รวมสารพันโรคผู้สูงวัย

แสดงความคิดเห็น

แพทย์หญิงพัณณิดา วัฒนพนม

วัยสูงอายุ หรือวัยชราส่วนใหญ่นั้นมักพบเจอกับปัญหาทางสุขภาพได้มากกว่าวัยอื่นๆ เพราะร่างกายได้ถูกใช้งานมานานทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายนั้นมีความเสื่อมสภาพตามไปด้วย

วันที่ 13 เมษายนของทุกปี นอกจากจะถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยหรือวันมหาสงกรานต์แล้ว ยังเป็นวันสำคัญอีกวันคือ “วันผู้สูงอายุ” ด้วย ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ต้องหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับผู้สูงวัยกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ ซึ่งในวัยนี้จะต้องระมัดระวังและใส่ใจดูแลมากกว่าวัยอื่นๆ เพราะยิ่งอายุเยอะก็มักจะเจอปัญหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เยอะไปตามอายุด้วยเช่นกัน ดังนั้นวันนี้ โรงพยาบาลกรุงเทพจะขอรวบรวมสารพันโรคที่ผู้สูงอายุควรระวังมาฝากกัน

1.โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่ในผู้สูงอายุ โดยข้อที่พบอาการเสื่อมได้มากคือข้อที่รับน้ำหนักตัว เช่นข้อเข่า เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้นมักมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้นด้วย และเริ่มมีโครงสร้างภายในข้อไม่เป็นปกติ จึงเกิดความเปลี่ยนแปลงความผิดปกติภายในข้อ อันประกอบด้วยผิวของข้อเข่า ซึ่งเป็นกระดูกอ่อน เริ่มสึกหรอ ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ การเคลื่อนไหวข้อ มีอาการติดขัด ฝืด หรือเสียงดังคล้ายกระดาษทรายถูกันกระดูกรอบข้อเกิดการปรับตัว โดยสร้างกระดูกงอกขึ้นภายในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง กระดูกบริเวณข้อเข่า และรอบ ๆ ข้อ บางลง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มเดินน้อยลง อาการผิดปกติของผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก ประกอบด้วย อาการปวดอาจร่วมกับการมีข้อเข่าบวม อาการขัดที่ข้อ โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นของข้อ ในขณะเหยียดและงอข้อเข่าจะมีอาการปวด และหรือขัดในข้อมากขึ้น และมีเสียงลั่นในข้อ ซึ่งอธิบายจากการที่ผิวกระดูกภายในข้อเริ่มไม่เรียบและมีกระดูกงอกเกิด ขึ้น อาการปวดที่เกิดในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดการปรับตัวด้วยการไม่เหยียดหรืองอ ข้อเข่าจนสุด เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัด และเคลื่อนไหวไม่เต็มวงของการงอเข่าตามมา เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น หรือ ข้อที่เสื่อมอักเสบนั้นถูกใช้งานมากอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้อาการผิดปกติเหล่านี้ เป็นมากขึ้นได้โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมาพบแพทย์ก็มักจะมาเมื่ออาการต่าง ๆ เกิดขึ้นพอควรแล้ว หรือ ไม่สามารถประกอบภารกิจประจำวันได้เหมือนเดิม ซึ่ง อาการหลัก ๆ ก็คือ อาการปวด,ขัด และหรือบวม ของข้อเข่า หรือในรายที่มีข้อเข่าโก่งอยู่บ้างแล้วก็มักจะมาด้วยเรื่องเข่าผิดรูป หรือทำให้เกิดปัญหาปวดมากขณะเปลี่ยนท่าเช่นจากนั่งเป็นยืน

เมื่อเกิดปัญหาข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีอาการของโรคซึ่งจะสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค ถ้าหากว่าอาการที่เกิดขึ้นน้อย ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถชะลอการเสื่อมของข้อเข่า

นั้น ๆ ได้วิธีการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยชะลอการเสื่อมของข้อเข่านั้น ประกอบด้วยวิธีหลัก ๆ ดังนี้ หลีกเลี่ยงท่างอข้อเข่ามาก ๆ เช่น นั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ และนั่งคุกเข่า หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดหลาย ๆ ชั้น ควบคุมน้ำหนักตัวให้ดี ไม่ให้อ้วน หมั่นขยันบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอยู่เสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา ทานยาแก้ปวดเมื่อจำเป็นหรือทานเป็นครั้งคราว ใช้ไม้เท้าช่วยเมื่อต้องเดินเป็นระยะทางไกล หรือเดินในที่ไม่เรียบ

2. โรคกระดูกพรุน เป็นอีกโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ โรคกระดูกพรุนเกิดจากการลดลงของปริมาณกระดูกในร่างกายร่วมกับมีการเปลี่ยน แปลงโครงสร้างภายในของกระดูก เป็นผลให้ความแข็งแรงของกระดูกโดยรวมลดลง และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้ โดยเฉพาะผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคนี้มากถึง30-40% ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนมาก เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้มวลกระดูกของผู้หญิงในกลุ่มวัยนี้ลดลงถึงร้อยละ 3-5 ต่อปี นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนยังพบได้ในภาวะผู้ป่วยที่ได้ รับการตัดรังไข่ 2 ข้าง ผู้ป่วยที่ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิดเช่นสารสเตียรอยด์หรือยากันชักบางชนิดและการ สูบบุหรี่ก็อีกเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะไม่มีอาการใด ๆ จนกว่าจะมีอาการแสดงซึ่งได้แก่กระดูกหัก ตำแหน่งที่พบบ่อยในโรคกระดูกพรุนได้แก่บริเวณข้อสะโพก,ข้อมือหรือกระดูก สันหลังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้

นอกจากนี้ อาการหลังโกง หรือตัวเตี้ยลงมากกว่า 2 เซนติเมตรนั้นอาจเป็นอาการของโรคกระดูกพรุนที่มีการยุบตัวลงของกระดูกสันหลังจึงเป็นภัยเงียบเพราะคนไข้จะไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้แล้ว โรคกระดูกพรุนวินิจฉัยได้จากการตรวจค่าความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องมือ DEXA นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติอื่น ๆ เช่น การขาดวิตามินดี และสามารถตรวจประเมินอัตราการสร้างและสลายของกระดูกได้ การตรวจเพิ่มเติมนี้เพื่อใช้ในการตัดสินใจวางแผนการรักษาและติดตามผลการ รักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

สำหรับการรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยยาในปัจจุบันมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ยากลุ่มที่ลดอัตราการสลายกระดูก และยากลุ่มที่เสริมสร้างมวลกระดูก ทั้งนี้การการให้ยา แพทย์จำเป็นต้องตรวจคัดกรองผู้ป่วย เพื่อพิจารณาให้ยาตามความจำเป็น จึงแนะนำให้ผู้สูงอายุโดย เฉพาะผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนควรมาตรวจภาวะกระดูกพรุน ผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรเสริมการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว, นม และงาดำ โดยทั่วไปแล้วผู้สูงอายุ ควรได้รับแคลเซียม วันละ 1200 มิลลิกรัมควบคู่กับวิตามินดี 800 ไอยู นอกจากนี้ควรเพิ่มการออกกำลังกายที่เป็นการลงน้ำหนักที่ข้อ เช่นการยกน้ำหนักและการเดิน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และตวรมีการออกกำลังกายกลางแจ้งในเวลาเช้าหรือเย็น เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี

3. โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสำคัญมากโรคหนึ่งในผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาและควบคุมตลอดชีวิต มากกว่าร้อยละ 90 ของโรตความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนโดยปัจจัยเสี่ยงที่ ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การมีความเครียดสูง ,บริโภคอาหารรสเค็มหรือเกลือโซเดียมมาก ในผู้สูงอายุ มีการผนังหลอดเลือดแดงมีการแข็งตัวขึ้นและเสียความยืดหยุ่นอาจจะมีผลให้ ความดันโลหิตในหลอดเลือดสูงขึ้น ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป โดยวัดขณะนั่งพัก 5–10 นาทีที่ไม่ได้สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และได้ค่าสูงตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โรคความดันโลหิตสูงระยะแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการมีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการและ ที่พบได้บ่อย คือ ปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ ปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีความดันสูงรุนแรงอาจมีอาการเหล่านี้ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชา ตามัว อัมพาตหรือเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้นโรคนี้ถ้าไม่ได้รักษาเป็นเวลานานๆก่อให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิด อาการของภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกทำให้เป็นอัมพาต, หัวใจล้มเหลว, การทำงานของไตเสื่อมลง ทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง เป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูง คือการควบคุมให้ต่ำกว่า 140 / 90 มม.ปรอท และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือไตเรื้อรัง ควรคุมให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท แนวทางการรักษา มีดังนี้ เปลี่ยนพฤติกรรมสู่การสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อลดความดันและปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อยความดันจะลดเป็นปกติได้โดยไม่ใช้ยา ได้แก่ เลิกบุหรี่และเหล้า , ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ,ลดอาหารรสจัด (หวาน มัน เค็มจัด) เพิ่มรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลาและดื่มนมไขมันต่ำ,ลดน้ำหนักส่วนเกิน และรู้จักคลายเครียด สำหรับผู้ที่ความดันยังคงสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท หลังจากปรับพฤติกรรมแล้วควรปรึกษาแพทย์ให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ผลดีในการรักษาและควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ เช่นขับเกลือและน้ำออกทางปัสสาวะ ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น ในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้อง ติดตามการรักษา เพื่อประเมินการควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะและเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น

4. โรคมะเร็ง ซึ่งโรงมะเร็งหลายชนิดเป็นโรคที่พบมากขึ้นตามอายุ โรคมะเร็งเกิดจากการที่โรคที่เซลล์หรือเนื้อเยื่อของร่างกายมีการเปลี่ยน แปลงแบ่งตัวแบบกระจายอย่างรวดเร็ว โดยอาจลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงหรือแพร่กระจายไปตามอวัยวะที่สำคัญต่างๆ โรคมะเร็งจะไม่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง โรคมะเร็งบางชนิดอาจจะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก ถ้ามีประวัติครอบครัว ก็อาจจะมีโอกาสโรคสูงกว่าคนทั่วไป สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มะเร็งมีสาเหตุส่งเสริมได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสูบบุหรี่ จะเพิ่มโอกาสการเกิดโรคมะเร็งปอด,มะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ การดื่มสุราเพิ่มโอกาสเกิดโรคตับแข็งซึ่งอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งตับตามมา โรคมะเร็งหลายชนิดสามารถตรวจพบเจอได้ตั้งแต่ระยะ เริ่มต้นทำให้รักษาหายขาดได้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งหลายชนิดจริงมีความสำคัญ ในผู้สูงอายุหลังอายุ 50 ปีขึ้นไปควรมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ โดยการตรวจอุจจาระ หรือส่องกล้องตรวจลำไส้ซึ่งเป็นวิธีการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพใน การประเมินปัญหาในลำไส้ใหญ่ และในผู้หญิงควรมีการตรวจแมมโมแกรมเต้านมซึ่งเป็นการตรวจด้วยรังสีเอ็กซเรย์ (X-Rays) ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อค้นหาความผิดปกติที่เต้านม สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็กเกินกว่าแพทย์จะคลำได้ โดยปกติควรมีการตรวจทุก 1-2 ปี

5. โรคต้อกระจก เกิดจากการขุ่นของเลนส์ตาหรือแก้วตา ซึ่งโดยปกติจะมีลักษณะใสทำหน้าที่รวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาพอดี สำหรับอาการของต้อกระจกส่วนใหญ่ เลนส์แก้วตาจะเริ่มขุ่นมัวจากบริเวณส่วนกลาง ในที่มีแสงน้อย เมื่อม่านตาขยาย แสงสามารถผ่านเข้ามาทางส่วนอื่นของเลนส์แก้วตาได้ อาการของโรคต้อกระจกจะมีสายตาค่อยๆ มัวลงเหมือมีฝ้าหรือหมอกบัง เห็นภาพซ้อน บางรายอาจมีสายตาสั้นขึ้นเรื่อยๆ เปลี่ยนแว่นบ่อยๆ จนประทั้งแว่นตาก็ไม่สามารถช่วยได้ หรือเห็นสีต่างๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม สีจางลงหรือไม่สดใสเท่าที่เคยเห็น บางคนอาจสังหรือเกิดการพร่าเวลาขับรถตอนกลางคืน สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ ในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น เลนส์แก้วตาจะขุ่นเพิ่มขึ้น จึงมีผลให้การมองเห็นลดลง นอกจากนี้การใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ เป็นเวลานานก็สามารถทำให้เกิดต้อกระจกได้ด้วยเช่นกัน ในกรณีที่ปล่อยทิ้งไว้นาน ต้อกระจกอาจสุก และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่น ต้อหิน หรือมีการอักเสบภายในลูกตา ทำให้มีตาแดงและปวดตาอย่างมากต้องรีบลอกต้อกระจกออกทันที ซึ่งหากปล่อยถึงระยะดังกล่าวอาจทำให้เกิดตาบอดได้ การที่ต้อกระจกกลายเป็นต้อหินเพราะต้อกระจกพองตัวไปกดในทางระบายน้ำของลูกตา หรือต้อกระจกละลายตัวแล้วเกิดการอักเสบในลูกตา ในปัจจุบันยังไม่มียารับประทาน หรือยาหยอดชนิดใดที่จัดว่าได้ผลดีในการรักษาต้อกระจก และยังไม่มีเลเซอร์ที่สามารถสลายต้อกระจกได้ การรักษาหลักคือ การลอกหรือผ่าเอาต้อกระจกนั้นออกโดยจักษุแพทย์ ปัจจุบันนิยมผ่าตัดโดยวิธีสลายต้อกระจก โดยใช้เครื่องกำเนิดคลื่นเสียงความถี่สูง หลังจากผ่าเอาต้อกระจกซึ่งขุ่นมัวออกแล้ว จักษุแพทย์ก็จะนำเลนส์แก้วตาสังเคราะห์ใส่แทนตำแหน่งเดิม เพื่อให้ผู้ป่วยมองเห็นได้ชัดขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากเลนส์สังเคราะห์นี้จะใสเหมือนกระจก แก้วตาเทียมนี้ไม่ต้องถอดออกมาล้างหรือเปลี่ยน และสามารถอยู่ได้ไปตลอดชีวิต

6. โรคสมองเสื่อม ตามข้อมูลทางสถิติ พบว่าอยู่ในอัตราสูงถึง 5-8 เปอร์เซนต์ของผู้อายุเกิน 65 ปี และจะมีอัตราการเกิดโรคสูงถึง 20 เปอร์เซนต์ และถ้าอายุเกิน 90 ปีขึ้นไปจะพบถึงครึ่งหนึ่งที่มีภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้นในผู้ป่วยภาวะสมอง เสื่อมจะพบว่ามีปริมาณ หรือจำนวนเซลล์ของสมองที่ทำงานลดลงอย่าง จึงทำให้มีปัญหาด้านความจำ, ความคิด, อารมณ์และบุคลิกภาพของตนผิดไปจากเดิมอย่างมากในผู้สูงอายุ สาเหตุสมองเสื่อมที่พบบ่อยๆ มีสาเหตุ 2 ประการ คือ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพาต ไม่ว่าจะเกิดจากชนิดหลอดเลือดตีบ หรืออุดตัน หรือแตกก็ตาม โรคนี้พบได้ประมาณ 20% โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) เป็นโรคสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด และจะมีอาการเลวลงเรื่อยๆ โดยพบราว 70-80% ของผู้ที่มีสมองเสื่อม โรคนี้จะเป็นสาเหตุทำให้สมองฝ่ออย่างรวดเร็ว และมีปัญหาด้านความจำ, การพูด, ความคิด, การกระทำ, อารมณ์, การดำรงชีพ และบุคลิกภาพผิดไปอย่างชัดเจน ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้แน่นอนว่าเกิดจากสิ่งใด มีหลายคนสันนิษฐานว่าเกิดจากพันธุกรรม, การติดเชื้อ,สารพิษตลอดจนระบบภูมิต้านทาน โดยปรกติแพทย์จะเป็นผู้ให้การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมโดยอาศัยข้อมูลจาก ประวัติ, ระยะเวลาเป็นโรค, อาการ, อาการแสดง, ประวัติครอบครัว. การตรวจร่างกายทางระบบประสาทโดยละเอียด และการสืบค้นหาสาเหตุของโรคดังกล่าว ซึ่งอาจประกอบด้วย การเจาะเลือด, การเอกเรย์, การตรวจคลื่นสมอง, การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง, การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง, การตรวจการไหลเวียนของเลือดสู่สมองและบางครั้งอาจมีการตรวจชิ้นเนื้อสมองโดย การผ่าตัดพิสูจน์ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาตัวยาต่างๆ มากมาย ในการรักษาโรคนี้ แต่ยังไม่พบว่ามียาชนิดใดที่สามารถป้องกันหรือรักษาโรคให้หายขาดได้ การรักษามุ่งเน้นที่การรักษาตามตามอาการแบบประคับ ประคอง เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ญาติผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีความสุข ไม่วุ่นวายหรือเกิดอุบัติเหตุอันตรายต่างๆได้. ในรายที่มีอาการทางอารมณ์รุนแรงเอะอะโวยวายหรือวุ่นวายมากๆ บางครั้งก็จำเป็นต้องให้ยาช่วยระงับจิตใจผู้ป่วย ขนาดยาและระยะเวลาที่ให้จำเป็นต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์ สำหรับการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย,ที่อยู่อาศัย, สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ญาติและผู้ดูแลจำเป็นต้องช่วย

คุณหมอกล่าวทิ้งท้ายว่า วิธีการง่ายๆ ในการดูแลตัวเองสำหรับผู้สูงอายุ คือการพักผ่อนให้เพียงพอ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้อีกทางหนึ่ง….โดย : แพทย์หญิงพัณณิดา วัฒนพนม

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health/20130420/499823/รวมสารพันโรคผู้สูงวัย.html (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 20/04/2556 เวลา 03:42:42 ดูภาพสไลด์โชว์ รวมสารพันโรคผู้สูงวัย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แพทย์หญิงพัณณิดา วัฒนพนม วัยสูงอายุ หรือวัยชราส่วนใหญ่นั้นมักพบเจอกับปัญหาทางสุขภาพได้มากกว่าวัยอื่นๆ เพราะร่างกายได้ถูกใช้งานมานานทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายนั้นมีความเสื่อมสภาพตามไปด้วย วันที่ 13 เมษายนของทุกปี นอกจากจะถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยหรือวันมหาสงกรานต์แล้ว ยังเป็นวันสำคัญอีกวันคือ “วันผู้สูงอายุ” ด้วย ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ต้องหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับผู้สูงวัยกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ ซึ่งในวัยนี้จะต้องระมัดระวังและใส่ใจดูแลมากกว่าวัยอื่นๆ เพราะยิ่งอายุเยอะก็มักจะเจอปัญหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เยอะไปตามอายุด้วยเช่นกัน ดังนั้นวันนี้ โรงพยาบาลกรุงเทพจะขอรวบรวมสารพันโรคที่ผู้สูงอายุควรระวังมาฝากกัน 1.โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่ในผู้สูงอายุ โดยข้อที่พบอาการเสื่อมได้มากคือข้อที่รับน้ำหนักตัว เช่นข้อเข่า เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้นมักมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้นด้วย และเริ่มมีโครงสร้างภายในข้อไม่เป็นปกติ จึงเกิดความเปลี่ยนแปลงความผิดปกติภายในข้อ อันประกอบด้วยผิวของข้อเข่า ซึ่งเป็นกระดูกอ่อน เริ่มสึกหรอ ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ การเคลื่อนไหวข้อ มีอาการติดขัด ฝืด หรือเสียงดังคล้ายกระดาษทรายถูกันกระดูกรอบข้อเกิดการปรับตัว โดยสร้างกระดูกงอกขึ้นภายในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง กระดูกบริเวณข้อเข่า และรอบ ๆ ข้อ บางลง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มเดินน้อยลง อาการผิดปกติของผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก ประกอบด้วย อาการปวดอาจร่วมกับการมีข้อเข่าบวม อาการขัดที่ข้อ โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นของข้อ ในขณะเหยียดและงอข้อเข่าจะมีอาการปวด และหรือขัดในข้อมากขึ้น และมีเสียงลั่นในข้อ ซึ่งอธิบายจากการที่ผิวกระดูกภายในข้อเริ่มไม่เรียบและมีกระดูกงอกเกิด ขึ้น อาการปวดที่เกิดในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดการปรับตัวด้วยการไม่เหยียดหรืองอ ข้อเข่าจนสุด เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัด และเคลื่อนไหวไม่เต็มวงของการงอเข่าตามมา เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น หรือ ข้อที่เสื่อมอักเสบนั้นถูกใช้งานมากอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้อาการผิดปกติเหล่านี้ เป็นมากขึ้นได้โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมาพบแพทย์ก็มักจะมาเมื่ออาการต่าง ๆ เกิดขึ้นพอควรแล้ว หรือ ไม่สามารถประกอบภารกิจประจำวันได้เหมือนเดิม ซึ่ง อาการหลัก ๆ ก็คือ อาการปวด,ขัด และหรือบวม ของข้อเข่า หรือในรายที่มีข้อเข่าโก่งอยู่บ้างแล้วก็มักจะมาด้วยเรื่องเข่าผิดรูป หรือทำให้เกิดปัญหาปวดมากขณะเปลี่ยนท่าเช่นจากนั่งเป็นยืน เมื่อเกิดปัญหาข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีอาการของโรคซึ่งจะสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค ถ้าหากว่าอาการที่เกิดขึ้นน้อย ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถชะลอการเสื่อมของข้อเข่า นั้น ๆ ได้วิธีการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยชะลอการเสื่อมของข้อเข่านั้น ประกอบด้วยวิธีหลัก ๆ ดังนี้ หลีกเลี่ยงท่างอข้อเข่ามาก ๆ เช่น นั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ และนั่งคุกเข่า หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดหลาย ๆ ชั้น ควบคุมน้ำหนักตัวให้ดี ไม่ให้อ้วน หมั่นขยันบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอยู่เสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา ทานยาแก้ปวดเมื่อจำเป็นหรือทานเป็นครั้งคราว ใช้ไม้เท้าช่วยเมื่อต้องเดินเป็นระยะทางไกล หรือเดินในที่ไม่เรียบ 2. โรคกระดูกพรุน เป็นอีกโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ โรคกระดูกพรุนเกิดจากการลดลงของปริมาณกระดูกในร่างกายร่วมกับมีการเปลี่ยน แปลงโครงสร้างภายในของกระดูก เป็นผลให้ความแข็งแรงของกระดูกโดยรวมลดลง และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้ โดยเฉพาะผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคนี้มากถึง30-40% ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนมาก เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้มวลกระดูกของผู้หญิงในกลุ่มวัยนี้ลดลงถึงร้อยละ 3-5 ต่อปี นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนยังพบได้ในภาวะผู้ป่วยที่ได้ รับการตัดรังไข่ 2 ข้าง ผู้ป่วยที่ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิดเช่นสารสเตียรอยด์หรือยากันชักบางชนิดและการ สูบบุหรี่ก็อีกเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะไม่มีอาการใด ๆ จนกว่าจะมีอาการแสดงซึ่งได้แก่กระดูกหัก ตำแหน่งที่พบบ่อยในโรคกระดูกพรุนได้แก่บริเวณข้อสะโพก,ข้อมือหรือกระดูก สันหลังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ นอกจากนี้ อาการหลังโกง หรือตัวเตี้ยลงมากกว่า 2 เซนติเมตรนั้นอาจเป็นอาการของโรคกระดูกพรุนที่มีการยุบตัวลงของกระดูกสันหลังจึงเป็นภัยเงียบเพราะคนไข้จะไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้แล้ว โรคกระดูกพรุนวินิจฉัยได้จากการตรวจค่าความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องมือ DEXA นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติอื่น ๆ เช่น การขาดวิตามินดี และสามารถตรวจประเมินอัตราการสร้างและสลายของกระดูกได้ การตรวจเพิ่มเติมนี้เพื่อใช้ในการตัดสินใจวางแผนการรักษาและติดตามผลการ รักษาอย่างเหมาะสมต่อไป สำหรับการรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยยาในปัจจุบันมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ยากลุ่มที่ลดอัตราการสลายกระดูก และยากลุ่มที่เสริมสร้างมวลกระดูก ทั้งนี้การการให้ยา แพทย์จำเป็นต้องตรวจคัดกรองผู้ป่วย เพื่อพิจารณาให้ยาตามความจำเป็น จึงแนะนำให้ผู้สูงอายุโดย เฉพาะผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนควรมาตรวจภาวะกระดูกพรุน ผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรเสริมการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว, นม และงาดำ โดยทั่วไปแล้วผู้สูงอายุ ควรได้รับแคลเซียม วันละ 1200 มิลลิกรัมควบคู่กับวิตามินดี 800 ไอยู นอกจากนี้ควรเพิ่มการออกกำลังกายที่เป็นการลงน้ำหนักที่ข้อ เช่นการยกน้ำหนักและการเดิน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และตวรมีการออกกำลังกายกลางแจ้งในเวลาเช้าหรือเย็น เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี 3. โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสำคัญมากโรคหนึ่งในผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาและควบคุมตลอดชีวิต มากกว่าร้อยละ 90 ของโรตความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนโดยปัจจัยเสี่ยงที่ ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การมีความเครียดสูง ,บริโภคอาหารรสเค็มหรือเกลือโซเดียมมาก ในผู้สูงอายุ มีการผนังหลอดเลือดแดงมีการแข็งตัวขึ้นและเสียความยืดหยุ่นอาจจะมีผลให้ ความดันโลหิตในหลอดเลือดสูงขึ้น ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป โดยวัดขณะนั่งพัก 5–10 นาทีที่ไม่ได้สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และได้ค่าสูงตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โรคความดันโลหิตสูงระยะแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการมีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการและ ที่พบได้บ่อย คือ ปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ ปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีความดันสูงรุนแรงอาจมีอาการเหล่านี้ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชา ตามัว อัมพาตหรือเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้นโรคนี้ถ้าไม่ได้รักษาเป็นเวลานานๆก่อให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิด อาการของภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกทำให้เป็นอัมพาต, หัวใจล้มเหลว, การทำงานของไตเสื่อมลง ทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง เป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูง คือการควบคุมให้ต่ำกว่า 140 / 90 มม.ปรอท และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือไตเรื้อรัง ควรคุมให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท แนวทางการรักษา มีดังนี้ เปลี่ยนพฤติกรรมสู่การสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อลดความดันและปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อยความดันจะลดเป็นปกติได้โดยไม่ใช้ยา ได้แก่ เลิกบุหรี่และเหล้า , ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ,ลดอาหารรสจัด (หวาน มัน เค็มจัด) เพิ่มรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลาและดื่มนมไขมันต่ำ,ลดน้ำหนักส่วนเกิน และรู้จักคลายเครียด สำหรับผู้ที่ความดันยังคงสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท หลังจากปรับพฤติกรรมแล้วควรปรึกษาแพทย์ให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ผลดีในการรักษาและควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ เช่นขับเกลือและน้ำออกทางปัสสาวะ ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น ในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้อง ติดตามการรักษา เพื่อประเมินการควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะและเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...