ดูแลเด็กออทิสติก
โรคออทิสติกเป็นหนึ่งในความบกพร่องทางสมองที่พบมากที่สุดในปัจจุบัน เราจะมาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น
การดูแลเด็กออทิสติก - โรคออทิสติก คือความบกพร่องทางพัฒนาการด้านการสื่อสารและอารมณ์ มักมาพร้อมอาการร่างกายแข็งเกร็งเป็นระยะ ๆ โรคออทิสติกมีสองประเภท – แบบถดถอยและไม่ถดถอย โรคออทิสติก ที่เริ่มเป็นในเด็กอายุตั้งแต่ 18 เดือนเป็นต้นไปคือแบบถดถอย เด็กจะเริ่มสูญเสียพัฒนาการด้านภาษาและอื่น ๆ ในขณะที่แบบไม่ถดถอยจะเกิดขึ้นกับเด็กตั้งแต่แรกเกิด
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นออทิสติก? - การวินัจฉัยอาการออทิสติกจะทำได้ยากกว่าในเด็กที่เกิดมาพร้อมภาวะดาวน์ซินโดรม เด็กที่เป็นออทิสติกจะมีพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมช้า ถ้าคุณไม่สามารถระบุอาการออทิสติกในเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมได้ ลองสังเกตว่าเขามีอาการต่อไปนี้หรือไม่ ปลีกวิเวก – ปกติเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมมักชอบถูกกอดหรือชอบกอดผู้อื่น แต่เด็กที่เป็นออทิสติกมักชอบอยู่ตัวคนเดียว และเห็นคนเป็นเหมือนสิ่งของ ยึดกิจวัตร – การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เด็กออทิสติกอาละวาดรุนแรงได้ เด็กที่เป็นโรคนี้จะชอบให้ทุกอย่างคงสภาพเดิมอยู่เสมอ ไม่สบตา – เด็กออทิสติกจะไม่สบตา แต่จะ “มองทะลุ” ผ่านคนไปเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ – เด็กออทิสติกสามารถนั่งเฉย ๆ จ้อง หรือโบกสิ่งของไปมาได้หลายชั่วโมงติดต่อกัน
ในฐานะพ่อแม่ ฉันควรดูแลเขาอย่างไร? - เด็กออทิสติกมักแสดงอารมณ์รุนแรง คุณแม่ของน้องเอ (สงวนชื่อจริงเพื่อความเป็นส่วนตัว) เด็กชายวัย 5 ขวบที่เป็นออทิสติกแบบอ่อน ๆ เล่าให้เราฟังว่า “แม้จะเป็นออทิสติกแบบอ่อน ๆ แต่เขาก็อ่อนไหวมาก และมักร้องไห้แบบไม่มีสาเหตุเสมอ เขาไปสถานรับเลี้ยงเด็กปกติ แต่เวลาเขาร้องไห้ขึ้นมา เขาจะต้องถูกแยกไปอยู่คนเดียวจนกว่าอารมณ์จะเย็นลง บางครั้งเขาก็นั่งจ้องอากาศอยู่เป็นชั่วโมง ๆ” อาการของน้องเอถือเป็นเรื่องปกติ เด็กที่เป็นออทิสติกอาจเป็นลมชักได้เป็นครั้งคราว อาจเป็นลมชักเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เมื่อเด็กกำลังชัก อย่าพยายามเคลื่อนย้ายเด็ก นอกจากเขากำลังจะตกบันได หรือได้รับอันตรายอื่น ๆ พยายามจับเขาให้นอนตะแคงเบา ๆ และคลายเสื้อผ้าช่วงคอให้หลวม
การให้ของเล่นหรือของขวัญแก่เด็กที่เป็นออทิสติกไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก คุณแม่ของน้องมายด์ (สงวนชื่อจริงเพื่อความเป็นส่วนตัว) จำได้ว่าตอนที่น้องมายด์อายุ 5 ขวบ เธอจะนั่งนิ่ง ๆ จ้องแจกันที่อยู่ในห้อง ในขณะที่ลูกพี่ลูกน้องของเธอแกะของขวัญปีใหม่กันอย่างสนุกสนาน “เธอไม่เคยแตะของขวัญเลย แม้ว่าเราจะแกะมันให้เธอ สำหรับเธอ ของขวัญก็เป็นแค่สิ่งของ เหมือนของอื่น ๆ ที่อยู่ในห้อง” แทนที่จะให้ของเล่น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าคุณควรจะอาบน้ำให้ลูกด้วยความรักและความเอาใจใส่จะดี กว่า เพราะนั่นคือสิ่งที่เด็กมักได้รับจากพ่อแม่ไม่เพียงพอ
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่รักษา? - ถ้าไม่รักษาอาการออทิสติก ทักษะด้านภาษาและสังคมของเด็กจะพัฒนาได้ไม่เต็มที่ แทบจะไม่มีเด็กออทิสติกคนไหนสามารถหายจากอาการได้เองโดยไม่รักษา
มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง? - ไม่มียาที่สามารถรักษาโรคออทิสติกให้หายขาด แต่มีหลายวิธีที่จะช่วยทำให้อาการดีขึ้น ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคนแตกต่างกันไป เรามีวิธีที่นิยมใช้และได้ผลดีมาแนะนำ
กิจกรรมปรับพฤติกรรม – กิจกรรมที่เน้นการเสริมทักษะ ตามความต้องการและความสนใจของผู้ปกครอง ภายใต้การดูแลของนักบำบัดและผู้เชี่ยวชาญ
บำบัดการสื่อสาร – เด็กออทิสติกที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยคำพูด จำต้องเข้ารับการบำบัดเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษา
เปลี่ยนอาหาร – บางครั้งการปรับอาหารก็ทำให้ระบบการย่อยดีขึ้น ลดอาการแพ้ และช่วยลดปัญหาด้านพฤติกรรมต่าง ๆ (ที่เกิดจากอาการแพ้เหล่านี้) ได้
เด็กออทิสติกอาจดูคล้ายหรือแตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป ขึ้นอยู่กับว่าคุณมองและปฏิบัติกับเขาอย่างไร ไม่ว่าคุณจะปฏิเสธหรือทิ้งเขาไว้ที่โรงเรียนพิเศษนานแค่ไหน สุดท้ายแล้วเขาก็คือลูกของคุณ และไม่มีอะไรจะเปลี่ยนความจริงนี้ได้ เราให้กำลังใจทุกคนที่กำลังพยายามดูแลลูกอย่างดีที่สุดค่ะ….โดย theAsianparent Thailand Editor
ขอบคุณ... http://th.theasianparent.com/ดูแลเด็กออทิสติก/# (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพวาดการ์ตูน รูปหัวใจมนุษย์ โรคออทิสติกเป็นหนึ่งในความบกพร่องทางสมองที่พบมากที่สุดในปัจจุบัน เราจะมาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น การดูแลเด็กออทิสติก - โรคออทิสติก คือความบกพร่องทางพัฒนาการด้านการสื่อสารและอารมณ์ มักมาพร้อมอาการร่างกายแข็งเกร็งเป็นระยะ ๆ โรคออทิสติกมีสองประเภท – แบบถดถอยและไม่ถดถอย โรคออทิสติก ที่เริ่มเป็นในเด็กอายุตั้งแต่ 18 เดือนเป็นต้นไปคือแบบถดถอย เด็กจะเริ่มสูญเสียพัฒนาการด้านภาษาและอื่น ๆ ในขณะที่แบบไม่ถดถอยจะเกิดขึ้นกับเด็กตั้งแต่แรกเกิด จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นออทิสติก? - การวินัจฉัยอาการออทิสติกจะทำได้ยากกว่าในเด็กที่เกิดมาพร้อมภาวะดาวน์ซินโดรม เด็กที่เป็นออทิสติกจะมีพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมช้า ถ้าคุณไม่สามารถระบุอาการออทิสติกในเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมได้ ลองสังเกตว่าเขามีอาการต่อไปนี้หรือไม่ ปลีกวิเวก – ปกติเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมมักชอบถูกกอดหรือชอบกอดผู้อื่น แต่เด็กที่เป็นออทิสติกมักชอบอยู่ตัวคนเดียว และเห็นคนเป็นเหมือนสิ่งของ ยึดกิจวัตร – การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เด็กออทิสติกอาละวาดรุนแรงได้ เด็กที่เป็นโรคนี้จะชอบให้ทุกอย่างคงสภาพเดิมอยู่เสมอ ไม่สบตา – เด็กออทิสติกจะไม่สบตา แต่จะ “มองทะลุ” ผ่านคนไปเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ – เด็กออทิสติกสามารถนั่งเฉย ๆ จ้อง หรือโบกสิ่งของไปมาได้หลายชั่วโมงติดต่อกัน ในฐานะพ่อแม่ ฉันควรดูแลเขาอย่างไร? - เด็กออทิสติกมักแสดงอารมณ์รุนแรง คุณแม่ของน้องเอ (สงวนชื่อจริงเพื่อความเป็นส่วนตัว) เด็กชายวัย 5 ขวบที่เป็นออทิสติกแบบอ่อน ๆ เล่าให้เราฟังว่า “แม้จะเป็นออทิสติกแบบอ่อน ๆ แต่เขาก็อ่อนไหวมาก และมักร้องไห้แบบไม่มีสาเหตุเสมอ เขาไปสถานรับเลี้ยงเด็กปกติ แต่เวลาเขาร้องไห้ขึ้นมา เขาจะต้องถูกแยกไปอยู่คนเดียวจนกว่าอารมณ์จะเย็นลง บางครั้งเขาก็นั่งจ้องอากาศอยู่เป็นชั่วโมง ๆ” อาการของน้องเอถือเป็นเรื่องปกติ เด็กที่เป็นออทิสติกอาจเป็นลมชักได้เป็นครั้งคราว อาจเป็นลมชักเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เมื่อเด็กกำลังชัก อย่าพยายามเคลื่อนย้ายเด็ก นอกจากเขากำลังจะตกบันได หรือได้รับอันตรายอื่น ๆ พยายามจับเขาให้นอนตะแคงเบา ๆ และคลายเสื้อผ้าช่วงคอให้หลวม การให้ของเล่นหรือของขวัญแก่เด็กที่เป็นออทิสติกไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก คุณแม่ของน้องมายด์ (สงวนชื่อจริงเพื่อความเป็นส่วนตัว) จำได้ว่าตอนที่น้องมายด์อายุ 5 ขวบ เธอจะนั่งนิ่ง ๆ จ้องแจกันที่อยู่ในห้อง ในขณะที่ลูกพี่ลูกน้องของเธอแกะของขวัญปีใหม่กันอย่างสนุกสนาน “เธอไม่เคยแตะของขวัญเลย แม้ว่าเราจะแกะมันให้เธอ สำหรับเธอ ของขวัญก็เป็นแค่สิ่งของ เหมือนของอื่น ๆ ที่อยู่ในห้อง” แทนที่จะให้ของเล่น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าคุณควรจะอาบน้ำให้ลูกด้วยความรักและความเอาใจใส่จะดี กว่า เพราะนั่นคือสิ่งที่เด็กมักได้รับจากพ่อแม่ไม่เพียงพอ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่รักษา? - ถ้าไม่รักษาอาการออทิสติก ทักษะด้านภาษาและสังคมของเด็กจะพัฒนาได้ไม่เต็มที่ แทบจะไม่มีเด็กออทิสติกคนไหนสามารถหายจากอาการได้เองโดยไม่รักษา มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง? - ไม่มียาที่สามารถรักษาโรคออทิสติกให้หายขาด แต่มีหลายวิธีที่จะช่วยทำให้อาการดีขึ้น ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคนแตกต่างกันไป เรามีวิธีที่นิยมใช้และได้ผลดีมาแนะนำ กิจกรรมปรับพฤติกรรม – กิจกรรมที่เน้นการเสริมทักษะ ตามความต้องการและความสนใจของผู้ปกครอง ภายใต้การดูแลของนักบำบัดและผู้เชี่ยวชาญ บำบัดการสื่อสาร – เด็กออทิสติกที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยคำพูด จำต้องเข้ารับการบำบัดเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษา เปลี่ยนอาหาร – บางครั้งการปรับอาหารก็ทำให้ระบบการย่อยดีขึ้น ลดอาการแพ้ และช่วยลดปัญหาด้านพฤติกรรมต่าง ๆ (ที่เกิดจากอาการแพ้เหล่านี้) ได้ เด็กออทิสติกอาจดูคล้ายหรือแตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป ขึ้นอยู่กับว่าคุณมองและปฏิบัติกับเขาอย่างไร ไม่ว่าคุณจะปฏิเสธหรือทิ้งเขาไว้ที่โรงเรียนพิเศษนานแค่ไหน สุดท้ายแล้วเขาก็คือลูกของคุณ และไม่มีอะไรจะเปลี่ยนความจริงนี้ได้ เราให้กำลังใจทุกคนที่กำลังพยายามดูแลลูกอย่างดีที่สุดค่ะ….โดย theAsianparent Thailand Editor ขอบคุณ... http://th.theasianparent.com/ดูแลเด็กออทิสติก/#
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)