รู้ทันสัญญาณอันตราย! “หลอดเลือดสมองอุดตัน” ศึกษาวิธีป้องกันก่อนพิการ
โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต และยังเป็นโรคที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็งและอุบัติเหตุ เราจึงควรหันมาใส่ใจสุขภาพในด้านระบบประสาทและสมองกันให้มากขึ้น เพราะถ้าไม่เกิดขึ้นกับตัวเองก็อาจเกิดขึ้นกับญาติผู้ใหญ่ได้ ที่สำคัญหากเราหมั่นสังเกตอาการเตือนในระยะเริ่มต้นจะได้รีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาก่อนอาการจะรุนแรงลุกลามถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตหรือเสีย ชีวิต...!!
นายแพทย์ปีติ เนตยารักษ์ แพทย์ด้านโรคระบบประสาทและสมอง โรงพยาบาลธนบุรี ให้ความรู้ในงานครบรอบ 36 ปีของโรงพยาบาลธนบุรี ว่า โรคหลอดเลือดในสมองอุดตัน เป็นภาวะของสมองที่ทำงานผิดปกติ เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะเกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่จะนำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่างๆ จึงทำให้สมองขาดเลือดและมีอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่น แขนขาอ่อนแรง ตามองไม่เห็น พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ ชาครึ่งซีก หรือเป็นอัมพาตแบบครึ่งซีก เป็นต้น ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็น อันดับ 3 ของประเทศไทย จากสถิติทางกระทรวงสาธารสุขระบุว่าในทุก 3 นาทีจะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคนี้จำนวน 1 คน
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมี 2 ประเภท คือปัจจัยเสี่ยงสามัญที่เราทราบกันอยู่แล้ว คืออายุ ยิ่งอายุมากยิ่งเสี่ยงมาก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคความดัน โลหิตสูง มีไขมันในเลือดสูง และสูบบุหรี่ ถ้าเป็นปัจจัยเสี่ยงสามัญหลักที่จะก่อให้เกิดโรคหลอดเลืองสมองอุดตัน คือการสูบบุหรี่และป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ส่วนปัจจัยเสี่ยงพิเศษ เช่น เด็กบางคนเกิดมามีโครงสร้างของหลอดเลือดในสมองผิดปกติ เยื่อหุ้มสมองอักเสบทำให้หลอดเลือดอุดตันหรือทำให้ภูมิคุ้มกันผิดปกติ
สำหรับ อาการซึ่งเป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้นที่บ่งบอกว่ามีความผิดปกติของระบบสมองหรือประสาท คือตั้งแต่ระดับความรู้สึกลดลง หรือการใช้ภาษาผิดปกติไป พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ค่อยชัดเจน บางทีตำแหน่งของสมองที่มีปัญหาคือตำแหน่งของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ สื่อสาร ทำให้บางคนมาพบแพทย์ในเรื่องของการฟังไม่เข้าใจ ซึ่งทางผู้ดูแลอาจไม่ค่อยแน่ใจว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เพราะมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ จึงพาไปพบจิตเวชก่อน หรือบางทีมีอาการอ่อนแรงแล้วก็ยังไม่รีบมาพบแพทย์ทางระบบสมองหรือประสาท แต่กลับพาไปบีบนวดก่อน จนกระทั่งมีอาการแย่ลงจึงจะทราบว่าป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
ดังนั้นหากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวมีสัญญาณเตือนที่กล่าวไปให้รีบพามาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยก่อน เพราะสมองเราเป็นอวัยวะที่อ่อนแอที่สุดในร่างกาย ต้องการอาหาร น้ำและอากาศไปเลี้ยงตลอดเวลา ถ้าเนื้อเยื่อของสมองขาดเลือดเพียงไม่กี่นาที เช่น ประมาณ 4-5 นาทีก็เริ่มทำงานผิดปกติแล้ว ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วของที่เสียไปแล้วไม่สามารถฟื้นกลับขึ้นมาได้เหมือนเดิม จึงควรมาตรวจสมองหรือประสาทเป็นประจำทุกปี
การที่จะรักษาคนไข้โรคหลอดเลือดสมองอุดตันนั้นแพทย์ต้องทำงานแข่งกับเวลา ถ้าคนไข้เข้ามาพบแพทย์แล้วต้องพยายามวินิจฉัยให้เร็วและรักษาให้เร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีการส่งเสริมเรื่องของการให้ยาสลายลิ่มเลือดทางหลอด เลือดดำในคนไข้ที่อาการเกิดเร็ว ถ้าคนไข้มาถึงโรงพยาบาลเร็วและตรวจแล้วพบว่าเป็นจริงไม่ได้มีข้อห้ามในการ ให้ยาก็ฉีดยาเพิ่มโอกาสที่จะฟื้น ลดโอกาสที่จะพิการในอนาคต ส่วนมากที่พบคือมักจะรอจนไม่สามารถรักษาได้แล้ว
วิธีการวินิจฉัยคนไข้แพทย์จะศึกษาประวัติกับอาการ เพราะส่วนใหญ่คนไข้เส้นเลือดสมองอุดตันประวัติกับอาการจะสามารถช่วยวินิจฉัย ได้ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ เพียงแต่ว่าอาจจะใช้การถ่ายภาพสมองเป็นการยืนยันเพื่อเพิ่มความมั่นใจ โดยปกติคนไข้เส้นเลือดในสมองอุดตันเราต้องอาศัยประวัติ ตรวจร่างกาย และมีภาพถ่ายทางสมองยืนยันเสมอก่อนที่จะเริ่มต้นการรักษา ซึ่งวิธีการถ่ายภาพทางสมองมีตั้งแต่เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่เราเรียกว่า ซีทีสแกน (CT Scan) กับวิธีการถ่ายภาพทางสมองโดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้าหรือที่เราเรียกว่า เอ็มอาร์ไอ (MRI) ส่วนมากเราจะใช้วิธี MRI เพราะให้ภาพที่ละเอียดกว่า สามารถมองเห็นรอยโรคเล็กๆ ในสมองได้ดีกว่า
การรักษาโดยมากจะเป็นลักษณะของการให้ยา คือกลุ่มยาฉีดเข้าไปสลายลิ่มเลือดในคนไข้ที่เพิ่งมีอาการมาไม่นานหรือภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อไปสลายลิ่มเลือดที่ไปอุดตันทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น ทำให้คนไข้มีโอกาสฟื้นตัวเร็วขึ้น หรือการให้น้ำเกลือในปริมาณมากๆ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น ส่วนหลังจากนั้นคนไข้กลับบ้านแล้วการรักษาที่จะเกิดขึ้นตามมาวัตถุประสงค์ หลักคือทำอย่างไรไม่ให้คนไข้กลับมาเป็นอีก
ส่วนการผ่าตัดไม่ได้ใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดในสมอง แต่จะใช้การผ่าตัดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น เส้นเลือดในสมองอุดตันขนาดใหญ่ เกิดภาวะสมองบวมมาก อาจจะต้องมีการผ่าตัดด้วยการเปิดกะโหลกศีรษะออกเพื่อให้สมองมีพื้นที่ขยาย ไม่เช่นนั้นอาจจะไปกดโดนสมองบริเวณอื่นที่มีความสำคัญ แต่การผ่าตัดเอาเนื้อสมองส่วนที่ขาดเลือดไปแล้วทิ้งไปนั้นไม่มี ส่วนใหญ่คนไข้ที่มีอาการรุนแรงมากๆ จะไม่รู้สึกตัว เริ่มสังเกตว่ามีอาการหายใจที่ผิดปกติ ซึ่งภาพถ่ายทางสมองจะยืนยันว่าเนื้อสมองขาดเลือดเป็นบริเวณที่ใหญ่จริงจึงจะ ใช้วิธีผ่าตัด
หลังจากการรักษาทุกวิธีแล้วสิ่งสำคัญที่สุด คือคนไข้ต้องทำการกายภาพบำบัด ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดอุดตันแล้ว ส่วนมากที่เป็นมากแล้วจะหายเป็นปกตินั้นน้อยอยู่แล้ว ส่วนที่เป็นน้อยแน่นอนว่ามีโอกาสหายได้ หรือบางครั้งอยู่ที่ต้นทุนสุขภาพของตัวเองด้วยว่าดีแค่ไหน สำหรับผู้ที่ทำกายภาพใหม่ๆ เนื่องจากแขนขาไม่ค่อยมีแรง ตอนแรกอาจขยันทำกายภาพดี แต่พอทำไปประมาณ 3 เดือนรู้สึกว่าไม่ค่อยดีขึ้นจึงทำให้หมดกำลังใจ จากเคยทำวันละหลายครั้งก็เหลือวันละครั้ง ซึ่งบางครั้งการทำกายภาพบำบัดไม่ได้ช่วยให้หาย แต่เป็นการทำให้คงไว้หรือว่าป้องกันภาวะอื่นๆ แทรกซ้อน
สุดท้ายวิธีการป้องกัน แม้จะไม่มีวิธีใดป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อะไรที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสามัญ เช่น การสูบบุหรี่ เป็น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ควรจะรักษาและคุมให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด และพยายามส่งเสริมสุขภาพในแง่ของการออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราทราบอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีคนไข้บางคนที่มีโรคประจำตัวมากยังชะล่าใจและใช้ชีวิตบนความ เสี่ยงอยู่ทำให้ต้องกลายเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันในที่สุด
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/213795 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คนไข้เข้าเครื่องสแกนสมองเพื่อตรวจหา ภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต และยังเป็นโรคที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็งและอุบัติเหตุ เราจึงควรหันมาใส่ใจสุขภาพในด้านระบบประสาทและสมองกันให้มากขึ้น เพราะถ้าไม่เกิดขึ้นกับตัวเองก็อาจเกิดขึ้นกับญาติผู้ใหญ่ได้ ที่สำคัญหากเราหมั่นสังเกตอาการเตือนในระยะเริ่มต้นจะได้รีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาก่อนอาการจะรุนแรงลุกลามถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตหรือเสีย ชีวิต...!! สื่อทางการแพทย์ แสดงภาพหลอดเลือดสมองอุดตัน นายแพทย์ปีติ เนตยารักษ์ แพทย์ด้านโรคระบบประสาทและสมอง โรงพยาบาลธนบุรี ให้ความรู้ในงานครบรอบ 36 ปีของโรงพยาบาลธนบุรี ว่า โรคหลอดเลือดในสมองอุดตัน เป็นภาวะของสมองที่ทำงานผิดปกติ เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะเกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่จะนำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่างๆ จึงทำให้สมองขาดเลือดและมีอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่น แขนขาอ่อนแรง ตามองไม่เห็น พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ ชาครึ่งซีก หรือเป็นอัมพาตแบบครึ่งซีก เป็นต้น ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็น อันดับ 3 ของประเทศไทย จากสถิติทางกระทรวงสาธารสุขระบุว่าในทุก 3 นาทีจะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคนี้จำนวน 1 คน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมี 2 ประเภท คือปัจจัยเสี่ยงสามัญที่เราทราบกันอยู่แล้ว คืออายุ ยิ่งอายุมากยิ่งเสี่ยงมาก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคความดัน โลหิตสูง มีไขมันในเลือดสูง และสูบบุหรี่ ถ้าเป็นปัจจัยเสี่ยงสามัญหลักที่จะก่อให้เกิดโรคหลอดเลืองสมองอุดตัน คือการสูบบุหรี่และป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ส่วนปัจจัยเสี่ยงพิเศษ เช่น เด็กบางคนเกิดมามีโครงสร้างของหลอดเลือดในสมองผิดปกติ เยื่อหุ้มสมองอักเสบทำให้หลอดเลือดอุดตันหรือทำให้ภูมิคุ้มกันผิดปกติ คนไข้นั่งรถเข็นและแพทย์กำลังพยุงแขนคนไข้ สำหรับ อาการซึ่งเป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้นที่บ่งบอกว่ามีความผิดปกติของระบบสมองหรือประสาท คือตั้งแต่ระดับความรู้สึกลดลง หรือการใช้ภาษาผิดปกติไป พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ค่อยชัดเจน บางทีตำแหน่งของสมองที่มีปัญหาคือตำแหน่งของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ สื่อสาร ทำให้บางคนมาพบแพทย์ในเรื่องของการฟังไม่เข้าใจ ซึ่งทางผู้ดูแลอาจไม่ค่อยแน่ใจว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เพราะมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ จึงพาไปพบจิตเวชก่อน หรือบางทีมีอาการอ่อนแรงแล้วก็ยังไม่รีบมาพบแพทย์ทางระบบสมองหรือประสาท แต่กลับพาไปบีบนวดก่อน จนกระทั่งมีอาการแย่ลงจึงจะทราบว่าป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ดังนั้นหากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวมีสัญญาณเตือนที่กล่าวไปให้รีบพามาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยก่อน เพราะสมองเราเป็นอวัยวะที่อ่อนแอที่สุดในร่างกาย ต้องการอาหาร น้ำและอากาศไปเลี้ยงตลอดเวลา ถ้าเนื้อเยื่อของสมองขาดเลือดเพียงไม่กี่นาที เช่น ประมาณ 4-5 นาทีก็เริ่มทำงานผิดปกติแล้ว ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วของที่เสียไปแล้วไม่สามารถฟื้นกลับขึ้นมาได้เหมือนเดิม จึงควรมาตรวจสมองหรือประสาทเป็นประจำทุกปี ผู้สูงอายุกำลังออกกำลังกาย การที่จะรักษาคนไข้โรคหลอดเลือดสมองอุดตันนั้นแพทย์ต้องทำงานแข่งกับเวลา ถ้าคนไข้เข้ามาพบแพทย์แล้วต้องพยายามวินิจฉัยให้เร็วและรักษาให้เร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีการส่งเสริมเรื่องของการให้ยาสลายลิ่มเลือดทางหลอด เลือดดำในคนไข้ที่อาการเกิดเร็ว ถ้าคนไข้มาถึงโรงพยาบาลเร็วและตรวจแล้วพบว่าเป็นจริงไม่ได้มีข้อห้ามในการ ให้ยาก็ฉีดยาเพิ่มโอกาสที่จะฟื้น ลดโอกาสที่จะพิการในอนาคต ส่วนมากที่พบคือมักจะรอจนไม่สามารถรักษาได้แล้ว วิธีการวินิจฉัยคนไข้แพทย์จะศึกษาประวัติกับอาการ เพราะส่วนใหญ่คนไข้เส้นเลือดสมองอุดตันประวัติกับอาการจะสามารถช่วยวินิจฉัย ได้ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ เพียงแต่ว่าอาจจะใช้การถ่ายภาพสมองเป็นการยืนยันเพื่อเพิ่มความมั่นใจ โดยปกติคนไข้เส้นเลือดในสมองอุดตันเราต้องอาศัยประวัติ ตรวจร่างกาย และมีภาพถ่ายทางสมองยืนยันเสมอก่อนที่จะเริ่มต้นการรักษา ซึ่งวิธีการถ่ายภาพทางสมองมีตั้งแต่เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่เราเรียกว่า ซีทีสแกน (CT Scan) กับวิธีการถ่ายภาพทางสมองโดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้าหรือที่เราเรียกว่า เอ็มอาร์ไอ (MRI) ส่วนมากเราจะใช้วิธี MRI เพราะให้ภาพที่ละเอียดกว่า สามารถมองเห็นรอยโรคเล็กๆ ในสมองได้ดีกว่า การรักษาโดยมากจะเป็นลักษณะของการให้ยา คือกลุ่มยาฉีดเข้าไปสลายลิ่มเลือดในคนไข้ที่เพิ่งมีอาการมาไม่นานหรือภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อไปสลายลิ่มเลือดที่ไปอุดตันทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น ทำให้คนไข้มีโอกาสฟื้นตัวเร็วขึ้น หรือการให้น้ำเกลือในปริมาณมากๆ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น ส่วนหลังจากนั้นคนไข้กลับบ้านแล้วการรักษาที่จะเกิดขึ้นตามมาวัตถุประสงค์ หลักคือทำอย่างไรไม่ให้คนไข้กลับมาเป็นอีก ส่วนการผ่าตัดไม่ได้ใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดในสมอง แต่จะใช้การผ่าตัดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น เส้นเลือดในสมองอุดตันขนาดใหญ่ เกิดภาวะสมองบวมมาก อาจจะต้องมีการผ่าตัดด้วยการเปิดกะโหลกศีรษะออกเพื่อให้สมองมีพื้นที่ขยาย ไม่เช่นนั้นอาจจะไปกดโดนสมองบริเวณอื่นที่มีความสำคัญ แต่การผ่าตัดเอาเนื้อสมองส่วนที่ขาดเลือดไปแล้วทิ้งไปนั้นไม่มี ส่วนใหญ่คนไข้ที่มีอาการรุนแรงมากๆ จะไม่รู้สึกตัว เริ่มสังเกตว่ามีอาการหายใจที่ผิดปกติ ซึ่งภาพถ่ายทางสมองจะยืนยันว่าเนื้อสมองขาดเลือดเป็นบริเวณที่ใหญ่จริงจึงจะ ใช้วิธีผ่าตัด หลังจากการรักษาทุกวิธีแล้วสิ่งสำคัญที่สุด คือคนไข้ต้องทำการกายภาพบำบัด ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดอุดตันแล้ว ส่วนมากที่เป็นมากแล้วจะหายเป็นปกตินั้นน้อยอยู่แล้ว ส่วนที่เป็นน้อยแน่นอนว่ามีโอกาสหายได้ หรือบางครั้งอยู่ที่ต้นทุนสุขภาพของตัวเองด้วยว่าดีแค่ไหน สำหรับผู้ที่ทำกายภาพใหม่ๆ เนื่องจากแขนขาไม่ค่อยมีแรง ตอนแรกอาจขยันทำกายภาพดี แต่พอทำไปประมาณ 3 เดือนรู้สึกว่าไม่ค่อยดีขึ้นจึงทำให้หมดกำลังใจ จากเคยทำวันละหลายครั้งก็เหลือวันละครั้ง ซึ่งบางครั้งการทำกายภาพบำบัดไม่ได้ช่วยให้หาย แต่เป็นการทำให้คงไว้หรือว่าป้องกันภาวะอื่นๆ แทรกซ้อน สุดท้ายวิธีการป้องกัน แม้จะไม่มีวิธีใดป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อะไรที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสามัญ เช่น การสูบบุหรี่ เป็น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ควรจะรักษาและคุมให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด และพยายามส่งเสริมสุขภาพในแง่ของการออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราทราบอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีคนไข้บางคนที่มีโรคประจำตัวมากยังชะล่าใจและใช้ชีวิตบนความ เสี่ยงอยู่ทำให้ต้องกลายเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันในที่สุด ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/213795
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)