คุมเข้ม "บิ๊กอาย" แผงลอย ชี้อันตรายเสี่ยงตาบอด
รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เผยปัจจุบันมีผู้นิยมใส่บิ๊กอายจำนวนมาก จึงมีการควบคุมการผลิตการจำหน่ายของผู้ผลิตให้ได้มาตรฐาน ซึ่งผลิตภัณฑ์ต้องมีฉลากระบุการใช้ชัดเจน รวมถึงสถานที่จัดจำหน่ายที่เหมาะสม แนะผู้ใช้เลือกจากผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากและใบอนุญาตชัดเจน ช่วยให้ห่างไกลความเสี่ยงตาบอดได้
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ความนิยมในการใช้เลนส์สัมผัส หรือคอนแทคเลนส์ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งคอนแทคเลนส์แบบแก้ไขความผิดปกติทางสายตา และแฟชั่น จากที่เคยพบว่ามีปัญหาการติดเชื้อจากการใช้เลนส์ไม่ถูกต้อง จนทำให้เกิดอันตรายแก่ดวงตา อย.จึงยกระดับควบคุมและจัดให้เป็นเครื่องมือแพทย์ ตามมาตรา 4 (1) พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ไปแล้วนั้น ปัจจุบันคอนแทคเลนส์ประเภทแฟชั่น ไม่ว่าจะเป็นแบบสี หรือบิ๊กอาย มีผู้ผลิตที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องไปแล้วหลายราย เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและป้องกันการใช้คอนแทคเลนส์ในทางที่ ผิด โดยผู้นำเข้าต้องได้รับใบอนุญาตและมีคุณภาพมาตรฐานและข้อกำหนด อย.
นพ.ไพศาล กล่าวต่อว่า การยกระดับดังกล่าวจะทำให้เกิดการควบคุมคุณภาพ มีการควบคุมฉลากต้องเป็นภาษาไทย เพื่อให้ประชาชนใช้ได้อย่างถูกต้องตามข้อควรระวัง เพราะคอนแทคเลนส์มีหลายประเภท อาทิ ชนิด Daily หมายถึง การสวมใส่ได้ในแต่ละวัน หรือไม่เกิน 12 ชั่วโมง และชนิด Extended สวมใส่ได้ติดต่อกันตามระยะเวลาที่ระบุ เช่น 7 วัน ถึง 30 วัน แล้วทิ้ง แต่ไม่แนะนำให้ใส่ในขณะนอนหลับเด็ดขาด เป็นต้น ซึ่งปัญหาการติดเชื้อจนเสี่ยงทำให้เกิดตาบอดนั้น มักจะเกิดจากการใช้ผิดวิธี ดูแลรักษาไม่เหมาะสม ไม่สะอาด แนะนำว่าควรต้องได้รับคำปรึกษาจากจักษุแพทย์
"อย.กำลังพิจารณาควบคุมการจำหน่ายคอนแทคเลนส์เพิ่มเติม ภายหลังจากยกระดับเป็นเครื่องมือแพทย์ จะมีการออกประกาศเพิ่มเติม ให้มีการขอใบอนุญาตในการขาย เพราะพบว่ายังมีร้านจำหน่ายที่ไม่เหมาะสม เช่น แผงลอย ตลาดนัด ที่อาจเก็บผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสม โดยการออกใบอนุญาตถือเป็นการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้บริโภคได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องในการใช้ อยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรฐานและประเภทร้าน ที่สามารถจำหน่ายคอนแทคเลนส์ได้" นพ.ไพศาล กล่าว
ขอบคุณ... http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/35151 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ดวงตาของหญิงสาว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เผยปัจจุบันมีผู้นิยมใส่บิ๊กอายจำนวนมาก จึงมีการควบคุมการผลิตการจำหน่ายของผู้ผลิตให้ได้มาตรฐาน ซึ่งผลิตภัณฑ์ต้องมีฉลากระบุการใช้ชัดเจน รวมถึงสถานที่จัดจำหน่ายที่เหมาะสม แนะผู้ใช้เลือกจากผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากและใบอนุญาตชัดเจน ช่วยให้ห่างไกลความเสี่ยงตาบอดได้ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ความนิยมในการใช้เลนส์สัมผัส หรือคอนแทคเลนส์ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งคอนแทคเลนส์แบบแก้ไขความผิดปกติทางสายตา และแฟชั่น จากที่เคยพบว่ามีปัญหาการติดเชื้อจากการใช้เลนส์ไม่ถูกต้อง จนทำให้เกิดอันตรายแก่ดวงตา อย.จึงยกระดับควบคุมและจัดให้เป็นเครื่องมือแพทย์ ตามมาตรา 4 (1) พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ไปแล้วนั้น ปัจจุบันคอนแทคเลนส์ประเภทแฟชั่น ไม่ว่าจะเป็นแบบสี หรือบิ๊กอาย มีผู้ผลิตที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องไปแล้วหลายราย เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและป้องกันการใช้คอนแทคเลนส์ในทางที่ ผิด โดยผู้นำเข้าต้องได้รับใบอนุญาตและมีคุณภาพมาตรฐานและข้อกำหนด อย. หญิงสาวกำลังใส่คอนแทคเลนส์ นพ.ไพศาล กล่าวต่อว่า การยกระดับดังกล่าวจะทำให้เกิดการควบคุมคุณภาพ มีการควบคุมฉลากต้องเป็นภาษาไทย เพื่อให้ประชาชนใช้ได้อย่างถูกต้องตามข้อควรระวัง เพราะคอนแทคเลนส์มีหลายประเภท อาทิ ชนิด Daily หมายถึง การสวมใส่ได้ในแต่ละวัน หรือไม่เกิน 12 ชั่วโมง และชนิด Extended สวมใส่ได้ติดต่อกันตามระยะเวลาที่ระบุ เช่น 7 วัน ถึง 30 วัน แล้วทิ้ง แต่ไม่แนะนำให้ใส่ในขณะนอนหลับเด็ดขาด เป็นต้น ซึ่งปัญหาการติดเชื้อจนเสี่ยงทำให้เกิดตาบอดนั้น มักจะเกิดจากการใช้ผิดวิธี ดูแลรักษาไม่เหมาะสม ไม่สะอาด แนะนำว่าควรต้องได้รับคำปรึกษาจากจักษุแพทย์ "อย.กำลังพิจารณาควบคุมการจำหน่ายคอนแทคเลนส์เพิ่มเติม ภายหลังจากยกระดับเป็นเครื่องมือแพทย์ จะมีการออกประกาศเพิ่มเติม ให้มีการขอใบอนุญาตในการขาย เพราะพบว่ายังมีร้านจำหน่ายที่ไม่เหมาะสม เช่น แผงลอย ตลาดนัด ที่อาจเก็บผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสม โดยการออกใบอนุญาตถือเป็นการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้บริโภคได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องในการใช้ อยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรฐานและประเภทร้าน ที่สามารถจำหน่ายคอนแทคเลนส์ได้" นพ.ไพศาล กล่าว ขอบคุณ... http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/35151
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)