เตอร์ติสบำบัดตาขี้เกียจ
โรคตาขี้เกียจ(เลซีอาย)หรือชื่อทางการแพทย์ว่า แอมบลิโอเฟียนั้นส่วนมากจะพบในเด็กและจะพบในเด็ก 1 คน จากทุกๆ 50 คน มีสาเหตุเกิดขึ้นจากพัฒนาการของระบบการมองเห็นของดวงตาข้างหนึ่งไม่เท่ากับอีกข้างหนึ่ง ส่งผลให้การมองเห็นไม่ชัดเจน หากปล่อยไว้และไม่ได้รับการบำบัดรักษาอาจสูญเสียความสามารถในการมองเห็นไปเป็นการถาวร โดยการรักษาอาการตาขี้เกียจนั้น ปกติจะใช้วิธีการบังคับให้ตาข้างที่มีพัฒนาการน้อยได้ใช้งานมากขึ้นด้วยการปิดตาข้างที่เป็นปกติเอาไว้ เพื่อให้ข้างที่มีปัญหาได้ใช้งานและพัฒนาขึ้นมาเป็นปกติ โดยใช้ระยะเวลาบำบัดเป็นเวลานานหลายเดือน อย่างไรก็ตาม ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาค้นพบวิธีบำบัดโรคตาขี้เกียจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้เกมเตอร์ติส เกมคลาสสิกชื่อดังเข้าช่วย
ผลวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ประเทศแคนาดา ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารเคอร์เรนต์ ไบโอโลจี ทดลองกับผู้ป่วยที่เป็นโรคตาขี้เกียจที่เป็นผู้ใหญ่ จำนวน 18 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 9 คน โดยกลุ่มแรกให้ใส่แว่นที่มีจอภาพด้านในแยกส่วนกันระหว่างตาทั้งสองข้าง ข้างหนึ่งจะเห็นภาพชิ้นส่วนกล่องที่เลื่อนลงมาเพียงอย่างเดียว ขณะที่ตาอีกข้างหนึ่งจะเห็นภาพพื้นหลังของเกม เพื่อให้ตาทั้งสองข้างได้ทำงานประสานกัน อาสาสมัครกลุ่มแรกนี้จะทำการทดลองดังกล่าววันละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มที่ 2 จะถูกปิดตาในแบบวิธีการบำบัดรักษาเดิม และใช้ตาข้างที่มีปัญหาเล่นเกมเตอร์ติส
หลังผ่านไป 2 สัปดาห์นักวิทยาศาสตร์พบว่า อาสาสมัครกลุ่มแรกมีพัฒนาการของตาที่มีปัญหามากกว่ากลุ่มที่ใช้วิธีการบำบัดปกติจากนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงให้อาสาสมัครกลุ่มที่ 2 เปลี่ยนมาใช้วิธีการบำบัดแบบกลุ่มแรก และพบว่าการมองเห็นพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ดอกเตอร์โรเบิร์ต เฮสส์ ผู้ร่วมทีมวิจัยในครั้งนี้ระบุว่า การบำบัดแบบดังกล่าวนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ที่อาจมีอัตราการพัฒนาด้านการมองเห็นน้อยกว่าเด็ก และการบำบัดแบบนี้ดีกว่าการปิดตาแบบธรรมดา เนื่องจากมีความเพลิดเพลินมากกว่า เร็วกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่านอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลวิจัยก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าปัญหาตาขี้เกียจนั้นเป็นปัญหาของตาทั้งสองข้างที่ทำงานไม่ประสานกัน
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เกมส์เตอร์ติส บนโทรศัทพ์มือถือ โรคตาขี้เกียจ(เลซีอาย)หรือชื่อทางการแพทย์ว่า แอมบลิโอเฟียนั้นส่วนมากจะพบในเด็กและจะพบในเด็ก 1 คน จากทุกๆ 50 คน มีสาเหตุเกิดขึ้นจากพัฒนาการของระบบการมองเห็นของดวงตาข้างหนึ่งไม่เท่ากับอีกข้างหนึ่ง ส่งผลให้การมองเห็นไม่ชัดเจน หากปล่อยไว้และไม่ได้รับการบำบัดรักษาอาจสูญเสียความสามารถในการมองเห็นไปเป็นการถาวร โดยการรักษาอาการตาขี้เกียจนั้น ปกติจะใช้วิธีการบังคับให้ตาข้างที่มีพัฒนาการน้อยได้ใช้งานมากขึ้นด้วยการปิดตาข้างที่เป็นปกติเอาไว้ เพื่อให้ข้างที่มีปัญหาได้ใช้งานและพัฒนาขึ้นมาเป็นปกติ โดยใช้ระยะเวลาบำบัดเป็นเวลานานหลายเดือน อย่างไรก็ตาม ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาค้นพบวิธีบำบัดโรคตาขี้เกียจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้เกมเตอร์ติส เกมคลาสสิกชื่อดังเข้าช่วย ผลวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ประเทศแคนาดา ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารเคอร์เรนต์ ไบโอโลจี ทดลองกับผู้ป่วยที่เป็นโรคตาขี้เกียจที่เป็นผู้ใหญ่ จำนวน 18 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 9 คน โดยกลุ่มแรกให้ใส่แว่นที่มีจอภาพด้านในแยกส่วนกันระหว่างตาทั้งสองข้าง ข้างหนึ่งจะเห็นภาพชิ้นส่วนกล่องที่เลื่อนลงมาเพียงอย่างเดียว ขณะที่ตาอีกข้างหนึ่งจะเห็นภาพพื้นหลังของเกม เพื่อให้ตาทั้งสองข้างได้ทำงานประสานกัน อาสาสมัครกลุ่มแรกนี้จะทำการทดลองดังกล่าววันละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มที่ 2 จะถูกปิดตาในแบบวิธีการบำบัดรักษาเดิม และใช้ตาข้างที่มีปัญหาเล่นเกมเตอร์ติส หลังผ่านไป 2 สัปดาห์นักวิทยาศาสตร์พบว่า อาสาสมัครกลุ่มแรกมีพัฒนาการของตาที่มีปัญหามากกว่ากลุ่มที่ใช้วิธีการบำบัดปกติจากนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงให้อาสาสมัครกลุ่มที่ 2 เปลี่ยนมาใช้วิธีการบำบัดแบบกลุ่มแรก และพบว่าการมองเห็นพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดอกเตอร์โรเบิร์ต เฮสส์ ผู้ร่วมทีมวิจัยในครั้งนี้ระบุว่า การบำบัดแบบดังกล่าวนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ที่อาจมีอัตราการพัฒนาด้านการมองเห็นน้อยกว่าเด็ก และการบำบัดแบบนี้ดีกว่าการปิดตาแบบธรรมดา เนื่องจากมีความเพลิดเพลินมากกว่า เร็วกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่านอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลวิจัยก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าปัญหาตาขี้เกียจนั้นเป็นปัญหาของตาทั้งสองข้างที่ทำงานไม่ประสานกัน
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)