รพ.ขอนแก่นสร้างชีวิตใหม่ 'เด็กออทิสติก-ธาลัสซีเมีย'เติบโตมีคุณภาพ
การที่ลูกเกิดมามีอาการ ”ออทิสติก” หรือ ”ธาลัสซีเมีย” นับเป็นฝันร้ายของพ่อแม่และตัวเด็ก ยิ่งหากขาดกำลังใจ ไม่รู้วิธีดูแล รักษาและฟื้นฟูเด็กให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี ก็สร้างความทุกข์ระทมให้แก่ครอบครัว แต่วันนี้โรงพยาบาลขอนแก่น จ.ขอนแก่น ได้ช่วยฉุดมือพ่อแม่และเด็กทั้งสองกลุ่มนี้ให้ตื่นจากฝันร้ายโดยจัดโครงการ "คิดใหม่ ทำใหม่เพื่อผู้ป่วยธาลัสซีเมีย" และโครงการ "การพัฒนาระบบบริการสุขภาพบุคคลออทิสติกสู่ชุมชนอยู่ดีมีสุข” ทำให้ได้รับรางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศและรางวัลบูรณาการการบริการ ที่เป็นเลิศ ซึ่งรางวัลทั้งสองประเภทนี้เป็นรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๕ จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
เป้าหมายของรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาตินั้น น.ส.ธารทิพย์ กาญจนาภา ผู้อำนวยการกลุ่มสื่อสารสร้างความเข้าใจการพัฒนาระบบราชการ ก.พ.ร. ในฐานะตัวแทน ก.พ.ร.อธิบายว่า รางวัลนี้เริ่มเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานราชการต่างๆ พัฒนาคุณภาพบริการ ซึ่ง รพ.ขอนแก่น ผ่านเกณฑ์และได้ถึงสองรางวัล จะเผยแพร่ผลงานเพื่อเป็นต้นแบบต่อไป
นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผอ.รพ.ขอนแก่น บอกถึงเคล็ดลับความสำเร็จว่า ได้เห็นถึงความตั้งใจจริงของ พญ.ภัทรา ฤชุวรารักษ์ ซึ่งเชี่ยวชาญการดูแลเด็กออทิสติก และ พญ.มนธนา จันทรนิยม ที่เชี่ยวชาญรักษาโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งมุ่งมั่นช่วยเหลือเด็กและครอบครัว อีกทั้ง รพ.ขอนแก่น มีความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณและสถานที่ จึงเปิดโอกาสดำเนินโครงการดูแลเด็กทั้งสองกลุ่มอย่างเต็มที่ รวมทั้งยังบูรณาการการทำงานเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานรัฐ ท้องถิ่นและเอกชนต่างๆ เช่น สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้ทั้งสองโครงการได้ผลน่าพอใจและได้รับสองรางวัลจาก ก.พ.ร.
ในฐานะแพทย์ผู้ดูแลคลินิกพัฒนาเด็กออทิสติก "หมอปิ๋ม" พญ.ภัทรา เล่าว่า ปัจจุบัน จ.ขอนแก่น มีเด็กออทิสติก ๑,๐๐๐ คน ซึ่งการดูแลเด็กออทิสติกของโรงพยาบาลใช้ระบบบริการแบบบูรณาการ มีแพทย์ จิตแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักแก้ไขการพูด ครูการศึกษาพิเศษช่วยกันบำบัด ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจเด็กโดยบูรณาการการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับครอบครัว ศูนย์เด็กเล็ก ชุมชนและรพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อคัดกรองเด็กวัย ๐-๑๒ ปี ที่มีลักษณะไม่พูดจา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว หากพบว่าเป็นเด็กออทิสติกก็ส่งตัวบำบัดฟื้นฟูที่ รพ.ขอนแก่น โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การฝึกพูด ศิลปะ ดนตรี ว่ายน้ำ อาชาบำบัด กิจกรรมการเคลื่อนไหว รวมทั้งให้ความรู้แก่พ่อแม่ในการดูแลเด็ก
“โรงพยาบาลมุ่งดูแลเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีทั้งร่างกายและ จิตใจ เพื่อให้เด็กรู้จักคิดเป็น ทำเป็น อีกทั้งบูรณาการการทำงานเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานรัฐ ท้องถิ่นและเอกชนส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ มีโอกาสทางการศึกษา อาชีพและสวัสดิการทางสังคม" พญ.ภัทราอธิบาย
เช่นเดียวกับ "หมอเจน" พญ.มนธนา ซึ่งดูแลศูนย์ธาลัสซีเมีย บอกว่า สถานการณ์โรคธาลัสซีเมียในไทยน่าห่วง เพราะปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคนี้อันดับ ๑ ของโลก และคนไทยร้อยละ ๕๐ เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย โดยหญิงตั้งครรภ์แต่ละคนมีโอกาสเสี่ยงมีบุตรเป็นโรคนี้ถึงร้อยละ ๒๕ แต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ ๑๒,๐๐๐ คน ค่าใช้จ่ายในการรักษาปีละ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ล้านบาท เด็ก ๑ คนมีค่ารักษาในช่วงวัย ๑๐ ปีแรกโดยเฉลี่ย ๑.๒ ล้านบาท หรือคนละ ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน ทำให้ครอบครัวมีภาระค่ารักษาและจมอยู่กับทุกข์ หากพ่อแม่และสังคมรอบข้างไม่ใส่ใจดูแลเด็ก จะทำให้เด็กซึมเศร้า สุขภาพกายและใจไม่ดี
ศูนย์ธาลัสซีเมียจึงเริ่มด้วยการปรับทัศนคติของเด็กและพ่อแม่ซึ่งอยู่ใน จ.ขอนแก่น และจังหวัดใกล้เคียง โดยสอนให้รู้จักโรคธาลัสซีเมีย การดูแลสุขภาพและวิธีรักษาโรคนี้ อีกทั้งมีทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักโภชนาการ ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และมีคลังเลือดสำหรับเด็กกลุ่มนี้ โดยรับบริจาคเลือดภายใต้โครงการพ่อแก้วแม่ขวัญ อีกทั้งได้ร่วมมือกับเครือข่าย เช่น ชุมชน รพ.สต.ส่งเสริมให้สามีภรรยาตรวจเลือดก่อนจะมีลูกว่าเป็นพาหะโรคธาลัสซี เมียหรือไม่ หรือถ้าตั้งครรภ์แล้วตรวจพบเด็กป่วยโรคนี้จะได้ดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์เพื่อ ให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง และศูนย์ได้จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาความเป็นผู้นำและเสริมความรู้แก่เด็กๆ ด้วย
“เรายึดหลักคิดใหม่ทำใหม่ ถามพ่อแม่ว่า อยากได้ลูกที่มีอนาคตแบบไหน เด็กซึมเศร้า ขาดกำลังใจ ร่างกายทรุดโทรมและเสียชีวิตไป พ่อแม่และรัฐจ่ายค่ารักษา ๑.๒ ล้านบาทไปเปล่าๆ แต่รักษาทรัพยากรบุคคลของชาติไว้ไม่ได้ หรือคิดใหม่ว่า แม้ลูกป่วยก็ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ ถ้าเรียนรู้จะอยู่กับโรคนี้ เพื่อทำให้เด็กเติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพ มีอนาคตที่ดีและอาชีพตามที่เขาใฝ่ฝัน” พญ.มนธนา บอกด้วยน้ำเสียงจริงจัง
น.ส.เขมจิรา แก้วบังเกิด แม่ของ "น้องนิว" ศศิธร สืบทิม ซึ่งเป็นหนึ่งในเด็กป่วยธาลัสซีเมียที่มารับเลือดที่ศูนย์ธาลัสซีเมีย รพ.ขอนแก่น บอกว่า รู้ว่าน้องนิวป่วยเป็นธาลัสซีเมียเมื่ออายุ ๙ เดือนเพราะหมอที่ไปฝากครรภ์ไว้ไม่ได้แนะนำให้ตรวจ แต่มาเจอเพราะลูกป่วย จึงพาไปหาหมอที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งหมอสังเกตเห็นอาการ หลังจากนั้นได้พาลูกไปรักษา รพ.จุฬาลงกรณ์
ต่อมาเธอย้ายครอบครัวมาอยู่ที่ จ.เลย จึงพาลูกมารักษาและรับเลือดที่ รพ.ขอนแก่น ในเวลา ๓ สัปดาห์ต่อ ๑ ครั้ง มาเป็นเวลา ๒-๓ ปีแล้ว เสียค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมครั้งละ ๒,๐๐๐ บาท ซึ่ง รพ.ขอนแก่น ให้คำแนะนำและดูแลดี ทำให้ลูกแข็งแรงและมีกำลังใจดี ท้ายสุดเธอฝากว่า อยากให้หมอที่รับฝากครรภ์แนะนำหญิงตั้งครรภ์ตรวจว่าลูกเป็นธาลัสซีเมียหรือ ไม่ เพื่อจะได้ดูแลแต่เนิ่นๆ ทำให้ลูกมีสุขภาพที่ดี….โดย...ธรรมรัช กิจฉลอง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพที่ 1 ภาพตัวแทนโรงพยาบาลขอนแก่นรับมอบรางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศและรางวัลบูรณาการการบริการ , ภาพที่ 2 ภาพพยาบาลตรวจรักษาเด็ก การที่ลูกเกิดมามีอาการ ”ออทิสติก” หรือ ”ธาลัสซีเมีย” นับเป็นฝันร้ายของพ่อแม่และตัวเด็ก ยิ่งหากขาดกำลังใจ ไม่รู้วิธีดูแล รักษาและฟื้นฟูเด็กให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี ก็สร้างความทุกข์ระทมให้แก่ครอบครัว แต่วันนี้โรงพยาบาลขอนแก่น จ.ขอนแก่น ได้ช่วยฉุดมือพ่อแม่และเด็กทั้งสองกลุ่มนี้ให้ตื่นจากฝันร้ายโดยจัดโครงการ "คิดใหม่ ทำใหม่เพื่อผู้ป่วยธาลัสซีเมีย" และโครงการ "การพัฒนาระบบบริการสุขภาพบุคคลออทิสติกสู่ชุมชนอยู่ดีมีสุข” ทำให้ได้รับรางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศและรางวัลบูรณาการการบริการ ที่เป็นเลิศ ซึ่งรางวัลทั้งสองประเภทนี้เป็นรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๕ จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป้าหมายของรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาตินั้น น.ส.ธารทิพย์ กาญจนาภา ผู้อำนวยการกลุ่มสื่อสารสร้างความเข้าใจการพัฒนาระบบราชการ ก.พ.ร. ในฐานะตัวแทน ก.พ.ร.อธิบายว่า รางวัลนี้เริ่มเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานราชการต่างๆ พัฒนาคุณภาพบริการ ซึ่ง รพ.ขอนแก่น ผ่านเกณฑ์และได้ถึงสองรางวัล จะเผยแพร่ผลงานเพื่อเป็นต้นแบบต่อไป นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผอ.รพ.ขอนแก่น บอกถึงเคล็ดลับความสำเร็จว่า ได้เห็นถึงความตั้งใจจริงของ พญ.ภัทรา ฤชุวรารักษ์ ซึ่งเชี่ยวชาญการดูแลเด็กออทิสติก และ พญ.มนธนา จันทรนิยม ที่เชี่ยวชาญรักษาโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งมุ่งมั่นช่วยเหลือเด็กและครอบครัว อีกทั้ง รพ.ขอนแก่น มีความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณและสถานที่ จึงเปิดโอกาสดำเนินโครงการดูแลเด็กทั้งสองกลุ่มอย่างเต็มที่ รวมทั้งยังบูรณาการการทำงานเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานรัฐ ท้องถิ่นและเอกชนต่างๆ เช่น สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้ทั้งสองโครงการได้ผลน่าพอใจและได้รับสองรางวัลจาก ก.พ.ร. ในฐานะแพทย์ผู้ดูแลคลินิกพัฒนาเด็กออทิสติก "หมอปิ๋ม" พญ.ภัทรา เล่าว่า ปัจจุบัน จ.ขอนแก่น มีเด็กออทิสติก ๑,๐๐๐ คน ซึ่งการดูแลเด็กออทิสติกของโรงพยาบาลใช้ระบบบริการแบบบูรณาการ มีแพทย์ จิตแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักแก้ไขการพูด ครูการศึกษาพิเศษช่วยกันบำบัด ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจเด็กโดยบูรณาการการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับครอบครัว ศูนย์เด็กเล็ก ชุมชนและรพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อคัดกรองเด็กวัย ๐-๑๒ ปี ที่มีลักษณะไม่พูดจา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว หากพบว่าเป็นเด็กออทิสติกก็ส่งตัวบำบัดฟื้นฟูที่ รพ.ขอนแก่น โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การฝึกพูด ศิลปะ ดนตรี ว่ายน้ำ อาชาบำบัด กิจกรรมการเคลื่อนไหว รวมทั้งให้ความรู้แก่พ่อแม่ในการดูแลเด็ก “โรงพยาบาลมุ่งดูแลเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีทั้งร่างกายและ จิตใจ เพื่อให้เด็กรู้จักคิดเป็น ทำเป็น อีกทั้งบูรณาการการทำงานเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานรัฐ ท้องถิ่นและเอกชนส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ มีโอกาสทางการศึกษา อาชีพและสวัสดิการทางสังคม" พญ.ภัทราอธิบาย เช่นเดียวกับ "หมอเจน" พญ.มนธนา ซึ่งดูแลศูนย์ธาลัสซีเมีย บอกว่า สถานการณ์โรคธาลัสซีเมียในไทยน่าห่วง เพราะปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคนี้อันดับ ๑ ของโลก และคนไทยร้อยละ ๕๐ เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย โดยหญิงตั้งครรภ์แต่ละคนมีโอกาสเสี่ยงมีบุตรเป็นโรคนี้ถึงร้อยละ ๒๕ แต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ ๑๒,๐๐๐ คน ค่าใช้จ่ายในการรักษาปีละ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ล้านบาท เด็ก ๑ คนมีค่ารักษาในช่วงวัย ๑๐ ปีแรกโดยเฉลี่ย ๑.๒ ล้านบาท หรือคนละ ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน ทำให้ครอบครัวมีภาระค่ารักษาและจมอยู่กับทุกข์ หากพ่อแม่และสังคมรอบข้างไม่ใส่ใจดูแลเด็ก จะทำให้เด็กซึมเศร้า สุขภาพกายและใจไม่ดี ศูนย์ธาลัสซีเมียจึงเริ่มด้วยการปรับทัศนคติของเด็กและพ่อแม่ซึ่งอยู่ใน จ.ขอนแก่น และจังหวัดใกล้เคียง โดยสอนให้รู้จักโรคธาลัสซีเมีย การดูแลสุขภาพและวิธีรักษาโรคนี้ อีกทั้งมีทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักโภชนาการ ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และมีคลังเลือดสำหรับเด็กกลุ่มนี้ โดยรับบริจาคเลือดภายใต้โครงการพ่อแก้วแม่ขวัญ อีกทั้งได้ร่วมมือกับเครือข่าย เช่น ชุมชน รพ.สต.ส่งเสริมให้สามีภรรยาตรวจเลือดก่อนจะมีลูกว่าเป็นพาหะโรคธาลัสซี เมียหรือไม่ หรือถ้าตั้งครรภ์แล้วตรวจพบเด็กป่วยโรคนี้จะได้ดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์เพื่อ ให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง และศูนย์ได้จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาความเป็นผู้นำและเสริมความรู้แก่เด็กๆ ด้วย “เรายึดหลักคิดใหม่ทำใหม่ ถามพ่อแม่ว่า อยากได้ลูกที่มีอนาคตแบบไหน เด็กซึมเศร้า ขาดกำลังใจ ร่างกายทรุดโทรมและเสียชีวิตไป พ่อแม่และรัฐจ่ายค่ารักษา ๑.๒ ล้านบาทไปเปล่าๆ แต่รักษาทรัพยากรบุคคลของชาติไว้ไม่ได้ หรือคิดใหม่ว่า แม้ลูกป่วยก็ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ ถ้าเรียนรู้จะอยู่กับโรคนี้ เพื่อทำให้เด็กเติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพ มีอนาคตที่ดีและอาชีพตามที่เขาใฝ่ฝัน” พญ.มนธนา บอกด้วยน้ำเสียงจริงจัง น.ส.เขมจิรา แก้วบังเกิด แม่ของ "น้องนิว" ศศิธร สืบทิม ซึ่งเป็นหนึ่งในเด็กป่วยธาลัสซีเมียที่มารับเลือดที่ศูนย์ธาลัสซีเมีย รพ.ขอนแก่น บอกว่า รู้ว่าน้องนิวป่วยเป็นธาลัสซีเมียเมื่ออายุ ๙ เดือนเพราะหมอที่ไปฝากครรภ์ไว้ไม่ได้แนะนำให้ตรวจ แต่มาเจอเพราะลูกป่วย จึงพาไปหาหมอที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งหมอสังเกตเห็นอาการ หลังจากนั้นได้พาลูกไปรักษา รพ.จุฬาลงกรณ์ ต่อมาเธอย้ายครอบครัวมาอยู่ที่ จ.เลย จึงพาลูกมารักษาและรับเลือดที่ รพ.ขอนแก่น ในเวลา ๓ สัปดาห์ต่อ ๑ ครั้ง มาเป็นเวลา ๒-๓ ปีแล้ว เสียค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมครั้งละ ๒,๐๐๐ บาท ซึ่ง รพ.ขอนแก่น ให้คำแนะนำและดูแลดี ทำให้ลูกแข็งแรงและมีกำลังใจดี ท้ายสุดเธอฝากว่า อยากให้หมอที่รับฝากครรภ์แนะนำหญิงตั้งครรภ์ตรวจว่าลูกเป็นธาลัสซีเมียหรือ ไม่ เพื่อจะได้ดูแลแต่เนิ่นๆ ทำให้ลูกมีสุขภาพที่ดี….โดย...ธรรมรัช กิจฉลอง ขอบคุณ
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)