หน้าฝน ระวัง! 'ไฟดูด-ไฟช็อต' : ไลฟ์สไตล์
ช่วงฤดูฝนอย่างนี้ นอกจากการดูแลสุขภาพร่างกายให้ปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆ แล้ว ยังอาจมีปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินซึ่งต้องระมัดระวังกันด้วย อาทิ อันตรายจากไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าดูด เนื่องจากละอองฝนอาจกระเด็นไปโดนปลั๊กไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าจนอาจส่งผลให้ เกิดไฟฟ้าช็อตหรือไฟฟ้าลัดวงจรได้
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เผยถึงอันตรายจากไฟฟ้าว่า อาการของคนที่โดนไฟฟ้าดูด กระแสไฟจะไหลผ่านหัวใจทำให้หัวใจหยุดทำงาน และอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆ ที่เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้า เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก อวัยวะในช่องท้อง และระบบประสาท ซึ่งหากกระแสไฟฟ้ามีแรงสูงมากๆ จะส่งผลให้เนื้อเยื่อที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านถูกทำลายอย่างรุนแรง และจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้องได้ บางคนอาจมีอาหารชักเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย หายใจเร็วและหมดสติ
ทั้งนี้ หากเราพบเห็นผู้ถูกไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าช็อตในระหว่างการเข้าให้การช่วยเหลือ หรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นจะต้องรีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อเข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอย่างถูกวิธี เพราะผู้ป่วยจะได้รับอันตรายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถูกไฟฟ้าดูด และการช่วยเหลือที่ทันกาลและถูกวิธีจะเพิ่มโอกาสรอดให้กับผู้ป่วยฉุกเฉิน ด้วย
ขณะที่ ผดุงเกียรติ คุ้มมะม่วง เจ้าหน้าที่อาสาฉุกเฉินการแพทย์ (FR) องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา แนะนำวิธีการเข้าช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูดว่า จะต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟช็อตให้เร็วที่สุด แต่ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายจะต้องทำด้วยความระมัดระวังด้วยเพราะผู้ป่วยอาจได้รับบาดเจ็บในบริเวณอื่นด้วย เช่น ตกจากที่สูง นอกจากนี้การช่วยเหลือจะต้องป้องกันตนเองไม่ให้ถูกไฟดูดหรือเป็นผู้ประสบ เหตุเองด้วย โดยต้องรีบหาแหล่งที่เกิดไฟฟ้ารั่วและหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉินถูกกระแสไฟฟ้าดูดและมีสายไฟผ่านตัวผู้ป่วยอยู่ จะต้องหาวัสดุที่เป็นฉนวน ไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น ไม้ เชือกที่แห้ง สายยาง ถุงมือยางหรือผ้าแห้งพันมือให้หนา จากนั้นผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบเหตุให้หลุดออกมาโดยเร็ว หรือเขี่ยออกจากตัวผู้ประสบอันตรายออกจากกระแสไฟ แต่ทั้งนี้หากเป็นกระแสไฟฟ้าแรงสูงควรแจ้งการไฟฟ้าโดยเร็วที่สุดเพื่อให้ตัด กระแสไฟฟ้า รวมถึงโทรแจ้งหน่วยกู้ชีพที่สายด่วน 1669
"หากผู้ถูกไฟดูดโดดดูดในบริเวณที่มีน้ำขัง ผู้ช่วยเหลือไม่ควรลงไปในน้ำเด็ดขาดจะต้องตัดกระแสไฟฟ้าก่อนเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งการเข้าไปช่วยเหลือจะต้องทำด้วยความรวดเร็ว รอบคอบ และระมัดระวัง จากนั้นห่อหุ้มบริเวณที่ถูกไฟดูดด้วยผ้าแห้ง และหากมีบาดแผลบริเวณนั้นหรือไม่แน่ใจว่ามีการบาดเจ็บของผิวหนังและเนื้อ เยื่อของร่างกายบริเวณที่ถูกสัมผัสหรือไม่ จะต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที อย่างไรก็ตามสำหรับการปฐมพยาบาลหากพบว่าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หัวใจหยุดเต้น จะต้องรีบทำรีบทำการฟื้นคืนชีพทันที" เจ้าหน้าที่อาสาฉุกเฉินการแพทย์ แนะเพิ่มเติม
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพที่1 นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ภาพที่2 วิธีช่วยเหลือคนถูกไฟฟ้าดูด และภาพที่3 ผดุงเกียรติ คุ้มมะม่วง เจ้าหน้าที่อาสาฉุกเฉินการแพทย์ ช่วงฤดูฝนอย่างนี้ นอกจากการดูแลสุขภาพร่างกายให้ปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆ แล้ว ยังอาจมีปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินซึ่งต้องระมัดระวังกันด้วย อาทิ อันตรายจากไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าดูด เนื่องจากละอองฝนอาจกระเด็นไปโดนปลั๊กไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าจนอาจส่งผลให้ เกิดไฟฟ้าช็อตหรือไฟฟ้าลัดวงจรได้ นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เผยถึงอันตรายจากไฟฟ้าว่า อาการของคนที่โดนไฟฟ้าดูด กระแสไฟจะไหลผ่านหัวใจทำให้หัวใจหยุดทำงาน และอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆ ที่เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้า เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก อวัยวะในช่องท้อง และระบบประสาท ซึ่งหากกระแสไฟฟ้ามีแรงสูงมากๆ จะส่งผลให้เนื้อเยื่อที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านถูกทำลายอย่างรุนแรง และจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้องได้ บางคนอาจมีอาหารชักเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย หายใจเร็วและหมดสติ ทั้งนี้ หากเราพบเห็นผู้ถูกไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าช็อตในระหว่างการเข้าให้การช่วยเหลือ หรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นจะต้องรีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อเข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอย่างถูกวิธี เพราะผู้ป่วยจะได้รับอันตรายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถูกไฟฟ้าดูด และการช่วยเหลือที่ทันกาลและถูกวิธีจะเพิ่มโอกาสรอดให้กับผู้ป่วยฉุกเฉิน ด้วย ขณะที่ ผดุงเกียรติ คุ้มมะม่วง เจ้าหน้าที่อาสาฉุกเฉินการแพทย์ (FR) องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา แนะนำวิธีการเข้าช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูดว่า จะต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟช็อตให้เร็วที่สุด แต่ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายจะต้องทำด้วยความระมัดระวังด้วยเพราะผู้ป่วยอาจได้รับบาดเจ็บในบริเวณอื่นด้วย เช่น ตกจากที่สูง นอกจากนี้การช่วยเหลือจะต้องป้องกันตนเองไม่ให้ถูกไฟดูดหรือเป็นผู้ประสบ เหตุเองด้วย โดยต้องรีบหาแหล่งที่เกิดไฟฟ้ารั่วและหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉินถูกกระแสไฟฟ้าดูดและมีสายไฟผ่านตัวผู้ป่วยอยู่ จะต้องหาวัสดุที่เป็นฉนวน ไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น ไม้ เชือกที่แห้ง สายยาง ถุงมือยางหรือผ้าแห้งพันมือให้หนา จากนั้นผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบเหตุให้หลุดออกมาโดยเร็ว หรือเขี่ยออกจากตัวผู้ประสบอันตรายออกจากกระแสไฟ แต่ทั้งนี้หากเป็นกระแสไฟฟ้าแรงสูงควรแจ้งการไฟฟ้าโดยเร็วที่สุดเพื่อให้ตัด กระแสไฟฟ้า รวมถึงโทรแจ้งหน่วยกู้ชีพที่สายด่วน 1669 "หากผู้ถูกไฟดูดโดดดูดในบริเวณที่มีน้ำขัง ผู้ช่วยเหลือไม่ควรลงไปในน้ำเด็ดขาดจะต้องตัดกระแสไฟฟ้าก่อนเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งการเข้าไปช่วยเหลือจะต้องทำด้วยความรวดเร็ว รอบคอบ และระมัดระวัง จากนั้นห่อหุ้มบริเวณที่ถูกไฟดูดด้วยผ้าแห้ง และหากมีบาดแผลบริเวณนั้นหรือไม่แน่ใจว่ามีการบาดเจ็บของผิวหนังและเนื้อ เยื่อของร่างกายบริเวณที่ถูกสัมผัสหรือไม่ จะต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที อย่างไรก็ตามสำหรับการปฐมพยาบาลหากพบว่าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หัวใจหยุดเต้น จะต้องรีบทำรีบทำการฟื้นคืนชีพทันที" เจ้าหน้าที่อาสาฉุกเฉินการแพทย์ แนะเพิ่มเติม ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130618/161231/หน้าฝนระวัง!ไฟดูดไฟช็อต.html#.Ub_819hHWzs
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)