‘ดูแลผู้สูงวัยแบบองค์รวมกายและใจ’ ตอนที่ 1 - ชีวิตและสุขภาพ
คนเราทุกคนล้วนอยากมีสุขภาพที่แข็งแรง เพราะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นย่อมไม่เพียงแต่สร้างความทุกข์ให้กับตัวผู้ป่วย เองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อผู้ใกล้ชิดหรือบุคคลรอบข้างอีกด้วย โรคภัยไข้เจ็บย่อมมาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องดูแลหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย อาจหลีกเลี่ยงความเครียดได้ยาก โดยเฉพาะในผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังหรือโรคที่มีอาการรุนแรง ผมจะเสนอแนะเคล็ดลับง่าย ๆ 3 ประการ ในการสร้างกำลังใจต่อตนเอง ให้สามารถปรับตัวรับความเครียดที่เกิดขึ้น เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยได้ดียิ่งขึ้นนะครับ
อัตราของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีสูงถึงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และ 2 ใน 3 ของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ จะมีโรคประจำตัวตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป จากการสำรวจพบว่า โรคเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 9 อันดับแรก (Oxford Journal, Volume 35, Issue 6) ได้แก่ 1. กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases : CVD) ร้อยละ 72 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ก. โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease: IHD) ข. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ค. โรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง (Hypercholesterolemia)ง. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) 2. กลุ่มโรคทางระบบประสาทและจิตเวช (Central Nervous System and Psychiatry) ร้อยละ 37 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ก. โรคเครียดและโรคซึมเศร้า (An-xiety and Depression) ข. โรคสมองเสื่อม (Dementia) ค. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Cerebrovascular Accident: CVA) ง. โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Di-sease) จ. โรคลมชัก (Epilepsy) 3.กลุ่มโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculo-skeleton Disease) ร้อยละ 28 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ก. โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid) ข. โรคเข่าเสื่อม/โรคข้อเสื่อม/กระดูกผุ (Osteoporosis, Osteoarthritis) ค. โรคเกาต์ (Gout) 4. กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper GI Conditions) ร้อยละ 24 ของผู้สูงอายุ 5. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Conditions) ร้อยละ 14 ของผู้สูงอายุ 6. โรคเบาหวาน (Diabetes) ร้อยละ 8 ของผู้สูงอายุ 7. โรคไทรอยด์ (Thyroid Disease) ร้อยละ 7 ของผู้สูงอายุ 8. โรคต้อหิน (Glaucoma) ร้อยละ 5 ของผู้สูงอายุ 9. กลุ่มโรคมะเร็ง (Cancers) ร้อยละ 4 ของผู้สูงอายุ จากกลุ่มโรคทั้งหมด เราสามารถจัดกลุ่มผู้สูงอายุตามระดับสุขภาพ และความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ได้เป็น 3 กลุ่ม ซึ่งต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. กลุ่มติดสังคม ได้แก่ ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี อาจสามารถช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมได้ด้วย 2. กลุ่มติดบ้าน ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือบางอย่าง เช่น ไม่สามารถเดินตามลำพังบนทางเรียบได้ ต้องให้คนพยุงหรือใช้อุปกรณ์ช่วย ต้องการความช่วยเหลือในขณะรับประทานอาหาร อาจทำโต๊ะเปื้อน หรือต้องการความช่วยเหลือในการพาไปห้องสุขาเพื่อขับถ่าย เป็นต้น 3. กลุ่มติดเตียง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ป่วยหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตนเองได้เพียงลำพัง กลืนลำบากแม้ผู้ดูแลจะป้อนอาหารให้ หรือจำเป็นต้องได้รับอาหารผ่านช่องทางอื่น เช่น สายต่อจมูกสู่กระเพาะอาหารโดยตรง ต้องขับถ่ายในท่านอนหรืออยู่บนเตียง หรือต้องสวมใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ตลอด เป็นต้น
เมื่อคุณต้องดูแลผู้ป่วยสูงวัยเหล่านี้ - หลายคนที่เคยดูแลผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการเฉพาะกิจหรือถาวร ย่อมมีความเครียดในระดับที่แตกต่างกันตามความต้องการความช่วยเหลือของผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม ผู้สูงอายุที่ติดเตียงมักต้องการการดูแลช่วยเหลืออย่างมากจนอาจทำให้ผู้ดูแล รู้สึกเหนื่อยล้า ทั้งจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและปัญหาพฤติกรรมของผู้ป่วย จนอาจกลายเป็นความตึงเครียด มีความวิตกกังวลหรือมีภาวะซึมเศร้าตามมาได้ โดยอาจแสดงออกในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิดฉุนเฉียว หลงลืมง่าย รู้สึกกระวนกระวายหรือกระสับกระส่าย ปวดศีรษะหรือ ปวดตามตัว มีอาการทางร่างกายอื่น ๆ เช่น เหงื่อออก ใจสั่น แน่นหน้าอก ท้องไส้ปั่นป่วน ฯลฯ เบื่ออาหาร (หรืออาจจะรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นโดยควบคุมไม่ได้) หากเป็นรุนแรงอาจมีความรู้สึกเบื่อ เซ็ง ท้อแท้สิ้นหวัง รู้สึกไร้ค่า ไม่อยากทำอะไรหรือรู้สึกไม่สนุกกับกิจกรรมที่เคยทำให้เพลิดเพลิน
ความเครียดในการดูแลผู้ป่วยสูงวัยเกิดจากหลายสาเหตุครับ เช่น ความรุนแรงของโรคที่ผู้ป่วยเป็น ทำให้จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่ยุ่งยากซับซ้อน ปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น เอาแต่ใจตนเอง ไม่ยอมนอนหรือวุ่นวายในตอนกลางคืน ปัญหาที่เกิดจากความไม่เข้าใจในการดำเนินโรคและพยากรณ์โรคที่ชัดเจน ทำให้ญาติหรือผู้ดูแลมีความกังวลในการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม และการวางแผนดูแล ผู้ป่วยในระยะยาว เป็นต้น ซึ่งความเครียดจากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะลดน้อยลง หากผู้ดูแลปฏิบัติตามข้อแนะนำง่าย ๆ นี้ “รู้ให้จริง นิ่งให้มาก ยิ่งยาก...ยิ่งท้าทาย” นะครับ ซึ่งจะเสนอเนื้อหารายละเอียดในตอนต่อไป....ข้อมูลจาก นายแพทย์ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข….นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/220389 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผู้สูงอายุ คนเราทุกคนล้วนอยากมีสุขภาพที่แข็งแรง เพราะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นย่อมไม่เพียงแต่สร้างความทุกข์ให้กับตัวผู้ป่วย เองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อผู้ใกล้ชิดหรือบุคคลรอบข้างอีกด้วย โรคภัยไข้เจ็บย่อมมาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องดูแลหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย อาจหลีกเลี่ยงความเครียดได้ยาก โดยเฉพาะในผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังหรือโรคที่มีอาการรุนแรง ผมจะเสนอแนะเคล็ดลับง่าย ๆ 3 ประการ ในการสร้างกำลังใจต่อตนเอง ให้สามารถปรับตัวรับความเครียดที่เกิดขึ้น เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยได้ดียิ่งขึ้นนะครับ อัตราของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีสูงถึงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และ 2 ใน 3 ของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ จะมีโรคประจำตัวตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป จากการสำรวจพบว่า โรคเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 9 อันดับแรก (Oxford Journal, Volume 35, Issue 6) ได้แก่ 1. กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases : CVD) ร้อยละ 72 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ก. โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease: IHD) ข. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ค. โรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง (Hypercholesterolemia)ง. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) 2. กลุ่มโรคทางระบบประสาทและจิตเวช (Central Nervous System and Psychiatry) ร้อยละ 37 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ก. โรคเครียดและโรคซึมเศร้า (An-xiety and Depression) ข. โรคสมองเสื่อม (Dementia) ค. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Cerebrovascular Accident: CVA) ง. โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Di-sease) จ. โรคลมชัก (Epilepsy) 3.กลุ่มโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculo-skeleton Disease) ร้อยละ 28 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ก. โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid) ข. โรคเข่าเสื่อม/โรคข้อเสื่อม/กระดูกผุ (Osteoporosis, Osteoarthritis) ค. โรคเกาต์ (Gout) 4. กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper GI Conditions) ร้อยละ 24 ของผู้สูงอายุ 5. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Conditions) ร้อยละ 14 ของผู้สูงอายุ 6. โรคเบาหวาน (Diabetes) ร้อยละ 8 ของผู้สูงอายุ 7. โรคไทรอยด์ (Thyroid Disease) ร้อยละ 7 ของผู้สูงอายุ 8. โรคต้อหิน (Glaucoma) ร้อยละ 5 ของผู้สูงอายุ 9. กลุ่มโรคมะเร็ง (Cancers) ร้อยละ 4 ของผู้สูงอายุ จากกลุ่มโรคทั้งหมด เราสามารถจัดกลุ่มผู้สูงอายุตามระดับสุขภาพ และความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ได้เป็น 3 กลุ่ม ซึ่งต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. กลุ่มติดสังคม ได้แก่ ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี อาจสามารถช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมได้ด้วย 2. กลุ่มติดบ้าน ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือบางอย่าง เช่น ไม่สามารถเดินตามลำพังบนทางเรียบได้ ต้องให้คนพยุงหรือใช้อุปกรณ์ช่วย ต้องการความช่วยเหลือในขณะรับประทานอาหาร อาจทำโต๊ะเปื้อน หรือต้องการความช่วยเหลือในการพาไปห้องสุขาเพื่อขับถ่าย เป็นต้น 3. กลุ่มติดเตียง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ป่วยหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตนเองได้เพียงลำพัง กลืนลำบากแม้ผู้ดูแลจะป้อนอาหารให้ หรือจำเป็นต้องได้รับอาหารผ่านช่องทางอื่น เช่น สายต่อจมูกสู่กระเพาะอาหารโดยตรง ต้องขับถ่ายในท่านอนหรืออยู่บนเตียง หรือต้องสวมใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ตลอด เป็นต้น เมื่อคุณต้องดูแลผู้ป่วยสูงวัยเหล่านี้ - หลายคนที่เคยดูแลผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการเฉพาะกิจหรือถาวร ย่อมมีความเครียดในระดับที่แตกต่างกันตามความต้องการความช่วยเหลือของผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม ผู้สูงอายุที่ติดเตียงมักต้องการการดูแลช่วยเหลืออย่างมากจนอาจทำให้ผู้ดูแล รู้สึกเหนื่อยล้า ทั้งจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและปัญหาพฤติกรรมของผู้ป่วย จนอาจกลายเป็นความตึงเครียด มีความวิตกกังวลหรือมีภาวะซึมเศร้าตามมาได้ โดยอาจแสดงออกในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิดฉุนเฉียว หลงลืมง่าย รู้สึกกระวนกระวายหรือกระสับกระส่าย ปวดศีรษะหรือ ปวดตามตัว มีอาการทางร่างกายอื่น ๆ เช่น เหงื่อออก ใจสั่น แน่นหน้าอก ท้องไส้ปั่นป่วน ฯลฯ เบื่ออาหาร (หรืออาจจะรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นโดยควบคุมไม่ได้) หากเป็นรุนแรงอาจมีความรู้สึกเบื่อ เซ็ง ท้อแท้สิ้นหวัง รู้สึกไร้ค่า ไม่อยากทำอะไรหรือรู้สึกไม่สนุกกับกิจกรรมที่เคยทำให้เพลิดเพลิน ความเครียดในการดูแลผู้ป่วยสูงวัยเกิดจากหลายสาเหตุครับ เช่น ความรุนแรงของโรคที่ผู้ป่วยเป็น ทำให้จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่ยุ่งยากซับซ้อน ปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น เอาแต่ใจตนเอง ไม่ยอมนอนหรือวุ่นวายในตอนกลางคืน ปัญหาที่เกิดจากความไม่เข้าใจในการดำเนินโรคและพยากรณ์โรคที่ชัดเจน ทำให้ญาติหรือผู้ดูแลมีความกังวลในการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม และการวางแผนดูแล ผู้ป่วยในระยะยาว เป็นต้น ซึ่งความเครียดจากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะลดน้อยลง หากผู้ดูแลปฏิบัติตามข้อแนะนำง่าย ๆ นี้ “รู้ให้จริง นิ่งให้มาก ยิ่งยาก...ยิ่งท้าทาย” นะครับ ซึ่งจะเสนอเนื้อหารายละเอียดในตอนต่อไป....ข้อมูลจาก นายแพทย์ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข….นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/220389 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)