แอปฯคัดกรองความเสี่ยง “สมองเสื่อมอัลไซเมอร์”

แสดงความคิดเห็น

หญิงชรา ใช้มือกุมศีรษะ

ครั้งแรกของไทย! สธ.เปิดตัว แอปพลิเคชันคัดกรองความเสี่ยงป่วย “โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์” ใช้ได้ผ่านสมาร์ทโฟน ไอแพด และแอนดรอยด์ ด้วยการตอบ 11 ข้อคำถาม ชี้ผู้ป่วยและญาติทดสอบได้ด้วยตนเอง ย้ำมีอาการ 4 คะแนนขึ้นไป เสี่ยงต้องรีบปรึกษาแพทย์ หวังลดจำนวนผู้สูงอายุไทยกว่า 8 แสนคน ที่อาจป่วยโรคนี้ และจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

วันที่ 15 ก.พ. 56 ที่สวนสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดงาน “สร้างสรรค์สังคมไทยห่างไกลอัลไซเมอร์ ครั้งที่ 5” จัดโดยมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือทีเซลส์ (TCELs) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อรณรงค์ให้สังคมไทยรู้จักโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่เกิดจากเซลประสาทสมองฝ่อ เรียกว่าอัลไซเมอร์ ซึ่งพบมากถึงร้อยละ 30 ในผู้สูงอายุไทย และร่วมมือกันแก้ไขป้องกัน หรือชะลอการป่วยให้ช้าที่สุด ว่า โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดที่พบมากที่สุด และกำลังเป็นปัญหาที่คุกคามคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและครอบครัว ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งพบมาก จากสถิติโลกพบได้ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 10 ปัจจุบันมีผู้ป่วยทั่วโลกประมาณ 33.9 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3 เท่าในอีก 40 ปีข้างหน้า สำหรับในประเทศไทยซึ่งมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งหมด 8.3 ล้านคน คาดว่าจะมีผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ประมาณ 8.3 แสนคน และคาดการณ์ได้ว่าโรคนี้จะเป็นปัญหารุนแรงขึ้นในอนาคต มีแนวโน้มพบในผู้ที่อายุต่ำกว่า 60 ปีได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่นำไปสู่ความผิดปกติของหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันสูง ถือเป็นกลุ่มที่เสี่ยงสำคัญที่อาจเกิดเซลล์สมองฝ่อเร็วกว่าคนทั่วไป

นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า อาการสำคัญของโรคนี้คือ ความจำบกพร่อง ไม่สามารถทำงานหรือกิจวัตรตามปกติได้ เนื่องจากเซลล์ประสาทสูญเสียการทำงานทำให้ความจำเสื่อม อาการจะเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากหลงลืมเล็กน้อย มีปัญหาเรื่องการใช้ภาษา การรู้ทิศทางและเวลา จนถึงระดับที่เป็นมากมีบุคลิก อารมณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม จนถึงขั้นมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย ทำให้เกิดปัญหาต่อผู้สูงอายุและผู้ดูแล ทั้งความเครียด กังวล คุณภาพชีวิตที่ลดลง ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ในระยะเริ่มแรกมักมีเพียงอาการหลงลืมเล็กๆ น้อยๆ คิดว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ จึงไม่ได้ให้ความสนใจ แต่เมื่ออาการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น จะมีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ หรืออาการทางจิตเวช เช่น ก้าวร้าว หลงผิด ประสาทหลอน ระแวง ซึ่งเป็นภาระอย่างมากแก่ผู้ดูแล

นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า มูลนิธิอัลไซเมอร์ฯ ได้ร่วมกับทีเซลส์ พัฒนาโปรแกรมการตรวจคัดกรองผู้เสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์เป็นผลสำเร็จครั้งแรกในประเทศไทย สามารถตรวจผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารประเภทสมาร์ทโฟน เช่น ไอแพด (iPad) และระบบแอนดรอยด์ (Android) ที่มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มองเห็นชัดเจนและตรวจประเมินได้ด้วยตนเองตลอด 24 ชั่วโมง และได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เป็นบริการสาธารณะที่จะช่วยให้ประชาชนสามารถใช้ตรวจประเมินความเสี่ยงของผู้สูงอายุในบ้าน หรือตนเองว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดได้ตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของทางมูลนิธิอัลไซเมอร์ฯ http://www.alz.or.th (ขนาดไฟล์: 145) และเว็บไซต์ของทีเซลส์ ที่ http://www.tcels.or.th (ขนาดไฟล์: 147) โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนี้ แบบคัดกรองที่ใช้ในแอปพลิเคชันดังกล่าวเป็นแบบทดสอบเบื้องต้น พัฒนาโดยศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศึกษาพัฒนามาจากเกณฑ์มาตรฐานของผู้สูงอายุไทยโดยเฉพาะ

“โปรแกรมดังกล่าวจะมีคำถาม 11 ข้อ ได้แก่ 1.ชอบถามคำถามเดิมซ้ำๆ 2.หลงลืมบ่อยขึ้น มีปัญหายุ่งยากเรื่องความจำระยะสั้น 3.ต้องมีคนคอยเตือนให้ทำกิจกรรมที่จำเป็น 4.ลืมวันนัด ลืมโอกาสที่สำคัญของครอบครัว เช่น วันเกิด วันครบรอบแต่งงาน หรือวันหยุดพิเศษ 5.ดูซึมลง เศร้าหมอง หรือร้องไห้บ่อยกว่าเดิม 6.เริ่มมีเรื่องยุ่งยากในการคิดเลข คิดเงิน หรือลำบากมากขึ้นในการดูแลจัดการเรื่องเงินทอง 7.ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชอบทำ เช่น งานอดิเรกที่เคยทำ กิจกรรมสังคมที่เคยไป 8.เริ่มต้องมีคนคอยช่วยเหลือในกิจกรรมประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร 9.หงุดหงิด อารมณ์เสียบ่อยขึ้น ช่างสงสัย เริ่มได้เห็น ได้ยิน เชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นจริง 10.เริ่มมีปัญหาเรื่องทิศทาง เช่น ถ้าเคยขับรถก็หลงทางบ่อย จำทางไม่ได้ ขับรถอันตราย ไม่ปลอดภัย หรือเลิกขับรถไปเลย และ 11.มีความยุ่งยาก ลำบากในการหาคำพูดที่ต้องการจะพูด เรื่องชื่อคน สิ่งของไม่ถูก พูดไม่จบประโยค โดยประเมินออกเป็นคะแนน หากผลการตรวจพบว่ามีอาการตั้งแต่ 4 คะแนนขึ้นไป แสดงว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ขอให้รีบไปรับการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อยืนยันและรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพ การดูแลรักษา ซึ่งขณะนี้ยังไม่มียารักษาให้หายขาด แต่มียาช่วยชะลอความรุนแรง รวมถึงควบคุมอาการต่างๆ ทางพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้” รมช.สาธารณสุข กล่าว

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อไปว่า ขอเตือนให้ประชาชนดูแลสมองให้ดี โดยการปฏิบัติตามข้อแนะนำเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ 8 ข้อ ดังนี้ 1.รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่สมอง เช่น การดื่มเหล้าจัด การกินยาโดยไม่จำเป็น 2.ออกกำลังสมอง ได้แก่ การพยายามฝึกให้สมองได้คิดบ่อยๆ เช่น อ่านหนังสือเขียนหนังสือบ่อยๆ คิดเลข ดูเกมตอบปัญหา ฝึกหัดการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ เป็นต้น 3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เช่น เดินเล่นรำมวยจีน เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ เนื่องจากจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น เลือดไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น เพิ่มความสามารถในการเผาผลาญออกซิเจนให้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้ถึงร้อยละ 60 4.พูดคุย พบปะผู้อื่นบ่อยๆ เช่น ไปวัดไปงานเลี้ยงต่างๆ หรือเข้าชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น 5.ตรวจสุขภาพประจำปีหากมีโรคประจำตัวต้องติดตามการรักษาเป็นระยะ เช่น การตรวจหาความผิดปกติ ดูแลและรักษาโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น 6.ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุ ที่ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสมอง 7.พยายามมีสติในสิ่งต่างๆ ที่กำลังทำและฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา และ 8.พยายามไม่คิดมาก ไม่เครียด หากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อคลายเครียด เนื่องจากความเครียดและอาการซึมเศร้าอาจทำให้จำอะไรได้ไม่ดีและถ้าผู้สูงอายุที่รู้ตัวว่าอาจมีปัจจัยเสี่ยงควรคัดกรองการทำหน้าที่ของสมองเพื่อประเมินความผิดปกติเป็นระยะๆ

สำหรับกิจกรรมภายในงาน “สร้างสรรค์สังคมไทยห่างไกลอัลไซเมอร์ ครั้งที่ 5” ประกอบด้วย การให้ความรู้เรื่องโรคอัลไซเมอร์ บริการตรวจคัดกรองความจำและให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การเล่นเกมฝึกการใช้สมอง โปรแกรมคำนวณอายุสมอง นิทรรศการเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น สอนทำยาหม่อง สาธิตการเต้นป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ตลอดจนแบ่งกลุ่มเล่นกีฬาสี และบรรยายพิเศษให้ความรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมผ่านทางภาพยนตร์ เป็นต้น

ขอบคุณ http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000019747 (ขนาดไฟล์: 164)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ก.พ.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ก.พ.56
วันที่โพสต์: 27/02/2556 เวลา 06:30:17 ดูภาพสไลด์โชว์ แอปฯคัดกรองความเสี่ยง “สมองเสื่อมอัลไซเมอร์”

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หญิงชรา ใช้มือกุมศีรษะ ครั้งแรกของไทย! สธ.เปิดตัว แอปพลิเคชันคัดกรองความเสี่ยงป่วย “โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์” ใช้ได้ผ่านสมาร์ทโฟน ไอแพด และแอนดรอยด์ ด้วยการตอบ 11 ข้อคำถาม ชี้ผู้ป่วยและญาติทดสอบได้ด้วยตนเอง ย้ำมีอาการ 4 คะแนนขึ้นไป เสี่ยงต้องรีบปรึกษาแพทย์ หวังลดจำนวนผู้สูงอายุไทยกว่า 8 แสนคน ที่อาจป่วยโรคนี้ และจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต วันที่ 15 ก.พ. 56 ที่สวนสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดงาน “สร้างสรรค์สังคมไทยห่างไกลอัลไซเมอร์ ครั้งที่ 5” จัดโดยมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือทีเซลส์ (TCELs) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อรณรงค์ให้สังคมไทยรู้จักโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่เกิดจากเซลประสาทสมองฝ่อ เรียกว่าอัลไซเมอร์ ซึ่งพบมากถึงร้อยละ 30 ในผู้สูงอายุไทย และร่วมมือกันแก้ไขป้องกัน หรือชะลอการป่วยให้ช้าที่สุด ว่า โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดที่พบมากที่สุด และกำลังเป็นปัญหาที่คุกคามคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและครอบครัว ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งพบมาก จากสถิติโลกพบได้ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 10 ปัจจุบันมีผู้ป่วยทั่วโลกประมาณ 33.9 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3 เท่าในอีก 40 ปีข้างหน้า สำหรับในประเทศไทยซึ่งมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งหมด 8.3 ล้านคน คาดว่าจะมีผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ประมาณ 8.3 แสนคน และคาดการณ์ได้ว่าโรคนี้จะเป็นปัญหารุนแรงขึ้นในอนาคต มีแนวโน้มพบในผู้ที่อายุต่ำกว่า 60 ปีได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่นำไปสู่ความผิดปกติของหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันสูง ถือเป็นกลุ่มที่เสี่ยงสำคัญที่อาจเกิดเซลล์สมองฝ่อเร็วกว่าคนทั่วไป นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า อาการสำคัญของโรคนี้คือ ความจำบกพร่อง ไม่สามารถทำงานหรือกิจวัตรตามปกติได้ เนื่องจากเซลล์ประสาทสูญเสียการทำงานทำให้ความจำเสื่อม อาการจะเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากหลงลืมเล็กน้อย มีปัญหาเรื่องการใช้ภาษา การรู้ทิศทางและเวลา จนถึงระดับที่เป็นมากมีบุคลิก อารมณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม จนถึงขั้นมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย ทำให้เกิดปัญหาต่อผู้สูงอายุและผู้ดูแล ทั้งความเครียด กังวล คุณภาพชีวิตที่ลดลง ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ในระยะเริ่มแรกมักมีเพียงอาการหลงลืมเล็กๆ น้อยๆ คิดว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ จึงไม่ได้ให้ความสนใจ แต่เมื่ออาการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น จะมีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ หรืออาการทางจิตเวช เช่น ก้าวร้าว หลงผิด ประสาทหลอน ระแวง ซึ่งเป็นภาระอย่างมากแก่ผู้ดูแล นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า มูลนิธิอัลไซเมอร์ฯ ได้ร่วมกับทีเซลส์ พัฒนาโปรแกรมการตรวจคัดกรองผู้เสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์เป็นผลสำเร็จครั้งแรกในประเทศไทย สามารถตรวจผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารประเภทสมาร์ทโฟน เช่น ไอแพด (iPad) และระบบแอนดรอยด์ (Android) ที่มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มองเห็นชัดเจนและตรวจประเมินได้ด้วยตนเองตลอด 24 ชั่วโมง และได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เป็นบริการสาธารณะที่จะช่วยให้ประชาชนสามารถใช้ตรวจประเมินความเสี่ยงของผู้สูงอายุในบ้าน หรือตนเองว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดได้ตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของทางมูลนิธิอัลไซเมอร์ฯ http://www.alz.or.th และเว็บไซต์ของทีเซลส์ ที่ http://www.tcels.or.th โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนี้ แบบคัดกรองที่ใช้ในแอปพลิเคชันดังกล่าวเป็นแบบทดสอบเบื้องต้น พัฒนาโดยศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศึกษาพัฒนามาจากเกณฑ์มาตรฐานของผู้สูงอายุไทยโดยเฉพาะ “โปรแกรมดังกล่าวจะมีคำถาม 11 ข้อ ได้แก่ 1.ชอบถามคำถามเดิมซ้ำๆ 2.หลงลืมบ่อยขึ้น มีปัญหายุ่งยากเรื่องความจำระยะสั้น 3.ต้องมีคนคอยเตือนให้ทำกิจกรรมที่จำเป็น 4.ลืมวันนัด ลืมโอกาสที่สำคัญของครอบครัว เช่น วันเกิด วันครบรอบแต่งงาน หรือวันหยุดพิเศษ 5.ดูซึมลง เศร้าหมอง หรือร้องไห้บ่อยกว่าเดิม 6.เริ่มมีเรื่องยุ่งยากในการคิดเลข คิดเงิน หรือลำบากมากขึ้นในการดูแลจัดการเรื่องเงินทอง 7.ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชอบทำ เช่น งานอดิเรกที่เคยทำ กิจกรรมสังคมที่เคยไป 8.เริ่มต้องมีคนคอยช่วยเหลือในกิจกรรมประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร 9.หงุดหงิด อารมณ์เสียบ่อยขึ้น ช่างสงสัย เริ่มได้เห็น ได้ยิน เชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นจริง 10.เริ่มมีปัญหาเรื่องทิศทาง เช่น ถ้าเคยขับรถก็หลงทางบ่อย จำทางไม่ได้ ขับรถอันตราย ไม่ปลอดภัย หรือเลิกขับรถไปเลย และ 11.มีความยุ่งยาก ลำบากในการหาคำพูดที่ต้องการจะพูด เรื่องชื่อคน สิ่งของไม่ถูก พูดไม่จบประโยค โดยประเมินออกเป็นคะแนน หากผลการตรวจพบว่ามีอาการตั้งแต่ 4 คะแนนขึ้นไป แสดงว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ขอให้รีบไปรับการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อยืนยันและรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพ การดูแลรักษา ซึ่งขณะนี้ยังไม่มียารักษาให้หายขาด แต่มียาช่วยชะลอความรุนแรง รวมถึงควบคุมอาการต่างๆ ทางพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้” รมช.สาธารณสุข กล่าว นพ.ชลน่าน กล่าวต่อไปว่า ขอเตือนให้ประชาชนดูแลสมองให้ดี โดยการปฏิบัติตามข้อแนะนำเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ 8 ข้อ ดังนี้ 1.รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่สมอง เช่น การดื่มเหล้าจัด การกินยาโดยไม่จำเป็น 2.ออกกำลังสมอง ได้แก่ การพยายามฝึกให้สมองได้คิดบ่อยๆ เช่น อ่านหนังสือเขียนหนังสือบ่อยๆ คิดเลข ดูเกมตอบปัญหา ฝึกหัดการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ เป็นต้น 3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เช่น เดินเล่นรำมวยจีน เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ เนื่องจากจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น เลือดไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น เพิ่มความสามารถในการเผาผลาญออกซิเจนให้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้ถึงร้อยละ 60 4.พูดคุย พบปะผู้อื่นบ่อยๆ เช่น ไปวัดไปงานเลี้ยงต่างๆ หรือเข้าชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น 5.ตรวจสุขภาพประจำปีหากมีโรคประจำตัวต้องติดตามการรักษาเป็นระยะ เช่น การตรวจหาความผิดปกติ ดูแลและรักษาโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น 6.ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุ ที่ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสมอง 7.พยายามมีสติในสิ่งต่างๆ ที่กำลังทำและฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา และ 8.พยายามไม่คิดมาก ไม่เครียด หากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อคลายเครียด เนื่องจากความเครียดและอาการซึมเศร้าอาจทำให้จำอะไรได้ไม่ดีและถ้าผู้สูงอายุที่รู้ตัวว่าอาจมีปัจจัยเสี่ยงควรคัดกรองการทำหน้าที่ของสมองเพื่อประเมินความผิดปกติเป็นระยะๆ สำหรับกิจกรรมภายในงาน “สร้างสรรค์สังคมไทยห่างไกลอัลไซเมอร์ ครั้งที่ 5” ประกอบด้วย การให้ความรู้เรื่องโรคอัลไซเมอร์ บริการตรวจคัดกรองความจำและให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การเล่นเกมฝึกการใช้สมอง โปรแกรมคำนวณอายุสมอง นิทรรศการเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น สอนทำยาหม่อง สาธิตการเต้นป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ตลอดจนแบ่งกลุ่มเล่นกีฬาสี และบรรยายพิเศษให้ความรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมผ่านทางภาพยนตร์ เป็นต้น ขอบคุณ… http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000019747 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ก.พ.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...