ดูแลอย่างไร?เมื่อมีผู้ป่วยจิตเวชอยู่ร่วมครอบครัว!!

แสดงความคิดเห็น

นางพยาบาลกำลังพูดคุยกับผู้ป่วยจิตเวช

น.พ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าเป็นเรื่องจริงในสังคมไทยที่ปัจจุบันหลายครอบครัวมีผู้ป่วยโรคจิตอาศัยอยู่ร่วมชายคาด้วย ผู้ป่วยบางรายอาการยังไม่บ่งบอกคนในครอบครัวจึงยังไม่รู้ แต่บางรายอาจมีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน ถ้าเราเป็นญาติหรือเป็นคนในครอบครัว เราสามารถสังเกตอาการของผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวชได้ โดยดูจากอาการผิดปกติ ทั้งที่ก่อนหน้านี้เป็นคนสดใสร่าเริง เช่น นอนไม่หลับ เดินไปเดินมา มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น พูดคนเดียว หวาดระแวง เก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร นั่งนิ่งเป็นหิน ไม่เคลื่อนไหวและไม่พูดจาใดๆ เป็นชั่วโมงๆ หรืออาจเคลื่อนไหวช้า หรืออาจมีอาการประสาทหลอน คิดว่ามีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น เช่น ได้ยินเสียงคนมาสั่งให้ตนทำโน่นทำนี่ ได้ยินคนมาพูดคุยกับตน มาเตือน หรือมาตำหนิในเรื่องต่างๆ ทั้งๆ ที่ความจริงไม่มีคนพูดหรือไม่มีต้นกำเนิดเสียงเหล่านี้เลย ผู้ป่วยจะไม่สามารถคิดแบบมีเหตุมีผลได้อย่างต่อเนื่อง พูดคุยกับคนอื่นไม่ค่อยเข้าใจ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยถูกแยกให้อยู่คนเดียว บางครั้งมีการแสดงทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม มีอารมณ์แปรปรวนง่าย บ่นอยากตาย เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณว่าเขาน่าจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตเกิดขึ้นแล้ว และควรพาไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการตรวจ วินิจฉัยและให้การรักษา ทันที

ปัญหาของผู้ป่วยโรคจิตที่อาจพบได้ คือ การแสดงพฤติกรรมรุนแรงหรือมีความเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นหรือทำลายทรัพย์สิน ทั้งในระหว่างอยู่ในครอบครัวชุมชนหรือขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรงจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต เนื่องจากอาการทางจิตมักเป็นความรุนแรงระดับสูง ทำให้สังคมปฏิเสธหรือหวาดกลัวต่อการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยเหล่านั้น ญาติหรือผู้ดูแลจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และต้องเฝ้าระวังอย่าให้มีการกระตุ้นอารมณ์หรือความคิดของผู้ป่วยจนขาดการควบคุมตนเอง

หากมีความรู้ ทักษะในการประเมินอาการ สัญญาณเตือนความเสี่ยงและสามารถจัดการพฤติกรรมรุนแรงเบื้องต้นของผู้ป่วยขณะอยู่บ้านหรือในชุมชนได้ ก็จะช่วยลดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช และเป็นการปกป้องครอบครัวและชุมชนให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลมีความปลอดภัย

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า ผู้ป่วยโรคจิตเป็นผู้ที่มีความผิดปกติด้านความคิดและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและต่อเนื่องเพื่อป้องกันอาการ กำเริบ ถึงแม้จะได้รับการรักษาจนมีอาการดีขึ้น แต่มักจะมีอาการหลงเหลือและมีความสามารถถดถอยมากน้อยแตกต่างกันไปตามความเสื่อมที่มาจากพยาธิสภาพ ผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งด้านร่างกาย สังคมจิตใจ และอาชีพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเอง และดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

นอกเหนือจากการรักษาแล้ว สังคมหรือคนปกติทั่วไปควรมีมุมมองหรือทัศนคติที่ถูกต้องต่อผู้ป่วย รวมถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างปกติสุข เพื่อป้องกันไม่ให้เราต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต หรือโรคทางจิตเวช จึงควรฝึกสำรวจจิตใจตนเอง โดยหมั่นทำความเข้าใจอารมณ์ของตนเอง รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น ยอมรับความเครียดที่เกิดขึ้น และหาวิธีจัดการกับความเครียดนั้น รวมถึงการพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ขอคำแนะนำ เพื่อป้องกันไม่ให้ความเครียดส่งผลกระทบต่อโรคทางกาย และเพื่อป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตใจซ้ำเติมอีกด้วย

“ปัจจุบันประเทศไทยของเราได้มี พ.ร.บ.สุขภาพจิตเมื่อปี 2551 สำหรับดูแลผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งครอบคลุมถึงการดูแลผู้ป่วยจิตเภทและคนวิกลจริตที่เพิ่มมากขึ้น หากพบเห็นผู้ที่มีอาการทางจิตที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสาธารณะ สามารถแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ให้นำส่งโรงพยาบาลได้ทันที เพื่อให้โรงพยาบาลรักษาตามขั้นตอนต่อไป โดยไม่ต้องกลัวความผิดจากญาติของผู้นั้นจะมาฟ้องร้อง แต่ต้องสังเกตว่าคนๆนั้นเป็นเพียงคนเร่ร่อนที่แค่เนื้อตัวสกปรก หรือเป็นคนวิกลจริต เพราะส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นเพียงคนเร่ร่อน ซึ่งจะมีพ.ร.บ.ขอทาน เป็นกฎหมายควบคุมดูแล ภายใต้การกำกับของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์”อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวปิดท้าย

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/news/pr-center/detail-news.php?id=25540 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.พ.56
วันที่โพสต์: 27/02/2556 เวลา 04:43:29 ดูภาพสไลด์โชว์ ดูแลอย่างไร?เมื่อมีผู้ป่วยจิตเวชอยู่ร่วมครอบครัว!!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นางพยาบาลกำลังพูดคุยกับผู้ป่วยจิตเวช น.พ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าเป็นเรื่องจริงในสังคมไทยที่ปัจจุบันหลายครอบครัวมีผู้ป่วยโรคจิตอาศัยอยู่ร่วมชายคาด้วย ผู้ป่วยบางรายอาการยังไม่บ่งบอกคนในครอบครัวจึงยังไม่รู้ แต่บางรายอาจมีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน ถ้าเราเป็นญาติหรือเป็นคนในครอบครัว เราสามารถสังเกตอาการของผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวชได้ โดยดูจากอาการผิดปกติ ทั้งที่ก่อนหน้านี้เป็นคนสดใสร่าเริง เช่น นอนไม่หลับ เดินไปเดินมา มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น พูดคนเดียว หวาดระแวง เก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร นั่งนิ่งเป็นหิน ไม่เคลื่อนไหวและไม่พูดจาใดๆ เป็นชั่วโมงๆ หรืออาจเคลื่อนไหวช้า หรืออาจมีอาการประสาทหลอน คิดว่ามีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น เช่น ได้ยินเสียงคนมาสั่งให้ตนทำโน่นทำนี่ ได้ยินคนมาพูดคุยกับตน มาเตือน หรือมาตำหนิในเรื่องต่างๆ ทั้งๆ ที่ความจริงไม่มีคนพูดหรือไม่มีต้นกำเนิดเสียงเหล่านี้เลย ผู้ป่วยจะไม่สามารถคิดแบบมีเหตุมีผลได้อย่างต่อเนื่อง พูดคุยกับคนอื่นไม่ค่อยเข้าใจ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยถูกแยกให้อยู่คนเดียว บางครั้งมีการแสดงทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม มีอารมณ์แปรปรวนง่าย บ่นอยากตาย เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณว่าเขาน่าจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตเกิดขึ้นแล้ว และควรพาไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการตรวจ วินิจฉัยและให้การรักษา ทันที ปัญหาของผู้ป่วยโรคจิตที่อาจพบได้ คือ การแสดงพฤติกรรมรุนแรงหรือมีความเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นหรือทำลายทรัพย์สิน ทั้งในระหว่างอยู่ในครอบครัวชุมชนหรือขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรงจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต เนื่องจากอาการทางจิตมักเป็นความรุนแรงระดับสูง ทำให้สังคมปฏิเสธหรือหวาดกลัวต่อการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยเหล่านั้น ญาติหรือผู้ดูแลจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และต้องเฝ้าระวังอย่าให้มีการกระตุ้นอารมณ์หรือความคิดของผู้ป่วยจนขาดการควบคุมตนเอง หากมีความรู้ ทักษะในการประเมินอาการ สัญญาณเตือนความเสี่ยงและสามารถจัดการพฤติกรรมรุนแรงเบื้องต้นของผู้ป่วยขณะอยู่บ้านหรือในชุมชนได้ ก็จะช่วยลดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช และเป็นการปกป้องครอบครัวและชุมชนให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลมีความปลอดภัย อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า ผู้ป่วยโรคจิตเป็นผู้ที่มีความผิดปกติด้านความคิดและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและต่อเนื่องเพื่อป้องกันอาการ กำเริบ ถึงแม้จะได้รับการรักษาจนมีอาการดีขึ้น แต่มักจะมีอาการหลงเหลือและมีความสามารถถดถอยมากน้อยแตกต่างกันไปตามความเสื่อมที่มาจากพยาธิสภาพ ผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งด้านร่างกาย สังคมจิตใจ และอาชีพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเอง และดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป นอกเหนือจากการรักษาแล้ว สังคมหรือคนปกติทั่วไปควรมีมุมมองหรือทัศนคติที่ถูกต้องต่อผู้ป่วย รวมถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างปกติสุข เพื่อป้องกันไม่ให้เราต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต หรือโรคทางจิตเวช จึงควรฝึกสำรวจจิตใจตนเอง โดยหมั่นทำความเข้าใจอารมณ์ของตนเอง รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น ยอมรับความเครียดที่เกิดขึ้น และหาวิธีจัดการกับความเครียดนั้น รวมถึงการพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ขอคำแนะนำ เพื่อป้องกันไม่ให้ความเครียดส่งผลกระทบต่อโรคทางกาย และเพื่อป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตใจซ้ำเติมอีกด้วย “ปัจจุบันประเทศไทยของเราได้มี พ.ร.บ.สุขภาพจิตเมื่อปี 2551 สำหรับดูแลผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งครอบคลุมถึงการดูแลผู้ป่วยจิตเภทและคนวิกลจริตที่เพิ่มมากขึ้น หากพบเห็นผู้ที่มีอาการทางจิตที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสาธารณะ สามารถแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ให้นำส่งโรงพยาบาลได้ทันที เพื่อให้โรงพยาบาลรักษาตามขั้นตอนต่อไป โดยไม่ต้องกลัวความผิดจากญาติของผู้นั้นจะมาฟ้องร้อง แต่ต้องสังเกตว่าคนๆนั้นเป็นเพียงคนเร่ร่อนที่แค่เนื้อตัวสกปรก หรือเป็นคนวิกลจริต เพราะส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นเพียงคนเร่ร่อน ซึ่งจะมีพ.ร.บ.ขอทาน เป็นกฎหมายควบคุมดูแล ภายใต้การกำกับของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์”อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวปิดท้าย ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/news/pr-center/detail-news.php?id=25540

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...