เด็กพูดช้า - คุณหมอขอบอก
คนเป็นพ่อเป็นแม่ย่อมกลุ้มใจเป็นธรรมดาเมื่อลูกน้อยไม่ยอมพูด หรือ พูดช้า ทั้งที่อยู่ในวัยเจื้อยแจ้วเจรจาแล้ว อย่างครอบครัวหนึ่งมีลูกอายุ 2 ขวบกว่า ผลการตรวจร่างกายเด็กปกติดีทุกอย่าง แต่ไม่ยอมพูด และไม่สามารถพูดเป็นคำที่มีความหมายได้ สันนิษฐานว่าน่าจะขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่ไม่มีเวลาต้องทำงาน วันธรรมดานำลูกไปฝากให้คุณยายเลี้ยง วันหยุดเสาร์อาทิตย์จึงไปรับกลับมา โดยคุณยายมักจะเปิดทีวีให้หลานดูและให้เล่นแท็บเล็ตอยู่เป็นประจำ
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งมีประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาหลักคือเรื่องการพูด เด็กพูดช้า คือ เด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการพูดไม่เป็นไปตามวัย อาจเป็นเพราะขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม ไม่มีคนพูดด้วย ไม่มีใครคุยด้วย ถ้าได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมใน 2-3 เดือนเด็กจะดีขึ้น แต่ถ้าไม่ดีขึ้นต้องรีบพาไปหาหมอ เพื่อตรวจประเมินว่ามีภาวะผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ความผิดปกติของการได้ยิน ความผิดปกติทางสมอง
เด็กพูดช้าย่อมมีผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการ ไปโรงเรียนสื่อสารกับคนอื่นลำบาก อยู่ในห้องเรียนก็ต้องมีครูพิเศษช่วยเพราะเรียนรู้ได้น้อยกว่าเพื่อน ดังนั้นเด็กจะต้องเรียนรู้อย่างอื่นเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้อยู่ในชั้นเรียนได้ ต้องบอกว่า สื่อทีวี หรือ แท็บเล็ต ไม่สามารถช่วยกระตุ้นให้เด็กพูดได้ เพราะการเรียนภาษาพูดของเด็กนั้น เด็กจะต้องได้ยินชัดเจน หมายความว่าได้ยินเป็นคำ ๆ ส่วนใหญ่มาจากการพูดคุย และเด็กจะใช้วิธีเลียนปากโดยพยายามออกเสียงตามปากของผู้ใหญ่ซึ่งเป็น พัฒนาการปกติทางภาษาพูด เพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องมีคนพูดกับเขา โดยเริ่มจากการพูดเป็นคำ ๆ ก่อน
ความสามารถในการพูดเป็นคำ ๆ หรือการพัฒนาภาษาพูดในเด็กไทยค่าเฉลี่ยจะทำได้ตั้งแต่อายุประมาณ 9 เดือนไปจนถึง 1 ขวบครึ่ง เด็กจะพูดเป็นคำ ๆ ได้แล้ว หลังจากนั้นเด็กจะต่อคำ สามารถพูดเป็นประโยคสั้น ๆ 2-3 คำ เริ่มสื่อสารได้ เช่น พูดคำว่า หิวข้าว หรือ มานี่ ซึ่งเด็กอายุประมาณ 2-3 ขวบจะพูดได้แล้ว พออายุประมาณ 3 ขวบ เด็กจะพูดเป็นประโยค สามารถไปโรงเรียนอนุบาลได้ เพราะเริ่มสื่อสารความต้องการ เล่าเรื่องกับคนอื่นได้นอกจากคนภายในครอบครัว
ในกรณีเด็กอายุ 2 ขวบกว่าแล้วยังไม่ยอมพูด สื่อสารไม่ได้ ถือว่าช้า ต้องพาเด็กไปตรวจประเมินหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร สาเหตุหลัก คือ ขาดการกระตุ้น เด็กถูกปล่อยปละละเลย ในช่วงที่กำลังหัดพูดไม่ได้รับการกระตุ้น กรณีนี้พบปัญหาอยู่เรื่อย ๆ พอไปฝึก ได้รับการกระตุ้นเด็กจะสามารถพัฒนาภาษาได้ การกระตุ้นอย่างหนึ่งคือให้เด็กอยู่กับเด็กคนอื่น ๆ ที่พูดแล้ว แต่พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องคุยกับเขาด้วยเช่นกัน ในกรณีที่เกิดจากความผิดปกติทางสมอง เช่น เป็นออทิสติก มีกลุ่มโรคอื่น ต้องเข้าโปรแกรมการรักษา กระตุ้นภาษาพูด สรุปคือถ้าตรวจแล้วทุกอย่างปกติต้องกระตุ้นให้เด็กพูด ลดสื่อทีวี แท็บเล็ต พ่อแม่และคนรอบข้างต้องพยายามพูดคุยกับเด็ก
ถ้าพ่อแม่ยังไม่มีเวลาให้กับลูก ปล่อยให้ลูกอยู่กับทีวี แท็บเล็ต ไม่มีการกระตุ้นการพูด ปล่อยให้ล่วงเลยไปจนลูกอายุ 3 ขวบ ปัญหาจะมากขึ้นเรื่อย ๆ เด็กจะไม่สามารถเรียนได้ เล่นกับเพื่อน คุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง เพราะสื่อสารไม่ได้ ปัญหาการเรียนรู้ก็จะตามมาภายหลัง เด็กพูดช้าที่ได้รับการกระตุ้นจนพูดได้แล้วการเรียนรู้จะช้ากว่าคนอื่นหรือ ไม่? พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า ถ้าไม่ได้มีปัญหาอื่น มีเรื่องการพูดอย่างเดียว ก็ยังเรียนรู้ได้ ไม่ได้มีข้อจำกัด
การไปหาหมอตอนอายุ 2 ขวบกว่าถือว่าช้าไปหรือไม่? พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า ยังไม่ถือว่าช้า เพราะยังมีช่วงเวลาพัฒนาสมอง 2-3 ขวบ ซึ่งช่วงนี้ต้องกระตุ้นพัฒนาการอย่างเต็มที่ เวลาเด็กไปพบนักแก้ไขการพูด ก็จะมีการฝึกเด็กและนำวิธีให้ผู้ปกครองไปกระตุ้นเด็ก เพราะชั่วโมงที่ฝึกเด็กนั้นจะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อได้รับคำแนะนำแล้วจะต้องฝึกเด็กอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ดังนั้นคนรอบข้างเด็ก พ่อแม่ ต้องกระตุ้นด้วยการพูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ ควรแบ่งเวลากันให้ชัดเจนตามคำแนะนำของนักแก้ไขการพูด
เด็กพูดช้าถือเป็นปัญหาใหญ่ จึงอยากให้คัดกรองแต่เนิ่น ๆ โดยเริ่มจากตัวพ่อแม่ ดูตั้งแต่ลูกอายุ 1 ขวบ ว่าเข้าใจภาษาหรือไม่ ก่อนจะพูดเด็กจะเข้าใจภาษาก่อน คือ เวลาเราพูดกับเขา ตัวเขาเข้าใจหมด บอกอะไรเขาจะทำตาม แต่ภาษาพูดไม่มี และต้องดูว่ามีการออกเสียงเป็นคำหรือไม่ เพราะเด็กจะมีภาษาทารก เขาออกเสียงอยู่แล้วแต่ไม่เป็นคำ ถ้าอายุ 1 ขวบเราพูดแล้วเขาไม่เข้าใจภาษาที่เราพูด หรือไม่ฟัง มีท่าทีเหมือนไม่ได้ยินที่เราพูด และไม่มีคำพูด เช่น หม่ำ ๆ แม่ ซึ่งโดยทั่วไปเด็ก 1 ขวบพูดคำเหล่านี้ได้แล้ว ถ้าเห็นอย่างนี้ต้องกระตุ้นภาษาด้วยตัวเองก่อนประมาณ 2-3 เดือน ถ้ายังไม่มีอะไรดีขึ้นต้องไปหาหมอทันที เพื่อตรวจประเมินหาสาเหตุว่าเกิดอะไรขึ้น.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/211958 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข คนเป็นพ่อเป็นแม่ย่อมกลุ้มใจเป็นธรรมดาเมื่อลูกน้อยไม่ยอมพูด หรือ พูดช้า ทั้งที่อยู่ในวัยเจื้อยแจ้วเจรจาแล้ว อย่างครอบครัวหนึ่งมีลูกอายุ 2 ขวบกว่า ผลการตรวจร่างกายเด็กปกติดีทุกอย่าง แต่ไม่ยอมพูด และไม่สามารถพูดเป็นคำที่มีความหมายได้ สันนิษฐานว่าน่าจะขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่ไม่มีเวลาต้องทำงาน วันธรรมดานำลูกไปฝากให้คุณยายเลี้ยง วันหยุดเสาร์อาทิตย์จึงไปรับกลับมา โดยคุณยายมักจะเปิดทีวีให้หลานดูและให้เล่นแท็บเล็ตอยู่เป็นประจำ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งมีประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาหลักคือเรื่องการพูด เด็กพูดช้า คือ เด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการพูดไม่เป็นไปตามวัย อาจเป็นเพราะขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม ไม่มีคนพูดด้วย ไม่มีใครคุยด้วย ถ้าได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมใน 2-3 เดือนเด็กจะดีขึ้น แต่ถ้าไม่ดีขึ้นต้องรีบพาไปหาหมอ เพื่อตรวจประเมินว่ามีภาวะผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ความผิดปกติของการได้ยิน ความผิดปกติทางสมอง เด็กพูดช้าย่อมมีผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการ ไปโรงเรียนสื่อสารกับคนอื่นลำบาก อยู่ในห้องเรียนก็ต้องมีครูพิเศษช่วยเพราะเรียนรู้ได้น้อยกว่าเพื่อน ดังนั้นเด็กจะต้องเรียนรู้อย่างอื่นเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้อยู่ในชั้นเรียนได้ ต้องบอกว่า สื่อทีวี หรือ แท็บเล็ต ไม่สามารถช่วยกระตุ้นให้เด็กพูดได้ เพราะการเรียนภาษาพูดของเด็กนั้น เด็กจะต้องได้ยินชัดเจน หมายความว่าได้ยินเป็นคำ ๆ ส่วนใหญ่มาจากการพูดคุย และเด็กจะใช้วิธีเลียนปากโดยพยายามออกเสียงตามปากของผู้ใหญ่ซึ่งเป็น พัฒนาการปกติทางภาษาพูด เพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องมีคนพูดกับเขา โดยเริ่มจากการพูดเป็นคำ ๆ ก่อน ความสามารถในการพูดเป็นคำ ๆ หรือการพัฒนาภาษาพูดในเด็กไทยค่าเฉลี่ยจะทำได้ตั้งแต่อายุประมาณ 9 เดือนไปจนถึง 1 ขวบครึ่ง เด็กจะพูดเป็นคำ ๆ ได้แล้ว หลังจากนั้นเด็กจะต่อคำ สามารถพูดเป็นประโยคสั้น ๆ 2-3 คำ เริ่มสื่อสารได้ เช่น พูดคำว่า หิวข้าว หรือ มานี่ ซึ่งเด็กอายุประมาณ 2-3 ขวบจะพูดได้แล้ว พออายุประมาณ 3 ขวบ เด็กจะพูดเป็นประโยค สามารถไปโรงเรียนอนุบาลได้ เพราะเริ่มสื่อสารความต้องการ เล่าเรื่องกับคนอื่นได้นอกจากคนภายในครอบครัว ในกรณีเด็กอายุ 2 ขวบกว่าแล้วยังไม่ยอมพูด สื่อสารไม่ได้ ถือว่าช้า ต้องพาเด็กไปตรวจประเมินหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร สาเหตุหลัก คือ ขาดการกระตุ้น เด็กถูกปล่อยปละละเลย ในช่วงที่กำลังหัดพูดไม่ได้รับการกระตุ้น กรณีนี้พบปัญหาอยู่เรื่อย ๆ พอไปฝึก ได้รับการกระตุ้นเด็กจะสามารถพัฒนาภาษาได้ การกระตุ้นอย่างหนึ่งคือให้เด็กอยู่กับเด็กคนอื่น ๆ ที่พูดแล้ว แต่พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องคุยกับเขาด้วยเช่นกัน ในกรณีที่เกิดจากความผิดปกติทางสมอง เช่น เป็นออทิสติก มีกลุ่มโรคอื่น ต้องเข้าโปรแกรมการรักษา กระตุ้นภาษาพูด สรุปคือถ้าตรวจแล้วทุกอย่างปกติต้องกระตุ้นให้เด็กพูด ลดสื่อทีวี แท็บเล็ต พ่อแม่และคนรอบข้างต้องพยายามพูดคุยกับเด็ก ถ้าพ่อแม่ยังไม่มีเวลาให้กับลูก ปล่อยให้ลูกอยู่กับทีวี แท็บเล็ต ไม่มีการกระตุ้นการพูด ปล่อยให้ล่วงเลยไปจนลูกอายุ 3 ขวบ ปัญหาจะมากขึ้นเรื่อย ๆ เด็กจะไม่สามารถเรียนได้ เล่นกับเพื่อน คุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง เพราะสื่อสารไม่ได้ ปัญหาการเรียนรู้ก็จะตามมาภายหลัง เด็กพูดช้าที่ได้รับการกระตุ้นจนพูดได้แล้วการเรียนรู้จะช้ากว่าคนอื่นหรือ ไม่? พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า ถ้าไม่ได้มีปัญหาอื่น มีเรื่องการพูดอย่างเดียว ก็ยังเรียนรู้ได้ ไม่ได้มีข้อจำกัด การไปหาหมอตอนอายุ 2 ขวบกว่าถือว่าช้าไปหรือไม่? พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า ยังไม่ถือว่าช้า เพราะยังมีช่วงเวลาพัฒนาสมอง 2-3 ขวบ ซึ่งช่วงนี้ต้องกระตุ้นพัฒนาการอย่างเต็มที่ เวลาเด็กไปพบนักแก้ไขการพูด ก็จะมีการฝึกเด็กและนำวิธีให้ผู้ปกครองไปกระตุ้นเด็ก เพราะชั่วโมงที่ฝึกเด็กนั้นจะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อได้รับคำแนะนำแล้วจะต้องฝึกเด็กอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ดังนั้นคนรอบข้างเด็ก พ่อแม่ ต้องกระตุ้นด้วยการพูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ ควรแบ่งเวลากันให้ชัดเจนตามคำแนะนำของนักแก้ไขการพูด เด็กพูดช้าถือเป็นปัญหาใหญ่ จึงอยากให้คัดกรองแต่เนิ่น ๆ โดยเริ่มจากตัวพ่อแม่ ดูตั้งแต่ลูกอายุ 1 ขวบ ว่าเข้าใจภาษาหรือไม่ ก่อนจะพูดเด็กจะเข้าใจภาษาก่อน คือ เวลาเราพูดกับเขา ตัวเขาเข้าใจหมด บอกอะไรเขาจะทำตาม แต่ภาษาพูดไม่มี และต้องดูว่ามีการออกเสียงเป็นคำหรือไม่ เพราะเด็กจะมีภาษาทารก เขาออกเสียงอยู่แล้วแต่ไม่เป็นคำ ถ้าอายุ 1 ขวบเราพูดแล้วเขาไม่เข้าใจภาษาที่เราพูด หรือไม่ฟัง มีท่าทีเหมือนไม่ได้ยินที่เราพูด และไม่มีคำพูด เช่น หม่ำ ๆ แม่ ซึ่งโดยทั่วไปเด็ก 1 ขวบพูดคำเหล่านี้ได้แล้ว ถ้าเห็นอย่างนี้ต้องกระตุ้นภาษาด้วยตัวเองก่อนประมาณ 2-3 เดือน ถ้ายังไม่มีอะไรดีขึ้นต้องไปหาหมอทันที เพื่อตรวจประเมินหาสาเหตุว่าเกิดอะไรขึ้น. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/211958
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)