สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕.... ชูประเด็น ‘ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ’
เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและให้ข้อเสนอต่อเอกสาร (ร่าง๑) มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ ณ โรงแรมริชมอนด์ มีผู้เข้าร่วมประมาณ ๒๐๐ คน
เนื่องจากพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ในมาตรา ๒๕(๓) กำหนดให้ “คสช. จะต้องจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง เพื่อประสานให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพร่วมกัน” โดยได้กำหนดจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ ประจำปี ๒๕๕๕ ในวันที่ ๑๘-๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
นางกรรณิการ์ บันเทิงจิตร รองเลขาธิการ คสช. ได้กล่าวว่า การจัดสมัชชามีเป้าหมายเพื่อให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข เน้นการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพ และนำไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม โดยในปีนี้มีเน้นประเด็น “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” ซึ่งผู้เสนอประเด็นเพื่อพิจารณาทั้งหมดมี ๘๖๑ ภาคี/เครือข่าย รวมเป็น ๕๐ ข้อเสนอประเด็นนโยบาย พิจารณาเหลือ ๙ ประเด็น/ระเบียบวาระการประชุม เพื่อเข้าสู่กระบวนพิจารณาในการประชุมสมัชชาชาติแห่งชาติต่อไป ได้แก่ ๑)การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ๒)การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก๒๔ ชั่วโมง : กรณีเด็กไทยกับไอที ๓) พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ ๔) การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย๕)การปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA) ๖)การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ๗) การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ๘)ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ๙)การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารและอาหาร
ผู้แทนคนพิการ ได้เสนอขอให้ในพิจารณาตามประเด็นต่างๆ ขอให้มีเรื่องของคนพิการด้วย เพราะคนพิการคือส่วนหนึ่งของสังคมที่มักถูกสังคมลืมทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการต่างๆในสังคม เช่น “ประเด็นการจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน” ผู้เข้าร่วมได้เสนอให้มีการปรับเป็น “การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินทางเพื่อทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ในชีวิต ประจำวัน” ซึ่งเป็นการรณรงค์จัดระบบและโครงสร้างที่เอื้อให้ทั้งคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือผู้ป่วยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ จากทางเท้าได้(มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๓๐ ก.ย.๕๕)
ยังไม่มีเรตติ้ง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โลโก้ สปสช. เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและให้ข้อเสนอต่อเอกสาร (ร่าง๑) มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ ณ โรงแรมริชมอนด์ มีผู้เข้าร่วมประมาณ ๒๐๐ คน เนื่องจากพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ในมาตรา ๒๕(๓) กำหนดให้ “คสช. จะต้องจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง เพื่อประสานให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพร่วมกัน” โดยได้กำหนดจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ ประจำปี ๒๕๕๕ ในวันที่ ๑๘-๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา นางกรรณิการ์ บันเทิงจิตร รองเลขาธิการ คสช. ได้กล่าวว่า การจัดสมัชชามีเป้าหมายเพื่อให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข เน้นการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพ และนำไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม โดยในปีนี้มีเน้นประเด็น “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” ซึ่งผู้เสนอประเด็นเพื่อพิจารณาทั้งหมดมี ๘๖๑ ภาคี/เครือข่าย รวมเป็น ๕๐ ข้อเสนอประเด็นนโยบาย พิจารณาเหลือ ๙ ประเด็น/ระเบียบวาระการประชุม เพื่อเข้าสู่กระบวนพิจารณาในการประชุมสมัชชาชาติแห่งชาติต่อไป ได้แก่ ๑)การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ๒)การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก๒๔ ชั่วโมง : กรณีเด็กไทยกับไอที ๓) พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ ๔) การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย๕)การปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA) ๖)การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ๗) การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ๘)ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ๙)การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารและอาหาร ผู้แทนคนพิการ ได้เสนอขอให้ในพิจารณาตามประเด็นต่างๆ ขอให้มีเรื่องของคนพิการด้วย เพราะคนพิการคือส่วนหนึ่งของสังคมที่มักถูกสังคมลืมทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการต่างๆในสังคม เช่น “ประเด็นการจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน” ผู้เข้าร่วมได้เสนอให้มีการปรับเป็น “การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินทางเพื่อทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ในชีวิต ประจำวัน” ซึ่งเป็นการรณรงค์จัดระบบและโครงสร้างที่เอื้อให้ทั้งคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือผู้ป่วยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ จากทางเท้าได้(มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๓๐
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)