เด็กแอลดีกว่า 7 แสนหลุดจากระบบ สธ.-สสค.ตั้งเป้าปี 59 ไอคิวเด็กไทยเกิน 100
ช็อกเด็กแอลดีเสี่ยงหลุดจากระบบกว่า 7 แสนคน กรมสุขภาพจิต-สสค.ราชานุกูลร่วมวางระบบดูแลตั้งแต่เด็กเล็ก ตั้งเป้าเด็กไทยไอคิวเกิน 100 ในปี 59 เล็งพัฒนาระบบจัดการพื้นที่จับมือ สธ.-ท้องถิ่น-สพฐ. ส่งต่อข้อมูลเด็กเล็กจากโรงหมอสู่โรงเรียน
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.56 ที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในการแถลงข่าว “เด็กไทย IQ เกิน 100” โดยกรมสุขภาพจิตร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และสถาบันราชานุกูลเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ในการเชื่อมต่อข้อมูลและการให้บริการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและเชาวน์ปัญญาเด็กไทย เพื่อให้เกิดการส่งต่อข้อมูลและระบบดูแลเด็กเล็ก 0-5 ปี ซึ่งเป็นยุคทองของการพัฒนาการเรียนรู้โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่เด็กไอคิวเกิน 100 ในปี 2559
พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวว่า อัตราการเกิดของเด็กไทยเฉลี่ยปีละ 8 แสนคน แต่กลุ่มนี้พัฒนาการล่าช้า 2.4 แสนคนต่อปี หรือร้อยละ 30 สะท้อนระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไอคิวต่ำกว่า 100 ซึ่งพบสูงถึง 49% รวมถึงความฉลาดทางอารม หรืออีคิวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ หากเด็กได้รับการดูแลตั้งแต่ 0-5 ปี จะช่วยเหลือเด็กได้ถึง 1.6 แสนคนต่อปี ทั้งนี้ มีเป้าหมายให้เด็กไทยมีไอคิวเกิน 100 ในปี 2559 และความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ร่วมกับสสค. และสถาบันราชานุกูล เพื่อพัฒนาระบบจัดการพื้นที่จับมือ สธ. ท้องถิ่น-สพฐ. ส่งต่อข้อมูลเด็กเล็กจากโรงหมอสู่โรงเรียน
ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาวิชาการ สสค. กล่าวว่า อนาคตของชาติอยู่ที่เด็ก 0-5 ปี ต้องได้รับการพัฒนามากที่สุด ทั้งที่ 90% ของเด็กที่บกพร่องการเรียนรู้แก้ไข ทั้งนี้ ปัจจุบันครอบครัวไทย 20 ล้านครอบครัวเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ “แม่วัยใส ยายวัยซ่า ย่าวัยซิ่ง” โดยประกอบด้วย 5 ล้านครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ 2 ล้านครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว และอีก 2 ล้านครอบครัวที่แหว่งกลาง ปล่อยให้ปู่ย่าตายายเลี้ยง หากเราไม่มีระบบช่วยเหลือสุขภาพจิตครอบครัวไทยย่ำแย่แน่
ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กบกพร่องการเรียนรู้ มีสมาธิสั้น แอลดี เรียนช้า และออทิสติกมีถึง 12-13% ของประชากรเด็กทั้งหมด จากข้อมูลของสมาคมแอลดีแห่งประเทศไทยพบว่า ขณะมีการคัดกรองเด็กในระบบโรงเรียนจำนวน 1.4 แสนคน แต่ยังมีเด็กที่มีสัญญาณบกพร่องการเรียนรู้อีกถึง 9 แสนคน นั้นคือมีเด็กกว่า 7 แสนคน หลุดออกจากระบบการศึกษา อีกทั้ง 3 หมื่นโรงเรียนมีครูสอนเด็กพิเศษ 1 หมื่นแห่ง ดังนั้นระบบข้อมูลเชื่อมต่อกันจะนำไปสู่การดูแลเด็กและทันเวลามากขึ้น โดยเป็นความร่วมมือทั้งฝ่ายสาธารณสุขท้องถิ่น และสพฐ.
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ช็อกเด็กแอลดีเสี่ยงหลุดจากระบบกว่า 7 แสนคน กรมสุขภาพจิต-สสค.ราชานุกูลร่วมวางระบบดูแลตั้งแต่เด็กเล็ก ตั้งเป้าเด็กไทยไอคิวเกิน 100 ในปี 59 เล็งพัฒนาระบบจัดการพื้นที่จับมือ สธ.-ท้องถิ่น-สพฐ. ส่งต่อข้อมูลเด็กเล็กจากโรงหมอสู่โรงเรียน เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.56 ที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในการแถลงข่าว “เด็กไทย IQ เกิน 100” โดยกรมสุขภาพจิตร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และสถาบันราชานุกูลเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ในการเชื่อมต่อข้อมูลและการให้บริการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและเชาวน์ปัญญาเด็กไทย เพื่อให้เกิดการส่งต่อข้อมูลและระบบดูแลเด็กเล็ก 0-5 ปี ซึ่งเป็นยุคทองของการพัฒนาการเรียนรู้โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่เด็กไอคิวเกิน 100 ในปี 2559 พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวว่า อัตราการเกิดของเด็กไทยเฉลี่ยปีละ 8 แสนคน แต่กลุ่มนี้พัฒนาการล่าช้า 2.4 แสนคนต่อปี หรือร้อยละ 30 สะท้อนระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไอคิวต่ำกว่า 100 ซึ่งพบสูงถึง 49% รวมถึงความฉลาดทางอารม หรืออีคิวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ หากเด็กได้รับการดูแลตั้งแต่ 0-5 ปี จะช่วยเหลือเด็กได้ถึง 1.6 แสนคนต่อปี ทั้งนี้ มีเป้าหมายให้เด็กไทยมีไอคิวเกิน 100 ในปี 2559 และความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ร่วมกับสสค. และสถาบันราชานุกูล เพื่อพัฒนาระบบจัดการพื้นที่จับมือ สธ. ท้องถิ่น-สพฐ. ส่งต่อข้อมูลเด็กเล็กจากโรงหมอสู่โรงเรียน ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาวิชาการ สสค. กล่าวว่า อนาคตของชาติอยู่ที่เด็ก 0-5 ปี ต้องได้รับการพัฒนามากที่สุด ทั้งที่ 90% ของเด็กที่บกพร่องการเรียนรู้แก้ไข ทั้งนี้ ปัจจุบันครอบครัวไทย 20 ล้านครอบครัวเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ “แม่วัยใส ยายวัยซ่า ย่าวัยซิ่ง” โดยประกอบด้วย 5 ล้านครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ 2 ล้านครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว และอีก 2 ล้านครอบครัวที่แหว่งกลาง ปล่อยให้ปู่ย่าตายายเลี้ยง หากเราไม่มีระบบช่วยเหลือสุขภาพจิตครอบครัวไทยย่ำแย่แน่ ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กบกพร่องการเรียนรู้ มีสมาธิสั้น แอลดี เรียนช้า และออทิสติกมีถึง 12-13% ของประชากรเด็กทั้งหมด จากข้อมูลของสมาคมแอลดีแห่งประเทศไทยพบว่า ขณะมีการคัดกรองเด็กในระบบโรงเรียนจำนวน 1.4 แสนคน แต่ยังมีเด็กที่มีสัญญาณบกพร่องการเรียนรู้อีกถึง 9 แสนคน นั้นคือมีเด็กกว่า 7 แสนคน หลุดออกจากระบบการศึกษา อีกทั้ง 3 หมื่นโรงเรียนมีครูสอนเด็กพิเศษ 1 หมื่นแห่ง ดังนั้นระบบข้อมูลเชื่อมต่อกันจะนำไปสู่การดูแลเด็กและทันเวลามากขึ้น โดยเป็นความร่วมมือทั้งฝ่ายสาธารณสุขท้องถิ่น และสพฐ.
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)