ร.พ.ขอนแก่นคว้า2รางวัลเป็นเลิศบูรณาการสร้างชีวิตเด็กออทิสติก-ธาลัสซีเมีย
ขอนแก่น - นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผอ.ร.พ.ขอนแก่น เผยว่า จากการที่ร.พ. ขอนแก่น ได้รางวัลนวัตกรรมการบริการที่ และรางวัลบูรณาการการบริการที่เป็นเลิศ ซึ่งเป็นรางวัลภาครัฐแห่งชาติ พ.ศ.2555 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) เกี่ยวกับการสร้างชีวิตใหม่ให้เด็กออทิสติก-ธาลัสซีเมีย แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของ พญ. ภัทรา ฤชุวรารักษ์ ผู้เชี่ยวชาญการดูแลเด็กออทิสติก และพญ.มนธนาจันทรนิยมที่เชี่ยวชาญรักษาโรคธาลัสซีเมียซึ่งมุ่งมั่นช่วยเหลือเด็กและครอบครัว
พญ.ภัท รากล่าวว่า จ.ขอนแก่น มีเด็กออทิสติก 1,000 คน ซึ่งการดูแลเด็กใช้ระบบบริการแบบบูรณาการ มีแพทย์ จิตแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักแก้ไขการพูด ครูการศึกษาพิเศษช่วยกันบำบัด ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจเด็กโดยบูรณาการการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับครอบครัว ศูนย์เด็กเล็ก ชุมชนและร.พ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อคัดกรองเด็กวัย 0-12 ปี ที่มีลักษณะไม่พูดจา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว หากพบว่าเป็นเด็กออทิสติกก็ส่งตัวบำบัดฟื้นฟูที่ ร.พ.ขอนแก่น โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การฝึกพูด ศิลปะ ดนตรี ว่ายน้ำ อาชาบำบัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวรวมทั้งให้ความรู้แก่พ่อแม่ในการดูแลเด็ก
พญ.มน ธนากล่าวว่า สถานการณ์โรคธาลัสซีเมียในไทยน่าห่วง เพราะปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคนี้อันดับ 1 ของโลก และคนไทยร้อยละ 50 เป็นพาหะของโรคนี้ หากพ่อแม่และสังคมรอบข้างไม่ใส่ใจดูแลเด็ก จะทำให้เด็กซึมเศร้า สุขภาพกายและใจไม่ดี เราจึงเริ่มด้วยการปรับทัศนคติของเด็กและพ่อแม่ ให้รู้จักโรคธาลัสซีเมีย อีกทั้งมีทีมสหสาขาวิชาชีพดูแลผู้ป่วย และมีคลังเลือดสำหรับเด็กกลุ่มนี้
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ขอนแก่น - นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผอ.ร.พ.ขอนแก่น เผยว่า จากการที่ร.พ. ขอนแก่น ได้รางวัลนวัตกรรมการบริการที่ และรางวัลบูรณาการการบริการที่เป็นเลิศ ซึ่งเป็นรางวัลภาครัฐแห่งชาติ พ.ศ.2555 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) เกี่ยวกับการสร้างชีวิตใหม่ให้เด็กออทิสติก-ธาลัสซีเมีย แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของ พญ. ภัทรา ฤชุวรารักษ์ ผู้เชี่ยวชาญการดูแลเด็กออทิสติก และพญ.มนธนาจันทรนิยมที่เชี่ยวชาญรักษาโรคธาลัสซีเมียซึ่งมุ่งมั่นช่วยเหลือเด็กและครอบครัว พญ.ภัท รากล่าวว่า จ.ขอนแก่น มีเด็กออทิสติก 1,000 คน ซึ่งการดูแลเด็กใช้ระบบบริการแบบบูรณาการ มีแพทย์ จิตแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักแก้ไขการพูด ครูการศึกษาพิเศษช่วยกันบำบัด ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจเด็กโดยบูรณาการการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับครอบครัว ศูนย์เด็กเล็ก ชุมชนและร.พ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อคัดกรองเด็กวัย 0-12 ปี ที่มีลักษณะไม่พูดจา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว หากพบว่าเป็นเด็กออทิสติกก็ส่งตัวบำบัดฟื้นฟูที่ ร.พ.ขอนแก่น โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การฝึกพูด ศิลปะ ดนตรี ว่ายน้ำ อาชาบำบัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวรวมทั้งให้ความรู้แก่พ่อแม่ในการดูแลเด็ก พญ.มน ธนากล่าวว่า สถานการณ์โรคธาลัสซีเมียในไทยน่าห่วง เพราะปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคนี้อันดับ 1 ของโลก และคนไทยร้อยละ 50 เป็นพาหะของโรคนี้ หากพ่อแม่และสังคมรอบข้างไม่ใส่ใจดูแลเด็ก จะทำให้เด็กซึมเศร้า สุขภาพกายและใจไม่ดี เราจึงเริ่มด้วยการปรับทัศนคติของเด็กและพ่อแม่ ให้รู้จักโรคธาลัสซีเมีย อีกทั้งมีทีมสหสาขาวิชาชีพดูแลผู้ป่วย และมีคลังเลือดสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2NtOHdNVEEwTURjMU5nPT0=§ionid=TURNeE13PT0=&day=TWpBeE15MHdOeTB3TkE9PQ==
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)