เตือนพฤติกรรมเสี่ยง โรคหมอนรองกระดูก
"นั่งนาน นั่งหน้าคอมพ์" พฤติกรรมเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ปัจจุบัน คนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น ที่จะป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เพราะอยู่กับการใช้งานคอมพิวเตอร์มากขึ้นกว่าในอดีต โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศและคนที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกวัน วันละนานๆ จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท เนื่องจากระหว่างใช้คอมพิวเตอร์จะมีการเกร็งและใช้งานบริเวณส่วนหลังอย่างไม่ถูกต้องและเคลื่อนไหวไม่เหมาะสมเป็นเวลานานจะส่งผลให้เกิดกระดูกเสื่อมทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูก
ร.พ.พญาไท 1 นำโดย นพ.ธีรศักดิ์ พื้นงาม แพทย์หัวหน้าศูนย์สมองและระบบประสาท พร้อมทีมแพทย์ Mini Spine ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทไว้ว่า โรคนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ โรคหมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท จะมีอาการปวดร้าวจากเอวลงไปที่ขา ขาชาและอ่อนแรง ขาข้างใดข้างหนึ่ง และหมอนรองกระดูกส่วนคอกดทับเส้นประสาท จะปวดต้นคอร้าวไปที่สะบักข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจปวดถึงแขนหรือมือ มืออ่อนแรงจับสิ่งของไม่ถนัด มือและแขนมีอาการชา
หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ และรีบรักษาก่อนอาการลุกลามรุนแรง การรักษาขั้นต้นจะให้ยารับประทานลดอาการบวมและอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณ หมอนรองกระดูกกดทับ รวมทั้งการประคบนวด การจัดกระดูก การยืดตัว และทำกายภาพบำบัด จะช่วยลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานและอาการยังไม่ดีขึ้นควรรับการผ่าตัด
ปัจจุบัน การรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทมีหลายวิธี ส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก และการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากประเทศอเมริกาและประเทศอื่นๆ ด้วยขั้นตอนในการผ่าตัดที่ง่ายและได้ผลดีมากขึ้น ในแง่ของผู้เข้ารับการผ่าตัดจะฟื้นตัวเร็วและกลับมาใช้ชีวิตประจำวันปกติได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เมื่อรักษาแล้วก็มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หากไม่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเรื่องปวดหลัง คือ "การป้องกันไม่ให้เกิด" โดยพยายามจัดท่าทางการทำงานหรือกิจวัตรประจำวันให้ถูกต้อง ให้แนวกระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรงเสมอ และหลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ใช้กล้ามเนื้อหลังมากๆ รวมถึงหมั่นบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงไว้เสมอ เพราะเป็นกล้ามเนื้อที่คอยตรึงแนวกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนไหวมากเกินไป
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พยาบาลกำลังให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับกระดูกและ โรคหมอนรองกระดูก "นั่งนาน นั่งหน้าคอมพ์" พฤติกรรมเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ปัจจุบัน คนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น ที่จะป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เพราะอยู่กับการใช้งานคอมพิวเตอร์มากขึ้นกว่าในอดีต โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศและคนที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกวัน วันละนานๆ จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท เนื่องจากระหว่างใช้คอมพิวเตอร์จะมีการเกร็งและใช้งานบริเวณส่วนหลังอย่างไม่ถูกต้องและเคลื่อนไหวไม่เหมาะสมเป็นเวลานานจะส่งผลให้เกิดกระดูกเสื่อมทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูก ร.พ.พญาไท 1 นำโดย นพ.ธีรศักดิ์ พื้นงาม แพทย์หัวหน้าศูนย์สมองและระบบประสาท พร้อมทีมแพทย์ Mini Spine ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทไว้ว่า โรคนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ โรคหมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท จะมีอาการปวดร้าวจากเอวลงไปที่ขา ขาชาและอ่อนแรง ขาข้างใดข้างหนึ่ง และหมอนรองกระดูกส่วนคอกดทับเส้นประสาท จะปวดต้นคอร้าวไปที่สะบักข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจปวดถึงแขนหรือมือ มืออ่อนแรงจับสิ่งของไม่ถนัด มือและแขนมีอาการชา หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ และรีบรักษาก่อนอาการลุกลามรุนแรง การรักษาขั้นต้นจะให้ยารับประทานลดอาการบวมและอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณ หมอนรองกระดูกกดทับ รวมทั้งการประคบนวด การจัดกระดูก การยืดตัว และทำกายภาพบำบัด จะช่วยลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานและอาการยังไม่ดีขึ้นควรรับการผ่าตัด ปัจจุบัน การรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทมีหลายวิธี ส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก และการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากประเทศอเมริกาและประเทศอื่นๆ ด้วยขั้นตอนในการผ่าตัดที่ง่ายและได้ผลดีมากขึ้น ในแง่ของผู้เข้ารับการผ่าตัดจะฟื้นตัวเร็วและกลับมาใช้ชีวิตประจำวันปกติได้อย่างรวดเร็ว สำหรับโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เมื่อรักษาแล้วก็มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หากไม่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเรื่องปวดหลัง คือ "การป้องกันไม่ให้เกิด" โดยพยายามจัดท่าทางการทำงานหรือกิจวัตรประจำวันให้ถูกต้อง ให้แนวกระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรงเสมอ และหลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ใช้กล้ามเนื้อหลังมากๆ รวมถึงหมั่นบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงไว้เสมอ เพราะเป็นกล้ามเนื้อที่คอยตรึงแนวกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนไหวมากเกินไป ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdOREV3TURVMU5nPT0=§ionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE15MHdOUzB4TUE9PQ==
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)