ไม่กินอาหารเช้าเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

แสดงความคิดเห็น

อาหารเช้าแบบ เบรคฟัส

กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขเผยไม่กินอาหารเช้าอาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน พบพฤติกรรมการกินอาหารเช้าของกลุ่มวัยทำงาน ร้อยละ 59.55กินอาหารเช้าเป็นประจำ และร้อยละ 24.09 กินอาหารเช้าเกือบทุกวันในขณะที่เด็กวัยเรียนไม่กินอาหารเช้า ร้อยละ 30โดยเฉพาะเด็กนักเรียนหญิงไม่กินอาหารเช้าถึงร้อยละ52

นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่าจากผลสำรวจพฤติกรรมการกินอาหารเช้าโดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัยในปี 2555จำนวน 220 ตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 88.2 เป็นกลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 20 -60 ปี ซึ่งกินอาหารเช้าเป็นประจำ ร้อยละ 59.55 กินอาหารเช้าเกือบทุกวันร้อยละ 24.09 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่าเพศชายกินอาหารเช้าทุกวันมากกว่าเพศหญิง คือ ร้อยละ 64ในขณะที่เพศหญิงร้อยละ 57.24 และส่วนใหญ่กินข้าวเป็นอาหารเช้าเป็นประจำร้อยละ 50.45 และดื่มชากาแฟแทนข้าวร้อยละ25รองลงมาคือนมจืดพร่องมันเนยร้อยละ13.64

สาเหตุส่วนหนึ่งที่กลุ่มวัยทำงานไม่ได้รับประทานอาหารเช้า คือการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบส่งผลให้การเริ่มต้นระบบเผาผลาญของร่างกายช้าลง ร่างกายจึงรู้สึกหิวตลอดเวลา และกินอาหารในมื้อถัดไปมากยิ่งขึ้นกินจุบกินจิบและมักเลือกเมนูอาหารที่ให้พลังงานสูงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ การอดอาหารเช้ายังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานเนื่องจากคนที่รับประทานอาหาร เช้าเป็นประจำจะลดภาวะผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลินหรือภาวะดื้อของอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานได้ถึง ร้อยละ 35 -50 และผลการวิจัยจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจในอเมริกายังพบว่าการรับประทานอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจอีกด้วย

นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า สำหรับพฤติกรรมการกินอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน พบว่า เด็กอายุ 6 - 11 ปีร้อยละ 30 ไม่กินอาหารเช้าและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้นโดยเฉพาะ เด็กนักเรียนหญิง อายุ 12 - 14 ปี ไม่กินอาหารเช้า ถึงร้อยละ 52ผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญกับอาหารเช้าโดยเฉพาะในช่วงเปิดเทอมหากเด็กวัยเรียนไม่รับประทานอาหารเช้าจะส่งผลเสียต่อการเรียนและสุขภาพเพราะร่างกาย จะทำงานเพื่อเผาผลาญตลอดเวลาแม้ในขณะหลับและเมื่อไม่ได้ทานอาหารเช้าทำให้ ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารจะส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ร่างกายอ่อนเพลีย หงุดหงิด อารมณ์เสีย อาจถึงขั้นหน้ามืดเป็นลมเพราะสมองได้รับน้ำตาลกลูโคสไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ยิ่งมีอาการในช่วงเวลาเรียน จะทำให้เด็กไม่มีสมาธิเรียนอาจเป็นโรคกระเพาะจนถึงขั้นต้องพักการเรียนได้

นายแพทย์เจษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า อาหารเช้าเป็นมื้อที่มีประโยชน์ต่อทุกเพศทุกวัยซึ่งอาหารเช้าที่เหมาะสม สำหรับทุกกลุ่มวัยควรให้พลังงานประมาณ 400 - 450กิโลแคลอรี โดยเลือกอาหารเช้าให้มีความหลากหลาย ปรุงสุก สด ใหม่เสมอหลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปเพราะมีสารอาหารที่มีประโยชน์น้อยและมี โซเดียมสูง แต่สามารถเลือกซื้ออาหารปรุงสำเร็จที่มีขายทั่วไปได้เช่น ข้าวต้มหมู ไก่ ข้าวผัดหมูใส่ไข่ ข้าวไข่เจียว บะหมี่ผัด ข้าวหมูทอดและเพิ่มผักสด ผลไม้สดเพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับการเตรียมอาหารเช้าให้เด็กวัยเรียน ต้องเป็นเมนูที่ถูกหลักโภชนาการมีโปรตีนสูง และเตรียมง่าย เช่นข้าวต้มเครื่อง โจ๊ก ข้าวผัดอาหารประเภทซีเรียลผสมนมรสจืด ขนมปังแซนวิสสำหรับข้าวเหนียวหมูปิ้งซึ่งเป็นเมนูอาหารเช้าที่หาซื้อได้ง่าย ต้องเลือกเป็นหมูปิ้งไม้ที่ไม่ติดมัน ไม่ไหม้เกรียมจนเกินไปและควรเพิ่มผักสดเพื่อเป็นการฝึกให้เด็กกินผักด้วยควร ใช้ผักที่ไม่มีกลิ่นฉุน และรสขม เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักบุ้งแครอท หรือหั่นผักให้เป็นชิ้นเล็กเพื่อเพิ่มสีสันในเมนูอาหารที่สำคัญควรเตรียมนม รสจืด 1 กล่อง และผลไม้ประมาณ 1 ผล เช่น ส้ม แอปเปิ้ลชมพู่ เพื่อให้เด็กได้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมและครบถ้วน

"ทั้งนี้ หลักโภชนาการที่ถูกต้องควรกินอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อโดยเฉพาะมื้อเช้าซึ่งถือเป็นมื้อที่สำคัญมากหากไม่มีเวลาเตรียมอาหาร เช้าเองก็ควรจะเพิ่มเวลาซัก 10 - 20 นาทีเพื่อออกไปเลือกเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสมนอกบ้านเพราะทุกวัยโดยเฉพาะเด็ก วัยเรียนเป็นวัยที่ต้องการพลังงานสารอาหารที่ครบถ้วน และหลากหลายให้เพียงพอต่อร่างกายควรหลีกเลี่ยงน้ำอัดลม ขมหวาน ขนมขบเขี้ยวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนของเด็กไทยพร้อมทั้งควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8-12 ชั่วโมงเพราะการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้สมองปลอดโปร่งทำให้สมองสามารถเรียนรู้ จดจำ มีสมาธิพร้อมเริ่มวันใหม่ตลอดจนทำกิจกรรมการเรียนรู้กันเพื่อนได้อย่างดีควบคู่กับสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย" อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

ขอบคุณ... http://fic.ifrpd.ku.ac.th/fic/index.php/th/food-news-by-category-menu/200-breakfast-27-05-2013.html

ที่มา: ศูนย์สารนิเทศทางอาหาร/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 1/06/2556 เวลา 03:07:14 ดูภาพสไลด์โชว์ ไม่กินอาหารเช้าเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

อาหารเช้าแบบ เบรคฟัส กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขเผยไม่กินอาหารเช้าอาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน พบพฤติกรรมการกินอาหารเช้าของกลุ่มวัยทำงาน ร้อยละ 59.55กินอาหารเช้าเป็นประจำ และร้อยละ 24.09 กินอาหารเช้าเกือบทุกวันในขณะที่เด็กวัยเรียนไม่กินอาหารเช้า ร้อยละ 30โดยเฉพาะเด็กนักเรียนหญิงไม่กินอาหารเช้าถึงร้อยละ52 นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่าจากผลสำรวจพฤติกรรมการกินอาหารเช้าโดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัยในปี 2555จำนวน 220 ตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 88.2 เป็นกลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 20 -60 ปี ซึ่งกินอาหารเช้าเป็นประจำ ร้อยละ 59.55 กินอาหารเช้าเกือบทุกวันร้อยละ 24.09 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่าเพศชายกินอาหารเช้าทุกวันมากกว่าเพศหญิง คือ ร้อยละ 64ในขณะที่เพศหญิงร้อยละ 57.24 และส่วนใหญ่กินข้าวเป็นอาหารเช้าเป็นประจำร้อยละ 50.45 และดื่มชากาแฟแทนข้าวร้อยละ25รองลงมาคือนมจืดพร่องมันเนยร้อยละ13.64 สาเหตุส่วนหนึ่งที่กลุ่มวัยทำงานไม่ได้รับประทานอาหารเช้า คือการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบส่งผลให้การเริ่มต้นระบบเผาผลาญของร่างกายช้าลง ร่างกายจึงรู้สึกหิวตลอดเวลา และกินอาหารในมื้อถัดไปมากยิ่งขึ้นกินจุบกินจิบและมักเลือกเมนูอาหารที่ให้พลังงานสูงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การอดอาหารเช้ายังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานเนื่องจากคนที่รับประทานอาหาร เช้าเป็นประจำจะลดภาวะผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลินหรือภาวะดื้อของอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานได้ถึง ร้อยละ 35 -50 และผลการวิจัยจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจในอเมริกายังพบว่าการรับประทานอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจอีกด้วย นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า สำหรับพฤติกรรมการกินอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน พบว่า เด็กอายุ 6 - 11 ปีร้อยละ 30 ไม่กินอาหารเช้าและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้นโดยเฉพาะ เด็กนักเรียนหญิง อายุ 12 - 14 ปี ไม่กินอาหารเช้า ถึงร้อยละ 52ผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญกับอาหารเช้าโดยเฉพาะในช่วงเปิดเทอมหากเด็กวัยเรียนไม่รับประทานอาหารเช้าจะส่งผลเสียต่อการเรียนและสุขภาพเพราะร่างกาย จะทำงานเพื่อเผาผลาญตลอดเวลาแม้ในขณะหลับและเมื่อไม่ได้ทานอาหารเช้าทำให้ ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารจะส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ร่างกายอ่อนเพลีย หงุดหงิด อารมณ์เสีย อาจถึงขั้นหน้ามืดเป็นลมเพราะสมองได้รับน้ำตาลกลูโคสไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ยิ่งมีอาการในช่วงเวลาเรียน จะทำให้เด็กไม่มีสมาธิเรียนอาจเป็นโรคกระเพาะจนถึงขั้นต้องพักการเรียนได้ นายแพทย์เจษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า อาหารเช้าเป็นมื้อที่มีประโยชน์ต่อทุกเพศทุกวัยซึ่งอาหารเช้าที่เหมาะสม สำหรับทุกกลุ่มวัยควรให้พลังงานประมาณ 400 - 450กิโลแคลอรี โดยเลือกอาหารเช้าให้มีความหลากหลาย ปรุงสุก สด ใหม่เสมอหลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปเพราะมีสารอาหารที่มีประโยชน์น้อยและมี โซเดียมสูง แต่สามารถเลือกซื้ออาหารปรุงสำเร็จที่มีขายทั่วไปได้เช่น ข้าวต้มหมู ไก่ ข้าวผัดหมูใส่ไข่ ข้าวไข่เจียว บะหมี่ผัด ข้าวหมูทอดและเพิ่มผักสด ผลไม้สดเพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับการเตรียมอาหารเช้าให้เด็กวัยเรียน ต้องเป็นเมนูที่ถูกหลักโภชนาการมีโปรตีนสูง และเตรียมง่าย เช่นข้าวต้มเครื่อง โจ๊ก ข้าวผัดอาหารประเภทซีเรียลผสมนมรสจืด ขนมปังแซนวิสสำหรับข้าวเหนียวหมูปิ้งซึ่งเป็นเมนูอาหารเช้าที่หาซื้อได้ง่าย ต้องเลือกเป็นหมูปิ้งไม้ที่ไม่ติดมัน ไม่ไหม้เกรียมจนเกินไปและควรเพิ่มผักสดเพื่อเป็นการฝึกให้เด็กกินผักด้วยควร ใช้ผักที่ไม่มีกลิ่นฉุน และรสขม เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักบุ้งแครอท หรือหั่นผักให้เป็นชิ้นเล็กเพื่อเพิ่มสีสันในเมนูอาหารที่สำคัญควรเตรียมนม รสจืด 1 กล่อง และผลไม้ประมาณ 1 ผล เช่น ส้ม แอปเปิ้ลชมพู่ เพื่อให้เด็กได้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมและครบถ้วน "ทั้งนี้ หลักโภชนาการที่ถูกต้องควรกินอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อโดยเฉพาะมื้อเช้าซึ่งถือเป็นมื้อที่สำคัญมากหากไม่มีเวลาเตรียมอาหาร เช้าเองก็ควรจะเพิ่มเวลาซัก 10 - 20 นาทีเพื่อออกไปเลือกเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสมนอกบ้านเพราะทุกวัยโดยเฉพาะเด็ก วัยเรียนเป็นวัยที่ต้องการพลังงานสารอาหารที่ครบถ้วน และหลากหลายให้เพียงพอต่อร่างกายควรหลีกเลี่ยงน้ำอัดลม ขมหวาน ขนมขบเขี้ยวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนของเด็กไทยพร้อมทั้งควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8-12 ชั่วโมงเพราะการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้สมองปลอดโปร่งทำให้สมองสามารถเรียนรู้ จดจำ มีสมาธิพร้อมเริ่มวันใหม่ตลอดจนทำกิจกรรมการเรียนรู้กันเพื่อนได้อย่างดีควบคู่กับสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย" อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด ขอบคุณ... http://fic.ifrpd.ku.ac.th/fic/index.php/th/food-news-by-category-menu/200-breakfast-27-05-2013.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...