สธ.ห่วงคนไทยต่างแดนอมทุกข์ส่งจิตเวชดูแล
น.พ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข มีความเป็นห่วงคนไทยที่ใช้ชีวิตในต่างแดน เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเยอรมนี ออสเตรเลีย ไต้หวัน อิสราเอล เป็นต้น ไม่ว่าจะไปศึกษาต่อ ทำงาน หรือมีครอบครัวกับชาวต่างชาติ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่า ๑ ล้านคน หากเจ็บป่วยทางกาย ก็อาจขอรับการบำบัดรักษาจากแพทย์ชาวต่างประเทศได้ไม่ยาก แต่หากเป็นปัญหาทางจิตใจ ชาวไทยกลุ่มนี้หาที่ปรึกษายาก หากป่วยจะยุ่งยากในการบำบัด เนื่องจากต้องอาศัยการพูดคุย ปรึกษาปัญหากันแบบส่วนตัว อาศัยภาษาไทยเป็นพื้นฐาน โดยที่ผ่านมาพบคนไทยในต่างประเทศ มีปัญหาสุขภาพจิตประมาณร้อยละ ๓๐ ส่วนใหญ่เป็นเรื่อง การปรับตัวในการดำเนินชีวิตเข้ากับสังคมที่พำนักอาศัย เช่น การสื่อสาร ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและสังคมท้องถิ่น การเลี้ยงดูบุตรข้ามวัฒนธรรม ปัญหาครอบครัวกับคู่สมรสต่างชาติ และปัญหาส่วนตัวก่อนเดินทาง ทำให้เกิดความเครียด ความกดดัน ไม่สามารถไปปรึกษาใครได้ ต้องอยู่อย่างอมทุกข์ บางรายรุนแรง เกิดภาวะซึมเศร้าและคิดฆ่าตัวตาย เนื่องจากขาดผู้ให้คำแนะนำปรึกษาที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต
น.พ.สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อลดความทุกข์และเสริมสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้แก่ชาวไทยให้ทั่วถึง กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับ กระทรวงการต่างประเทศ จัดโครงการสร้างอาสาสมัครดูแลสุขภาพจิตชาวไทย เพื่อให้เป็นที่พึ่งและเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษาที่เหมาะสมแก่ผู้ที่มีปัญหาในเบื้องต้น จะช่วยคลี่คลายความเครียด ความวิตกกังวล สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้ดีกว่า โดยจัดส่งทีมจิตแพทย์ นักจิตวิทยา จากกรมสุขภาพจิต ไปฝึกอบรมความรู้ และจัดกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายคนไทย ในเรื่องการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข การเลี้ยงดูบุตร การให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตต่างๆ
ยังไม่มีเรตติ้ง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
น.พ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขน.พ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข มีความเป็นห่วงคนไทยที่ใช้ชีวิตในต่างแดน เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเยอรมนี ออสเตรเลีย ไต้หวัน อิสราเอล เป็นต้น ไม่ว่าจะไปศึกษาต่อ ทำงาน หรือมีครอบครัวกับชาวต่างชาติ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่า ๑ ล้านคน หากเจ็บป่วยทางกาย ก็อาจขอรับการบำบัดรักษาจากแพทย์ชาวต่างประเทศได้ไม่ยาก แต่หากเป็นปัญหาทางจิตใจ ชาวไทยกลุ่มนี้หาที่ปรึกษายาก หากป่วยจะยุ่งยากในการบำบัด เนื่องจากต้องอาศัยการพูดคุย ปรึกษาปัญหากันแบบส่วนตัว อาศัยภาษาไทยเป็นพื้นฐาน โดยที่ผ่านมาพบคนไทยในต่างประเทศ มีปัญหาสุขภาพจิตประมาณร้อยละ ๓๐ ส่วนใหญ่เป็นเรื่อง การปรับตัวในการดำเนินชีวิตเข้ากับสังคมที่พำนักอาศัย เช่น การสื่อสาร ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและสังคมท้องถิ่น การเลี้ยงดูบุตรข้ามวัฒนธรรม ปัญหาครอบครัวกับคู่สมรสต่างชาติ และปัญหาส่วนตัวก่อนเดินทาง ทำให้เกิดความเครียด ความกดดัน ไม่สามารถไปปรึกษาใครได้ ต้องอยู่อย่างอมทุกข์ บางรายรุนแรง เกิดภาวะซึมเศร้าและคิดฆ่าตัวตาย เนื่องจากขาดผู้ให้คำแนะนำปรึกษาที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต น.พ.สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อลดความทุกข์และเสริมสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้แก่ชาวไทยให้ทั่วถึง กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับ กระทรวงการต่างประเทศ จัดโครงการสร้างอาสาสมัครดูแลสุขภาพจิตชาวไทย เพื่อให้เป็นที่พึ่งและเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษาที่เหมาะสมแก่ผู้ที่มีปัญหาในเบื้องต้น จะช่วยคลี่คลายความเครียด ความวิตกกังวล สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้ดีกว่า โดยจัดส่งทีมจิตแพทย์ นักจิตวิทยา จากกรมสุขภาพจิต ไปฝึกอบรมความรู้ และจัดกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายคนไทย ในเรื่องการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข การเลี้ยงดูบุตร
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)