กระตุ้นพ่อแม่ ใส่ใจลูกอาการดาวน์สามารถพัฒนาเรียนร่วมเด็กปกติได้

แสดงความคิดเห็น

ภาพที่ 1 ภาพ ศ.คลินิก นพ.โชคชัย เมธีไตรรัตน์ (กลาง) และ ศ.พญ.พรสวรรค์ วสันต์ (ที่ ๓ จากซ้าย) ร่วมกันรณรงค์พัฒนาให้เด็กกลุ่มอาการดาวน์เป็นที่ยอมรับในสังคม, ภาพที่ 2 ภาพเด็กดาวน์ 2 คนกำลังเล่นตัวต่อ, ภาพที่ 3 ภาพวาดฝีมือเด็กอาการดาวน์

เพื่อรณรงค์ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง เกี่ยวกับเด็กที่มีอาการดาวน์ ทั้งในเรื่องการแพทย์ การดูแล และสิทธิ์ต่างๆ ของเด็กกลุ่มพิเศษเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดงาน “ชุมนุมเด็กอาการดาวน์” ครั้งที่ ๒๑ ขึ้นแก่พ่อแม่ที่ลูกมีความบกพร่องทางเชาวน์ปัญญา ได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ และเป็นการช่วยเหลือให้เด็กเหล่านี้มีชีวิตร่วมกับเด็กปกติในสังคมได้ และเป็นภาระน้อยที่สุด โดยในงานมีทั้งการให้ความรู้ในเรื่องสิทธิ์ทางการศึกษา, การฝึกอาชีพ และการดูแลพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ ณ อาคารศรีสวรินทิรา โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเร็วๆนี้

ใน งาน ศ.พญ.พรสวรรค์ วสันต์ แพทย์ประจำสาขาเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ ม.มหิดล และประธานชมรมผู้ปกครองเด็กกลุ่มอาการดาวน์ โรงพยาบาลศิริราช เผยว่า วิทยาการทางการแพทย์ในปัจจุบันทำให้แพทย์สามารถตรวจพบเด็กกลุ่มอาการดาวน์ มากขึ้น โรคนี้ยังจัดเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อย จากสถิติพบเด็กกลุ่มนี้เกิดใหม่ประมาณปีละ ๘๐๐- ๑,๐๐๐ คน จำนวนเด็กกลุ่มอาการดาวน์ไม่ได้ลดลง เพียงแต่วิทยาการทางการแพทย์ ช่วยให้เราวินิจฉัยความผิดปกตินี้ได้เร็วขึ้นเท่านั้น แม้จะแก้ไขไม่ได้ แต่สามารถช่วยเหลือพัฒนาศักยภาพเด็กกลุ่มนี้ได้ สำหรับงานนี้เราจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ความรู้ แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการแพทย์ได้ทราบถึงความก้าวหน้าใหม่ๆที่เกี่ยวกับกลุ่มอาการ ดาวน์ ตั้งแต่การส่งเสริมพัฒนาการในขวบปีแรก, การฝึกพูด, รวมทั้งการตรวจสุขภาพ ตลอดจนเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าโรงเรียนอนุบาลใกล้บ้าน และเข้าสู่ระบบโครงการเรียนร่วมกับเด็กปกติ ในปัจจุบันเด็กเหล่านี้มีความสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ตั้งแต่ชั้น อนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ และหลายคนสามารถเรียนต่อจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย

คุณ หมอพรสวรรค์กล่าวต่อว่า แต่ปัญหาสำคัญขณะนี้ คือ เด็กกลุ่มอาการดาวน์เมื่อเรียนจบ ป.๔ หรือ ป.๖ แล้ว ไม่มีโอกาสฝึกอาชีพ ต้องอยู่แต่บ้าน ทำให้สมองขาดการพัฒนาเท่าที่ควร และอาจทำให้เชาวน์ปัญญาลดลงอีกด้วย เพราะเด็กกลุ่มอาการดาวน์ต้องได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเน้น การฝึกอาชีพ ซึ่งภาครัฐยังไม่ได้จัดให้มีบริการอย่างทั่วถึง แม้จะมีศูนย์ฝึกอาชีพในกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัดบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่มากพอ ยิ่งกว่านั้นศูนย์ฝึกอาชีพหลายแห่ง ตั้งเกณฑ์การรับเด็กเข้าฝึกอาชีพต้องมีอายุตั้งแต่ ๑๕ หรือ ๑๘ ปีขึ้นไป ซึ่งช่องว่างระหว่างอายุ ๑๕-๑๘ ปี ที่ไม่มีการฝึกอาชีพ ทำให้เด็กเกิดปัญหา เราไม่อยากเห็นสิ่งที่ช่วยเหลือกันมาตั้งแต่ต้นต้องจบลงด้วยการสูญเสียทั้ง เวลา จึงขอความร่วมมือภาครัฐให้ความสำคัญกับการฝึกอาชีพของบุคคลผู้พิการทางสติ ปัญญาให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้เด็กหรือบุคคลกลุ่มนี้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม โดยเป็นภาระน้อยที่สุด รวมถึงให้สังคมยอมรับเด็กกลุ่มนี้มากขึ้นด้วย

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/life/344523

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๔ พ.ค.๕๖
วันที่โพสต์: 15/05/2556 เวลา 04:28:42 ดูภาพสไลด์โชว์ กระตุ้นพ่อแม่ ใส่ใจลูกอาการดาวน์สามารถพัฒนาเรียนร่วมเด็กปกติได้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพที่ 1 ภาพ ศ.คลินิก นพ.โชคชัย เมธีไตรรัตน์ (กลาง) และ ศ.พญ.พรสวรรค์ วสันต์ (ที่ ๓ จากซ้าย) ร่วมกันรณรงค์พัฒนาให้เด็กกลุ่มอาการดาวน์เป็นที่ยอมรับในสังคม, ภาพที่ 2 ภาพเด็กดาวน์ 2 คนกำลังเล่นตัวต่อ, ภาพที่ 3 ภาพวาดฝีมือเด็กอาการดาวน์ เพื่อรณรงค์ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง เกี่ยวกับเด็กที่มีอาการดาวน์ ทั้งในเรื่องการแพทย์ การดูแล และสิทธิ์ต่างๆ ของเด็กกลุ่มพิเศษเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดงาน “ชุมนุมเด็กอาการดาวน์” ครั้งที่ ๒๑ ขึ้นแก่พ่อแม่ที่ลูกมีความบกพร่องทางเชาวน์ปัญญา ได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ และเป็นการช่วยเหลือให้เด็กเหล่านี้มีชีวิตร่วมกับเด็กปกติในสังคมได้ และเป็นภาระน้อยที่สุด โดยในงานมีทั้งการให้ความรู้ในเรื่องสิทธิ์ทางการศึกษา, การฝึกอาชีพ และการดูแลพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ ณ อาคารศรีสวรินทิรา โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเร็วๆนี้ ใน งาน ศ.พญ.พรสวรรค์ วสันต์ แพทย์ประจำสาขาเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ ม.มหิดล และประธานชมรมผู้ปกครองเด็กกลุ่มอาการดาวน์ โรงพยาบาลศิริราช เผยว่า วิทยาการทางการแพทย์ในปัจจุบันทำให้แพทย์สามารถตรวจพบเด็กกลุ่มอาการดาวน์ มากขึ้น โรคนี้ยังจัดเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อย จากสถิติพบเด็กกลุ่มนี้เกิดใหม่ประมาณปีละ ๘๐๐- ๑,๐๐๐ คน จำนวนเด็กกลุ่มอาการดาวน์ไม่ได้ลดลง เพียงแต่วิทยาการทางการแพทย์ ช่วยให้เราวินิจฉัยความผิดปกตินี้ได้เร็วขึ้นเท่านั้น แม้จะแก้ไขไม่ได้ แต่สามารถช่วยเหลือพัฒนาศักยภาพเด็กกลุ่มนี้ได้ สำหรับงานนี้เราจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ความรู้ แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการแพทย์ได้ทราบถึงความก้าวหน้าใหม่ๆที่เกี่ยวกับกลุ่มอาการ ดาวน์ ตั้งแต่การส่งเสริมพัฒนาการในขวบปีแรก, การฝึกพูด, รวมทั้งการตรวจสุขภาพ ตลอดจนเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าโรงเรียนอนุบาลใกล้บ้าน และเข้าสู่ระบบโครงการเรียนร่วมกับเด็กปกติ ในปัจจุบันเด็กเหล่านี้มีความสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ตั้งแต่ชั้น อนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ และหลายคนสามารถเรียนต่อจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย คุณ หมอพรสวรรค์กล่าวต่อว่า แต่ปัญหาสำคัญขณะนี้ คือ เด็กกลุ่มอาการดาวน์เมื่อเรียนจบ ป.๔ หรือ ป.๖ แล้ว ไม่มีโอกาสฝึกอาชีพ ต้องอยู่แต่บ้าน ทำให้สมองขาดการพัฒนาเท่าที่ควร และอาจทำให้เชาวน์ปัญญาลดลงอีกด้วย เพราะเด็กกลุ่มอาการดาวน์ต้องได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเน้น การฝึกอาชีพ ซึ่งภาครัฐยังไม่ได้จัดให้มีบริการอย่างทั่วถึง แม้จะมีศูนย์ฝึกอาชีพในกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัดบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่มากพอ ยิ่งกว่านั้นศูนย์ฝึกอาชีพหลายแห่ง ตั้งเกณฑ์การรับเด็กเข้าฝึกอาชีพต้องมีอายุตั้งแต่ ๑๕ หรือ ๑๘ ปีขึ้นไป ซึ่งช่องว่างระหว่างอายุ ๑๕-๑๘ ปี ที่ไม่มีการฝึกอาชีพ ทำให้เด็กเกิดปัญหา เราไม่อยากเห็นสิ่งที่ช่วยเหลือกันมาตั้งแต่ต้นต้องจบลงด้วยการสูญเสียทั้ง เวลา จึงขอความร่วมมือภาครัฐให้ความสำคัญกับการฝึกอาชีพของบุคคลผู้พิการทางสติ ปัญญาให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้เด็กหรือบุคคลกลุ่มนี้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม โดยเป็นภาระน้อยที่สุด รวมถึงให้สังคมยอมรับเด็กกลุ่มนี้มากขึ้นด้วย ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/life/344523

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...