย ๆ เยื่อบุตาอักเสบ หรือที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อโรคตาแดง แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 1.ชนิดติดเชื้อ จากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะติดต่อจากการสัมผัส โดยเฉพาะเด็กเล็กซึ่งเริ่มหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวได้เองเชื้ออาจติดมากับมือ แล้วมาจับหน้า เอามือเข้าปากหรือเอามือขยี้ตาทำให้ได้รับเชื้อ เป็นสาเหตุที่เด็กเป็นโรคตาแดงง่ายและเป็นมากกว่าผู้ใหญ่ และ 2.ชนิดไม่ติดเชื้อ อาจ เกิดจากการที่ลูกน้อยมีโรคประจำตัวอื่น เช่น โรคภูมิแพ้ มีอาการคันตาทำให้ขยี้ตาบ่อย ๆ จนเกิดการอักเสบและติดเชื้อตามมาภายหลัง หรืออาจจะมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในเปลือกตา เกิดอุบัติเหตุ เกิดจากการแพ้ยา ทำให้มีการระคายเคือง เผลอขยี้ตา จนเปลือกตาถลอก และเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ เบบี้เป็นแล้วรุนแรง - ใน เด็กแรกเกิดหรือวัย 1 เดือน ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้จากตอนคลอด คือแม่อาจมีเชื้ออยู่ที่ช่องคลอด ขณะลูกผ่านช่องคลอดออกมาจึงติดเชื้อ แต่โอกาสเกิดขึ้นน้อย เพราะก่อนคลอดคุณแม่ต้องทำการตรวจสุขภาพตามระยะเวลาที่แพทย์นัดตลอด หากพบว่ามีเชื้อก็ต้องรักษาให้หายก่อนคลอด ถ้าทารกเกิดการติดเชื้อระหว่างคลอด นอกจากจะส่งผลทำให้เป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบแล้ว อาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงอื่น ๆ ได้ เพราะทารกแรกเกิดภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง เมื่อได้รับเชื้อมาแล้วอาจ แพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระจายไปสู่สมอง ทำให้เกิดเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถ้าไปสู่ปอดก็อาจจะทำให้เป็นปอดอักเสบในกรณีที่รุนแรงจริง ๆ ที่ได้รับเชื้อบางอย่างอาจจะลุกลามไปที่กระจกตา และทำให้เกิดการตาบอดตั้งแต่กำเนิดได้ เมื่อลูกเป็นเยื่อบุตาอักเสบ - คันตา ขยี้ตาบ่อย อยู่ ๆ ก็มีอาการตาแดง เปลือกตาบวมแดงมีขี้ตาแฉะ เยิ้ม ๆ ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียจะมีสีเหลืองอมเขียว ตาสู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล ตาพร่ามัว (ถ้าลูกน้อยบอกได้) การรักษาเยื่อบุตาอักเสบ- คุณแม่ควรพาลูกไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจดูว่าเป็นเยื่อบุตาอักเสบชนิดไหน ได้รับเชื้ออะไรมา ถ้าได้รับเชื้อแบคทีเรียซึ่งพบได้บ่อย จะรักษาด้วยการใช้ยาหยอดตาเพื่อทำการฆ่าเชื้อ และคอยประคบเย็น เพื่อลดอาการบวมของเปลือกตา ให้รู้สึกสบายตามากขึ้น ประคบครั้งละ 5-10 นาที วันละ 2-3 ครั้ง ประมาณ 5-6 วันอาการจะดีขึ้น แต่ บางคนอาจจะมีอาการรุนแรง คือเป็นเรื้อรัง 3-4 สัปดาห์ก็ยังไม่หาย โดยเฉพาะถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสลุกลามเกิดการอักเสบไปที่กระจกตาดำร่วม ด้วย ซึ่งต้องใช้เวลาเกือบเดือนกว่าอาการถึงจะดีขึ้น แม้ ไม่ใช่โรคที่รุนแรงอะไรนัก แต่ถ้าเป็นนาน ๆ จะส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อยได้เด็ก ๆ จะรู้สึกรำคาญ มองอะไรไม่ค่อยชัดเพราะตาพร่ามัว จะหยิบจับหรือเล่นอะไรก็ไม่ค่อยถนัดไม่ยอมกินข้าว ทำให้อารมณ์เสีย หงุดหงิดได้ง่าย ๆ หากเกิดจากเชื้อไวรัส ต้องรักษาตามอาการ เพราะยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรง และต้องพาลูกไปตรวจอาการอยู่เรื่อย ๆ การรักษาอาจใช้วิธีหยอดน้ำตาเทียม ควบคู่กับการประคบเย็นลดอาการบวม ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ก็ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อรักษาเสริมควบคู่กันไป ในรายที่มีอาการรุนแรง มีการติดเชื้อไปยังกระจกตาดำ ต้องใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ร่วมด้วยจนกว่าอาการจะดีขึ้นที่สำคัญต้องคอยทำความสะอาดตาอย่างถูกวิธีด้วย วิธีทำความสะอาดตา - ถ้าลูกน้อยมีน้ำตาหรือขี้ตาควรใช้สำลีชุบน้ำหรือใช้ทิชชูเช็ดเบา ๆ เช็ดแล้วทิ้งเลย ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็จะเป็นวิธีการช่วยป้องกันการติดต่อได้ ป้องกันก่อนอาการลุกลาม - ทารกแรกเกิด วิธีการป้องกันคือ เมื่อลูกน้อยคลอดออกมาแล้วจะป้ายขี้ผึ้งที่ตาของทารกทุกคน เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ เมื่อกลับบ้านแล้วคุณแม่ต้องคอยสังเกต ถ้าหากลูกน้อยมีอาการตาแดงผิดปกติให้รีบพามาพบแพทย์ทันที ในเด็กวัยซน ให้ล้างมือบ่อย ๆ ออกกำลังกายและกินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง ที่ สำคัญ ถ้าหากคนในบ้านหรือเพื่อนที่โรงเรียนมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ ต้องแยกลูกของเราออกมาก่อน ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน และคอยสังเกตถ้าลูกมีอาการผิดปกติให้รีบพามาพบแพทย์ ให้ลูกล้างมือบ่อย ๆ ไม่ใกล้ชิดกับคนที่ติดเชื้อจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงได้ เพื่อลูกน้อยจะมีดวงตาใสปิ๊งพร้อมเรียนรู้เรื่องดี ๆ ที่อยู่รอบตัว....เรื่อง : เมธาวี ขอบคุณ... http://baby.kapook.com/เรื่องน่ารู้คุณลูก-54011.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...