บันทึกการฝึกปฏิบัติงานกับเด็กออทิสติกที่น่ารัก

แสดงความคิดเห็น

การฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกครั้งที่ ๓ ของนักศึกษากิจกรรมบำบัด ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ..เวลา ๐๔.๔๕ น. ถ้าเป็นเวลาที่ต้องนั่งเรียนวิชาบรรยาย(lecture) .. ดิฉัน คงยังไม่ตื่นนอน(เนื่องจากเริ่มเรียน ๐๙.๐๐ น.) แต่.. นี่เป็นช่วงเวลาในการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก ดิฉัน ตื่นนอนแต่เช้ามืด เพื่อรับอากาศแสนสดชื่น แสงแดดอ่อนๆยามเช้า และเดินทางจากมหาวิทยาลัยไปฝึกปฏิบัติงานในตัวเมืองกรุงเทพมหานคร..

..โรงพยาบาล ผู้ปกครองและเด็กต้องเดินทางออกจากบ้านในตัวเมืองกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ตั้งแต่เวลาเช้ามืด หรือบางท่านเดินทางจากต่างจังหวัด ตั้งแต่เมื่อวานเพื่อพบบุคลาการทางการแพทย์ในการตรวจประเมิน การบำบัด การรักษาในวันถัดไป..

ผู้รับบริการเด็ก ที่ดิฉันนักศึกษากิจกรรมบำบัด ได้รับมอบหมายในวันหนึ่ง เป็นเด็กผู้ชายผิวขาว รูปร่างผอม อายุ ๓ ปีกว่าๆย่างเข้า ๔ ปี ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เป็นโรคออทิสติก (Autistic Disorder) ซึ่งมีความบกพร่องหลักๆ ๓ ส่วนคือ ๑.บกพร่องทางด้านภาษา ๒.บกพร่องทางด้านสังคม ๓.บกพร่องทางด้านพฤติกรรม

เมื่อพบเจอกันวันแรก.. น้องวิ่งเข้ามาหาแล้วกระโดดลงบ่อบอลทันที น้องเล่นคนเดียวในบ่อบอล น้องชอบปีนบนที่สูงๆ แล้วกระโดดลงมา ชอบหมุนชิงช้าเล่น วิ่งรอบห้อง อยู่ไม่นิ่ง พูดเล่นเสียงตัวเอง มีบ้างที่น้องชวนเล่นโดยการจูงมือแล้วพาไปหยิบของเล่น จากการตรวจประเมินพบว่า น้องมีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ไม่ค่อยสมวัย มีสมาธิ ความตั้งใจน้อยกว่า ๕ นาที สื่อสารกับผู้อื่นด้วยการใช้มือชี้บอกสิ่งที่ต้องการ น้องเลือกและบอกชื่อสัตว์ ผลไม้ สิ่งของที่พบเจอในชีวิตประจำวันจาก ๒ ตัวเลือกได้ แต่ยังบอกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัตว์ ผลไม้ และสิ่งของดังกล่าวไม่ได้ น้องเล่นคนเดียวแต่นั่งใกล้ๆกับเพื่อน และชอบแกล้งเพื่อน แย่งของเล่นเพื่อน เมื่อเรียกน้อง น้องจะหันมามองหน้าสบตา แต่จะทำไม่สนใจ ในช่วงแรกของการตรวจประเมิน น้องให้ความร่วมมือบ้างเนื่องด้วยมีสมาธิและความสนใจเฉพาะในสิ่งที่ตนเองสนใจจะเล่น คือการปีนป่าย กระโดด เอียงตัวเล่น และแกล้งไม่ยอมทำกิจกรรม ไม่รู้จักการรอคอย จึงต้องใช้เวลามากในการตรวจประเมินเพื่อหาปัญหาของน้องในช่วงแรก

เมื่อทราบปัญหาหลักๆของน้องแล้ว และให้การบำบัดฟื้นฟู โดยการใช้ทฤษฎีการบูรณาการประสาทความรู้สึก (Sensory Integration Theory) ของ Dr. A. jean Ayres ให้น้องทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ(Heavy Work) เพื่อให้น้องนิ่งขึ้นไม่วอกแวก มีสมาธิในการทำกิจกรรมอื่นๆต่อไป และให้การบำบัดฟื้นฟูตามทฤษฎีพัฒนาการ(Developmental Theory) จนน้องมีพัฒนาการที่ดีขึ้นต่อเนื่อง..

จากนั้น ได้มีการพูดคุยกับผู้ปกครองของน้องเพื่อส่งเสริมความสามารถที่น้องมีอยู่ให้เพิ่มมากขึ้น เป็นการต่อยอดความสามารถของน้องด้วยตัวผู้ปกครองเอง โดยการส่งเสริมดังกล่าวเป็นการส่งเสริมความสามารถของน้องตามพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การรับรู้และเข้าใจภาษา การช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม เพื่อให้ความสามารถของน้องในทุกๆด้านเพิ่มขึ้น เป็นการเตรียมความพร้อมของน้องสำหรับการเข้าสู่วัยเรียน ก่อนการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัด ตามนัดหมายอีกครั้ง ต่อไป..

การฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกในครั้งนี้ และการพบเจอน้องเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง น้องไม่ใช่แค่เด็กที่อยู่แต่ในโลกของตนเอง แต่เมื่อเราเข้าใจในความต้องการของน้องแล้ว เราจะสนุกในการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับน้อง โดยมีสิ่งสนใจของน้องชักจูงน้องออกมาจากโลกของตนเอง การเห็นความสามารถของน้องเพิ่มขึ้นจากเดิม ย่อมส่งผลต่อความสามารถของน้องในการเติบโตต่อไป และการที่ผู้ปกครองต้องเดินทางไกลและรอคอยในการตรวจประเมิน การบำบัดฟื้นฟูภายในเวลา ๑ ชั่วโมง ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ว่า ๑ ชั่วโมงหรือ ๖๐ นาที เป็นเวลาที่มีคุณค่ามากต่อน้องและผู้ปกครอง ซึ่งจะต้องได้รับการตรวจประเมิน หรือการบำบัดฟื้นฟูอย่างเต็มที่ ภายในเวลา ๑ ชั่วโมงหรือ ๖๐ นาที

ที่มา: gotoknow.orgออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒ ต.ค.๕๕
วันที่โพสต์: 2/10/2555 เวลา 16:22:25

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกครั้งที่ ๓ ของนักศึกษากิจกรรมบำบัด ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ..เวลา ๐๔.๔๕ น. ถ้าเป็นเวลาที่ต้องนั่งเรียนวิชาบรรยาย(lecture) .. ดิฉัน คงยังไม่ตื่นนอน(เนื่องจากเริ่มเรียน ๐๙.๐๐ น.) แต่.. นี่เป็นช่วงเวลาในการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก ดิฉัน ตื่นนอนแต่เช้ามืด เพื่อรับอากาศแสนสดชื่น แสงแดดอ่อนๆยามเช้า และเดินทางจากมหาวิทยาลัยไปฝึกปฏิบัติงานในตัวเมืองกรุงเทพมหานคร.. ..โรงพยาบาล ผู้ปกครองและเด็กต้องเดินทางออกจากบ้านในตัวเมืองกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ตั้งแต่เวลาเช้ามืด หรือบางท่านเดินทางจากต่างจังหวัด ตั้งแต่เมื่อวานเพื่อพบบุคลาการทางการแพทย์ในการตรวจประเมิน การบำบัด การรักษาในวันถัดไป.. ผู้รับบริการเด็ก ที่ดิฉันนักศึกษากิจกรรมบำบัด ได้รับมอบหมายในวันหนึ่ง เป็นเด็กผู้ชายผิวขาว รูปร่างผอม อายุ ๓ ปีกว่าๆย่างเข้า ๔ ปี ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เป็นโรคออทิสติก (Autistic Disorder) ซึ่งมีความบกพร่องหลักๆ ๓ ส่วนคือ ๑.บกพร่องทางด้านภาษา ๒.บกพร่องทางด้านสังคม ๓.บกพร่องทางด้านพฤติกรรม เมื่อพบเจอกันวันแรก.. น้องวิ่งเข้ามาหาแล้วกระโดดลงบ่อบอลทันที น้องเล่นคนเดียวในบ่อบอล น้องชอบปีนบนที่สูงๆ แล้วกระโดดลงมา ชอบหมุนชิงช้าเล่น วิ่งรอบห้อง อยู่ไม่นิ่ง พูดเล่นเสียงตัวเอง มีบ้างที่น้องชวนเล่นโดยการจูงมือแล้วพาไปหยิบของเล่น จากการตรวจประเมินพบว่า น้องมีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ไม่ค่อยสมวัย มีสมาธิ ความตั้งใจน้อยกว่า ๕ นาที สื่อสารกับผู้อื่นด้วยการใช้มือชี้บอกสิ่งที่ต้องการ น้องเลือกและบอกชื่อสัตว์ ผลไม้ สิ่งของที่พบเจอในชีวิตประจำวันจาก ๒ ตัวเลือกได้ แต่ยังบอกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัตว์ ผลไม้ และสิ่งของดังกล่าวไม่ได้ น้องเล่นคนเดียวแต่นั่งใกล้ๆกับเพื่อน และชอบแกล้งเพื่อน แย่งของเล่นเพื่อน เมื่อเรียกน้อง น้องจะหันมามองหน้าสบตา แต่จะทำไม่สนใจ ในช่วงแรกของการตรวจประเมิน น้องให้ความร่วมมือบ้างเนื่องด้วยมีสมาธิและความสนใจเฉพาะในสิ่งที่ตนเองสนใจจะเล่น คือการปีนป่าย กระโดด เอียงตัวเล่น และแกล้งไม่ยอมทำกิจกรรม ไม่รู้จักการรอคอย จึงต้องใช้เวลามากในการตรวจประเมินเพื่อหาปัญหาของน้องในช่วงแรก เมื่อทราบปัญหาหลักๆของน้องแล้ว และให้การบำบัดฟื้นฟู โดยการใช้ทฤษฎีการบูรณาการประสาทความรู้สึก (Sensory Integration Theory) ของ Dr. A. jean Ayres ให้น้องทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ(Heavy Work) เพื่อให้น้องนิ่งขึ้นไม่วอกแวก มีสมาธิในการทำกิจกรรมอื่นๆต่อไป และให้การบำบัดฟื้นฟูตามทฤษฎีพัฒนาการ(Developmental Theory) จนน้องมีพัฒนาการที่ดีขึ้นต่อเนื่อง.. จากนั้น ได้มีการพูดคุยกับผู้ปกครองของน้องเพื่อส่งเสริมความสามารถที่น้องมีอยู่ให้เพิ่มมากขึ้น เป็นการต่อยอดความสามารถของน้องด้วยตัวผู้ปกครองเอง โดยการส่งเสริมดังกล่าวเป็นการส่งเสริมความสามารถของน้องตามพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การรับรู้และเข้าใจภาษา การช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม เพื่อให้ความสามารถของน้องในทุกๆด้านเพิ่มขึ้น เป็นการเตรียมความพร้อมของน้องสำหรับการเข้าสู่วัยเรียน ก่อนการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัด ตามนัดหมายอีกครั้ง ต่อไป.. การฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกในครั้งนี้ และการพบเจอน้องเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง น้องไม่ใช่แค่เด็กที่อยู่แต่ในโลกของตนเอง แต่เมื่อเราเข้าใจในความต้องการของน้องแล้ว เราจะสนุกในการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับน้อง โดยมีสิ่งสนใจของน้องชักจูงน้องออกมาจากโลกของตนเอง การเห็นความสามารถของน้องเพิ่มขึ้นจากเดิม ย่อมส่งผลต่อความสามารถของน้องในการเติบโตต่อไป และการที่ผู้ปกครองต้องเดินทางไกลและรอคอยในการตรวจประเมิน การบำบัดฟื้นฟูภายในเวลา ๑ ชั่วโมง ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ว่า ๑ ชั่วโมงหรือ ๖๐ นาที เป็นเวลาที่มีคุณค่ามากต่อน้องและผู้ปกครอง ซึ่งจะต้องได้รับการตรวจประเมิน หรือการบำบัดฟื้นฟูอย่างเต็มที่ ภายในเวลา ๑ ชั่วโมงหรือ ๖๐

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...