เด็กหาหมอจิตเพิ่มเหตุปมด่ากันผ่านเน็ต แนะวัยโจ๋ปล่อยของพอดีๆ
อึ้ง! เด็กรังแกกันผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กมากขึ้น จิตแพทย์เผยพบมากตามเว็บบอร์ดโรงเรียน ส่งยอดรับคำปรึกษากับสถาบันจิตเวชพุ่ง แนะสอนเด็กใช้สื่อใหม่ให้เป็น ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น และแก้ปัญหาได้ถูกต้องหากถูกรังแก เตือนวัยโจ๋ปล่อยของแบบพอดีๆ หวั่นถูกแชร์มากจนทำให้อับอาย จี้ผู้ปกครองให้กำลังใจ อย่าซ้ำเติมเด็ก
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ขณะนี้พฤติกรรมความรุนแรงหรือการรังแกกันผ่านสังคมออนไลน์ เช่น การโพสต์ หรือการแชร์เพื่อประจานให้เกิดความอับอาย กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น สังเกตได้จากทุกวันนี้มีเด็กและครอบครัวเข้ามาขอรับคำปรึกษากับสถาบันจิตเวช ในสังกัดกรมสุขภาพจิตด้วยเรื่องดังกล่าวสูงขี้น ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีมาก่อน แม้ขณะนี้จะยังไม่มีสถิติที่แน่ชัด แต่พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า การรังแกทางสังคมออนไลน์ที่พบได้บ่อย ส่วนมากจะพบเห็นในเว็บบอร์ดของโรงเรียน ด้วยการนำรูปลักษณ์ของคนอื่นมาโพสต์ประกอบถ้อยคำบางอย่างเพื่อประจาน หรือแพร่คลิปความรุนแรงต่างๆ ซึ่งคนส่งต่อก็มักจะหยิบภาพลักษณ์ทางลบเหล่านี้มาขยายออกไปจนกลายเป็นวงใหญ่ อย่างกรณี "เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่" เป็นต้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเคยมีเด็กมาปรึกษาว่าหลังถูกโพสต์ประจานทำให้กลายเป็นที่รู้จักของคนทั้งโรงเรียน แต่เป็นมุมที่เสียความรู้สึกต่อตัวเองอย่างมาก หลายครั้งหากพ่อแม่มีฐานะก็อาจย้ายโรงเรียนเพื่อหนีปัญหา แต่หากยังอยู่ในสังคมเดิมก็ต้องคิดว่า เด็กจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างไรท่ามกลางความรู้สึกที่แย่แบบนั้น
"สังคมออนไลน์เป็นวิถีชีวิตของเด็ก รุ่นใหม่ไปแล้ว ผู้ใหญ่ต้องทำให้เด็กเรียนรู้ร่วมกันว่าการโพสต์อะไรก็ตามจะละเมิดสิทธิคนอื่นไม่ได้ และหากเป็นฝ่ายถูกละเมิดสิทธิจะมีวิธีป้องกันอย่างไร หรือเมื่อเห็นเพื่อนถูกรังแกก็ไม่ควรเอาสิ่งเหล่านี้ไปขยายต่อเป็นเรื่อง สนุก เพราะผลกระทบที่ตามมาอาจรุนแรงกว่าที่คาดคิด เช่น เด็กที่ตกเป็นเหยื่ออาจแก้ปัญหาแบบผิดๆ ด้วยการหันกลับมาทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายเพราะหาทางออกไม่ได้ หรือหันไปจัดการเพื่อนที่คิดว่าเป็นคนประจานเรา ทั้งที่อาจไม่ได้เป็นคนทำ ซึ่งเคสแบบนี้มีให้เห็นบ่อยครั้งในต่างประเทศ พ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงครูอาจารย์ หรือผู้ดูแลเว็บบอร์ดโรงเรียนควรจะต้องมีทักษะป้องกันความรุนแรงด้วย" รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
พญ.พรรณพิมล กล่าวด้วยว่า สังคมออนไลน์มีทั้งประโยชน์และโทษ โดยประโยชน์คือเด็กสามารถนำมาใช้เพื่อเผยแพร่ผลงานของตัวเองให้เป็นที่ รู้จักได้ แม้แต่ในทางการแพทย์ก็นำมาช่วยเด็กที่ป่วยโรคกลัวการเผชิญหน้ากับสังคม โดยให้ทดลองพูดคุยกับบุคคลอื่นผ่านสังคมออนไลน์ไปก่อน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการพูดคุยกับคนอื่น แล้วจึงให้ออกมาเจอกับบุคคลจริงภายนอก ส่วนในแง่ของโทษนั้นเด็กบางคนอาจจะอยากแสดงหรือเปิดเผยตัวเองอย่างเต็มที่ เช่น "คลิปเสียใจแต่ไม่แคร์" ตรงนี้ต้องมีความระมัดระวัง เพราะอาจถูกผู้อื่นละเมิดสิทธิ ถูกแฮกข้อมูล หรือถูกใช้ประโยชน์ได้ ต้องทำให้เด็กรู้ว่าขอบเขตของความเต็มที่ควรอยู่ที่ประมาณใด เพราะต้องคิดถึงอนาคตในอีก 10-20 ปีข้างหน้าด้วย ซึ่งลูกอาจเห็นพฤติกรรมเก่าๆของเราก็ต้องคิดว่าควรสนุกระดับใดถึงจะดี
"เด็กที่ถูกรังแกส่วนใหญ่จะถูกลดทอน ความเชื่อมั่นลงไป ดังนั้น การเยียวยาจะต้องเรียกความรู้สึกมั่นใจของเด็กกลับคืนมา เช่น หากถูกนำภาพน่าเกลียดมาประจานก็ต้องคิดให้ได้ว่าแม้รูปจะดูแย่ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะแย่ไปทั้งหมด ส่วนผู้ใหญ่รอบข้างเด็กก็ต้องช่วยให้กำลังใจ ไม่ไปซ้ำเติมเด็ก ซึ่งกรณีพ่อแม่ซ้ำเติมเด็กพบได้บ่อยมาก เช่น เตือนแล้วบอกแล้วทำไมไม่ฟัง หาเรื่องใส่ตัวเองจนได้ เป็นต้น อย่างน้อยควรมีใครสักคนหนึ่งที่ปลอบว่าไม่เป็นไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองเมื่อเห็นลูกถูกรังแกหรือคุกคามต้องมีปฏิกิริยาที่เหมาะสมด้วย ไม่ใช่ไปให้ครูป่าวประกาศหาตัวคนผิดหน้าเสาธง ซึ่งจะทำให้ลูกอยู่ในโรงเรียนลำบากยิ่งขึ้น และอาจตกเป็นเหยื่อการรังแกมากกว่าเดิม" รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000060504 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต เด็กชายอัดคลิปวีดีโอของตนเองหน้าคอมพิวเตอร์ อึ้ง! เด็กรังแกกันผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กมากขึ้น จิตแพทย์เผยพบมากตามเว็บบอร์ดโรงเรียน ส่งยอดรับคำปรึกษากับสถาบันจิตเวชพุ่ง แนะสอนเด็กใช้สื่อใหม่ให้เป็น ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น และแก้ปัญหาได้ถูกต้องหากถูกรังแก เตือนวัยโจ๋ปล่อยของแบบพอดีๆ หวั่นถูกแชร์มากจนทำให้อับอาย จี้ผู้ปกครองให้กำลังใจ อย่าซ้ำเติมเด็ก พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ขณะนี้พฤติกรรมความรุนแรงหรือการรังแกกันผ่านสังคมออนไลน์ เช่น การโพสต์ หรือการแชร์เพื่อประจานให้เกิดความอับอาย กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น สังเกตได้จากทุกวันนี้มีเด็กและครอบครัวเข้ามาขอรับคำปรึกษากับสถาบันจิตเวช ในสังกัดกรมสุขภาพจิตด้วยเรื่องดังกล่าวสูงขี้น ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีมาก่อน แม้ขณะนี้จะยังไม่มีสถิติที่แน่ชัด แต่พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า การรังแกทางสังคมออนไลน์ที่พบได้บ่อย ส่วนมากจะพบเห็นในเว็บบอร์ดของโรงเรียน ด้วยการนำรูปลักษณ์ของคนอื่นมาโพสต์ประกอบถ้อยคำบางอย่างเพื่อประจาน หรือแพร่คลิปความรุนแรงต่างๆ ซึ่งคนส่งต่อก็มักจะหยิบภาพลักษณ์ทางลบเหล่านี้มาขยายออกไปจนกลายเป็นวงใหญ่ อย่างกรณี "เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่" เป็นต้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเคยมีเด็กมาปรึกษาว่าหลังถูกโพสต์ประจานทำให้กลายเป็นที่รู้จักของคนทั้งโรงเรียน แต่เป็นมุมที่เสียความรู้สึกต่อตัวเองอย่างมาก หลายครั้งหากพ่อแม่มีฐานะก็อาจย้ายโรงเรียนเพื่อหนีปัญหา แต่หากยังอยู่ในสังคมเดิมก็ต้องคิดว่า เด็กจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างไรท่ามกลางความรู้สึกที่แย่แบบนั้น "สังคมออนไลน์เป็นวิถีชีวิตของเด็ก รุ่นใหม่ไปแล้ว ผู้ใหญ่ต้องทำให้เด็กเรียนรู้ร่วมกันว่าการโพสต์อะไรก็ตามจะละเมิดสิทธิคนอื่นไม่ได้ และหากเป็นฝ่ายถูกละเมิดสิทธิจะมีวิธีป้องกันอย่างไร หรือเมื่อเห็นเพื่อนถูกรังแกก็ไม่ควรเอาสิ่งเหล่านี้ไปขยายต่อเป็นเรื่อง สนุก เพราะผลกระทบที่ตามมาอาจรุนแรงกว่าที่คาดคิด เช่น เด็กที่ตกเป็นเหยื่ออาจแก้ปัญหาแบบผิดๆ ด้วยการหันกลับมาทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายเพราะหาทางออกไม่ได้ หรือหันไปจัดการเพื่อนที่คิดว่าเป็นคนประจานเรา ทั้งที่อาจไม่ได้เป็นคนทำ ซึ่งเคสแบบนี้มีให้เห็นบ่อยครั้งในต่างประเทศ พ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงครูอาจารย์ หรือผู้ดูแลเว็บบอร์ดโรงเรียนควรจะต้องมีทักษะป้องกันความรุนแรงด้วย" รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว พญ.พรรณพิมล กล่าวด้วยว่า สังคมออนไลน์มีทั้งประโยชน์และโทษ โดยประโยชน์คือเด็กสามารถนำมาใช้เพื่อเผยแพร่ผลงานของตัวเองให้เป็นที่ รู้จักได้ แม้แต่ในทางการแพทย์ก็นำมาช่วยเด็กที่ป่วยโรคกลัวการเผชิญหน้ากับสังคม โดยให้ทดลองพูดคุยกับบุคคลอื่นผ่านสังคมออนไลน์ไปก่อน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการพูดคุยกับคนอื่น แล้วจึงให้ออกมาเจอกับบุคคลจริงภายนอก ส่วนในแง่ของโทษนั้นเด็กบางคนอาจจะอยากแสดงหรือเปิดเผยตัวเองอย่างเต็มที่ เช่น "คลิปเสียใจแต่ไม่แคร์" ตรงนี้ต้องมีความระมัดระวัง เพราะอาจถูกผู้อื่นละเมิดสิทธิ ถูกแฮกข้อมูล หรือถูกใช้ประโยชน์ได้ ต้องทำให้เด็กรู้ว่าขอบเขตของความเต็มที่ควรอยู่ที่ประมาณใด เพราะต้องคิดถึงอนาคตในอีก 10-20 ปีข้างหน้าด้วย ซึ่งลูกอาจเห็นพฤติกรรมเก่าๆของเราก็ต้องคิดว่าควรสนุกระดับใดถึงจะดี "เด็กที่ถูกรังแกส่วนใหญ่จะถูกลดทอน ความเชื่อมั่นลงไป ดังนั้น การเยียวยาจะต้องเรียกความรู้สึกมั่นใจของเด็กกลับคืนมา เช่น หากถูกนำภาพน่าเกลียดมาประจานก็ต้องคิดให้ได้ว่าแม้รูปจะดูแย่ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะแย่ไปทั้งหมด ส่วนผู้ใหญ่รอบข้างเด็กก็ต้องช่วยให้กำลังใจ ไม่ไปซ้ำเติมเด็ก ซึ่งกรณีพ่อแม่ซ้ำเติมเด็กพบได้บ่อยมาก เช่น เตือนแล้วบอกแล้วทำไมไม่ฟัง หาเรื่องใส่ตัวเองจนได้ เป็นต้น อย่างน้อยควรมีใครสักคนหนึ่งที่ปลอบว่าไม่เป็นไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองเมื่อเห็นลูกถูกรังแกหรือคุกคามต้องมีปฏิกิริยาที่เหมาะสมด้วย ไม่ใช่ไปให้ครูป่าวประกาศหาตัวคนผิดหน้าเสาธง ซึ่งจะทำให้ลูกอยู่ในโรงเรียนลำบากยิ่งขึ้น และอาจตกเป็นเหยื่อการรังแกมากกว่าเดิม" รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000060504
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)