เด็กดื้อ
คอลัมน์ พบแพทย์จุฬา : เด็กดื้อ คือ เด็กที่ต่อต้าน ไม่เชื้อฟัง ดื้อรั้นฝ่าฝืนคำสั่งและกฎเกณฑ์ เมื่อรุนแรงขึ้นก็อาจแสดงความก้าวร้าว และเมื่อเป็นมากขึ้นในเด็กโตจะแสดงอาการต่อต้านสังคม ซึ่งนำไปสู่การละเมิดสิทธิของผู้อื่นทั้งทางทรัพย์สินและร่างกาย ในที่สุดอาจพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาบุคลิกภาพ
เด็กดื้ออาจมีปัญหาอื่นร่วมด้วย ได้แก่ 1.ความล้มเหลวทางการศึกษา เช่น บกพร่องทางการอ่าน เรียนกว่า Learning Disorder (LD) ซึ่งเป็นปัญหาทางสมองทำให้ไม่พร้อมต่อการเรียน 2.สัมพันธภาพไม่ดีกับผู้อื่น 3.ปัญหาการปรับตัว 4. โรคสมาธิสั้น 5.พ่อแม่คาดหวังมากเกินไป 6.มีสังคมและกลุ่มเพื่อที่มีพฤติกรรมต้านสังคม 7.ภาวะซึมเศร้า
เด็กดื้อเกิดจาก 1.สาเหตุจากตัวเด็กเองที่มีพื้นฐานอารมณ์และรูปแบบของพฤติกรรมอยู่ในกลุ่มเลี้ยงยาก มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาก้าวร้าว 2.สาเหตุจากครัวครัว ได้แก่ ความเจ็บป่วยทางจิตของพ่อแม่ ปัญหาความประพฤติของพ่อแม่ วิธีการเลี้ยงดูบุตรที่มีความขัดแย้งระหว่างพ่อ แม่ ความเกลียดชัง ขาดความรักความอบอุ่น รูปแบบของปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่และลูก การถูกล่วงเกินทางเพศ 3.สาเหตุจากสังคมรอบตัว เช่น โรงเรียน ชุมชนแออัด
ในการช่วยเหลือนั้นควรเน้นทั้งที่ตัวเด็กและครอบครัว ขณะที่การวางแผนป้องกันในชุมชนส่วนรวมก็มีความสำคัญมาก สำหรับการช่วยเหลือที่เน้นที่ตัวเด็ก ได้แก่ 1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือพฤติกรรมบำบัด เน้นการให้รางวัลการทำพฤติกรรมดี ไม่ใช่ทำโทษ 2.การฝึกพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการเข้าสังคม 3.ถ้าสงสัยเป็นโรคสมาธิสั้น หรือปัญหาทางสุขภาพจิตอื่นๆ ควรพาพบจิตแพทย์เพื่อรักษาส่วนการช่วยเหลือเน้นที่ครอบครัว ได้แก่ 1.การให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวและความช่วยเหลือทางสังคม 2.ครอบครัวบำบัด เช่น การกำหนดขอบเขตระหว่างบุคคลของเด็กและผู้ปกครองอย่างชัดเจน การปรับปรุงบรรยากาศและการใช้อารมณ์ในครอบครัว ให้เด็กรู้สึกอยู่แล้วมีความสุข
3.การฝึกอบรมผู้ปกครอง ฝึกให้พ่อแม่ ผู้ปกครองให้ความสนใจกับพฤติกรรมดีที่ต้องการมากว่าคิดหมกมุ่นอยู่กับเรื่องไม่ดีของเด็ก เอาแต่บ่น ตำหนิ และทำโทษ ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กมีความสัมพันธ์ดีต่อกัน : ผศ.นพ.ณัทร พิทยรัตน์เสถียร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ รพ.จุฬาลงกรณ์
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คอลัมน์ พบแพทย์จุฬา : เด็กดื้อ คือ เด็กที่ต่อต้าน ไม่เชื้อฟัง ดื้อรั้นฝ่าฝืนคำสั่งและกฎเกณฑ์ เมื่อรุนแรงขึ้นก็อาจแสดงความก้าวร้าว และเมื่อเป็นมากขึ้นในเด็กโตจะแสดงอาการต่อต้านสังคม ซึ่งนำไปสู่การละเมิดสิทธิของผู้อื่นทั้งทางทรัพย์สินและร่างกาย ในที่สุดอาจพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาบุคลิกภาพ เด็กดื้ออาจมีปัญหาอื่นร่วมด้วย ได้แก่ 1.ความล้มเหลวทางการศึกษา เช่น บกพร่องทางการอ่าน เรียนกว่า Learning Disorder (LD) ซึ่งเป็นปัญหาทางสมองทำให้ไม่พร้อมต่อการเรียน 2.สัมพันธภาพไม่ดีกับผู้อื่น 3.ปัญหาการปรับตัว 4. โรคสมาธิสั้น 5.พ่อแม่คาดหวังมากเกินไป 6.มีสังคมและกลุ่มเพื่อที่มีพฤติกรรมต้านสังคม 7.ภาวะซึมเศร้า เด็กดื้อเกิดจาก 1.สาเหตุจากตัวเด็กเองที่มีพื้นฐานอารมณ์และรูปแบบของพฤติกรรมอยู่ในกลุ่มเลี้ยงยาก มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาก้าวร้าว 2.สาเหตุจากครัวครัว ได้แก่ ความเจ็บป่วยทางจิตของพ่อแม่ ปัญหาความประพฤติของพ่อแม่ วิธีการเลี้ยงดูบุตรที่มีความขัดแย้งระหว่างพ่อ แม่ ความเกลียดชัง ขาดความรักความอบอุ่น รูปแบบของปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่และลูก การถูกล่วงเกินทางเพศ 3.สาเหตุจากสังคมรอบตัว เช่น โรงเรียน ชุมชนแออัด ในการช่วยเหลือนั้นควรเน้นทั้งที่ตัวเด็กและครอบครัว ขณะที่การวางแผนป้องกันในชุมชนส่วนรวมก็มีความสำคัญมาก สำหรับการช่วยเหลือที่เน้นที่ตัวเด็ก ได้แก่ 1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือพฤติกรรมบำบัด เน้นการให้รางวัลการทำพฤติกรรมดี ไม่ใช่ทำโทษ 2.การฝึกพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการเข้าสังคม 3.ถ้าสงสัยเป็นโรคสมาธิสั้น หรือปัญหาทางสุขภาพจิตอื่นๆ ควรพาพบจิตแพทย์เพื่อรักษาส่วนการช่วยเหลือเน้นที่ครอบครัว ได้แก่ 1.การให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวและความช่วยเหลือทางสังคม 2.ครอบครัวบำบัด เช่น การกำหนดขอบเขตระหว่างบุคคลของเด็กและผู้ปกครองอย่างชัดเจน การปรับปรุงบรรยากาศและการใช้อารมณ์ในครอบครัว ให้เด็กรู้สึกอยู่แล้วมีความสุข 3.การฝึกอบรมผู้ปกครอง ฝึกให้พ่อแม่ ผู้ปกครองให้ความสนใจกับพฤติกรรมดีที่ต้องการมากว่าคิดหมกมุ่นอยู่กับเรื่องไม่ดีของเด็ก เอาแต่บ่น ตำหนิ และทำโทษ ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กมีความสัมพันธ์ดีต่อกัน : ผศ.นพ.ณัทร พิทยรัตน์เสถียร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ รพ.จุฬาลงกรณ์
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)