‘สายตาผิดปกติ...ภูมิแพ้ขึ้นตาในเด็ก’ตรวจคัดกรองล่วงหน้า...รักษาหายได้

แสดงความคิดเห็น

ดวงตาของเด็กน้อย

ปัจจุบันเราให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องโรคตาในเด็กมากขึ้น ซึ่งอนุสาขาในการศึกษาที่สำคัญ คือเรื่องของ จักษุวิทยาเด็กและตาเข เพราะเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ตรงที่เป็นโรคตาแล้วไม่สามารถบอกอาการได้ เช่น ตามัว มองไม่ชัด ยิ่งเป็นข้างเดียวยิ่งไม่สามารถถ่ายทอดอาการให้พ่อและแม่ทราบได้เลย ทำให้โรคตาบางอย่างที่จำเป็นต้องรับการรักษาตั้งแต่เด็กถูกละเลยไปเมื่อโตขึ้นจึงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

รศ.พญ.สุดารัตน์ ใหญ่สว่าง จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเด็กและตาเข โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลเซ็นเตอร์ (WMC) ให้ความรู้ว่า เด็กมักไม่เข้าใจอาการตามัวหรือมองไม่ชัด อีกทั้งยังมีสภาพแวดล้อมที่มองใกล้ ๆ ไม่ได้มองอะไรที่ไกล ๆ หรือใช้สายตามากนัก ฉะนั้นเวลามีปัญหาก็เหมือนไม่เป็นอะไร มีพ่อแม่หลายคนที่ไม่ทราบว่าลูกมีโรคตาซ่อนอยู่จนกระทั่งลูกอายุได้ 8-9 ขวบ เมื่อตรวจย้อนกลับไปจึงทราบว่าเป็นมาตั้งแต่เด็กและมารักษาในช่วงหลัง ปัญหาของการรักษาช้าเกินไป ก็คือไม่สามารถรักษาให้หายได้ต้องรักษาแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากในเด็กมีการพัฒนาในเรื่องของการมองเห็นเป็นสเต็ปตั้งแต่แรกเกิดจน กระทั่ง 8-9 ขวบ เพื่อให้ทันเหมือนผู้ใหญ่

แพทย์และพยาบาลกำลังช่วยกันตรวจวัดสายตาเด็กเล็ก ในช่วงแรกเกิดถึง 8 ขวบ ถือว่าพัฒนาการด้านการมองเห็นของสายตายังไม่เต็มที่ มีการเปลี่ยนแปลง อ่อนแอและอ่อนไหวง่าย ถ้ามีอะไรมากระทบ เช่น มีโรคตาบางอย่างเกิดขึ้น ตาก็จะไม่พัฒนาต่อ การไม่พัฒนาคือการที่ไม่ใช้สายตา เมื่อไม่ใช้สายตาแล้วตาก็จะแย่ลง เรียกว่า ตาขี้เกียจ (lazy eyes) คือ พัฒนาการด้านการมองเห็นในเด็กมีการชะงัก เมื่อตาแย่ลงแล้วยิ่งทิ้งไว้จนอายุเลย 8-9 ขวบไปแล้วจนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทำให้ในอนาคตไม่สามารถประกอบอาชีพบางอาชีพได้ เช่น หมอ นักบิน เพราะตาขี้เกียจข้างหนึ่งจะเห็นภาพ 3 มิติเสีย เหมือนเห็นอะไรลอย ๆ

อย่างไรก็ตามโรคตาในเด็กที่พบบ่อย ๆ ตั้งแต่แรกเกิด ถ้าเป็นเด็กที่เกิดก่อนกำหนดจะมีโรคตาโดยเฉพาะเรียกว่าจอตาผิดปกติ ต้องได้รับการตรวจและรักษาอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีโอกาสหายได้ถ้าตรวจพบตั้งแต่เล็ก ๆ ส่วนในวัยขวบแรกจะมีโรคตาเขที่เป็นแต่กำเนิด ซึ่งจะทำให้ตาข้างที่เขไม่ได้ใช้งานและเกิดโรคตาขี้เกียจตามมาได้ พ่อแม่บางคนคิดว่าตาเขไม่สำคัญ เพราะตัวโรคอาจจะดูว่าไม่ร้ายแรงทิ้งไว้และรักษาเมื่อโตได้ ฉะนั้นถ้าลูกเป็นโรคตาเขให้รีบพามาตรวจ หรือถ้ารู้สึกว่าเหมือนจะเขแต่อาจจะไม่ใช่ก็ได้ต้องให้จักษุแพทย์เป็นผู้ตรวจวินิจฉัยจึงจะยืนยันได้เพราะเด็กเกิดใหม่ตัวเล็กอาจจะมองว่าตาเขได้โดยเฉพาะเด็กที่มีหัวตากว้างๆ

เด็กเล็ก 2 คน กำลังนั่งใช้งานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โรคถัดมาคือ โรคของสายตาผิดปกติ เช่น สั้น ยาว เอียง ซึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ได้ด้วย ถ้าเป็นไม่มากใส่แว่นก็สามารถมองเห็นได้ แต่ถ้าเป็นมากหรือสายตา 2 ข้างต่างกันมาก อีกข้างที่เป็นมากเด็กจะไม่ใช้ ถือเป็นธรรมชาติเพราะเป็นคำสั่งมาจากสมอง ฉะนั้นเด็กที่มีสายตาผิดปกติมากจะเกิดตาขี้เกียจตามมาได้ ดังนั้นการสังเกต คือ เด็กดูทีวีใกล้ ๆ หรือถ้าไปโรงเรียนมองไม่ค่อยเห็นกระดาน ทำท่าหยีตา ส่วนใหญ่จะเป็นตอนอายุ6-7ขวบ

โรคสายตาสั้นตามทฤษฎีเกิดจากกระบอกตาโต แสงจะตกไม่ตรงที่ตำแหน่งที่จุดรับภาพ มันจะตกก่อนเพราะว่ากระบอกตาใหญ่ กว่าเด็กจะกระบอกตาใหญ่ก็ประมาณ 6-7 ขวบ เป็นวัยที่เด็กเริ่มเข้าโรงเรียนและเริ่มรู้ตัวเองและสามารถบอกพ่อแม่ได้ว่า นั่งเรียนแล้วตามัวเห็นกระดานไม่ชัด แต่มีพ่อแม่หลายคนไม่เชื่อลูกว่าเป็นจริง ส่วนมากกว่าจะเชื่อก็เลยไป 2-3 ปีแล้วจึงพาไปหาหมอ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีสายตาสั้นควรรีบพาลูกไปหาหมอ สายตาสั้นในเด็กเริ่มใหม่ ๆ สั้นประมาณ 100-200 ส่วนใหญ่จะหยุดสั้นในอายุ 18 ปี จึงสามารถรักษาได้ด้วยวิธีการทำเลสิก เพราะว่าสายตาสั้นจะไม่เปลี่ยนแล้ว หรือถ้าจะทำก่อนก็ได้แต่ความสั้นจะยังเพิ่มขึ้นอยู่ทำให้แก้ไม่หมด

การรักษาโรคตาเขและตาเหล่ส่วนมากจะเป็นร่วมกับโรคตาขี้เกียจ จึงต้องรักษาโรคตาขี้เกียจก่อนด้วยวิธีการปิดตาข้างที่ดีและบังคับให้ตาข้างที่ไม่ได้ใช้ได้ใช้ อาจฟังดูง่ายแต่ปัญหาคือความร่วมมือของเด็กและผู้ปกครอง เพราะต้องใช้เวลาปิดนานเป็นเดือน และเมื่อปิดแล้วต้องไปอยู่ที่บ้าน ซึ่งเราไม่ทราบว่าทั้งเด็กและผู้ปกครองทำได้หรือไม่ หรือหากปฏิบัติตามได้ดีเมื่อปิดตาข้างที่ดีแล้วก็ทำให้ไม่ได้ใช้ตาข้างนั้น อาจทำให้ตาข้างที่ดีแย่ลง ดังนั้นหมอต้องนัดมาตรวจบ่อย ๆ ว่าข้างที่ดียังอยู่ดีหรือไม่ ถ้าหายแล้วจะได้ใช้คู่กัน ถือเป็นโรคที่ต้องรักษาตั้งแต่เด็ก แต่ถ้าไม่มีตาขี้เกียจก็สามารถรักษาด้วยการใส่แว่น และวิธีการรักษาสุดท้ายคือการผ่าตัด ในกรณีที่ใส่แว่นแล้วไม่หายต้องผ่าตัดกล้ามเนื้อตาให้ตรง ส่วนใหญ่จะผ่าได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนหรือรอให้โตก่อนซึ่งแล้วแต่อาการว่าเป็นมากหรือน้อยและดุลพินิจของจักษุแพทย์ด้วย

รศ.พญ.สุดารัตน์ ใหญ่สว่าง จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเด็กและตาเข โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลเซ็นเตอร์ (WMC) ดังนั้นสิ่งที่สำคัญ คือ เน้นการตรวจคัดกรองสายตาในเด็กสายตาปกติที่คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะอาจมีโรคตาซ่อนอยู่ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกมาตรวจตั้งแต่อายุเท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งเทคนิคการตรวจขึ้นอยู่กับวัย ถ้าอ่านเลขได้ก็ให้อ่านเลขเพื่อวัดสายตา นอกจากนี้ยังตรวจกล้ามเนื้อของตา ตรวจตาบอดสี ตรวจสามมิติ ส่วนเด็กเล็กจะมีเครื่องมือตรวจโดยเป็นเครื่องมือเฉพาะที่สามารถตรวจเด็กได้ ทุกวัย เพื่อคัดกรองโรคตาและรักษาก่อนที่จะสายเกินไป

นอกจากนี้ปัญหาที่พบบ่อย ๆ หลังจากการตรวจคัดกรองโรคตาในเด็กคือ โรคภูมิแพ้ขึ้นตา ที่เกิดจากการใช้จอที่มีแสงไฟ เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเด็กทุกคนที่มาตรวจเป็นโรคภูมิแพ้ที่ตาแทบทั้งหมด ซึ่งจะมีอาการน้ำตาไหล ตาแดง สู้แสงไม่ได้ ทำท่าเคืองตาทั้งวัน เมื่อสอบถามประวัติก็ทราบว่าปล่อยลูกเล่นเกมทั้งวัน ซึ่งหมอไม่ได้ห้ามว่าไม่ควรเล่น เพราะเด็กต้องเรียนรู้ แต่ต้องมีวินัย เล่นแค่เท่าที่จำเป็น เช่น ในการเรียน ส่วนการเล่นเกมมีได้แต่ควรกำหนดเวลา ไม่ใช่ปล่อยให้เล่นทั้งวันทั้งคืน หรือการว่ายน้ำในสระทำให้เป็นภูมิแพ้ที่ตาได้เหมือนกันเพราะแพ้คลอรีน

วิธีการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ตา คือ หยดยาแก้แพ้ตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามาหยดให้ลูกเอง เพราะยาเด็กกับยาผู้ใหญ่ไม่เหมือนกัน เมื่อโตขึ้นอาการเหล่านี้จะหายได้เองไม่มีผลรุนแรงกับตาถึงขั้นทำให้ตาเสีย แต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เพราะจะใช้ชีวิตไม่มีความสุข เนื่องจากไม่สบายตา มีอาการเคืองตา ทำให้ต้องกะพริบตาบ่อย ๆ ส่งผลให้เสียบุคลิกภาพและอาจจะติดไปจนโต ซึ่งพ่อแม่บางคนเข้าใจว่าไม่สามารถรักษาได้ แต่ความจริงแล้วสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการหยดยาและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เป็นได้ เช่น ลดการใช้สายตากับจอที่มีแสง ลดการว่ายน้ำลง แต่ไม่ถึงกับห้ามเพราะเด็กต้องใช้ชีวิตให้ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬาการเล่นเกมและการพักผ่อน

สุดท้ายคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพัฒนาการด้านการใช้สายตาของลูกบ่อย ๆ และที่สำคัญถึงแม้ว่าลูกจะดูแข็งแรงและสุขภาพดี แต่ก็ควรพามาตรวจคัดกรองโรคตาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะเราไม่ทราบว่า ลูกมีโรคตาซ่อนอยู่หรือไม่เนื่องจากเด็กไม่สามารถบอกอาการได้ชัดเจน เพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงทีก่อนที่จะสายเกินแก้.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/221971 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 30/07/2556 เวลา 03:42:25 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘สายตาผิดปกติ...ภูมิแพ้ขึ้นตาในเด็ก’ตรวจคัดกรองล่วงหน้า...รักษาหายได้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ดวงตาของเด็กน้อย ปัจจุบันเราให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องโรคตาในเด็กมากขึ้น ซึ่งอนุสาขาในการศึกษาที่สำคัญ คือเรื่องของ จักษุวิทยาเด็กและตาเข เพราะเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ตรงที่เป็นโรคตาแล้วไม่สามารถบอกอาการได้ เช่น ตามัว มองไม่ชัด ยิ่งเป็นข้างเดียวยิ่งไม่สามารถถ่ายทอดอาการให้พ่อและแม่ทราบได้เลย ทำให้โรคตาบางอย่างที่จำเป็นต้องรับการรักษาตั้งแต่เด็กถูกละเลยไปเมื่อโตขึ้นจึงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ รศ.พญ.สุดารัตน์ ใหญ่สว่าง จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเด็กและตาเข โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลเซ็นเตอร์ (WMC) ให้ความรู้ว่า เด็กมักไม่เข้าใจอาการตามัวหรือมองไม่ชัด อีกทั้งยังมีสภาพแวดล้อมที่มองใกล้ ๆ ไม่ได้มองอะไรที่ไกล ๆ หรือใช้สายตามากนัก ฉะนั้นเวลามีปัญหาก็เหมือนไม่เป็นอะไร มีพ่อแม่หลายคนที่ไม่ทราบว่าลูกมีโรคตาซ่อนอยู่จนกระทั่งลูกอายุได้ 8-9 ขวบ เมื่อตรวจย้อนกลับไปจึงทราบว่าเป็นมาตั้งแต่เด็กและมารักษาในช่วงหลัง ปัญหาของการรักษาช้าเกินไป ก็คือไม่สามารถรักษาให้หายได้ต้องรักษาแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากในเด็กมีการพัฒนาในเรื่องของการมองเห็นเป็นสเต็ปตั้งแต่แรกเกิดจน กระทั่ง 8-9 ขวบ เพื่อให้ทันเหมือนผู้ใหญ่ แพทย์และพยาบาลกำลังช่วยกันตรวจวัดสายตาเด็กเล็ก ในช่วงแรกเกิดถึง 8 ขวบ ถือว่าพัฒนาการด้านการมองเห็นของสายตายังไม่เต็มที่ มีการเปลี่ยนแปลง อ่อนแอและอ่อนไหวง่าย ถ้ามีอะไรมากระทบ เช่น มีโรคตาบางอย่างเกิดขึ้น ตาก็จะไม่พัฒนาต่อ การไม่พัฒนาคือการที่ไม่ใช้สายตา เมื่อไม่ใช้สายตาแล้วตาก็จะแย่ลง เรียกว่า ตาขี้เกียจ (lazy eyes) คือ พัฒนาการด้านการมองเห็นในเด็กมีการชะงัก เมื่อตาแย่ลงแล้วยิ่งทิ้งไว้จนอายุเลย 8-9 ขวบไปแล้วจนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทำให้ในอนาคตไม่สามารถประกอบอาชีพบางอาชีพได้ เช่น หมอ นักบิน เพราะตาขี้เกียจข้างหนึ่งจะเห็นภาพ 3 มิติเสีย เหมือนเห็นอะไรลอย ๆ อย่างไรก็ตามโรคตาในเด็กที่พบบ่อย ๆ ตั้งแต่แรกเกิด ถ้าเป็นเด็กที่เกิดก่อนกำหนดจะมีโรคตาโดยเฉพาะเรียกว่าจอตาผิดปกติ ต้องได้รับการตรวจและรักษาอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีโอกาสหายได้ถ้าตรวจพบตั้งแต่เล็ก ๆ ส่วนในวัยขวบแรกจะมีโรคตาเขที่เป็นแต่กำเนิด ซึ่งจะทำให้ตาข้างที่เขไม่ได้ใช้งานและเกิดโรคตาขี้เกียจตามมาได้ พ่อแม่บางคนคิดว่าตาเขไม่สำคัญ เพราะตัวโรคอาจจะดูว่าไม่ร้ายแรงทิ้งไว้และรักษาเมื่อโตได้ ฉะนั้นถ้าลูกเป็นโรคตาเขให้รีบพามาตรวจ หรือถ้ารู้สึกว่าเหมือนจะเขแต่อาจจะไม่ใช่ก็ได้ต้องให้จักษุแพทย์เป็นผู้ตรวจวินิจฉัยจึงจะยืนยันได้เพราะเด็กเกิดใหม่ตัวเล็กอาจจะมองว่าตาเขได้โดยเฉพาะเด็กที่มีหัวตากว้างๆ เด็กเล็ก 2 คน กำลังนั่งใช้งานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะโรคถัดมาคือ โรคของสายตาผิดปกติ เช่น สั้น ยาว เอียง ซึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ได้ด้วย ถ้าเป็นไม่มากใส่แว่นก็สามารถมองเห็นได้ แต่ถ้าเป็นมากหรือสายตา 2 ข้างต่างกันมาก อีกข้างที่เป็นมากเด็กจะไม่ใช้ ถือเป็นธรรมชาติเพราะเป็นคำสั่งมาจากสมอง ฉะนั้นเด็กที่มีสายตาผิดปกติมากจะเกิดตาขี้เกียจตามมาได้ ดังนั้นการสังเกต คือ เด็กดูทีวีใกล้ ๆ หรือถ้าไปโรงเรียนมองไม่ค่อยเห็นกระดาน ทำท่าหยีตา ส่วนใหญ่จะเป็นตอนอายุ6-7ขวบ โรคสายตาสั้นตามทฤษฎีเกิดจากกระบอกตาโต แสงจะตกไม่ตรงที่ตำแหน่งที่จุดรับภาพ มันจะตกก่อนเพราะว่ากระบอกตาใหญ่ กว่าเด็กจะกระบอกตาใหญ่ก็ประมาณ 6-7 ขวบ เป็นวัยที่เด็กเริ่มเข้าโรงเรียนและเริ่มรู้ตัวเองและสามารถบอกพ่อแม่ได้ว่า นั่งเรียนแล้วตามัวเห็นกระดานไม่ชัด แต่มีพ่อแม่หลายคนไม่เชื่อลูกว่าเป็นจริง ส่วนมากกว่าจะเชื่อก็เลยไป 2-3 ปีแล้วจึงพาไปหาหมอ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีสายตาสั้นควรรีบพาลูกไปหาหมอ สายตาสั้นในเด็กเริ่มใหม่ ๆ สั้นประมาณ 100-200 ส่วนใหญ่จะหยุดสั้นในอายุ 18 ปี จึงสามารถรักษาได้ด้วยวิธีการทำเลสิก เพราะว่าสายตาสั้นจะไม่เปลี่ยนแล้ว หรือถ้าจะทำก่อนก็ได้แต่ความสั้นจะยังเพิ่มขึ้นอยู่ทำให้แก้ไม่หมด การรักษาโรคตาเขและตาเหล่ส่วนมากจะเป็นร่วมกับโรคตาขี้เกียจ จึงต้องรักษาโรคตาขี้เกียจก่อนด้วยวิธีการปิดตาข้างที่ดีและบังคับให้ตาข้างที่ไม่ได้ใช้ได้ใช้ อาจฟังดูง่ายแต่ปัญหาคือความร่วมมือของเด็กและผู้ปกครอง เพราะต้องใช้เวลาปิดนานเป็นเดือน และเมื่อปิดแล้วต้องไปอยู่ที่บ้าน ซึ่งเราไม่ทราบว่าทั้งเด็กและผู้ปกครองทำได้หรือไม่ หรือหากปฏิบัติตามได้ดีเมื่อปิดตาข้างที่ดีแล้วก็ทำให้ไม่ได้ใช้ตาข้างนั้น อาจทำให้ตาข้างที่ดีแย่ลง ดังนั้นหมอต้องนัดมาตรวจบ่อย ๆ ว่าข้างที่ดียังอยู่ดีหรือไม่ ถ้าหายแล้วจะได้ใช้คู่กัน ถือเป็นโรคที่ต้องรักษาตั้งแต่เด็ก แต่ถ้าไม่มีตาขี้เกียจก็สามารถรักษาด้วยการใส่แว่น และวิธีการรักษาสุดท้ายคือการผ่าตัด ในกรณีที่ใส่แว่นแล้วไม่หายต้องผ่าตัดกล้ามเนื้อตาให้ตรง ส่วนใหญ่จะผ่าได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนหรือรอให้โตก่อนซึ่งแล้วแต่อาการว่าเป็นมากหรือน้อยและดุลพินิจของจักษุแพทย์ด้วย รศ.พญ.สุดารัตน์ ใหญ่สว่าง จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเด็กและตาเข โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลเซ็นเตอร์ (WMC)ดังนั้นสิ่งที่สำคัญ คือ เน้นการตรวจคัดกรองสายตาในเด็กสายตาปกติที่คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะอาจมีโรคตาซ่อนอยู่ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกมาตรวจตั้งแต่อายุเท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งเทคนิคการตรวจขึ้นอยู่กับวัย ถ้าอ่านเลขได้ก็ให้อ่านเลขเพื่อวัดสายตา นอกจากนี้ยังตรวจกล้ามเนื้อของตา ตรวจตาบอดสี ตรวจสามมิติ ส่วนเด็กเล็กจะมีเครื่องมือตรวจโดยเป็นเครื่องมือเฉพาะที่สามารถตรวจเด็กได้ ทุกวัย เพื่อคัดกรองโรคตาและรักษาก่อนที่จะสายเกินไป นอกจากนี้ปัญหาที่พบบ่อย ๆ หลังจากการตรวจคัดกรองโรคตาในเด็กคือ โรคภูมิแพ้ขึ้นตา ที่เกิดจากการใช้จอที่มีแสงไฟ เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเด็กทุกคนที่มาตรวจเป็นโรคภูมิแพ้ที่ตาแทบทั้งหมด ซึ่งจะมีอาการน้ำตาไหล ตาแดง สู้แสงไม่ได้ ทำท่าเคืองตาทั้งวัน เมื่อสอบถามประวัติก็ทราบว่าปล่อยลูกเล่นเกมทั้งวัน ซึ่งหมอไม่ได้ห้ามว่าไม่ควรเล่น เพราะเด็กต้องเรียนรู้ แต่ต้องมีวินัย เล่นแค่เท่าที่จำเป็น เช่น ในการเรียน ส่วนการเล่นเกมมีได้แต่ควรกำหนดเวลา ไม่ใช่ปล่อยให้เล่นทั้งวันทั้งคืน หรือการว่ายน้ำในสระทำให้เป็นภูมิแพ้ที่ตาได้เหมือนกันเพราะแพ้คลอรีน วิธีการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ตา คือ หยดยาแก้แพ้ตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามาหยดให้ลูกเอง เพราะยาเด็กกับยาผู้ใหญ่ไม่เหมือนกัน เมื่อโตขึ้นอาการเหล่านี้จะหายได้เองไม่มีผลรุนแรงกับตาถึงขั้นทำให้ตาเสีย แต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เพราะจะใช้ชีวิตไม่มีความสุข เนื่องจากไม่สบายตา มีอาการเคืองตา ทำให้ต้องกะพริบตาบ่อย ๆ ส่งผลให้เสียบุคลิกภาพและอาจจะติดไปจนโต ซึ่งพ่อแม่บางคนเข้าใจว่าไม่สามารถรักษาได้ แต่ความจริงแล้วสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการหยดยาและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เป็นได้ เช่น ลดการใช้สายตากับจอที่มีแสง ลดการว่ายน้ำลง แต่ไม่ถึงกับห้ามเพราะเด็กต้องใช้ชีวิตให้ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬาการเล่นเกมและการพักผ่อน สุดท้ายคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพัฒนาการด้านการใช้สายตาของลูกบ่อย ๆ และที่สำคัญถึงแม้ว่าลูกจะดูแข็งแรงและสุขภาพดี แต่ก็ควรพามาตรวจคัดกรองโรคตาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะเราไม่ทราบว่า ลูกมีโรคตาซ่อนอยู่หรือไม่เนื่องจากเด็กไม่สามารถบอกอาการได้ชัดเจน เพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงทีก่อนที่จะสายเกินแก้. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/221971 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...