“ปิยนุช อิสริยะวาณิช” จากเด็กพิเศษสู่พยาบาลผู้ดูแลเด็กพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

ปิยนุช  อิสริยะวาณิช พยาบาลผู้ดูแลเด็กพิเศษ “พี่ก็เป็นสมาธิสั้นค่ะ” คำบอกเล่าจากนางปิยนุช อิสริยะวาณิช พยาบาลชำนาญการพิเศษ รพ.ระนอง ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้ดูแลเด็กพิเศษ พร้อมกับบอกอีกว่า นานๆ จะหยิบชุดพยาบาลสีขาวสะอาดเต็มยศขึ้นมาใส่ให้ได้เห็นกันสักครั้ง เมื่อฟังแล้วก็รู้สึกว่าใช่ ความบังเอิญหรือไม่ จากคนที่เคยเป็นเด็กพิเศษหนึ่งคน เมื่อโตขึ้นมาแล้วจะมีหน้าที่การงานที่ต้องมาเกี่ยวพันดูแลเด็กพิเศษอีกครั้ง

พยาบาลปิยนุช เล่าให้ฟังว่า ตนไม่เคยทราบมาก่อนว่าตนเป็นโรคสมาธิสั้น จนกระทั่งวันที่ตนเข้าเรียนพยาบาลในระดับปริญญาตรี ด้านการพยาบาลเด็ก จึงมาทราบเอาภายหลังว่าอย่างตนก็ถือเป็นเด็กพิเศษคนหนึ่ง ในกลุ่มของเด็กสมาธิสั้น เพราะอาการหลายอย่างของตนตรงกับอาการของเด็กสมาธิสั้นอย่างที่เคยร่ำเรียนมา

“โรคสมาธิสั้นสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ อย่างลูกพี่ 2 คน ก็เป็นเด็กสมาธิสั้นทั้งคู่ แต่เขาจะเรียนเก่ง คนผู้ชายเขาจะมีนิสัยไม่จดจ่อ ซึ่งตั้งแต่ตอนประถมพี่ก็สามารถรู้ได้ว่าเขาเป็นสมาธิสั้น แต่อาการพูดโพล่ง ไม่รู้จักรอ ลูกพี่จะไม่ค่อยเป็น หรืออย่างคนที่อยากได้อะไรแล้วซื้อเลย ซื้อโดยที่ไม่มีการไตร่ตรองให้รอบคอบ เหล่านี้ก็เป็นสมาธิสั้นทั้งนั้น เพราะเขารอไม่ได้”

ทั้งนี้ โรคสมาธิสั้น พยาบาลปิยนุช อธิบายว่า ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุของโรคดังกล่าว แต่ออทิสติกเกิดจากสื่อประสาทที่ผิดปกติ ซึ่งคาดกันว่าอาจเกิดจากยีน หรือความเครียดของคุณแม่ตอนตั้งครรภ์ก็อาจจะมีผล

พยาบาลปิยนุช บอกอีกว่า รู้สึกว่าเป็นความบังเอิญเช่นกันที่ได้มาทำงานในฟีลนี้ โดยสมัยตอนเรียนปริญญาโทด้านจิตวิทยาพัฒนาการได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องกระตุ้น พัฒนาการเด็กโดยเฉพาะ เพราะมองว่าผู้ที่ทำงานด้านนี้ยังขาดแคลน และอยากกลับมาทำงานเพื่ออุดรูรั่วตรงนี้ในบ้านเกิด จึงเป็นที่มาของการเป็นพยาบาลดูแลเด็กพิเศษ รพ.ระนอง

“งานดูแลเด็กพิเศษที่ระนอง ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ก็รู้สึกว่ามันท้ายทาย ไม่ต้องทำอะไรเหมือนใคร หรือมีกรอบวางเอาไว้ ทำให้พี่ได้คิด ได้สร้างสรรค์งานเสมอ ซึ่งงานแบบนี้มันตอบสนองและตอบโจทย์คนที่เป็นสมาธิสั้น คือ ชอบทำอะไรโลดโผนไปในทางสร้างสรรค์”

พยาบาลปิยนุช เล่าว่า ตนทำหน้าที่ดูแลเด็กพิเศษมากว่า 10 ปีแล้ว แต่เริ่มมีระบบการทำงานอย่างรูปจริงๆ เพียงแค่ 4 ปีเท่านั้น โดยการดูแลเด็กพิเศษจะเน้นเด็กออทิสติกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการทำงานด้านนี้เรื่องการค้นหาเด็กป่วยยังเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากเจอเด็กป่วยไว และช่วยเพิ่มศักยภาพการใช้ชีวิตให้เขา ช่วยกระตุ้นพัฒนาการเขาได้ไวก็มีโอกาสที่เด็กจะหายดี และสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเช่นคนปกติ ขณะนี้พยายามที่จะฝึกพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ ใน จ.ระนอง ให้สามารถดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ได้ อย่างน้อยอยู่ในระดับมืออาชีพโรงพยาบาลชุมชนละ 1 คน เพราะคาดว่าปี 2560 ตนอาจจะลาออกจากการเป็นพยาบาลเพื่อหันไปทำงานด้านอื่นและดูแลลูก ดูแลครอบครัว แต่ก็ยังคงเป็นห่วงงานในด้านนี้ จึงต้องพยายามเทรนด์หรือสอนงานคนใหม่ให้สามารถมาแทนที่การทำงานของเราได้

“ช่วงระหว่างนี้พี่ก็ยังทำงานอย่างเต็มที่ เร่งค้นหาเด็กป่วยรายใหม่ให้เจอเร็วที่สุด และพยายามกระตุ้นพัฒนาการของเด็กแต่ละคนให้สามารถสื่อสาร มีการตอบสนองที่ดีขึ้น โดยพยายามแนะพ่อแม่ว่าอย่าพยายามรู้ใจลูกมากเกินไป เช่น ร้องแบบนี้แสดงว่าต้องการอะไรก็ไปหยิบมาให้เลย แต่ควรมีการพูดคุยกับลูกก่อนให้ของแก่เขา เพื่อให้เขามีการตอบสนอง ไม่จำเป็นว่าต้องให้เขาพูดเป็นคำว่าเอาหรือไม่เอา ใช่หรือไม่ใช่ แค่ให้เขาส่งเสียงหรือพยักหน้า ส่ายหน้า เพื่อสื่อสารกับเราก็พอ”…โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000092745 (ขนาดไฟล์: 164)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 29/07/2556 เวลา 03:26:27 ดูภาพสไลด์โชว์ “ปิยนุช อิสริยะวาณิช” จากเด็กพิเศษสู่พยาบาลผู้ดูแลเด็กพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ปิยนุช อิสริยะวาณิช พยาบาลผู้ดูแลเด็กพิเศษ “พี่ก็เป็นสมาธิสั้นค่ะ” คำบอกเล่าจากนางปิยนุช อิสริยะวาณิช พยาบาลชำนาญการพิเศษ รพ.ระนอง ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้ดูแลเด็กพิเศษ พร้อมกับบอกอีกว่า นานๆ จะหยิบชุดพยาบาลสีขาวสะอาดเต็มยศขึ้นมาใส่ให้ได้เห็นกันสักครั้ง เมื่อฟังแล้วก็รู้สึกว่าใช่ ความบังเอิญหรือไม่ จากคนที่เคยเป็นเด็กพิเศษหนึ่งคน เมื่อโตขึ้นมาแล้วจะมีหน้าที่การงานที่ต้องมาเกี่ยวพันดูแลเด็กพิเศษอีกครั้ง พยาบาลปิยนุช เล่าให้ฟังว่า ตนไม่เคยทราบมาก่อนว่าตนเป็นโรคสมาธิสั้น จนกระทั่งวันที่ตนเข้าเรียนพยาบาลในระดับปริญญาตรี ด้านการพยาบาลเด็ก จึงมาทราบเอาภายหลังว่าอย่างตนก็ถือเป็นเด็กพิเศษคนหนึ่ง ในกลุ่มของเด็กสมาธิสั้น เพราะอาการหลายอย่างของตนตรงกับอาการของเด็กสมาธิสั้นอย่างที่เคยร่ำเรียนมา “โรคสมาธิสั้นสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ อย่างลูกพี่ 2 คน ก็เป็นเด็กสมาธิสั้นทั้งคู่ แต่เขาจะเรียนเก่ง คนผู้ชายเขาจะมีนิสัยไม่จดจ่อ ซึ่งตั้งแต่ตอนประถมพี่ก็สามารถรู้ได้ว่าเขาเป็นสมาธิสั้น แต่อาการพูดโพล่ง ไม่รู้จักรอ ลูกพี่จะไม่ค่อยเป็น หรืออย่างคนที่อยากได้อะไรแล้วซื้อเลย ซื้อโดยที่ไม่มีการไตร่ตรองให้รอบคอบ เหล่านี้ก็เป็นสมาธิสั้นทั้งนั้น เพราะเขารอไม่ได้” ทั้งนี้ โรคสมาธิสั้น พยาบาลปิยนุช อธิบายว่า ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุของโรคดังกล่าว แต่ออทิสติกเกิดจากสื่อประสาทที่ผิดปกติ ซึ่งคาดกันว่าอาจเกิดจากยีน หรือความเครียดของคุณแม่ตอนตั้งครรภ์ก็อาจจะมีผล พยาบาลปิยนุช บอกอีกว่า รู้สึกว่าเป็นความบังเอิญเช่นกันที่ได้มาทำงานในฟีลนี้ โดยสมัยตอนเรียนปริญญาโทด้านจิตวิทยาพัฒนาการได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องกระตุ้น พัฒนาการเด็กโดยเฉพาะ เพราะมองว่าผู้ที่ทำงานด้านนี้ยังขาดแคลน และอยากกลับมาทำงานเพื่ออุดรูรั่วตรงนี้ในบ้านเกิด จึงเป็นที่มาของการเป็นพยาบาลดูแลเด็กพิเศษ รพ.ระนอง “งานดูแลเด็กพิเศษที่ระนอง ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ก็รู้สึกว่ามันท้ายทาย ไม่ต้องทำอะไรเหมือนใคร หรือมีกรอบวางเอาไว้ ทำให้พี่ได้คิด ได้สร้างสรรค์งานเสมอ ซึ่งงานแบบนี้มันตอบสนองและตอบโจทย์คนที่เป็นสมาธิสั้น คือ ชอบทำอะไรโลดโผนไปในทางสร้างสรรค์” พยาบาลปิยนุช เล่าว่า ตนทำหน้าที่ดูแลเด็กพิเศษมากว่า 10 ปีแล้ว แต่เริ่มมีระบบการทำงานอย่างรูปจริงๆ เพียงแค่ 4 ปีเท่านั้น โดยการดูแลเด็กพิเศษจะเน้นเด็กออทิสติกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการทำงานด้านนี้เรื่องการค้นหาเด็กป่วยยังเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากเจอเด็กป่วยไว และช่วยเพิ่มศักยภาพการใช้ชีวิตให้เขา ช่วยกระตุ้นพัฒนาการเขาได้ไวก็มีโอกาสที่เด็กจะหายดี และสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเช่นคนปกติ ขณะนี้พยายามที่จะฝึกพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ ใน จ.ระนอง ให้สามารถดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ได้ อย่างน้อยอยู่ในระดับมืออาชีพโรงพยาบาลชุมชนละ 1 คน เพราะคาดว่าปี 2560 ตนอาจจะลาออกจากการเป็นพยาบาลเพื่อหันไปทำงานด้านอื่นและดูแลลูก ดูแลครอบครัว แต่ก็ยังคงเป็นห่วงงานในด้านนี้ จึงต้องพยายามเทรนด์หรือสอนงานคนใหม่ให้สามารถมาแทนที่การทำงานของเราได้ “ช่วงระหว่างนี้พี่ก็ยังทำงานอย่างเต็มที่ เร่งค้นหาเด็กป่วยรายใหม่ให้เจอเร็วที่สุด และพยายามกระตุ้นพัฒนาการของเด็กแต่ละคนให้สามารถสื่อสาร มีการตอบสนองที่ดีขึ้น โดยพยายามแนะพ่อแม่ว่าอย่าพยายามรู้ใจลูกมากเกินไป เช่น ร้องแบบนี้แสดงว่าต้องการอะไรก็ไปหยิบมาให้เลย แต่ควรมีการพูดคุยกับลูกก่อนให้ของแก่เขา เพื่อให้เขามีการตอบสนอง ไม่จำเป็นว่าต้องให้เขาพูดเป็นคำว่าเอาหรือไม่เอา ใช่หรือไม่ใช่ แค่ให้เขาส่งเสียงหรือพยักหน้า ส่ายหน้า เพื่อสื่อสารกับเราก็พอ”…โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์ ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000092745 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...