ไตเสีย...ซ่อมได้ แนะเช็กสัญญาณป่วย

แสดงความคิดเห็น

อ.นพ.สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล แต่ละคืนหากคุณต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกเกินกว่า 1 ครั้ง ที่สำคัญปัสสาวะเป็นฟองเยอะ หรือมีสีแดงเหมือนสีน้ำล้างเนื้อ เป็นสัญญาณที่บ่งว่าคุณมีความเสี่ยงเป็นโรคไต หากไม่รีบรักษาหรือควบคุมอาจกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรังได้

อ.นพ.สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต (วักกะวิทยา, Nephrology) ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์หรือ SiPH บอกว่า กลุ่มผู้ที่ปัสสาวะเป็นฟองมาก อาจมีปัญหาโปรตีนรั่วออกทางไต เป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าไตมีปัญหา แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ปัสสาวะบ่อยจะต้องเป็นโรคไตเสมอไปยังมีอาการรอบตาบวมหน้าบวมหรือเท้าบวมกดแล้วบุ๋มลงไป

ภายในห้องตรวจโรคไต "ตัวแรกที่ต้องตรวจเช็กคือ Blood Urea Nitrogen (BUN) ตัวที่สอง คือ Creatinine ซึ่งเป็นของเสียที่ต้องถูกขับออกทางไต เช็กว่าไตไม่ทำงาน หรือมีของเสียเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติหรือไม่ เมื่ออายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจเช็กสุขภาพไตเป็นประจำทุกปี คนที่เป็นเบาหวานและความดันเลือดสูงถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง"

แนวทางการรักษาโรคไต แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกสามารถรักษาให้หายได้ เช่น กลุ่มโรคที่มีโปรตีนรั่วที่ไต (Nephrotic syndrome) หรือกลุ่มโรคไตอักเสบที่มีเม็ดเลือดแดงออกมา การอักเสบของเม็ดเลือดฝอยในไต เช่น SLE สามารถรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันได้หรือถ้าเป็นนิ่วในไตก็ผ่าตัดเอานิ่วออก กลุ่มที่สอง กลุ่มที่มารักษาช้า หรือไม่สามารถรักษาได้ โดยกลุ่มนี้เกิดโรคไตเรื้อรังมีทั้งหมด 5 ระดับ ระดับหนึ่ง กับระดับสอง ความสามารถในการกรองของเสีย มากกว่า 60 ซีซีต่อนาที ผู้ป่วยกลุ่มนี้ความดันสูง มีโปรตีนในปัสสาวะหรือมีการอักเสบของไตอยู่ หากควบคุมไม่ดีจะเข้าสู่ระดับที่สามระดับที่สี่และระดับที่ห้า ซึ่งความสามารถในการกรองของเสียลดลง

ภายในห้องตรวจโรคไต วิธีบำบัดทดแทนไต ทำได้ 3 วิธี คือ 1.การปลูกถ่ายไต 2.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และ 3.การฟอกไตทางช่องท้อง 10 ปี ที่ผ่านมาคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยร้อยละ 5-10 ของประชากรหรือ600คนต่อ1ล้านประชากรที่ต้องใช้วิธีบำบัดทดแทนไต

อ.นพ.สม เกียรติ อธิบายว่า การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีผลแทรก ซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจไม่มากนัก ส่วนการฟอกไตทางช่องท้องสามารถกลับบ้านทำเองได้ เหมาะกับกลุ่มคนที่มีความรู้ในการดูแลตนเองดี ที่ศูนย์โรคไต SiPH มีห้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีประสิทธิภาพ ในอนาคตอาจมีการพัฒนาเครื่องฟอกไตเทียมแบบพกพา ให้ผลการรักษาและอัตราการอยู่รอดใกล้เคียงกับการปลูกถ่ายไต เพราะไม่ต้องกินยากดภูมิคุ้มกันลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางมาร.พ.

สิ่งสำคัญคือ การป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต คือ ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันเลือดสูง ต้องควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเซด ผู้ป่วยต้องควบคุมอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนให้น้อยลง เน้นอาหารปลาทะเล ควบคุมอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ส่วนใหญ่อยู่ในธัญพืช เพราะฟอสเฟตจะจับแคลเซียมเป็นผลึกไปสะสมที่หลอดเลือดทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น รวมทั้งอาหารพวกนม ถั่ว ช็อกโกแลต ลูกเนียง มะเฟือง เชอร์รี่ หญ้าไผ่ ต้องไม่สูบบุหรี่ และลดความอ้วน

ขอบคุณ... url]

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 27/06/2556 เวลา 03:02:26 ดูภาพสไลด์โชว์ ไตเสีย...ซ่อมได้ แนะเช็กสัญญาณป่วย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

อ.นพ.สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล แต่ละคืนหากคุณต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกเกินกว่า 1 ครั้ง ที่สำคัญปัสสาวะเป็นฟองเยอะ หรือมีสีแดงเหมือนสีน้ำล้างเนื้อ เป็นสัญญาณที่บ่งว่าคุณมีความเสี่ยงเป็นโรคไต หากไม่รีบรักษาหรือควบคุมอาจกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรังได้ อ.นพ.สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต (วักกะวิทยา, Nephrology) ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์หรือ SiPH บอกว่า กลุ่มผู้ที่ปัสสาวะเป็นฟองมาก อาจมีปัญหาโปรตีนรั่วออกทางไต เป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าไตมีปัญหา แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ปัสสาวะบ่อยจะต้องเป็นโรคไตเสมอไปยังมีอาการรอบตาบวมหน้าบวมหรือเท้าบวมกดแล้วบุ๋มลงไป ภายในห้องตรวจโรคไต "ตัวแรกที่ต้องตรวจเช็กคือ Blood Urea Nitrogen (BUN) ตัวที่สอง คือ Creatinine ซึ่งเป็นของเสียที่ต้องถูกขับออกทางไต เช็กว่าไตไม่ทำงาน หรือมีของเสียเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติหรือไม่ เมื่ออายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจเช็กสุขภาพไตเป็นประจำทุกปี คนที่เป็นเบาหวานและความดันเลือดสูงถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง" แนวทางการรักษาโรคไต แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกสามารถรักษาให้หายได้ เช่น กลุ่มโรคที่มีโปรตีนรั่วที่ไต (Nephrotic syndrome) หรือกลุ่มโรคไตอักเสบที่มีเม็ดเลือดแดงออกมา การอักเสบของเม็ดเลือดฝอยในไต เช่น SLE สามารถรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันได้หรือถ้าเป็นนิ่วในไตก็ผ่าตัดเอานิ่วออก กลุ่มที่สอง กลุ่มที่มารักษาช้า หรือไม่สามารถรักษาได้ โดยกลุ่มนี้เกิดโรคไตเรื้อรังมีทั้งหมด 5 ระดับ ระดับหนึ่ง กับระดับสอง ความสามารถในการกรองของเสีย มากกว่า 60 ซีซีต่อนาที ผู้ป่วยกลุ่มนี้ความดันสูง มีโปรตีนในปัสสาวะหรือมีการอักเสบของไตอยู่ หากควบคุมไม่ดีจะเข้าสู่ระดับที่สามระดับที่สี่และระดับที่ห้า ซึ่งความสามารถในการกรองของเสียลดลง ภายในห้องตรวจโรคไต วิธีบำบัดทดแทนไต ทำได้ 3 วิธี คือ 1.การปลูกถ่ายไต 2.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และ 3.การฟอกไตทางช่องท้อง 10 ปี ที่ผ่านมาคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยร้อยละ 5-10 ของประชากรหรือ600คนต่อ1ล้านประชากรที่ต้องใช้วิธีบำบัดทดแทนไต อ.นพ.สม เกียรติ อธิบายว่า การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีผลแทรก ซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจไม่มากนัก ส่วนการฟอกไตทางช่องท้องสามารถกลับบ้านทำเองได้ เหมาะกับกลุ่มคนที่มีความรู้ในการดูแลตนเองดี ที่ศูนย์โรคไต SiPH มีห้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีประสิทธิภาพ ในอนาคตอาจมีการพัฒนาเครื่องฟอกไตเทียมแบบพกพา ให้ผลการรักษาและอัตราการอยู่รอดใกล้เคียงกับการปลูกถ่ายไต เพราะไม่ต้องกินยากดภูมิคุ้มกันลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางมาร.พ. สิ่งสำคัญคือ การป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต คือ ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันเลือดสูง ต้องควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเซด ผู้ป่วยต้องควบคุมอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนให้น้อยลง เน้นอาหารปลาทะเล ควบคุมอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ส่วนใหญ่อยู่ในธัญพืช เพราะฟอสเฟตจะจับแคลเซียมเป็นผลึกไปสะสมที่หลอดเลือดทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น รวมทั้งอาหารพวกนม ถั่ว ช็อกโกแลต ลูกเนียง มะเฟือง เชอร์รี่ หญ้าไผ่ ต้องไม่สูบบุหรี่ และลดความอ้วน ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1372208767&grpid=&catid=09&subcatid=0902

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...