แพทย์ชี้อาการนอนไม่หลับมฤตยูเงียบ โรคร้ายรักษาก่อนสายเกินแก้
ปัจจุบันแนวโน้มปัญหานอนไม่หลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณร้อยละ 30 ของประชากรทั่วไปเคยมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ และร้อยละ 6 ถึง 10 ของประชากร มีปัญหาการนอนไม่หลับรุนแรงถึงขั้นต้องได้รับการรักษา ปัญหาการนอนไม่หลับเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด การรบกวนจากอาการของโรคทางกายเช่น อาการปวด ปัสสาวะบ่อยกลางคืน และจากโรคทางจิตเวชเช่น โรควิตกกังวล โรคแพนิค โรคอารมณ์ซึมเศร้า ผู้ป่วยหลายรายที่มีปัญหาการนอนไม่หลับมาจากพฤติกรรมการนอนและสิ่งแวดล้อมก่อนนอนที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดการนอน เช่น มีความสว่างมากไป มีเรื่องคิดรบกวนก่อนนอนมาก เข้านอนตื่นนอนไม่เป็นเวลา เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ที่อายุ 55 ปีขึ้นไปมีอัตราเสี่ยงสูงขึ้นเนื่องจากมีฮอร์โมนเมลาโทนินลดลง เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้เกิดการนอนหลับซึ่งแตกต่างไป จากยานอนหลับทั่วไป
ผศ.นพ. สุรชัย เกื้อศิริกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ และ ผู้อำนวยการ คลินิกปัญหาการนอนโรงพยาบาล มนารมย์ เปิดเผยว่า ปัญหาอาการนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้สำหรับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นช่วงของการนอนหลับจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยที่ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยกลางคน และผู้สูงอายุ ช่วงเวลาของการนอนหลับลึกจะน้อยกว่าผู้ที่อยู่ในช่วงเด็ก หรือวัยรุ่น อีกทั้งผู้สูงอายุยังมีโอกาสเสี่ยงต่อปัจจัย อื่นๆ ที่กระทบต่อการนอนหลับได้มากกว่า เช่น โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ภาวะทางจิตใจ ภาวะเครียด เป็นต้น ในขณะที่รายงานการวิจัยพบว่าความต้องการในการนอนหลับของคนเราคงที่ ตลอดช่วงชีวิต คือ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน ไม่ว่าในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ที่อยู่ในช่วงวัยทองแล้วก็ตาม
จากรายงานการศึกษาในปี 2010 ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชื่อ Sleep โดยทีมแพทย์จากมหาวิทยาลัยเวสต์เวอร์จิเนีย ซึ่งทำการวิจัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์คนจำนวน 30,397 คน พบว่า จำนวนชั่วโมงการนอนหลับมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะคนที่นอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าคนที่ นอน 7 ชั่วโมงเป็น 2 เท่า โดยความเสี่ยงจะสูงขึ้นในผู้หญิงและในคนที่อายุน้อยกว่า 60 ปี จึงนับเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ ที่มีอาการนอนไม่หลับหรืออดนอน หรือจากรายงานการสำรวจประชากร 52,000 ราย ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมโรคหัวใจอเมริกันพบว่าผู้ที่มีปัญหาการนอน ไม่หลับเกือบทุกคืน จะเพิ่มโอกาสของการเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) สูงขึ้นเกือบ 50%
ผศ.นพ. สุรชัย กล่าวต่อว่า ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับจึงควรแก้ไขรักษาตั้งแต่ต้นเพื่อไม่ให้ เกิดอาการเรื้อรัง และอาจช่วยไม่ให้มีปัญหาโรคแทรกซ้อนเกิดตามมา ในปัจจุบันนี้มีตัวยาหลายชนิดที่สามารถใช้รักษาหรือบรรเทาอาการนอนไม่ หลับได้ แต่ยาเหล่านั้นก็ยังมีผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ อาการเพลีย และอาจรู้สึกง่วงซึมได้ในวันถัดไป รวมทั้งปัญหาการดื้อยาทำให้ต้องรับประทานยาเพิ่มขนาดขึ้นไปเรื่อยๆ และอาจมีอาการนอนไม่หลับที่รุนแรงกว่าเดิมเกิดขึ้นหลังจากการหยุดยา อย่างกะทันหัน
การรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยเมลาโทนิน (Melatonin) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกจากยานอนหลับทั่วไป เมลาโทนินเริ่มนำมาใช้ในสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศในการรักษา ปัญหาการนอนไม่หลับในรูปแบบของอาหารนอกจากนั้นยังมีการกล่าวถึง คุณสมบัติอื่นๆ ของเมลาโทนินในการช่วยปรับเวลานอนหลับและหายจากการอ่อนเพลียในการ เดินทางข้ามโซนเวลา (Jet lag), เพิ่มภูมิคุ้มกัน, ต้านเนื้อร้ายของโรคมะเร็ง และการชะลอวัย
เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตได้เองจากต่อมไพเนียล (Pineal gland) ในสมอง ระดับของเมลาโทนินจะขึ้นลงในแต่ละวัน โดยแสงสว่างทำให้มีการผลิตเมลาโทนินน้อยในช่วงเวลากลางวัน และแสงสว่างที่ลดลงหรือความมืดทำให้มีการผลิตเมลาโทนินมากในช่วง เวลากลางคืน ทั้งนี้ระดับของเมลาโทนินจะลดลงในผู้ที่อายุเกิน 55 ปีขึ้นไป
ระดับเมลาโทนินที่ขึ้นลงตามแสงสว่างและความมืดจะช่วยให้อวัยวะในร่างกายทำงานเป็นวงจร สัมพันธ์กับกลางวันและกลางคืนไปด้วย โดยเฉพาะศูนย์ควบคุมการนอนหลับในเวลากลางคืน เมื่อมีระดับเมลาโทนินขึ้นสูงทำให้การตื่นตัวลดลง อุณหภูมิร่างกายลดลง และเหนี่ยวนำให้ศูนย์นอนเริ่มทำงาน จึงทำให้เกิดการนอนหลับ และในตอนเช้าเมื่อเมลาโทนินลดระดับลงก็ทำให้ตื่นขึ้น
เมลาโทนินยังมีคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งคือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งถ้ามีอนุมูลอิสระมาก จะทำอันตรายต่อเซลล์ ทำให้เกิดการชราภาพของเซลล์ โดยเมลาโทนินจะไปจับหรือกำจัดอนุมูลอิสระจึงเป็นเหมือนการปกป้อง เซลล์ ทำให้เชื่อว่าเมลาโทนินมีคุณสมบัติชะลอความชราภาพโดยผ่านกระบวนการ กำจัดอนุมูลอิสระนี้ แต่เดิมเมลาโทนินที่มีขายกันในท้องตลาดนั้นเป็นรูปแบบอาหารเสริมที่ออกฤทธิ์สั้นและ ไม่ใช่ยาซึ่งหมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการอาหารและยา และไม่มีการควบคุมการผลิตและคุณภาพอย่างเข้มงวดเหมือนผลิตภัณฑ์ที่ถูกจัดว่าเป็นยา ทำให้ไม่มีเครื่องรับประกันถึงคุณภาพและความบริสุทธิ์ และยังมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป ในปัจจุบันมีเมลาโทนินรูปแบบออกฤทธิ์นานที่ได้รับการศึกษายืนยันถึง ประสิทธิภาพในการรักษาปัญหาการนอนไม่หลับ ในผู้ป่วยอายุ 55 ปีขึ้นไป และสามารถใช้ได้นานต่อเนื่อง 3 เดือน โดยไม่มีปัญหาของการดื้อยา และไม่มีอาการถอนยาถ้าหยุดยา
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/prg/1697850
ThaiPR.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ปัจจุบันแนวโน้มปัญหานอนไม่หลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณร้อยละ 30 ของประชากรทั่วไปเคยมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ และร้อยละ 6 ถึง 10 ของประชากร มีปัญหาการนอนไม่หลับรุนแรงถึงขั้นต้องได้รับการรักษา ปัญหาการนอนไม่หลับเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด การรบกวนจากอาการของโรคทางกายเช่น อาการปวด ปัสสาวะบ่อยกลางคืน และจากโรคทางจิตเวชเช่น โรควิตกกังวล โรคแพนิค โรคอารมณ์ซึมเศร้า ผู้ป่วยหลายรายที่มีปัญหาการนอนไม่หลับมาจากพฤติกรรมการนอนและสิ่งแวดล้อมก่อนนอนที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดการนอน เช่น มีความสว่างมากไป มีเรื่องคิดรบกวนก่อนนอนมาก เข้านอนตื่นนอนไม่เป็นเวลา เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ที่อายุ 55 ปีขึ้นไปมีอัตราเสี่ยงสูงขึ้นเนื่องจากมีฮอร์โมนเมลาโทนินลดลง เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้เกิดการนอนหลับซึ่งแตกต่างไป จากยานอนหลับทั่วไป ผศ.นพ. สุรชัย เกื้อศิริกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ และ ผู้อำนวยการ คลินิกปัญหาการนอนโรงพยาบาล มนารมย์ เปิดเผยว่า ปัญหาอาการนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้สำหรับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นช่วงของการนอนหลับจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยที่ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยกลางคน และผู้สูงอายุ ช่วงเวลาของการนอนหลับลึกจะน้อยกว่าผู้ที่อยู่ในช่วงเด็ก หรือวัยรุ่น อีกทั้งผู้สูงอายุยังมีโอกาสเสี่ยงต่อปัจจัย อื่นๆ ที่กระทบต่อการนอนหลับได้มากกว่า เช่น โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ภาวะทางจิตใจ ภาวะเครียด เป็นต้น ในขณะที่รายงานการวิจัยพบว่าความต้องการในการนอนหลับของคนเราคงที่ ตลอดช่วงชีวิต คือ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน ไม่ว่าในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ที่อยู่ในช่วงวัยทองแล้วก็ตาม จากรายงานการศึกษาในปี 2010 ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชื่อ Sleep โดยทีมแพทย์จากมหาวิทยาลัยเวสต์เวอร์จิเนีย ซึ่งทำการวิจัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์คนจำนวน 30,397 คน พบว่า จำนวนชั่วโมงการนอนหลับมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะคนที่นอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าคนที่ นอน 7 ชั่วโมงเป็น 2 เท่า โดยความเสี่ยงจะสูงขึ้นในผู้หญิงและในคนที่อายุน้อยกว่า 60 ปี จึงนับเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ ที่มีอาการนอนไม่หลับหรืออดนอน หรือจากรายงานการสำรวจประชากร 52,000 ราย ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมโรคหัวใจอเมริกันพบว่าผู้ที่มีปัญหาการนอน ไม่หลับเกือบทุกคืน จะเพิ่มโอกาสของการเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) สูงขึ้นเกือบ 50% ผศ.นพ. สุรชัย กล่าวต่อว่า ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับจึงควรแก้ไขรักษาตั้งแต่ต้นเพื่อไม่ให้ เกิดอาการเรื้อรัง และอาจช่วยไม่ให้มีปัญหาโรคแทรกซ้อนเกิดตามมา ในปัจจุบันนี้มีตัวยาหลายชนิดที่สามารถใช้รักษาหรือบรรเทาอาการนอนไม่ หลับได้ แต่ยาเหล่านั้นก็ยังมีผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ อาการเพลีย และอาจรู้สึกง่วงซึมได้ในวันถัดไป รวมทั้งปัญหาการดื้อยาทำให้ต้องรับประทานยาเพิ่มขนาดขึ้นไปเรื่อยๆ และอาจมีอาการนอนไม่หลับที่รุนแรงกว่าเดิมเกิดขึ้นหลังจากการหยุดยา อย่างกะทันหัน การรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยเมลาโทนิน (Melatonin) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกจากยานอนหลับทั่วไป เมลาโทนินเริ่มนำมาใช้ในสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศในการรักษา ปัญหาการนอนไม่หลับในรูปแบบของอาหารนอกจากนั้นยังมีการกล่าวถึง คุณสมบัติอื่นๆ ของเมลาโทนินในการช่วยปรับเวลานอนหลับและหายจากการอ่อนเพลียในการ เดินทางข้ามโซนเวลา (Jet lag), เพิ่มภูมิคุ้มกัน, ต้านเนื้อร้ายของโรคมะเร็ง และการชะลอวัย เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตได้เองจากต่อมไพเนียล (Pineal gland) ในสมอง ระดับของเมลาโทนินจะขึ้นลงในแต่ละวัน โดยแสงสว่างทำให้มีการผลิตเมลาโทนินน้อยในช่วงเวลากลางวัน และแสงสว่างที่ลดลงหรือความมืดทำให้มีการผลิตเมลาโทนินมากในช่วง เวลากลางคืน ทั้งนี้ระดับของเมลาโทนินจะลดลงในผู้ที่อายุเกิน 55 ปีขึ้นไป ระดับเมลาโทนินที่ขึ้นลงตามแสงสว่างและความมืดจะช่วยให้อวัยวะในร่างกายทำงานเป็นวงจร สัมพันธ์กับกลางวันและกลางคืนไปด้วย โดยเฉพาะศูนย์ควบคุมการนอนหลับในเวลากลางคืน เมื่อมีระดับเมลาโทนินขึ้นสูงทำให้การตื่นตัวลดลง อุณหภูมิร่างกายลดลง และเหนี่ยวนำให้ศูนย์นอนเริ่มทำงาน จึงทำให้เกิดการนอนหลับ และในตอนเช้าเมื่อเมลาโทนินลดระดับลงก็ทำให้ตื่นขึ้น เมลาโทนินยังมีคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งคือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งถ้ามีอนุมูลอิสระมาก จะทำอันตรายต่อเซลล์ ทำให้เกิดการชราภาพของเซลล์ โดยเมลาโทนินจะไปจับหรือกำจัดอนุมูลอิสระจึงเป็นเหมือนการปกป้อง เซลล์ ทำให้เชื่อว่าเมลาโทนินมีคุณสมบัติชะลอความชราภาพโดยผ่านกระบวนการ กำจัดอนุมูลอิสระนี้ แต่เดิมเมลาโทนินที่มีขายกันในท้องตลาดนั้นเป็นรูปแบบอาหารเสริมที่ออกฤทธิ์สั้นและ ไม่ใช่ยาซึ่งหมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการอาหารและยา และไม่มีการควบคุมการผลิตและคุณภาพอย่างเข้มงวดเหมือนผลิตภัณฑ์ที่ถูกจัดว่าเป็นยา ทำให้ไม่มีเครื่องรับประกันถึงคุณภาพและความบริสุทธิ์ และยังมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป ในปัจจุบันมีเมลาโทนินรูปแบบออกฤทธิ์นานที่ได้รับการศึกษายืนยันถึง ประสิทธิภาพในการรักษาปัญหาการนอนไม่หลับ ในผู้ป่วยอายุ 55 ปีขึ้นไป และสามารถใช้ได้นานต่อเนื่อง 3 เดือน โดยไม่มีปัญหาของการดื้อยา และไม่มีอาการถอนยาถ้าหยุดยา ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/prg/1697850 ThaiPR.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)