สร้างเสริมกลไกรองรับ‘เด็กออทิสติก’ดูแลดี‘เป็นเลิศได้!’
“มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เนื่องจากข้อจำกัดหน่วยบริการสาธารณสุขและบุคลากรไม่เพียงพอ ปัจจุบันมีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นประมาณ 100 คนทั่วประเทศ ขณะที่พยาบาลกระตุ้นพัฒนาการมีน้อยมาก สถาบันที่ให้การอบรมสามารถอบรมได้ปีละ 30 คน ในอนาคตจึงดำเนินการให้เด็กกลุ่มเด็กพิเศษเข้าถึงบริการมากขึ้น”
... นี่เป็นการระบุถึงกลุ่ม ’เด็กพิเศษ“ หรือ ’เด็กออทิสติก“ โดยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.วินัย สวัสดิวร ระหว่างดูงานการดำเนินงานเพื่อดูแลเด็กพิเศษครบวงจรที่ จ.ระนอง ซึ่งที่โรงพยาบาลระนองนั้น ปี 2553 มีผู้ป่วยนอกออทิสติก 6,753 คน เข้ารับบริการ 28,005 ครั้ง, ปี 2554 มี 12,531 คน เข้ารับบริการ 75,817 ครั้ง, ปี 2555 มี 15,234 คน เข้ารับบริการ 108,298 ครั้ง
ทั้งนี้ กลุ่มเด็กพิเศษเป็นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าไม่เป็นไปตามวัย มีพัฒนาการบกพร่อง มีความผิดปกติด้านพัฒนาการอย่างรอบด้าน จะแสดงอาการชัดเจนในวัยเด็ก โดยพัฒนาการด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสาร จะไม่เป็นไปตามปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติของระบบประสาทบางส่วนจากหลายสาเหตุ
เด็กกลุ่มนี้นับวันจะเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย และกับการดูแลเด็กกลุ่มนี้ นพ.วินัยระบุว่า...แม้การดูแลเด็กพิเศษก็อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช. แต่ส่วนตัวเห็นว่าสิ่งสำคัญคือ ต้องสร้างกลไกของระบบที่ใกล้บ้านมากที่สุด รวมถึงพ่อและแม่ ที่ถือเป็นคนใกล้ชิดเด็กมากที่สุด ซึ่งต้องช่วยให้สามารถพบว่าลูกเป็นออทิสติกหรือไม่ในเวลาที่รวดเร็ว เพราะถือเป็นส่วนที่สำคัญมากในกระบวนการรักษา โดยในวันที่ 11-12 ก.ค.2556สปสช.ก็ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องนี้
การประชุมดังกล่าวนี้จัดขึ้นเพื่อระดมความเห็นเกี่ยวกับการจัดระบบดูแล พัฒนาการเด็ก ตั้งแต่การดูแลโดยพ่อแม่ ชุมชน หน่วยบริการ และการดูแลต่อเนื่องในชุมชน ซึ่ง สปสช. สนับสนุนโรงพยาบาล ที่มีการจัดบริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า โดยปัจจุบันมีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการ 42 แห่งทั่วประเทศ
“การเริ่มต้นให้ผู้ป่วยเข้าถึงสิทธิ จำเป็นจะต้องมีการบูรณาการทุกด้าน จำเป็นต้องวางแนวคิด สร้างโมเดล และออกแบบระบบว่าจะทำให้เกิดการบริหารคนและงบประมาณอย่างไร ส่วนเรื่องการตั้งกองทุนเฉพาะโรคด้านออทิสติก ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจำเป็นต้องให้งบพิเศษด้านนี้ เพื่อบูรณาการทุกฝ่าย ทั้งการให้ยา การสร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองเกี่ยวกับการสังเกตอาการบุตรหลาน รวมทั้งโรงเรียนต้องให้ความสำคัญ ซึ่งเรื่องยานั้นที่ผ่านมา สปสช. ก็มีการ เพิ่มสิทธิการให้ยาริสเพอริโดน ซึ่งมีการให้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ อยู่แล้ว เพราะถือเป็นสิทธิอัตโนมัติของผู้ป่วย”...เลขาธิการสปสช.ระบุ
ขณะที่ นพ.ทินกร พงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระนอง ระบุไว้ว่า...หลังพบข้อมูลจากการสำรวจว่ามีเด็ก 11% ที่มีปัญหาพัฒนาการช้า ทางโรงพยาบาลระนองก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้มากขึ้นอีก โดยตั้งคลินิกพัฒนาการเด็กตั้งแต่ปี 2546 ดูแลแบบครบวงจร ตั้งแต่การรักษา การส่งเสริมพัฒนาการ และความร่วมมือกับผู้ปกครองและโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันให้การดูแลเด็กพิเศษประมาณ150คน
“เด็กพิเศษหรือเด็กออทิสติกส่วนใหญ่จะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนในระยะ 3 ขวบ ซึ่งอุบัติการณ์นั้นพบได้ 1 : 2,000 ของประชากรเด็ก และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-5 เท่า แต่ในเด็กหญิงมักมีความรุนแรงมากกว่าเด็กชาย นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดโรคในพี่น้องของเด็กออทิสติก 1 : 50”...นพ.ทินกร กล่าว และว่า...
การดูแลรักษาเด็กพิเศษกลุ่มนี้ควรมีการเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 2-3 ปี เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมาก ทั้งนี้ กับกรณีศึกษาการดูแลเด็กกลุ่มนี้ เสาวคนธ์ ประธานชมรมผู้ปกครองเด็กออทิสติก จ.ระนอง คุณแม่ของเด็กพิเศษที่ตอนนี้อายุ 12 ปี โดยมีความเป็นเลิศ ชนะเลิศการแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับชาติ เล่าให้ฟังว่า...แรกเริ่มเธอก็รับไม่ได้เรื่องลูกเป็นเด็กออทิสติก จนได้ ปิยนุช อิสริยะวานิช พยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลเด็ก คลินิกพัฒนา การเด็ก ผู้จัดระบบเครือข่าย ให้ความรู้และแนะนำว่าหากผู้ปกครองไม่ ยอมรับจะเหมือนกำแพงกั้น จะทำอะไรไม่ได้เลย ต้องเปิดใจรับความจริง และยอมรับให้ได้ว่าการใช้ชีวิตของลูกจะไม่เหมือนเด็กปกติ ต้องดูแลเอาใจใส่เขาให้มาก จุดสำคัญคือเด็กกลุ่มนี้ต้องการความอบอุ่น และต้องการอยู่ในสังคมให้ได้
“พ่อแม่ผู้ปกครองต้องตั้งความหวังที่มันใกล้ ๆ อย่าตั้งความหวังไปไกลเกิน เช่นตอนนี้ลูกยังพูดไม่ได้ ก็ตั้งไว้ว่าต่อไปลูกเราจะพูดได้เป็นคำ ๆ เอาแค่นั้นก่อน พอลูกพูดได้เป็นคำแล้ว ต่อไปลูกจะพูดเป็นประโยค อย่าไปคิดว่าลูกจะพูดไม่ได้ ต้องเป็นสเต็ป ๆ เรามาแลกเปลี่ยนให้ความรู้และให้กำลังใจกันในชมรม เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครอง มีกำลังใจสามารถเลี้ยงลูกได้ดีเด็กก็จะมีพัฒนาการดีขึ้น” นี่ก็เป็นสถานการณ์ และพร้อมด้วยกรณีศึกษากับเรื่องเกี่ยวกับ ’เด็กพิเศษ-เด็กออทิสติก“ที่ทั้งรัฐและประชาชนต้องให้ความสำคัญ!!!.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/219623 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พยาบาลกระตุ้นพัฒนาการการเรียนรู้ให้กับเด็กออทิสติก “มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เนื่องจากข้อจำกัดหน่วยบริการสาธารณสุขและบุคลากรไม่เพียงพอ ปัจจุบันมีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นประมาณ 100 คนทั่วประเทศ ขณะที่พยาบาลกระตุ้นพัฒนาการมีน้อยมาก สถาบันที่ให้การอบรมสามารถอบรมได้ปีละ 30 คน ในอนาคตจึงดำเนินการให้เด็กกลุ่มเด็กพิเศษเข้าถึงบริการมากขึ้น” ... นี่เป็นการระบุถึงกลุ่ม ’เด็กพิเศษ“ หรือ ’เด็กออทิสติก“ โดยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.วินัย สวัสดิวร ระหว่างดูงานการดำเนินงานเพื่อดูแลเด็กพิเศษครบวงจรที่ จ.ระนอง ซึ่งที่โรงพยาบาลระนองนั้น ปี 2553 มีผู้ป่วยนอกออทิสติก 6,753 คน เข้ารับบริการ 28,005 ครั้ง, ปี 2554 มี 12,531 คน เข้ารับบริการ 75,817 ครั้ง, ปี 2555 มี 15,234 คน เข้ารับบริการ 108,298 ครั้ง ทั้งนี้ กลุ่มเด็กพิเศษเป็นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าไม่เป็นไปตามวัย มีพัฒนาการบกพร่อง มีความผิดปกติด้านพัฒนาการอย่างรอบด้าน จะแสดงอาการชัดเจนในวัยเด็ก โดยพัฒนาการด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสาร จะไม่เป็นไปตามปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติของระบบประสาทบางส่วนจากหลายสาเหตุ เด็กกลุ่มนี้นับวันจะเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย และกับการดูแลเด็กกลุ่มนี้ นพ.วินัยระบุว่า...แม้การดูแลเด็กพิเศษก็อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช. แต่ส่วนตัวเห็นว่าสิ่งสำคัญคือ ต้องสร้างกลไกของระบบที่ใกล้บ้านมากที่สุด รวมถึงพ่อและแม่ ที่ถือเป็นคนใกล้ชิดเด็กมากที่สุด ซึ่งต้องช่วยให้สามารถพบว่าลูกเป็นออทิสติกหรือไม่ในเวลาที่รวดเร็ว เพราะถือเป็นส่วนที่สำคัญมากในกระบวนการรักษา โดยในวันที่ 11-12 ก.ค.2556สปสช.ก็ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องนี้ การประชุมดังกล่าวนี้จัดขึ้นเพื่อระดมความเห็นเกี่ยวกับการจัดระบบดูแล พัฒนาการเด็ก ตั้งแต่การดูแลโดยพ่อแม่ ชุมชน หน่วยบริการ และการดูแลต่อเนื่องในชุมชน ซึ่ง สปสช. สนับสนุนโรงพยาบาล ที่มีการจัดบริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า โดยปัจจุบันมีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการ 42 แห่งทั่วประเทศ “การเริ่มต้นให้ผู้ป่วยเข้าถึงสิทธิ จำเป็นจะต้องมีการบูรณาการทุกด้าน จำเป็นต้องวางแนวคิด สร้างโมเดล และออกแบบระบบว่าจะทำให้เกิดการบริหารคนและงบประมาณอย่างไร ส่วนเรื่องการตั้งกองทุนเฉพาะโรคด้านออทิสติก ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจำเป็นต้องให้งบพิเศษด้านนี้ เพื่อบูรณาการทุกฝ่าย ทั้งการให้ยา การสร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองเกี่ยวกับการสังเกตอาการบุตรหลาน รวมทั้งโรงเรียนต้องให้ความสำคัญ ซึ่งเรื่องยานั้นที่ผ่านมา สปสช. ก็มีการ เพิ่มสิทธิการให้ยาริสเพอริโดน ซึ่งมีการให้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ อยู่แล้ว เพราะถือเป็นสิทธิอัตโนมัติของผู้ป่วย”...เลขาธิการสปสช.ระบุ ขณะที่ นพ.ทินกร พงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระนอง ระบุไว้ว่า...หลังพบข้อมูลจากการสำรวจว่ามีเด็ก 11% ที่มีปัญหาพัฒนาการช้า ทางโรงพยาบาลระนองก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้มากขึ้นอีก โดยตั้งคลินิกพัฒนาการเด็กตั้งแต่ปี 2546 ดูแลแบบครบวงจร ตั้งแต่การรักษา การส่งเสริมพัฒนาการ และความร่วมมือกับผู้ปกครองและโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันให้การดูแลเด็กพิเศษประมาณ150คน “เด็กพิเศษหรือเด็กออทิสติกส่วนใหญ่จะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนในระยะ 3 ขวบ ซึ่งอุบัติการณ์นั้นพบได้ 1 : 2,000 ของประชากรเด็ก และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-5 เท่า แต่ในเด็กหญิงมักมีความรุนแรงมากกว่าเด็กชาย นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดโรคในพี่น้องของเด็กออทิสติก 1 : 50”...นพ.ทินกร กล่าว และว่า... การดูแลรักษาเด็กพิเศษกลุ่มนี้ควรมีการเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 2-3 ปี เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมาก ทั้งนี้ กับกรณีศึกษาการดูแลเด็กกลุ่มนี้ เสาวคนธ์ ประธานชมรมผู้ปกครองเด็กออทิสติก จ.ระนอง คุณแม่ของเด็กพิเศษที่ตอนนี้อายุ 12 ปี โดยมีความเป็นเลิศ ชนะเลิศการแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับชาติ เล่าให้ฟังว่า...แรกเริ่มเธอก็รับไม่ได้เรื่องลูกเป็นเด็กออทิสติก จนได้ ปิยนุช อิสริยะวานิช พยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลเด็ก คลินิกพัฒนา การเด็ก ผู้จัดระบบเครือข่าย ให้ความรู้และแนะนำว่าหากผู้ปกครองไม่ ยอมรับจะเหมือนกำแพงกั้น จะทำอะไรไม่ได้เลย ต้องเปิดใจรับความจริง และยอมรับให้ได้ว่าการใช้ชีวิตของลูกจะไม่เหมือนเด็กปกติ ต้องดูแลเอาใจใส่เขาให้มาก จุดสำคัญคือเด็กกลุ่มนี้ต้องการความอบอุ่น และต้องการอยู่ในสังคมให้ได้ “พ่อแม่ผู้ปกครองต้องตั้งความหวังที่มันใกล้ ๆ อย่าตั้งความหวังไปไกลเกิน เช่นตอนนี้ลูกยังพูดไม่ได้ ก็ตั้งไว้ว่าต่อไปลูกเราจะพูดได้เป็นคำ ๆ เอาแค่นั้นก่อน พอลูกพูดได้เป็นคำแล้ว ต่อไปลูกจะพูดเป็นประโยค อย่าไปคิดว่าลูกจะพูดไม่ได้ ต้องเป็นสเต็ป ๆ เรามาแลกเปลี่ยนให้ความรู้และให้กำลังใจกันในชมรม เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครอง มีกำลังใจสามารถเลี้ยงลูกได้ดีเด็กก็จะมีพัฒนาการดีขึ้น” นี่ก็เป็นสถานการณ์ และพร้อมด้วยกรณีศึกษากับเรื่องเกี่ยวกับ ’เด็กพิเศษ-เด็กออทิสติก“ที่ทั้งรัฐและประชาชนต้องให้ความสำคัญ!!!. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/219623 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)