แนวทางรักษาภาวะต้อหิน - หมอรามาฯไขปัญหาสุขภาพ
ต้อหิน เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ขั้วประสาทตา ซึ่งส่งผลทำให้ลานสายตาแคบลงเรื่อย ๆ จนตาบอดได้ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีการสูญเสียลานสายตารอบนอกก่อน หากไม่ได้รับการรักษา ลานสายตาก็จะถูกทำลายมากขึ้น ทำให้ลานสายตาแคบลง เหลือเฉพาะศูนย์กลางการมองเห็น ผู้ป่วยจึงจะเริ่มรู้สึกถึงการมองเห็นที่ผิดปกติ ซึ่งมักจะเป็นระยะท้าย ๆ ของโรคแล้ว
เนื่องจากพยาธิสภาพของการก่อโรค เป็นการทำลายเซลล์เส้นใยประสาทตา ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ ดังนั้นการรักษาโรคต้อหินจึงทำได้เพียงยับยั้งโรคไม่ให้ลุกลาม หรือก่อความสูญเสียต่อการมองเห็นมากขึ้น แต่ไม่สามารถรักษาให้การมองเห็นที่เสียไปแล้วกลับมาเป็นปกติได้อีก
ชนิดของต้อหินที่พบมีอยู่ 2 ประเภทคือ ต้อหินมุมเปิด และต้อหินมุมปิด ต้อหินมุมเปิด เกิดจากการเสียสมดุลระหว่างการสร้างและการระบายน้ำหล่อเลี้ยง ทำให้มีการระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาได้น้อยเมื่อเทียบกับการสร้างทำให้ความ ดันลูกตาขึ้นสูง อาการมักค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่มีอาการนำหรือรู้สึกถึงความผิดปกติจนกว่าการมองเห็นจะ เสียไปมากแล้ว ต้อหินมุมเปิดมีทั้งแบบชนิดปฐมภูมิ ซึ่งไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบว่าผู้ที่มีสายตาสั้น หรือมีภาวะลูกตายาวจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินชนิดนี้ ส่วนต้อหินมุมเปิดชนิดทุติยภูมินั้น สามารถบอกสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดได้ เช่น โรคต้อหินจากม่านตาอักเสบหรือต้อหินอันมีสาเหตุจากเนื้อเลนส์ตาเป็นต้น
ต้อหินมุมปิด เกิดจากการมีภาวะอะไรก็ตามที่ทำให้มีการปิดกั้นหรือกีดขวางช่องทางระบายออก ของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้มีการคั่งค้างของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตามากขึ้น จนความดันลูกตาขึ้นสูง หากความดันสูงอย่างรวดเร็วจะมีอาการของต้อหินเฉียบพลัน ได้แก่ ปวดตา ตาแดง เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ หรือไม่มีอาการก็ได้หากความดันลูกตาสูงแบบค่อยเป็นค่อยไป ต้อหินมุมปิดก็มีทั้งแบบชนิดปฐมภูมิ ซึ่งไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบว่าผู้ที่มีสายตายาว หรือมีภาวะลูกตาสั้นจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินชนิดนี้ และต้อหินมุมปิดชนิดทุติยภูมิ ที่สามารถบอกสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดได้ เช่น โรคต้อหินจากเนื้อเลนส์บวมหรือต้อหินจากเลนส์เคลื่อนเป็นต้น
แนวทางการรักษาที่สำคัญ ได้แก่ การรักษาด้วยยา โดยใช้ยาหยอดตา ซึ่งมีหลายกลุ่มหลายชนิด ผู้ป่วยจะต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดจึงจะควบคุมความ ดันลูกตาได้ดีตามที่ต้องการ และจำเป็นต้องพบแพทย์เป็นระยะแม้จะควบคุมโรคได้ดีแล้วเพื่อดูว่ายาที่ใช้ยัง มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ ยารับประทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือด สามารถลดความดันลูกตาลงได้อย่างรวดเร็ว แต่มีผลข้างเคียงสูงจึงมักใช้ชั่วคราวในรายที่เป็นต้อหินแบบเฉียบพลัน หรือมีความดันลูกตาสูงมากเพื่อดึงความดันลูกตาให้ลดลงก่อนการรักษาด้วยแสงเลเซอร์หรือการผ่าตัด
การฉายแสงเลเซอร์ เป็นการรักษาที่สำคัญในต้อหินแบบมุมปิด จะช่วยลดหรือทำให้สิ่งกีดขวางมุมตาหมดไป ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาสามารถระบายออกได้ตามปกติ ทำให้ความดันลูกตาลดลง ส่วนต้อหินแบบมุมเปิด จะช่วยเพิ่มระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาออกทางมุมตา แต่ผลมักจะอยู่ได้ชั่วคราว ส่วนการผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่คิดว่าไม่สามารถใช้วิธีการอื่นรักษาได้ดี หรือผู้ป่วยไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยา หรือไม่สามารถหยอดยาหรือติดตามการรักษาตามแพทย์สั่งได้ เป็นการผ่าตัดเพื่อทำช่องทางระบายน้ำออกจากลูกตาใหม่ ทำให้ความดันลูกตาลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการและสามารถควบคุมโรคได้ดีในระยะ ยาว
ผู้ป่วยรายใดที่มีปัจจัยเสริมต่าง ๆ ที่จะทำให้โรคแย่ลงร่วมด้วย เช่นถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จะต้องพยายามควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือผู้ป่วยบางรายที่มีโรคทางตาร่วมด้วย จำเป็นต้องให้การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของต้อหินควบคู่กันไป…โดย อ.นพ.วสุ ศุภกรธนสาร ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/205099 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กำลังหยอดตา ต้อหิน เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ขั้วประสาทตา ซึ่งส่งผลทำให้ลานสายตาแคบลงเรื่อย ๆ จนตาบอดได้ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีการสูญเสียลานสายตารอบนอกก่อน หากไม่ได้รับการรักษา ลานสายตาก็จะถูกทำลายมากขึ้น ทำให้ลานสายตาแคบลง เหลือเฉพาะศูนย์กลางการมองเห็น ผู้ป่วยจึงจะเริ่มรู้สึกถึงการมองเห็นที่ผิดปกติ ซึ่งมักจะเป็นระยะท้าย ๆ ของโรคแล้ว เนื่องจากพยาธิสภาพของการก่อโรค เป็นการทำลายเซลล์เส้นใยประสาทตา ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ ดังนั้นการรักษาโรคต้อหินจึงทำได้เพียงยับยั้งโรคไม่ให้ลุกลาม หรือก่อความสูญเสียต่อการมองเห็นมากขึ้น แต่ไม่สามารถรักษาให้การมองเห็นที่เสียไปแล้วกลับมาเป็นปกติได้อีก ชนิดของต้อหินที่พบมีอยู่ 2 ประเภทคือ ต้อหินมุมเปิด และต้อหินมุมปิด ต้อหินมุมเปิด เกิดจากการเสียสมดุลระหว่างการสร้างและการระบายน้ำหล่อเลี้ยง ทำให้มีการระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาได้น้อยเมื่อเทียบกับการสร้างทำให้ความ ดันลูกตาขึ้นสูง อาการมักค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่มีอาการนำหรือรู้สึกถึงความผิดปกติจนกว่าการมองเห็นจะ เสียไปมากแล้ว ต้อหินมุมเปิดมีทั้งแบบชนิดปฐมภูมิ ซึ่งไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบว่าผู้ที่มีสายตาสั้น หรือมีภาวะลูกตายาวจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินชนิดนี้ ส่วนต้อหินมุมเปิดชนิดทุติยภูมินั้น สามารถบอกสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดได้ เช่น โรคต้อหินจากม่านตาอักเสบหรือต้อหินอันมีสาเหตุจากเนื้อเลนส์ตาเป็นต้น ลักษณะอาการดวงตาของผู้ป่วยเป็นโรคต้อหิน ต้อหินมุมปิด เกิดจากการมีภาวะอะไรก็ตามที่ทำให้มีการปิดกั้นหรือกีดขวางช่องทางระบายออก ของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้มีการคั่งค้างของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตามากขึ้น จนความดันลูกตาขึ้นสูง หากความดันสูงอย่างรวดเร็วจะมีอาการของต้อหินเฉียบพลัน ได้แก่ ปวดตา ตาแดง เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ หรือไม่มีอาการก็ได้หากความดันลูกตาสูงแบบค่อยเป็นค่อยไป ต้อหินมุมปิดก็มีทั้งแบบชนิดปฐมภูมิ ซึ่งไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบว่าผู้ที่มีสายตายาว หรือมีภาวะลูกตาสั้นจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินชนิดนี้ และต้อหินมุมปิดชนิดทุติยภูมิ ที่สามารถบอกสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดได้ เช่น โรคต้อหินจากเนื้อเลนส์บวมหรือต้อหินจากเลนส์เคลื่อนเป็นต้น แนวทางการรักษาที่สำคัญ ได้แก่ การรักษาด้วยยา โดยใช้ยาหยอดตา ซึ่งมีหลายกลุ่มหลายชนิด ผู้ป่วยจะต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดจึงจะควบคุมความ ดันลูกตาได้ดีตามที่ต้องการ และจำเป็นต้องพบแพทย์เป็นระยะแม้จะควบคุมโรคได้ดีแล้วเพื่อดูว่ายาที่ใช้ยัง มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ ยารับประทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือด สามารถลดความดันลูกตาลงได้อย่างรวดเร็ว แต่มีผลข้างเคียงสูงจึงมักใช้ชั่วคราวในรายที่เป็นต้อหินแบบเฉียบพลัน หรือมีความดันลูกตาสูงมากเพื่อดึงความดันลูกตาให้ลดลงก่อนการรักษาด้วยแสงเลเซอร์หรือการผ่าตัด การฉายแสงเลเซอร์ เป็นการรักษาที่สำคัญในต้อหินแบบมุมปิด จะช่วยลดหรือทำให้สิ่งกีดขวางมุมตาหมดไป ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาสามารถระบายออกได้ตามปกติ ทำให้ความดันลูกตาลดลง ส่วนต้อหินแบบมุมเปิด จะช่วยเพิ่มระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาออกทางมุมตา แต่ผลมักจะอยู่ได้ชั่วคราว ส่วนการผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่คิดว่าไม่สามารถใช้วิธีการอื่นรักษาได้ดี หรือผู้ป่วยไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยา หรือไม่สามารถหยอดยาหรือติดตามการรักษาตามแพทย์สั่งได้ เป็นการผ่าตัดเพื่อทำช่องทางระบายน้ำออกจากลูกตาใหม่ ทำให้ความดันลูกตาลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการและสามารถควบคุมโรคได้ดีในระยะ ยาว ผู้ป่วยรายใดที่มีปัจจัยเสริมต่าง ๆ ที่จะทำให้โรคแย่ลงร่วมด้วย เช่นถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จะต้องพยายามควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือผู้ป่วยบางรายที่มีโรคทางตาร่วมด้วย จำเป็นต้องให้การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของต้อหินควบคู่กันไป…โดย อ.นพ.วสุ ศุภกรธนสาร ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/205099
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)