‘ดูแลผู้สูงวัยแบบองค์รวมกายและใจ’ ตอนที่ 2 – ชีวิตและสุขภาพ
“รู้ให้จริง” - ผู้ดูแลควรได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้สูงวัย ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การวินิจฉัยโรคที่แน่นอน ระยะหรือความรุนแรงของโรค สาเหตุของโรค การดำเนินโรคและพยากรณ์โรค (ว่าลักษณะอาการของโรคจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป และโอกาสที่ผลการรักษาจะหายขาด ดีขึ้น คงเดิม เป็นต่อเนื่องเรื้อรัง หรือแย่ลง) วิธีการรักษา ทั้งโดยการใช้ยา เช่น ยาแต่ละชนิดคือยาอะไร ใช้เพื่ออะไร ให้ผู้ป่วยใช้หรือรับประทานอย่างไร มีผลข้างเคียงที่ต้องเฝ้าระวังหรือไม่ รวมไปถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เช่น ลักษณะอาหารที่ควรจัดให้รับประทานเป็นอย่างไร อาหารหรือพฤติกรรมบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยง การปฏิบัติหรือดูแลเมื่อผู้ป่วยมีการเจ็บป่วยอย่างอื่นเพิ่มเติม หรือมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เป็นต้น
การที่ผู้ดูแลได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยที่ “ถูกต้องและชัดเจน” จะทำให้มีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น และสามารถลดความเครียดหรือความลังเลสงสัยในการดูแลผู้ป่วยได้ โดยข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนที่สุด ควรได้จากแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ ที่เชื่อถือได้ หากจำเป็นต้องสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น ควรตรวจสอบที่มาและความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลนั้นก่อนเสมอ เนื่องจากข้อมูลที่คลาดเคลื่อนอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย และอาจเพิ่มความกังวลให้กับผู้ดูแลได้ เช่น ปัญหาพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างของผู้ป่วยสามารถควบคุมให้ลดน้อยลงได้อย่างปลอดภัย โดยใช้ยาในกลุ่ม ยาจิตเวชบางตัว ซึ่งหลายท่านยังเข้าใจคลาดเคลื่อนและปฏิเสธการใช้ยากลุ่มนี้ ทำให้ผู้ดูแลจำต้องทนกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้ป่วยต่อไปโดยไม่จำเป็น
“นิ่งให้มาก” - การดูแลผู้ป่วยสูงอายุอาจทำให้เกิดความเครียดได้มาก และสถานการณ์บางอย่างก็อาจมีส่วนกดดันให้ผู้ดูแลมีความเครียดมากขึ้น เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ หรือปัญหารบกวนจิตใจจากคนรอบข้าง เช่น คำวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการดูแลผู้ป่วยจากบุคคลอื่น เป็นต้น ทำให้ผู้ดูแลบางคนมีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย จนบางครั้งไม่สามารถควบคุมได้ อาจเผลอพูดหรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกไป ทั้งกับผู้ป่วยหรือบุคคลอื่น จากนั้นมักจะเกิดความรู้สึกด้านลบหรือรู้สึกผิดกับพฤติกรรมของตนเอง เกิดเป็นวงจรความเครียดที่ต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
การ “นิ่งให้มาก” ไม่ได้หมายความถึง การนิ่งเฉยและอดทนกับสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น แต่หมายถึง “การมีสติ” รับรู้อารมณ์ ความคิดและพฤติกรรมของคุณเอง โดยทุกครั้งที่มีความเครียดเกิดขึ้น ผมแนะนำให้ลองสำรวจดูว่า “คุณกำลังเครียดเรื่องอะไร” หากเรื่องที่คุณกำลังเครียดอยู่ในกลุ่มเรื่องที่คุณสามารถจัดการ เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขให้ดีขึ้นได้ ให้คุณพยายามคิดต่อไปและทำในส่วนนี้อย่างเต็มที่ ในทางตรงกันข้าม หากเรื่องที่คุณกำลังเครียดอยู่ในกลุ่มเรื่องที่คุณไม่สามารถจัดการ เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขให้ดีขึ้นได้ หรือคุณได้ทำส่วนที่คุณสามารถจัดการได้อย่างเต็มที่แล้ว ก็อยากให้คุณปล่อยวางเรื่องนี้และหันกลับไปมุ่งสนใจในจุดที่คุณยังสามารถ จัดการได้ส่วนอื่น ๆ จะดีกว่า
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ “การนิ่งเพื่อดูแลตนเอง” หมายถึง ผู้ดูแลควรมีเวลาพักผ่อนหรือเวลาส่วนตัวในการดูแลตนเองบ้าง โดยอาจหาผู้ดูแลคนอื่นมาช่วยดูแลผู้ป่วยเป็นครั้งคราว หรือจัดแบ่งเวลาในการดูแลผู้ป่วยโดยไม่ลืมจัดสรรเวลาสำหรับการพักผ่อน หรือกิจกรรมผ่อนคลายของตนเองด้วย อยากให้คิดอยู่เสมอว่า หากผู้ดูแลเจ็บป่วย ก็จะไม่สามารถให้การดูแล ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพได้
“ยิ่งยาก...ยิ่งท้าทาย” - มุมมองต่อปัญหาเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ที่มองปัญหาเป็นภัยคุกคาม (Threat) จะทำให้เกิดความคิดและความรู้สึกด้านลบตามมา ทำให้ไม่สามารถจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้าม หากมองปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย (Challenge) จะทำให้เกิดแรงขับในการจัดการปัญหาในเชิงบวก และเพิ่มโอกาสในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น ธรรมชาติของจิตใจจะทำให้คุณหมกมุ่นอยู่กับความคิดด้านลบ ไม่ว่าจะเป็นความคิดด้านลบต่อตนเอง รู้สึกผิดกับตนเองหรือตนเองไร้ค่า (Worthlessness) ความคิดด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม คิดว่าสถานการณ์รอบด้านนั้นกดดันหรือโหดร้าย ไม่มีใครสามารถช่วยเหลือคุณได้ (Helplessness) และความคิดด้านลบ ต่ออนาคต ท้อแท้ สิ้นหวังหรือหมดกำลังใจ (Hopelessness) คงจะไม่มีอะไรดีไปกว่าการสร้างกำลังใจให้กับตนเองภายใต้สภาวะที่ย่ำแย่เช่นนี้ เพราะนั่นจะเป็นแรงเสริมให้คุณสามารถมองปัญหาอย่างท้าทายได้ เทคนิคง่าย ๆ ในการสร้างกำลังใจนี้ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการคิดบวก (Positive Thinking) ผ่านการสำรวจสิ่งดีๆ ต่าง ๆ ที่คุณมีอยู่
I HAVE คุณมีอะไรอยู่บ้าง - เช่น คุณมีสามีที่คอยให้กำลังใจ คุณมีรายได้ประจำทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องปากท้องเท่าไรนัก คุณมีเพื่อนสนิท ที่สามารถพึ่งพาได้ คุณสามารถขอความช่วยเหลือ หรือคำแนะนำจากบริการสาธารณสุข หรือสายด่วนสุขภาพจิต (โทร.1323) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จัดเป็นปัจจัยสนับสนุนภายนอก (External Protective Factors) ที่คอยช่วยเหลือคุณในเวลาที่คุณต้องการ
I AM คุณเป็นใคร - เช่น คุณเป็นคนเก่ง คุณเป็นคนมีความรับผิดชอบ คุณเป็นคนดีที่เลือกจะรับภาระในการดูแลผู้ป่วย คุณเป็นคนมีความหวังว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จัดเป็นความแข็งแกร่งภายในตัวคุณ (Inner Strength) ที่สามารถเพิ่มความภูมิใจและความมั่นใจในตนเอง
I CAN คุณสามารถทำอะไรได้บ้าง - เช่น ที่ผ่านมาคุณสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดี คุณสามารถระบุความรู้สึกของตัวเองและคนอื่น ๆ ได้ คุณสามารถควบคุมอารมณ์และผ่านพ้นสถานการณ์ตึงเครียดได้ดี เป็นต้น ทั้งหมดนี้จัดเป็นทักษะระหว่างบุคคล (Interpersonal Skill) ซึ่งสามารถทำให้คุณจัดการปัญหา หรือเข้าถึงความช่วยเหลือได้ดีขึ้น
การสำรวจสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้น่าจะช่วยเสริมสร้างกำลังใจให้กับตัวคุณ ทำให้เห็นคุณค่าของความผูกพัน ความรับผิดชอบที่คุณกับผู้ป่วยมีให้กัน เรามั่นใจว่า คุณสามารถจัดการปัญหาได้ ไม่สิ้นหวัง เชื่อว่าปัญหาเป็นโอกาสในการพัฒนามากกว่าเป็นอุปสรรค และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาอย่างเข้มแข็งต่อไป ไม่ว่าสถานการณ์จะดีขึ้น คงเดิม หรือแย่ลง...คุณจะบอกกับตัวเองได้ว่า คุณได้ดูแลเขาด้วยความรัก ความเอาใจใส่อย่างเต็มความสามารถแล้ว….ข้อมูลจาก นายแพทย์ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ...โพสต์โดย นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
ขอบคุณ… http://www.dailynews.co.th/article/1490/221977
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รวมภาพผู้สูงวัย “รู้ให้จริง” - ผู้ดูแลควรได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้สูงวัย ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การวินิจฉัยโรคที่แน่นอน ระยะหรือความรุนแรงของโรค สาเหตุของโรค การดำเนินโรคและพยากรณ์โรค (ว่าลักษณะอาการของโรคจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป และโอกาสที่ผลการรักษาจะหายขาด ดีขึ้น คงเดิม เป็นต่อเนื่องเรื้อรัง หรือแย่ลง) วิธีการรักษา ทั้งโดยการใช้ยา เช่น ยาแต่ละชนิดคือยาอะไร ใช้เพื่ออะไร ให้ผู้ป่วยใช้หรือรับประทานอย่างไร มีผลข้างเคียงที่ต้องเฝ้าระวังหรือไม่ รวมไปถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เช่น ลักษณะอาหารที่ควรจัดให้รับประทานเป็นอย่างไร อาหารหรือพฤติกรรมบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยง การปฏิบัติหรือดูแลเมื่อผู้ป่วยมีการเจ็บป่วยอย่างอื่นเพิ่มเติม หรือมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เป็นต้น การที่ผู้ดูแลได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยที่ “ถูกต้องและชัดเจน” จะทำให้มีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น และสามารถลดความเครียดหรือความลังเลสงสัยในการดูแลผู้ป่วยได้ โดยข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนที่สุด ควรได้จากแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ ที่เชื่อถือได้ หากจำเป็นต้องสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น ควรตรวจสอบที่มาและความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลนั้นก่อนเสมอ เนื่องจากข้อมูลที่คลาดเคลื่อนอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย และอาจเพิ่มความกังวลให้กับผู้ดูแลได้ เช่น ปัญหาพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างของผู้ป่วยสามารถควบคุมให้ลดน้อยลงได้อย่างปลอดภัย โดยใช้ยาในกลุ่ม ยาจิตเวชบางตัว ซึ่งหลายท่านยังเข้าใจคลาดเคลื่อนและปฏิเสธการใช้ยากลุ่มนี้ ทำให้ผู้ดูแลจำต้องทนกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้ป่วยต่อไปโดยไม่จำเป็น “นิ่งให้มาก” - การดูแลผู้ป่วยสูงอายุอาจทำให้เกิดความเครียดได้มาก และสถานการณ์บางอย่างก็อาจมีส่วนกดดันให้ผู้ดูแลมีความเครียดมากขึ้น เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ หรือปัญหารบกวนจิตใจจากคนรอบข้าง เช่น คำวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการดูแลผู้ป่วยจากบุคคลอื่น เป็นต้น ทำให้ผู้ดูแลบางคนมีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย จนบางครั้งไม่สามารถควบคุมได้ อาจเผลอพูดหรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกไป ทั้งกับผู้ป่วยหรือบุคคลอื่น จากนั้นมักจะเกิดความรู้สึกด้านลบหรือรู้สึกผิดกับพฤติกรรมของตนเอง เกิดเป็นวงจรความเครียดที่ต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ การ “นิ่งให้มาก” ไม่ได้หมายความถึง การนิ่งเฉยและอดทนกับสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น แต่หมายถึง “การมีสติ” รับรู้อารมณ์ ความคิดและพฤติกรรมของคุณเอง โดยทุกครั้งที่มีความเครียดเกิดขึ้น ผมแนะนำให้ลองสำรวจดูว่า “คุณกำลังเครียดเรื่องอะไร” หากเรื่องที่คุณกำลังเครียดอยู่ในกลุ่มเรื่องที่คุณสามารถจัดการ เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขให้ดีขึ้นได้ ให้คุณพยายามคิดต่อไปและทำในส่วนนี้อย่างเต็มที่ ในทางตรงกันข้าม หากเรื่องที่คุณกำลังเครียดอยู่ในกลุ่มเรื่องที่คุณไม่สามารถจัดการ เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขให้ดีขึ้นได้ หรือคุณได้ทำส่วนที่คุณสามารถจัดการได้อย่างเต็มที่แล้ว ก็อยากให้คุณปล่อยวางเรื่องนี้และหันกลับไปมุ่งสนใจในจุดที่คุณยังสามารถ จัดการได้ส่วนอื่น ๆ จะดีกว่า สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ “การนิ่งเพื่อดูแลตนเอง” หมายถึง ผู้ดูแลควรมีเวลาพักผ่อนหรือเวลาส่วนตัวในการดูแลตนเองบ้าง โดยอาจหาผู้ดูแลคนอื่นมาช่วยดูแลผู้ป่วยเป็นครั้งคราว หรือจัดแบ่งเวลาในการดูแลผู้ป่วยโดยไม่ลืมจัดสรรเวลาสำหรับการพักผ่อน หรือกิจกรรมผ่อนคลายของตนเองด้วย อยากให้คิดอยู่เสมอว่า หากผู้ดูแลเจ็บป่วย ก็จะไม่สามารถให้การดูแล ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพได้ “ยิ่งยาก...ยิ่งท้าทาย” - มุมมองต่อปัญหาเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ที่มองปัญหาเป็นภัยคุกคาม (Threat) จะทำให้เกิดความคิดและความรู้สึกด้านลบตามมา ทำให้ไม่สามารถจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้าม หากมองปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย (Challenge) จะทำให้เกิดแรงขับในการจัดการปัญหาในเชิงบวก และเพิ่มโอกาสในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น ธรรมชาติของจิตใจจะทำให้คุณหมกมุ่นอยู่กับความคิดด้านลบ ไม่ว่าจะเป็นความคิดด้านลบต่อตนเอง รู้สึกผิดกับตนเองหรือตนเองไร้ค่า (Worthlessness) ความคิดด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม คิดว่าสถานการณ์รอบด้านนั้นกดดันหรือโหดร้าย ไม่มีใครสามารถช่วยเหลือคุณได้ (Helplessness) และความคิดด้านลบ ต่ออนาคต ท้อแท้ สิ้นหวังหรือหมดกำลังใจ (Hopelessness) คงจะไม่มีอะไรดีไปกว่าการสร้างกำลังใจให้กับตนเองภายใต้สภาวะที่ย่ำแย่เช่นนี้ เพราะนั่นจะเป็นแรงเสริมให้คุณสามารถมองปัญหาอย่างท้าทายได้ เทคนิคง่าย ๆ ในการสร้างกำลังใจนี้ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการคิดบวก (Positive Thinking) ผ่านการสำรวจสิ่งดีๆ ต่าง ๆ ที่คุณมีอยู่ I HAVE คุณมีอะไรอยู่บ้าง - เช่น คุณมีสามีที่คอยให้กำลังใจ คุณมีรายได้ประจำทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องปากท้องเท่าไรนัก คุณมีเพื่อนสนิท ที่สามารถพึ่งพาได้ คุณสามารถขอความช่วยเหลือ หรือคำแนะนำจากบริการสาธารณสุข หรือสายด่วนสุขภาพจิต (โทร.1323) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จัดเป็นปัจจัยสนับสนุนภายนอก (External Protective Factors) ที่คอยช่วยเหลือคุณในเวลาที่คุณต้องการ I AM คุณเป็นใคร - เช่น คุณเป็นคนเก่ง คุณเป็นคนมีความรับผิดชอบ คุณเป็นคนดีที่เลือกจะรับภาระในการดูแลผู้ป่วย คุณเป็นคนมีความหวังว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จัดเป็นความแข็งแกร่งภายในตัวคุณ (Inner Strength) ที่สามารถเพิ่มความภูมิใจและความมั่นใจในตนเอง I CAN คุณสามารถทำอะไรได้บ้าง - เช่น ที่ผ่านมาคุณสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดี คุณสามารถระบุความรู้สึกของตัวเองและคนอื่น ๆ ได้ คุณสามารถควบคุมอารมณ์และผ่านพ้นสถานการณ์ตึงเครียดได้ดี เป็นต้น ทั้งหมดนี้จัดเป็นทักษะระหว่างบุคคล (Interpersonal Skill) ซึ่งสามารถทำให้คุณจัดการปัญหา หรือเข้าถึงความช่วยเหลือได้ดีขึ้น การสำรวจสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้น่าจะช่วยเสริมสร้างกำลังใจให้กับตัวคุณ ทำให้เห็นคุณค่าของความผูกพัน ความรับผิดชอบที่คุณกับผู้ป่วยมีให้กัน เรามั่นใจว่า คุณสามารถจัดการปัญหาได้ ไม่สิ้นหวัง เชื่อว่าปัญหาเป็นโอกาสในการพัฒนามากกว่าเป็นอุปสรรค และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาอย่างเข้มแข็งต่อไป ไม่ว่าสถานการณ์จะดีขึ้น คงเดิม หรือแย่ลง...คุณจะบอกกับตัวเองได้ว่า คุณได้ดูแลเขาด้วยความรัก ความเอาใจใส่อย่างเต็มความสามารถแล้ว….ข้อมูลจาก นายแพทย์ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ...โพสต์โดย นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ขอบคุณ… http://www.dailynews.co.th/article/1490/221977 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)