เตือน'ปวดหลังเรื้อรัง' หมอนรองกระดูกเสื่อม
หลายคนเข้าใจว่า "ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative disc)" เป็นภาวะที่มักจะพบในผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมเกิดขึ้นในร่างกายตามวัยที่สูงขึ้น แต่เชื่อหรือไม่ว่า จากสถิติของคนไข้ที่เข้ารับการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังมีเพิ่มมากขึ้นในทุกช่วงอายุและในหลากหลายอาชีพตั้งแต่25-50ปี
รศ.นพ.อารี ศักดิ์ โชติวิจิตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางกระดูกสันหลังและการผ่าตัดข้อเทียม ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ร.พ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) บอกว่า "ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจาก 3 สาเหตุสำคัญ คือ 1.การสึกหรอตามอายุการใช้งาน 2.การยกของหนัก และ 3.เกิดภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ซึ่งมีผลทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงบริเวณหมอนรองกระดูกน้อยลงเป็นต้น
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลัง ที่เอวระดับเข็มขัดและอาจร้าวลงไปถึงบริเวณด้านข้างของสะโพก ในบางรายที่มีอาการเฉียบพลัน เช่น ไปยกของหนักมีอาการเจ็บหลังร้าวลงขาทันที แสดงว่า เกิดปริแตกหรือโป่งยื่นของหมอนรองกระดูก ทำให้มีส่วนเนื้อในของหมอนรองกระดูกโป่งหรือทะลักออกมาไปกดทับเส้นประสาทที่ ไปขา บางรายจะมีอาการชาและทำให้เกิดอาการปวดร้าวลงขา อ่อนแรงของเท้า ทำให้เดินลำบาก ผู้ป่วยลักษณะนี้จะมีภาวะที่เรียกว่า "Acute Herniated Disc Syndrome" ซึ่งพบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน
"โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมหรือโป่งยื่น ส่วนใหญ่รักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด ร่วมกับให้ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นรอบๆ เส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำให้อาการปวดลดลงได้ และอาจใช้การทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย"
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการชาและอ่อนแรง อาจให้ยาบำรุงเส้นประสาท อีกวิธี คือ การฉีดยารอบเส้นประสาท ด้วยการฉีดสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบและระงับปวดบริเวณเส้นประสาท ในกรณีที่รักษาแบบเบื้องต้นดังกล่าวแล้วไม่ดีขึ้นหากผู้ป่วยมีอาการชาหรืออ่อนแรงมากขึ้น มีอาการชารอบก้น อั้นอุจจาระและปัสสาวะไม่อยู่ เรียกภาวะนี้ว่า "Cauda Equina Syndrome" ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้น้อย และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วนทันทีส่วนโอกาสที่จะเกิดซ้ำมีประมาณร้อยละ5
ส่วนวิธีการรักษา โดยใช้เลเซอร์, คลื่นความถี่สูง ขดลวดความร้อน หรือการจัดกระดูก อาจนำมาใช้ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยไม่ผ่าตัด แนวทางป้องกัน คือ การใช้หลังในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยง คือ การสูบบุหรี่ รวมถึงออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังแข็งแรง
ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภายในห้องผ่าตัด แพทย์กำลังผ่าตัดคนไข้ หลายคนเข้าใจว่า "ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative disc)" เป็นภาวะที่มักจะพบในผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมเกิดขึ้นในร่างกายตามวัยที่สูงขึ้น แต่เชื่อหรือไม่ว่า จากสถิติของคนไข้ที่เข้ารับการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังมีเพิ่มมากขึ้นในทุกช่วงอายุและในหลากหลายอาชีพตั้งแต่25-50ปี รศ.นพ.อารี ศักดิ์ โชติวิจิตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางกระดูกสันหลังและการผ่าตัดข้อเทียม ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ร.พ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) บอกว่า "ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจาก 3 สาเหตุสำคัญ คือ 1.การสึกหรอตามอายุการใช้งาน 2.การยกของหนัก และ 3.เกิดภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ซึ่งมีผลทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงบริเวณหมอนรองกระดูกน้อยลงเป็นต้น โมเดลหมอนรองกระดูกเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลัง ที่เอวระดับเข็มขัดและอาจร้าวลงไปถึงบริเวณด้านข้างของสะโพก ในบางรายที่มีอาการเฉียบพลัน เช่น ไปยกของหนักมีอาการเจ็บหลังร้าวลงขาทันที แสดงว่า เกิดปริแตกหรือโป่งยื่นของหมอนรองกระดูก ทำให้มีส่วนเนื้อในของหมอนรองกระดูกโป่งหรือทะลักออกมาไปกดทับเส้นประสาทที่ ไปขา บางรายจะมีอาการชาและทำให้เกิดอาการปวดร้าวลงขา อ่อนแรงของเท้า ทำให้เดินลำบาก ผู้ป่วยลักษณะนี้จะมีภาวะที่เรียกว่า "Acute Herniated Disc Syndrome" ซึ่งพบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน "โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมหรือโป่งยื่น ส่วนใหญ่รักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด ร่วมกับให้ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นรอบๆ เส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำให้อาการปวดลดลงได้ และอาจใช้การทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย" ภายในห้องผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการชาและอ่อนแรง อาจให้ยาบำรุงเส้นประสาท อีกวิธี คือ การฉีดยารอบเส้นประสาท ด้วยการฉีดสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบและระงับปวดบริเวณเส้นประสาท ในกรณีที่รักษาแบบเบื้องต้นดังกล่าวแล้วไม่ดีขึ้นหากผู้ป่วยมีอาการชาหรืออ่อนแรงมากขึ้น มีอาการชารอบก้น อั้นอุจจาระและปัสสาวะไม่อยู่ เรียกภาวะนี้ว่า "Cauda Equina Syndrome" ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้น้อย และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วนทันทีส่วนโอกาสที่จะเกิดซ้ำมีประมาณร้อยละ5 ส่วนวิธีการรักษา โดยใช้เลเซอร์, คลื่นความถี่สูง ขดลวดความร้อน หรือการจัดกระดูก อาจนำมาใช้ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยไม่ผ่าตัด แนวทางป้องกัน คือ การใช้หลังในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยง คือ การสูบบุหรี่ รวมถึงออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังแข็งแรง ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdOREk1TURjMU5nPT0=§ionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE15MHdOeTB5T1E9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)