สปสช.เผยผลสำเร็จกองทุนสุขภาพตำบล

แสดงความคิดเห็น

น.พ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากการที่ได้มีการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.และเทศบาล หรือกองทุนสุขภาพตำบลขึ้นทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งเป็นความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และ สปสช. นั้น จนถึงปัจจุบันครอบคลุม 99% ทั่วประเทศ หรือ 7,718 แห่ง โดย สปสช.สนับสนุนงบประมาณอัตรา 40 บาทต่อประชากรต่อปี ตั้งแต่เริ่มดำเนินการปี 2549 ถึงปัจจุบันนั้น สปสช.สมทบ 10,685 ล้านบาท อบต.เทศบาลสมทบ 3,001 ล้านบาท เพื่อดำเนินการด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพของ ประชาชนกว่า 56.65 ล้านคน

เลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า กิจกรรมที่แต่ละกองทุนสุขภาพตำบลดำเนินการนั้น มีทั้งการจัดซื้อบริการตามชุดสิทธิประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมาย เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การสนับสนุนหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่และประชาชน เพื่อดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคเชิงรุกในชุมชน ขณะเดียวกันก็เน้นการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพในกลุ่มโรคเรื้อรังที่สำคัญ เช่น เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์/อัมพาต โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเอดส์ เป็นต้น

น.พ.วินัย กล่าวว่า จากผลของความสำเร็จจากการดำเนินการกองทุนสุขภาพตำบลตั้งแต่ปี 2549 นั้น เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า กองทุนสุขภาพตำบลนั้นเป็นกลไกหรือเครื่องมือที่สำคัญของการกระจายอำนาจไปสู่ ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นเป็นผู้จัดบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นเอง สอดคล้องกับผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) ที่พบว่า กองทุนสุขภาพตำบลช่วยเสริมพลังอำนาจของท้องถิ่นและชุมชนได้ดี ท้องถิ่นและชุมชนเกิดความตื่นตัวด้านสุขภาพ มีการสมทบงบประมาณในกองทุนมากขึ้น องค์กรชุมชนมีบทบาทในการเสนอโครงการเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนด้านสาธารณสุขของ อบต./เทศบาลที่มากขึ้น เกิดกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงและสร้างความตระหนักด้านสุขภาพในท้องถิ่น โดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ภายใต้การสนับสนุนจาก อปท. สปสช. สถานีอนามัย และหน่วยราชการในพื้นที่ นอกจากนั้นยังเกิดความริเริ่มและนวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วยขึ้นมากมาย และเกิดเจ้าภาพใหม่ ได้แก่ เทศบาล/อบต. ในการส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ นอกจากนั้น ยังเกิดบริการสาธารณะที่ดีขึ้น เช่น รถบริการฉุกเฉิน ส่งต่อผู้ป่วย การออกกำลังกาย การดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แม่/เด็ก มีความพยายามที่จะผลักดันเรื่องใหม่ๆ มากกว่าบริบทของสุขภาพ เช่น ต้องการระบบสวัสดิการเมื่อเจ็บป่วยหรือบำนาญเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ เป็นบันไดเรียนรู้และสนับสนุนให้ อปท. พัฒนาการทำงานที่สูงขึ้น เช่น การบริหารจัดบริการสุขภาพชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับมติของคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. และคณะอนุกรรมการถ่ายโอนบริการสาธารณสุข

ขอบคุณ http://www.banmuang.co.th/2013/07/สปสช-เผยผลสำเร็จกองทุนส/

ที่มา: บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 9/07/2556 เวลา 02:52:30

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น.พ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากการที่ได้มีการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.และเทศบาล หรือกองทุนสุขภาพตำบลขึ้นทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งเป็นความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และ สปสช. นั้น จนถึงปัจจุบันครอบคลุม 99% ทั่วประเทศ หรือ 7,718 แห่ง โดย สปสช.สนับสนุนงบประมาณอัตรา 40 บาทต่อประชากรต่อปี ตั้งแต่เริ่มดำเนินการปี 2549 ถึงปัจจุบันนั้น สปสช.สมทบ 10,685 ล้านบาท อบต.เทศบาลสมทบ 3,001 ล้านบาท เพื่อดำเนินการด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพของ ประชาชนกว่า 56.65 ล้านคน เลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า กิจกรรมที่แต่ละกองทุนสุขภาพตำบลดำเนินการนั้น มีทั้งการจัดซื้อบริการตามชุดสิทธิประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมาย เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การสนับสนุนหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่และประชาชน เพื่อดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคเชิงรุกในชุมชน ขณะเดียวกันก็เน้นการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพในกลุ่มโรคเรื้อรังที่สำคัญ เช่น เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์/อัมพาต โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเอดส์ เป็นต้น น.พ.วินัย กล่าวว่า จากผลของความสำเร็จจากการดำเนินการกองทุนสุขภาพตำบลตั้งแต่ปี 2549 นั้น เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า กองทุนสุขภาพตำบลนั้นเป็นกลไกหรือเครื่องมือที่สำคัญของการกระจายอำนาจไปสู่ ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นเป็นผู้จัดบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นเอง สอดคล้องกับผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) ที่พบว่า กองทุนสุขภาพตำบลช่วยเสริมพลังอำนาจของท้องถิ่นและชุมชนได้ดี ท้องถิ่นและชุมชนเกิดความตื่นตัวด้านสุขภาพ มีการสมทบงบประมาณในกองทุนมากขึ้น องค์กรชุมชนมีบทบาทในการเสนอโครงการเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนด้านสาธารณสุขของ อบต./เทศบาลที่มากขึ้น เกิดกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงและสร้างความตระหนักด้านสุขภาพในท้องถิ่น โดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ภายใต้การสนับสนุนจาก อปท. สปสช. สถานีอนามัย และหน่วยราชการในพื้นที่ นอกจากนั้นยังเกิดความริเริ่มและนวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วยขึ้นมากมาย และเกิดเจ้าภาพใหม่ ได้แก่ เทศบาล/อบต. ในการส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ นอกจากนั้น ยังเกิดบริการสาธารณะที่ดีขึ้น เช่น รถบริการฉุกเฉิน ส่งต่อผู้ป่วย การออกกำลังกาย การดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แม่/เด็ก มีความพยายามที่จะผลักดันเรื่องใหม่ๆ มากกว่าบริบทของสุขภาพ เช่น ต้องการระบบสวัสดิการเมื่อเจ็บป่วยหรือบำนาญเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ เป็นบันไดเรียนรู้และสนับสนุนให้ อปท. พัฒนาการทำงานที่สูงขึ้น เช่น การบริหารจัดบริการสุขภาพชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับมติของคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. และคณะอนุกรรมการถ่ายโอนบริการสาธารณสุข ขอบคุณ… http://www.banmuang.co.th/2013/07/สปสช-เผยผลสำเร็จกองทุนส/

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...