บูรณาการ 3 กองทุน ผู้ป่วยฉุกเฉินรักษาฟรีทุกโรงพยาบาล

แสดงความคิดเห็น

ภาพวาดการ์ตูน โรงพยาบาล และรถพยาบาลฉุกเฉิน

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายบูรณาการ 3 กองทุนด้านสุขภาพ ได้แก่ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช. หรือบัตรทอง) สิทธิประกันสังคม (สปส.) และสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ เพื่อให้ผู้ป่วยทุกสิทธิทุกรายเข้าถึงการบำบัดรักษาด้วยมาตรฐานเดียวกัน หรือมีความใกล้เคียงกันมากที่สุด โดยเฉพาะในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันทีที่โรงพยาบาลซึ่งใกล้ที่สุดทั้งรัฐและเอกชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายไม่ว่าสิทธิ์ใดก็ตาม โดยเบิกจ่ายที่ สปสช. ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบจ่ายเงินให้แก่สถานพยาบาลแล้วจึงเรียกเก็บจากกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ์อยู่ในภายหลัง ประกาศดังกล่าวข้างต้นเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2555

หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินอ้างอิงตาม พระราชบัญญัติ การ แพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉิน พ.ศ. 2554 และประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง ข้อกำหนดว่าด้วยสถานพยาบาล พ.ศ.2554 ซึ่งนิยามไว้ดังนี้

“การเจ็บป่วยฉุกเฉิน” หมายถึง การได้รับอุบัติเหตุหรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นภยันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการและบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บ หรืออาการเจ็บป่วยนั้น ทั้งนี้หน่วยปฏิบัติการสถานพยาบาล และผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินได้มีหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ดังนี้

1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (สัญลักษณ์ “สีแดง”) คือ บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาทันที ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นอาจเสียชีวิตหรือพิการอย่างถาวร เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ ภาวะช็อก ชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว หมดสติ เลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา เป็นต้น

2. ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สัญลักษณ์ “สีเหลือง”) คือ บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยเฉียบพลันมาก หรือรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างรีบด่วน มิฉะนั้นจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน หากปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลให้เสียชีวิต หรือพิการในระยะต่อมาได้ เป็นภาวะที่ผู้ป่วยต้องการการช่วยเหลือทางการรักษาพยาบาลจัดเป็นอันดับรองจากกลุ่มแรก เช่น หายใจลำบากหรือหายใจเหนื่อยหอบ เจ็บปวดมากหรือทุรนทุราย ตกเลือด ถูกพิษ-รับยาเกินขนาด ได้รับอุบัติเหตุ มือเท้าเย็นซีด-เหงื่อแตก และภาวะจิตเวชฉุกเฉิน เป็นต้น

3. ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (สัญลักษณ์ “สีเขียว”) ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันไม่รุนแรง อาจรอรับการรักษาได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือเดินทางไปรับบริการสาธารณสุขด้วยตนเองได้ แต่หากปล่อยไว้เกินเวลาอันสมควรแล้วจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้

ทั้งนี้ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ และผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน สามารถเข้ารับการรักษาฉุกเฉินได้ที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะมีสิทธิรักษาพยาบาลสิทธิใดก็ตาม แต่สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง จะไม่สามารถรับการรักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นได้ สอบถามเพิ่มเติม สายด่วนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โทร.1330

ที่มา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช./)มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 เม.ย. 56
วันที่โพสต์: 12/04/2556 เวลา 02:54:31 ดูภาพสไลด์โชว์ บูรณาการ 3 กองทุน ผู้ป่วยฉุกเฉินรักษาฟรีทุกโรงพยาบาล

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพวาดการ์ตูน โรงพยาบาล และรถพยาบาลฉุกเฉิน ตามที่รัฐบาลมีนโยบายบูรณาการ 3 กองทุนด้านสุขภาพ ได้แก่ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช. หรือบัตรทอง) สิทธิประกันสังคม (สปส.) และสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ เพื่อให้ผู้ป่วยทุกสิทธิทุกรายเข้าถึงการบำบัดรักษาด้วยมาตรฐานเดียวกัน หรือมีความใกล้เคียงกันมากที่สุด โดยเฉพาะในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันทีที่โรงพยาบาลซึ่งใกล้ที่สุดทั้งรัฐและเอกชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายไม่ว่าสิทธิ์ใดก็ตาม โดยเบิกจ่ายที่ สปสช. ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบจ่ายเงินให้แก่สถานพยาบาลแล้วจึงเรียกเก็บจากกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ์อยู่ในภายหลัง ประกาศดังกล่าวข้างต้นเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2555 หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินอ้างอิงตาม พระราชบัญญัติ การ แพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉิน พ.ศ. 2554 และประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง ข้อกำหนดว่าด้วยสถานพยาบาล พ.ศ.2554 ซึ่งนิยามไว้ดังนี้ “การเจ็บป่วยฉุกเฉิน” หมายถึง การได้รับอุบัติเหตุหรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นภยันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการและบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บ หรืออาการเจ็บป่วยนั้น ทั้งนี้หน่วยปฏิบัติการสถานพยาบาล และผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินได้มีหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ดังนี้ 1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (สัญลักษณ์ “สีแดง”) คือ บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาทันที ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นอาจเสียชีวิตหรือพิการอย่างถาวร เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ ภาวะช็อก ชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว หมดสติ เลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา เป็นต้น 2. ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สัญลักษณ์ “สีเหลือง”) คือ บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยเฉียบพลันมาก หรือรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างรีบด่วน มิฉะนั้นจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน หากปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลให้เสียชีวิต หรือพิการในระยะต่อมาได้ เป็นภาวะที่ผู้ป่วยต้องการการช่วยเหลือทางการรักษาพยาบาลจัดเป็นอันดับรองจากกลุ่มแรก เช่น หายใจลำบากหรือหายใจเหนื่อยหอบ เจ็บปวดมากหรือทุรนทุราย ตกเลือด ถูกพิษ-รับยาเกินขนาด ได้รับอุบัติเหตุ มือเท้าเย็นซีด-เหงื่อแตก และภาวะจิตเวชฉุกเฉิน เป็นต้น 3. ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (สัญลักษณ์ “สีเขียว”) ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันไม่รุนแรง อาจรอรับการรักษาได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือเดินทางไปรับบริการสาธารณสุขด้วยตนเองได้ แต่หากปล่อยไว้เกินเวลาอันสมควรแล้วจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ และผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน สามารถเข้ารับการรักษาฉุกเฉินได้ที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะมีสิทธิรักษาพยาบาลสิทธิใดก็ตาม แต่สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง จะไม่สามารถรับการรักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นได้ สอบถามเพิ่มเติม สายด่วนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โทร.1330

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...