พัฒนาสเต็มเซลล์รักษา 'โรคจอประสาทตาเสื่อม'….ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้ตาบอด

แสดงความคิดเห็น

แพทย์กำลังรักษาผู้ป่วย โรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมในส่วนกลางของจอประสาทตา ซึ่งเกิดเมื่อคนเรามีอายุเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายเกิดการเสื่อมของจอประสาทตาขึ้นอย่างช้า ๆ จนแทบไม่ทันสังเกตเห็น ขณะที่บางรายอาจเกิดการเสื่อมของจอประสาทตาอย่างรวดเร็ว โรคนี้มักพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจแสดงอาการแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการตามัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกลางภาพ มีความลำบากในการอ่านหนังสือหรือทำงานละเอียด และต้องใช้แสงมาก ๆ อาจเห็นภาพบิดเบี้ยว (Distortion) ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมากมายจากความ บกพร่องหรือการสูญเสียการมองเห็น การรักษาผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่สามารถรักษาให้ หายได้ ทำได้เพียงหยุดหรือชะลอการเสื่อมเสียของจอประสาทตาให้ช้าที่สุด เพราะจอประสาทตาที่เสื่อมเสียไปแล้วมีแต่จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจรักษาไม่ได้เลย ถ้าเกิดเป็นรุนแรงก็อาจทำให้ตาบอดได้ โรคนี้นับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ ยิ่งในปัจจุบันประชากรโลกมีอายุเพิ่มมากขึ้น จึงพบว่าโรคนี้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขมากขึ้นเรื่อย ๆ และจากการประเมินพบว่าโรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอดมากกว่า ครึ่ง (ร้อยละ 54)

แพทย์อธิบายวิธีการพัฒนาสเต็มเซลล์เพื่อรักษา 'โรคจอประสาทตาเสื่อม' ที่อาคารห้องปฏิบัติการเซลล์ต้นกำเนิด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลศิริราชจัดทำโครงการพัฒนาสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้น กำเนิดเพื่อนำมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาจอประสาทตาเสื่อมขึ้น โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รับหน้าที่ในการเตรียมเซลล์ต้นกำเนิดชนิด DMSc Stem Pro เพื่อให้ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล รับหน้าที่ในการนำเซลล์ต้นกำเนิดไปใช้ในการพัฒนาวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ มีปัญหาจอประสาทตาเสื่อม โดยกระบวนการเตรียมเซลล์ต้นกำเนิดชนิดที่เรียกว่า DMSc Stem Pro ได้จากการเพาะเลี้ยงจากไขกระดูกของผู้ป่วยเอง แล้วนำมาพิสูจน์เอกลักษณ์และตรวจสอบการปนเปื้อนซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงนำไปบรรจุหลอด แล้วฉีดเข้าไปในวุ้นตาของผู้ป่วยเพื่อทดแทนเซลล์ที่เสื่อมสภาพหรือชะลอการ เสื่อมสภาพของเซลล์จอประสาทตาให้ช้าลง ช่วยไม่ให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นและสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างเป็น ปกติ

การดำเนินงานด้านเซลล์ต้นกำเนิด นับเป็นอีกหนึ่งภารกิจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการนำองค์ความรู้จากการวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในการรักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการและบุคลากรที่มีคุณภาพ เซลล์ต้นกำเนิดที่จะนำไปใช้ในการศึกษาวิจัยทางคลินิกจะต้องผ่านการเตรียมใน ห้องปฏิบัติการที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน มีการติดตามควบคุมคุณภาพของเซลล์ต้นกำเนิดจนมั่นใจก่อนที่จะนำไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยน้อยที่สุด

ด้าน นายแพทย์สมชาย แสงกิจพร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กล่าวเสริมว่า การพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาจอประสาทตาเสื่อม ขณะนี้ได้มีการทดลองในขั้นตอนที่ 1 ซึ่งเป็นขั้นตอนของการทดสอบในเรื่องของความปลอดภัย โดยพบว่าเซลล์ต้นกำเนิดที่เตรียมได้มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดสากล

อาคารห้องปฏิบัติการเซลล์ต้นกำเนิด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ISCT (International Society for Cellular Therapy) ทั้งในด้านลักษณะรูปร่าง การเจริญเติบโตยึดเกาะพื้นผิวพลาสติกภาชนะเลี้ยงเซลล์ การแสดงออกของแอนติเจนบนผิวเซลล์ และความสามารถในการเจริญเติบโตไปเป็นเซลล์ไขมัน เซลล์กระดูกและเซลล์กระดูกอ่อน รวมถึงความสะอาดปราศจากการปนเปื้อน เอ็นโดท็อกซินและจุลชีพ ผลการฉีดเซลล์ต้นกำเนิดเข้าวุ้นตาแก่ผู้ป่วย 2 ราย รายแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 และรายที่ 2 วันที่ 24 มกราคม 2556 ไม่พบภาวะแทรกซ้อนแต่ประการใด การดำเนินการวิจัยทางคลินิกทุกขั้นตอนปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการวิจัยทาง คลินิกที่ดี (Good Clinical Practice) และข้อบังคับของแพทยสภาอย่างเคร่งครัด และจะมีการทดสอบในผู้ป่วยอาสาสมัครอีก 3 ราย ให้ครบ 5 ราย ภายใน 6 เดือนนี้ หากผลการทดสอบในผู้ป่วยอาสาสมัครทั้ง 5 ราย ไม่พบความผิดปกติหรืออันตรายจากกระบวนการ ทางแพทยสภาก็จะมีการอนุญาตให้ทดสอบในขั้นที่ 2 กับผู้ป่วยอาสาสมัครอีก 20-30 ราย เพื่อดูประสิทธิผลของการรักษา หากผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกครั้งนี้ได้ผลดี คาดว่าภายใน 3-5 ปีนี้ ก็จะสามารถนำมาพัฒนาการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ได้มีการประยุกต์นำเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์มา ใช้ในการรักษาภาวะจอประสาทตาเสื่อมโดยนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ของไทย ซึ่งได้มีการลงทะเบียนไว้ในงานวิจัยทางคลินิกอย่างถูกต้องแล้ว

ทั้งนี้จากข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมในหลาย ๆ ประเด็น ได้แก่ “อายุ” พบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นในคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป “พันธุกรรม” สามารถค้นพบยีนที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคจอประสาทตาเสื่อม จึงขอแนะนำให้ผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกับคนที่เป็นโรค กับญาติสายตรง ควรได้รับการตรวจเช็กจอประสาทตาทุก 2 ปี “เชื้อชาติ” พบอุบัติการณ์ของโรคจอประสาทตาเสื่อมมากในคนผิวขาว (Caucasian) “เพศ” มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย “บุหรี่” ควรหยุดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างน้อย 6 เท่า มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ “ความดันโลหิตสูง” คนไข้ที่ต้องทานยาลดความดันเลือด และมีระดับของไขมัน คอเลสเตอรอล ในเลือดสูงและระดับ คาโรทินอยด์ ในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม “โรคอ้วน” ผู้ที่มีน้ำหนักมากอาจทำให้โรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นมากขึ้น

อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวมีภาวะจอประสาทตาเสื่อม บุคคลทั่วไปอายุระหว่าง 40-64 ปี ควรได้รับการตรวจสุขภาพตาทุก 2-4 ปี สำหรับคนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ให้ตรวจทุก 1-2 ปี แม้ไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็ตาม งดสูบบุหรี่ เลือกรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ผักใบเขียว และผลไม้ รับประทานวิตามินเสริม เช่น วิตามินซี 500 มิลลิกรัม วิตามินอี 400 IU เบต้าแคโรทีน 15 มิลลิกรัม สังกะสี 80 มิลลิกรัมและคอปเปอร์ 2 มิลลิกรัม รับประทานปลา กรดไขมันชนิด โอเมก้า-3 ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อมได้….โดย สมคิด/สมนึก ลือประดิษฐ์

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/thailand/203914

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 13/05/2556 เวลา 02:18:34 ดูภาพสไลด์โชว์ พัฒนาสเต็มเซลล์รักษา 'โรคจอประสาทตาเสื่อม'….ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้ตาบอด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แพทย์กำลังรักษาผู้ป่วย โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมในส่วนกลางของจอประสาทตา ซึ่งเกิดเมื่อคนเรามีอายุเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายเกิดการเสื่อมของจอประสาทตาขึ้นอย่างช้า ๆ จนแทบไม่ทันสังเกตเห็น ขณะที่บางรายอาจเกิดการเสื่อมของจอประสาทตาอย่างรวดเร็ว โรคนี้มักพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจแสดงอาการแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการตามัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกลางภาพ มีความลำบากในการอ่านหนังสือหรือทำงานละเอียด และต้องใช้แสงมาก ๆ อาจเห็นภาพบิดเบี้ยว (Distortion) ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมากมายจากความ บกพร่องหรือการสูญเสียการมองเห็น การรักษาผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่สามารถรักษาให้ หายได้ ทำได้เพียงหยุดหรือชะลอการเสื่อมเสียของจอประสาทตาให้ช้าที่สุด เพราะจอประสาทตาที่เสื่อมเสียไปแล้วมีแต่จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจรักษาไม่ได้เลย ถ้าเกิดเป็นรุนแรงก็อาจทำให้ตาบอดได้ โรคนี้นับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ ยิ่งในปัจจุบันประชากรโลกมีอายุเพิ่มมากขึ้น จึงพบว่าโรคนี้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขมากขึ้นเรื่อย ๆ และจากการประเมินพบว่าโรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอดมากกว่า ครึ่ง (ร้อยละ 54) แพทย์อธิบายวิธีการพัฒนาสเต็มเซลล์เพื่อรักษา \'โรคจอประสาทตาเสื่อม\'ที่อาคารห้องปฏิบัติการเซลล์ต้นกำเนิด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลศิริราชจัดทำโครงการพัฒนาสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้น กำเนิดเพื่อนำมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาจอประสาทตาเสื่อมขึ้น โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รับหน้าที่ในการเตรียมเซลล์ต้นกำเนิดชนิด DMSc Stem Pro เพื่อให้ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล รับหน้าที่ในการนำเซลล์ต้นกำเนิดไปใช้ในการพัฒนาวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ มีปัญหาจอประสาทตาเสื่อม โดยกระบวนการเตรียมเซลล์ต้นกำเนิดชนิดที่เรียกว่า DMSc Stem Pro ได้จากการเพาะเลี้ยงจากไขกระดูกของผู้ป่วยเอง แล้วนำมาพิสูจน์เอกลักษณ์และตรวจสอบการปนเปื้อนซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงนำไปบรรจุหลอด แล้วฉีดเข้าไปในวุ้นตาของผู้ป่วยเพื่อทดแทนเซลล์ที่เสื่อมสภาพหรือชะลอการ เสื่อมสภาพของเซลล์จอประสาทตาให้ช้าลง ช่วยไม่ให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นและสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างเป็น ปกติ การดำเนินงานด้านเซลล์ต้นกำเนิด นับเป็นอีกหนึ่งภารกิจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการนำองค์ความรู้จากการวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในการรักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการและบุคลากรที่มีคุณภาพ เซลล์ต้นกำเนิดที่จะนำไปใช้ในการศึกษาวิจัยทางคลินิกจะต้องผ่านการเตรียมใน ห้องปฏิบัติการที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน มีการติดตามควบคุมคุณภาพของเซลล์ต้นกำเนิดจนมั่นใจก่อนที่จะนำไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยน้อยที่สุด ด้าน นายแพทย์สมชาย แสงกิจพร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กล่าวเสริมว่า การพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาจอประสาทตาเสื่อม ขณะนี้ได้มีการทดลองในขั้นตอนที่ 1 ซึ่งเป็นขั้นตอนของการทดสอบในเรื่องของความปลอดภัย โดยพบว่าเซลล์ต้นกำเนิดที่เตรียมได้มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดสากล อาคารห้องปฏิบัติการเซลล์ต้นกำเนิด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรีISCT (International Society for Cellular Therapy) ทั้งในด้านลักษณะรูปร่าง การเจริญเติบโตยึดเกาะพื้นผิวพลาสติกภาชนะเลี้ยงเซลล์ การแสดงออกของแอนติเจนบนผิวเซลล์ และความสามารถในการเจริญเติบโตไปเป็นเซลล์ไขมัน เซลล์กระดูกและเซลล์กระดูกอ่อน รวมถึงความสะอาดปราศจากการปนเปื้อน เอ็นโดท็อกซินและจุลชีพ ผลการฉีดเซลล์ต้นกำเนิดเข้าวุ้นตาแก่ผู้ป่วย 2 ราย รายแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 และรายที่ 2 วันที่ 24 มกราคม 2556 ไม่พบภาวะแทรกซ้อนแต่ประการใด การดำเนินการวิจัยทางคลินิกทุกขั้นตอนปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการวิจัยทาง คลินิกที่ดี (Good Clinical Practice) และข้อบังคับของแพทยสภาอย่างเคร่งครัด และจะมีการทดสอบในผู้ป่วยอาสาสมัครอีก 3 ราย ให้ครบ 5 ราย ภายใน 6 เดือนนี้ หากผลการทดสอบในผู้ป่วยอาสาสมัครทั้ง 5 ราย ไม่พบความผิดปกติหรืออันตรายจากกระบวนการ ทางแพทยสภาก็จะมีการอนุญาตให้ทดสอบในขั้นที่ 2 กับผู้ป่วยอาสาสมัครอีก 20-30 ราย เพื่อดูประสิทธิผลของการรักษา หากผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกครั้งนี้ได้ผลดี คาดว่าภายใน 3-5 ปีนี้ ก็จะสามารถนำมาพัฒนาการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ได้มีการประยุกต์นำเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์มา ใช้ในการรักษาภาวะจอประสาทตาเสื่อมโดยนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ของไทย ซึ่งได้มีการลงทะเบียนไว้ในงานวิจัยทางคลินิกอย่างถูกต้องแล้ว ทั้งนี้จากข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมในหลาย ๆ ประเด็น ได้แก่ “อายุ” พบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นในคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป “พันธุกรรม” สามารถค้นพบยีนที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคจอประสาทตาเสื่อม จึงขอแนะนำให้ผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกับคนที่เป็นโรค กับญาติสายตรง ควรได้รับการตรวจเช็กจอประสาทตาทุก 2 ปี “เชื้อชาติ” พบอุบัติการณ์ของโรคจอประสาทตาเสื่อมมากในคนผิวขาว (Caucasian) “เพศ” มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย “บุหรี่” ควรหยุดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างน้อย 6 เท่า มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ “ความดันโลหิตสูง” คนไข้ที่ต้องทานยาลดความดันเลือด และมีระดับของไขมัน คอเลสเตอรอล ในเลือดสูงและระดับ คาโรทินอยด์ ในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม “โรคอ้วน” ผู้ที่มีน้ำหนักมากอาจทำให้โรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นมากขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวมีภาวะจอประสาทตาเสื่อม บุคคลทั่วไปอายุระหว่าง 40-64 ปี ควรได้รับการตรวจสุขภาพตาทุก 2-4 ปี สำหรับคนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ให้ตรวจทุก 1-2 ปี แม้ไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็ตาม งดสูบบุหรี่ เลือกรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ผักใบเขียว และผลไม้ รับประทานวิตามินเสริม เช่น วิตามินซี 500 มิลลิกรัม วิตามินอี 400 IU เบต้าแคโรทีน 15 มิลลิกรัม สังกะสี 80 มิลลิกรัมและคอปเปอร์ 2 มิลลิกรัม รับประทานปลา กรดไขมันชนิด โอเมก้า-3 ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อมได้….โดย สมคิด/สมนึก ลือประดิษฐ์ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/thailand/203914

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...